โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาการเพ้อและโรคจิตเภท

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อาการเพ้อและโรคจิตเภท

อาการเพ้อ vs. โรคจิตเภท

อาการเพ้อ (delirium) หรือภาวะสับสนเฉียบพลัน (acute confusional state) เป็นการเสื่อมจากระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้เดิมที่เคยมีอันมีสาเหตุจากพยาธิสภาพทางกาย ตรงแบบเป็นขึ้น ๆ ลง ๆ ขาดความใส่ใจและความไม่สมประกอบของพฤติกรรมอย่างรุนแรงทั่วไป ตรงแบบเกี่ยวข้องกับการขาดการรู้อย่างอื่น สภาวะตื่นตัวเปลี่ยนแปลง (ตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม) การขาดการรับรู้ วงจรหลับ-ตื่นเปลี่ยนแปลงและลักษณะโรคจิตอย่างประสาทหลอนและอาการหลงผิด อาการเพ้อเองมิใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการทางคลินิก ซึ่งมีสาเหตุจากโรคพื้นเดิม จากยารักษาโรคที่ให้ระหว่างการรักษาโรคนั้นในระยะวิกฤต จากปัญหาใหม่ทีมีการคิดหรือจากปัจจัยเหล่านี้ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปผสมกัน เกณฑ์การวินิจฉัยอาการเพ้อไม่สามารถทำได้หากไม่มีการประเมินหรือความรู้มาก่อนซึ่งระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้ของบุคคลที่เป็นนั้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมซึ่งกำลังทำงานที่ระดับความสามารถทางจิตเส้นฐานจะถูกคาดว่าดูมีอาการเพ้อหากไม่มีสถานะการทำหน้าที่ของจิตเส้นฐานให้เปรียบเทียบ อาการเพ้ออาจแสดงตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม ในรูปตื่นตัวมาก อาการแสดงเป็นความสับสนและความงุนงงสับสนรุนแรง ดำเนินโดยมีการเริ่มต้นค่อนข้างเร็วและมีความรุนแรงขึ้น ๆ ลง ๆ ในรูปตื่นตัวน้อย อาการแสดงโดยการถอนตัวจากอันตรกิริยากับโลกภายนอกเฉียบพลันเท่ากัน อาการเพ้ออาจเกิดในรูปผสม ซึ่งบางคนอาจขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างทั้งระยะตื่นตัวมากและตื่นตัวน้อย อาการเพ้อเป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า ทว่า พบว่าเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยและสูงอายุได้ในอัตราพอ ๆ กันเมื่อเกิดในระหว่างการเจ็บป่วยวิกฤต อาการเพ้ออาจเกิดจากกระบวนการของโรคนอกสมองแต่มีผลต่อสมอง เช่น การติดเชื้อ (การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปอดบวม) หรือผลของยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอนติโคลิเนอร์จิกหรือยากดระบบประสาทส่วนกลางอื่น (เบนโซไดอาซีพีนและโอปิออยด์) แม้ประสาทหลอนและอาการหลงผิดปรากฏในอาการเพ้อบ้าง แต่ไม่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัย และอาการของอาการเพ้อทางคลินิกต่างจากอาการที่เกิดจากการชักนำโดยโรคจิตหรือสารก่อประสาทหลอน (ยกเว้นสารก่ออาการเพ้อ) ตามบทนิยาม อาการเพ้อต้องเกิดจากกระบวนการทางกาย เช่น ปัญหาทางโครงสร้าง การทำหน้าที่หรือเคมีที่สามารถระบุได้เชิงกายภาพในสมอง ฉะนั้น การคิดขึ้น ๆ ลง ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการหรือโรคจิตเวช เช่น โรคจิตเฉียบพลันจากจิตเภทหรือโรคอารมณ์สองขั้วจึงไม่เรียกอาการเพ้อ เช่นเดียวกับองค์ประกอบของมัน (การไม่สามารถมุ่งความใส่ใจ ความสับสนทางจิตและการบกพร่องของความตระหนักหลายอย่างและการรับรู้กาลเทศะ) อาการเพ้อเป็นการปรากฏอาการทั่วไปของการทำหน้าที่ผิดปรกติของสมองจากพยาธิสภาพทางกายใหม่ (ไม่ว่าด้วยเหตุใด) อาการเพ้อต้องมีทั้งการเปลี่ยนแปลงการคิดเฉียบพลันและสาเหตุทางกาย ฉะนั้น หากไม่มีการประเมินโดยระวังและประวัติ อาการเพ้อสามารถสับสนกับความผิดปกติจิตเวชจำนวนหนึ่งหรือกลุ่มอาการของสมองจากพยาธิสภาพทางกายระยะยาวได้ง่าย เพราะอาการและอาการแสดงหลายอย่างของอาการเพ้อเป็นภาวะที่ยังพบในโรคสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้าและโรคจิต อาการเพ้ออาจปรากฏใหม่บนพื้นหลังความเจ็บป่วยทางจิต ความพิการทางเชาวน์ปัญญาเส้นฐานหรือโรคสมองเสื่อม โดยไม่จำเป็นต้องเกิดจากปัญหาดังกล่าว การรักษาอาการเพ้อต้องรักษาเหตุทางกายพื้นเดิม ในผู้ป่วยบางคน ใช้การรักษาชั่วคราวหรือประทังหรือตามอาการเพื่อประโลมผู้ป่วยหรือให้จัดการผู้ป่วยได้ดีขึ้น (ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจพยายามดึงท่อช่วยหายใจซึ่งจำเป็นต่อการรอดชีวิต) อาการเพ้ออาจเป็นความผิดปกติเฉียบพลันที่พบมากที่สุดในผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลทั่วไป โดยพบใน 10-20% ของผู้ใหญ่นอนโรงพยาบาลทั้งหมด และ 30-40% ของผู้ป่วยสูงอายุที่นอนโรงพยาบาลและมากถึง 80% ของผู้ป่วยหน่วยอภิบาล ในผู้ป่วยหน่วยอภิบาลหรือในผู้ป่วยอื่นที่ต้องดูแลวิกฤต อาากรเพ้อมิใช่เพียงความผิดปกติของสมองเฉียบพลันแต่ที่จริงเป็นการเพิ่มโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากใน 12 เดือนให้หลังการจำหน่ายผู้ป่วยหน่วยอภิบาลออกจากโรงพยาบาล. รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อาการเพ้อและโรคจิตเภท

อาการเพ้อและโรคจิตเภท มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อาการเพ้อและโรคจิตเภท

อาการเพ้อ มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคจิตเภท มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (9 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาการเพ้อและโรคจิตเภท หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »