โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ

ภาวะสมองเสื่อม vs. อาการเพ้อ

วะสมองเสื่อม หรือ โรคสมองเสื่อม (มาจากภาษาละติน de- "ออกไป" และ mens มาจาก mentis "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือโรคที่เกิดในสมองซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความผิดปกติในพัฒนาการ (developmental disorders) ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความจำ, ความใส่ใจ, ภาษา, และการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร) กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับสมุฏฐานโรค (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, ดีซ่าน, หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่มอาการเพ้อ (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก อาการป่วยทางจิต (mental illness) บางชนิด เช่น ภาวะซึมเศร้า (depression) และโรคจิต (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ. อาการเพ้อ (delirium) หรือภาวะสับสนเฉียบพลัน (acute confusional state) เป็นการเสื่อมจากระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้เดิมที่เคยมีอันมีสาเหตุจากพยาธิสภาพทางกาย ตรงแบบเป็นขึ้น ๆ ลง ๆ ขาดความใส่ใจและความไม่สมประกอบของพฤติกรรมอย่างรุนแรงทั่วไป ตรงแบบเกี่ยวข้องกับการขาดการรู้อย่างอื่น สภาวะตื่นตัวเปลี่ยนแปลง (ตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม) การขาดการรับรู้ วงจรหลับ-ตื่นเปลี่ยนแปลงและลักษณะโรคจิตอย่างประสาทหลอนและอาการหลงผิด อาการเพ้อเองมิใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการทางคลินิก ซึ่งมีสาเหตุจากโรคพื้นเดิม จากยารักษาโรคที่ให้ระหว่างการรักษาโรคนั้นในระยะวิกฤต จากปัญหาใหม่ทีมีการคิดหรือจากปัจจัยเหล่านี้ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปผสมกัน เกณฑ์การวินิจฉัยอาการเพ้อไม่สามารถทำได้หากไม่มีการประเมินหรือความรู้มาก่อนซึ่งระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้ของบุคคลที่เป็นนั้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมซึ่งกำลังทำงานที่ระดับความสามารถทางจิตเส้นฐานจะถูกคาดว่าดูมีอาการเพ้อหากไม่มีสถานะการทำหน้าที่ของจิตเส้นฐานให้เปรียบเทียบ อาการเพ้ออาจแสดงตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม ในรูปตื่นตัวมาก อาการแสดงเป็นความสับสนและความงุนงงสับสนรุนแรง ดำเนินโดยมีการเริ่มต้นค่อนข้างเร็วและมีความรุนแรงขึ้น ๆ ลง ๆ ในรูปตื่นตัวน้อย อาการแสดงโดยการถอนตัวจากอันตรกิริยากับโลกภายนอกเฉียบพลันเท่ากัน อาการเพ้ออาจเกิดในรูปผสม ซึ่งบางคนอาจขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างทั้งระยะตื่นตัวมากและตื่นตัวน้อย อาการเพ้อเป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า ทว่า พบว่าเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยและสูงอายุได้ในอัตราพอ ๆ กันเมื่อเกิดในระหว่างการเจ็บป่วยวิกฤต อาการเพ้ออาจเกิดจากกระบวนการของโรคนอกสมองแต่มีผลต่อสมอง เช่น การติดเชื้อ (การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปอดบวม) หรือผลของยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอนติโคลิเนอร์จิกหรือยากดระบบประสาทส่วนกลางอื่น (เบนโซไดอาซีพีนและโอปิออยด์) แม้ประสาทหลอนและอาการหลงผิดปรากฏในอาการเพ้อบ้าง แต่ไม่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัย และอาการของอาการเพ้อทางคลินิกต่างจากอาการที่เกิดจากการชักนำโดยโรคจิตหรือสารก่อประสาทหลอน (ยกเว้นสารก่ออาการเพ้อ) ตามบทนิยาม อาการเพ้อต้องเกิดจากกระบวนการทางกาย เช่น ปัญหาทางโครงสร้าง การทำหน้าที่หรือเคมีที่สามารถระบุได้เชิงกายภาพในสมอง ฉะนั้น การคิดขึ้น ๆ ลง ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการหรือโรคจิตเวช เช่น โรคจิตเฉียบพลันจากจิตเภทหรือโรคอารมณ์สองขั้วจึงไม่เรียกอาการเพ้อ เช่นเดียวกับองค์ประกอบของมัน (การไม่สามารถมุ่งความใส่ใจ ความสับสนทางจิตและการบกพร่องของความตระหนักหลายอย่างและการรับรู้กาลเทศะ) อาการเพ้อเป็นการปรากฏอาการทั่วไปของการทำหน้าที่ผิดปรกติของสมองจากพยาธิสภาพทางกายใหม่ (ไม่ว่าด้วยเหตุใด) อาการเพ้อต้องมีทั้งการเปลี่ยนแปลงการคิดเฉียบพลันและสาเหตุทางกาย ฉะนั้น หากไม่มีการประเมินโดยระวังและประวัติ อาการเพ้อสามารถสับสนกับความผิดปกติจิตเวชจำนวนหนึ่งหรือกลุ่มอาการของสมองจากพยาธิสภาพทางกายระยะยาวได้ง่าย เพราะอาการและอาการแสดงหลายอย่างของอาการเพ้อเป็นภาวะที่ยังพบในโรคสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้าและโรคจิต อาการเพ้ออาจปรากฏใหม่บนพื้นหลังความเจ็บป่วยทางจิต ความพิการทางเชาวน์ปัญญาเส้นฐานหรือโรคสมองเสื่อม โดยไม่จำเป็นต้องเกิดจากปัญหาดังกล่าว การรักษาอาการเพ้อต้องรักษาเหตุทางกายพื้นเดิม ในผู้ป่วยบางคน ใช้การรักษาชั่วคราวหรือประทังหรือตามอาการเพื่อประโลมผู้ป่วยหรือให้จัดการผู้ป่วยได้ดีขึ้น (ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจพยายามดึงท่อช่วยหายใจซึ่งจำเป็นต่อการรอดชีวิต) อาการเพ้ออาจเป็นความผิดปกติเฉียบพลันที่พบมากที่สุดในผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลทั่วไป โดยพบใน 10-20% ของผู้ใหญ่นอนโรงพยาบาลทั้งหมด และ 30-40% ของผู้ป่วยสูงอายุที่นอนโรงพยาบาลและมากถึง 80% ของผู้ป่วยหน่วยอภิบาล ในผู้ป่วยหน่วยอภิบาลหรือในผู้ป่วยอื่นที่ต้องดูแลวิกฤต อาากรเพ้อมิใช่เพียงความผิดปกติของสมองเฉียบพลันแต่ที่จริงเป็นการเพิ่มโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากใน 12 เดือนให้หลังการจำหน่ายผู้ป่วยหน่วยอภิบาลออกจากโรงพยาบาล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ

ภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลุ่มอาการความซึมเศร้าโรค

กลุ่มอาการ

กลุ่มอาการ (syndrome) คือชุดความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดงหลายๆ อย่าง ซึ่งพบร่วมกัน และสามารถอธิบายกลไกซึ่งเป็นสาเหตุได้ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะใบหน้าเฉพาะ มีความบกพร่องของพัฒนาการ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีหัวใจผิดปกติ และมีกลไกซึ่งเป็นสาเหตุคือการมีแฝดสามของโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น กลุ่มอาการหลายอย่างตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ หรืออาจตั้งชื่อตามที่มาอื่นๆ เช่น สถานที่ ประวัติศาสตร์ ตำนาน หรือไม่ใช้ชื่อเฉพาะแต่ตั้งตามลักษณะเฉพาะของกลุ่มอาการนั้นๆ ก็ได้.

กลุ่มอาการและภาวะสมองเสื่อม · กลุ่มอาการและอาการเพ้อ · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า

วามซึมเศร้า (depression) อาจหมายถึง.

ความซึมเศร้าและภาวะสมองเสื่อม · ความซึมเศร้าและอาการเพ้อ · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ภาวะสมองเสื่อมและโรค · อาการเพ้อและโรค · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ

ภาวะสมองเสื่อม มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาการเพ้อ มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 13.64% = 3 / (13 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »