สารบัญ
35 ความสัมพันธ์: พระภัททิยเถระพระมหานามเถระพระวัปปเถระพระสุตตันตปิฎกพระอรหันต์พระอัญญาโกณฑัญญเถระพระอัสสชิเถระพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)พระโคตมพุทธเจ้าพระไตรปิฎกภาษาจีนพาราณสีมานะมิจฉาทิฐิรูปวิญญาณวิญญาณ (ศาสนาพุทธ)สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)สัญญาสัสสตทิฐิสังขารสารนาถอัตตาอาทิตตปริยายสูตรอุจเฉททิฐิอนัตตาธัมมจักกัปปวัตนสูตรทิฐิขันธ์ตรัสรู้ตัวตนตัณหาปัญจวัคคีย์โสดาบันเวทนาเอหิภิกขุอุปสัมปทา
พระภัททิยเถระ
ระภัททิยะ หรือ พระภัททิยเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก พระภัททิยะ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระภัททิยเถระ
พระมหานามเถระ
ระมหานามะ หรือ พระมหานามเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก พระมหานามะ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระมหานามเถระ
พระวัปปเถระ
ระวัปปะ หรือ พระวัปปะเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก พระวัปปะ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระวัปปเถระ
พระสุตตันตปิฎก
ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระสุตตันตปิฎก
พระอรหันต์
ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระอรหันต์
พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
ระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศาสนาและได้บวชก่อนผู้อื่น พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเท่าใดนัก เนื่องจากท่านทรงอายุพรรษากาลมากแล้ว ในช่วง 12 ปีสุดท้ายในบั้นปลายของท่าน ท่านได้ไปพักจำพรรษาและได้นิพพานที่สระฉันทันต์ ป่าหิมพานต์ ในช่วงต้นพุทธกาล.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
พระอัสสชิเถระ
ระอัสสชิ หรือ พระอัสสชิเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก พระอัสสชิ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นภิกษุรูปแรกที่ทำให้อุปติสสมาณพ ซึ่งต่อมาคือพระสารีบุตร เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา เหตุปฺปภว...
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระอัสสชิเถระ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
ระอุบาลีคุณูปมาจารย์ นามเดิม จันทร์ ฉายา สิริจนฺโท เป็นพระภิกษุฝ่ายเถรวาท คณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี อดีตเจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าคณะมณฑลอีสาน มณฑลจันทบุรี มณฑลราชบุรี และมณฑลกรุงเทพ อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ และวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ ทั้งในฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสในภาคอีสาน ท่านเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนอุบลวิทยาคมที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี และเป็นผู้สอนธรรมะให้แก่พระเถระองค์สำคัญในธรรมยุติกนิกายหลายรูปรวมถึงพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งพระกรรมฐานสายวัดป่าด้ว.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
พระโคตมพุทธเจ้า
ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระโคตมพุทธเจ้า
พระไตรปิฎกภาษาจีน
ระไตรปิฎกภาษาจีน (大藏經 Dàzàngjīng ต้าจั้งจิง) เป็นพระไตรปิฎกที่รวบรวมเอาคัมภีร์ทั้งของทั้งสามนิกายคือ ๑.ฝ่ายนิกายหินยานเรียกส่วนนี้ว่าอาคม.
ดู อนัตตลักขณสูตรและพระไตรปิฎกภาษาจีน
พาราณสี
ราณสี (Bārāṇasī พาราณสี; वाराणसी, Vārāṇasī วาราณสี) เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี (Kingdom of Kashi) ในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากลัคเนาซึ่งเป็นเมืองหลวงของอุตตรประเทศเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร พาราณสีมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน เป็นเมืองที่ศักดิสิทธิ์ที่สุดหนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิสิทธิ์ (สัปดาปุริ, Sapta Puri) ในความเชื่อของศาสนาฮินดูและศาสนาเชน พาราณสีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปี เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอินเดียและยังจัดเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกด้วย ถือว่าเป็นสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดียและเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก ครั้งสมัยอาณานิคม เมืองนี้มีชื่อว่า เบนาเรส (Benares) พาราณสียังเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลายด้าน โดยมีอาณาเขตครอบคลุมถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารน.
มานะ
มานะ ๙หมายถึงความยึดถือ อันเกิดจากการปรุงแต่ง คือราคะ(การให้ค่า ตีราคา)ว่าสิ่งต่างๆหยาบ ประณีต หรือเสมอ ทั้งที่สิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)ดับไปได้ด้วยการมองทุกสรรพสิ่งเป็นดุจความว่าง(สุญญตา)การสิ้นไปของมานะเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า วิร.
มิจฉาทิฐิ
มิจฉาทิฐิ (มิจฺฉาทิฏฺฐิ) เรียกโดยย่อว่า "ทิฐิ" หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริงหรือผิดจากทำนองคลองธรรม.
รูป
รูป (Rūpa) อาจมีความหมายดังต่อไปนี้.
วิญญาณ
วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.
วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
ในศาสนาพุทธ คำว่าวิญญาณ (viññāṇa; विज्ञान) ใช้หมายถึงพิชาน (consciousness) คือความรู้แจ้งอารมณ์ พระไตรปิฎกระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น 6 ประเภท ได้แก.
ดู อนัตตลักขณสูตรและวิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
มเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ.
ดู อนัตตลักขณสูตรและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สัญญา
"สัญญา" สามารถหมายถึง.
สัสสตทิฐิ
ัสสตทิฐิ (อ่านว่า สัดสะตะทิถิ) แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง เป็นทิฐิที่ตรงกันข้ามกับ อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ศาสนาพุทธถือว่าทั้งสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ สัสสตทิฐิ เป็นลัทธิความเห็นที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยเห็นว่าอัตตาหรือตัวตนเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ขาดสูญ แม้ตายแล้วก็เพียงร่างกายเท่านั้นที่สลายหรือตายไป แต่สิ่งที่เรียกว่าอาตมันหรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ยังเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันสูญ จะไปถือเอาปฏิสนธิในกำเนิดของภพอื่นต่อไป.
สังขาร
ังขาร แปลว่า การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง.
สารนาถ
รนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นาร.
อัตตา
อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา.
อาทิตตปริยายสูตร
ีสะ สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่หมู่ภิกษุชฏิล 1,003 รูปจนสำเร็จพระอรหันต์ทั้งหมด อาทิตตปริยายสูตร เป็นธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่หมู่ภิกษุชฎิล ทั้ง 1,003 รูป ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล ทั้ง 1,003 รูป ส่งกระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จิตของพวกเธอ ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง สำเร็จป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยกันทั้งหมด และพระภิกษุชฏิลทั้งหมดนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ทำให้แคว้นมคธเป็นฐานอำนาจสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา อาทิตตปริยายสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ (อินทรีย์ ๕) ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน แต่ทว่าความสุขหรือความทุกข์ร้อนจากกิเลสทั้งปวงล้วนนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง คือตั้งอยู่ไม่ได้ตลอดไป ไม่มีอะไรที่ควรยึดถือ น่าเบื่อหน่ายในความผันแปร พระสูตรนี้จึงเป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสน.
ดู อนัตตลักขณสูตรและอาทิตตปริยายสูตร
อุจเฉททิฐิ
อุจเฉททิฐิ (อ่านว่า อุดเฉทะทิดถิ) แปลว่า ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธหรือตรงกันข้ามกับ สัสสตทิฐิ อุจเฉททิฐิ คือความเห็นที่ว่าสัตว์โลกทั้งปวงเมื่อตายหรือละจากอัตภาพนี้ไปแล้วก็เป็นอันขาดสูญไม่มีอะไรที่จะไปเกิดหรือไปปฏิสนธิในภพอื่นอีก สิ่งที่เรียกว่าอาตมัน หรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ก็สูญไปเช่นเดียวกัน เรียกว่าขาดสูญไปทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือให้ไปเกิดในสุคติหรือทุคติอีก อุจเฉททิฐิ มีผลกระทบต่อผู้เห็นตามนั้น คือทำให้เป็นคนประมาทขาดสติ เห็นแก่ตัว ปฏิเสธบุญบาป ปฏิเสธนรกสวรรค์ ทำอะไรโดยไม่กลัวบาปกรรม มุ่งแต่หาความสุขในกามรมณ์ เบียดเบียนแก่งแย่งกันและกัน รบราฆ่าฟันกันเพื่อความเป็นใหญ่ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าก่อนที่จะตายไป.
ดู อนัตตลักขณสูตรและอุจเฉททิฐิ
อนัตตา
อนัตตา (อนตฺตา) หรือ อนาตมัน (अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร.
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสน.
ดู อนัตตลักขณสูตรและธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ทิฐิ
ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) (ทิฏฺฐิ, View) แปลว่า การเห็น ในพระพุทธศาสนาใช้ในความหมายเดียวกับ "มิจฉาทิฐิ" คือการเห็นผิด มี 2 ประการ ได้แก่ สัสสตทิฐิ (การเห็นว่าเที่ยง) อุจเฉททิฐิ (การเห็นว่าขาดสูญ) เป็นต้น หากเป็นการเห็นถูก (Right View) เรียกว่า สัมมาทิฐิ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ ปัญญา หรือ การเห็นตรง หรือ ทิฐิวิสุทธิ ซึ่งหมายถึงความรู้เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง ว่าเป็นองค์ประชุมของนามรูป มีเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง ไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนเป็นสัตว์บุคคลได้ เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดไม่หลงเพลิดเพลินโลก นอกจากนี้ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าความอวดดื้อถือดี ความดื้อรั้น ความตะแบงทั้งที่รู้ว่าผิดแต่ไม่ยอมรับและไม่ยอมแก้ไข เช่นที่ใช้ว่า "เขามีทิฐิมาก ไม่ยอมลงใคร" ทิฐิมานะของเขาทำให้เขาเข้ากับใครไม่ได้เลยในที่ทำงาน".
ขันธ์
ันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ.
ตรัสรู้
ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในหลักอริยสัจ 4.
ตัวตน
ตัวตน หรืออัตตา (self) คือสิ่งที่เป็นสารัตถะของชีวิตของแต่ละบุคคล มีสภาพเที่ยงแท้ถาวร ตัวตนจึงทำให้บุคคลนั้นยังเป็นคนเดิม แม้ว่าร่างกายภายนอกหรือความรู้สึกนึกคิดจะแปรเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในบางศาสนาเชื่อว่าตัวตนเป็น "วิญญาณ" แม้บุคคลนั้นตาย ตัวตนจะยังดำรงอยู่ต่อไปในภพอื่น.
ตัณหา
ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้ ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญ.
ปัญจวัคคีย์
ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้ ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป.
ดู อนัตตลักขณสูตรและปัญจวัคคีย์
โสดาบัน
ัน (Sotāpanna โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแส (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต.
เวทนา
วทนา เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมีการกล่าวถึงในพระพุทธศาสนา หมายถึง การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) เวทนา สามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น.
เอหิภิกขุอุปสัมปทา
อหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นชื่อเรียกวิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยพระองค์เอง โดยการตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ตรัสเพียงเท่านี้ ก็เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิก...
ดู อนัตตลักขณสูตรและเอหิภิกขุอุปสัมปทา