โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวตน

ดัชนี ตัวตน

ตัวตน หรืออัตตา (self) คือสิ่งที่เป็นสารัตถะของชีวิตของแต่ละบุคคล มีสภาพเที่ยงแท้ถาวร ตัวตนจึงทำให้บุคคลนั้นยังเป็นคนเดิม แม้ว่าร่างกายภายนอกหรือความรู้สึกนึกคิดจะแปรเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในบางศาสนาเชื่อว่าตัวตนเป็น "วิญญาณ" แม้บุคคลนั้นตาย ตัวตนจะยังดำรงอยู่ต่อไปในภพอื่น.

18 ความสัมพันธ์: บุคคล (แก้ความกำกวม)พรหมันกายลัทธิอนุตตรธรรมลัทธิเต๋าวิญญาณศาสนาศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์ศาสนาเชนสารัตถะสำนักงานราชบัณฑิตยสภาอัตตาตัวตนเต๋าเนเฟช

บุคคล (แก้ความกำกวม)

ล อาจหมายถึง บุคคลธรรม1.

ใหม่!!: ตัวตนและบุคคล (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

พรหมัน

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู พรหมัน (อ่านว่า พฺรม-มัน; ब्रह्मन्) คือความเป็นจริงสูงสุด เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่มีรูปร่าง ไร้ขีดจำกัด เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่มาและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล คัมภีร์อุปนิษัทระบุว่าสรรพสัตว์รับรู้พรหมันได้ใน 2 ลักษณะ คือ.

ใหม่!!: ตัวตนและพรหมัน · ดูเพิ่มเติม »

กาย

กาย กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม เช่น สัตวกาย (มวลสัตว์) พลกาย (กองกำลังทหาร) รถกาย (กองทหารรถ) ธรรมกาย (ที่รวมหรือที่ชุมนุมแห่งธรรม).

ใหม่!!: ตัวตนและกาย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: ตัวตนและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ตัวตนและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

ใหม่!!: ตัวตนและวิญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ตัวตนและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ตัวตนและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ตัวตนและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ตัวตนและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ตัวตนและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเชน

ระมหาวีระ ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (Jainism) เป็นศาสนาแบบอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเป็นเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ตัวตนและศาสนาเชน · ดูเพิ่มเติม »

สารัตถะ

ในทางปรัชญา สารัตถะ (essence) คือคุณลักษณะหรือภาวะอันเป็นเนื้อแท้ ซึ่งทำให้สิ่งหนึ่ง ๆ เป็นตัวของตัวเอง แตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ คตินิยมที่ยอมรับว่าสารัตถะมีอยู่จริง เรียกว่าสารัตถนิยม (essentialism) แต่ละคตินิยมมีทัศนะเกี่ยวกับสารัตถะของมนุษย์ต่างกันไป นักเหตุผลนิยมถือว่าความมีเหตุผลเป็นสารัตถะของมนุษย์ อัตถิภาวนิยมว่าเป็นเสรีภาพ บางศาสนาถือว่าเป็นวิญญาณ เป็นต้น.

ใหม่!!: ตัวตนและสารัตถะ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: ตัวตนและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

อัตตา

อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์) ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัต.

ใหม่!!: ตัวตนและอัตตา · ดูเพิ่มเติม »

ตัวตน

ตัวตน หรืออัตตา (self) คือสิ่งที่เป็นสารัตถะของชีวิตของแต่ละบุคคล มีสภาพเที่ยงแท้ถาวร ตัวตนจึงทำให้บุคคลนั้นยังเป็นคนเดิม แม้ว่าร่างกายภายนอกหรือความรู้สึกนึกคิดจะแปรเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในบางศาสนาเชื่อว่าตัวตนเป็น "วิญญาณ" แม้บุคคลนั้นตาย ตัวตนจะยังดำรงอยู่ต่อไปในภพอื่น.

ใหม่!!: ตัวตนและตัวตน · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: ตัวตนและเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

เนเฟช

นเฟช (נֶפֶש) เป็นคำที่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ หมายถึง "ชีวิต" ซึ่งมีอยู่ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ซึ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นตาย เนเฟชตามความเข้าใจของศาสนายูดาห์และพยานพระยะโฮวาจึงไม่ใช่วิญญาณอมตะ ศาสนาคริสต์ได้พัฒนาความเชื่อนี้ต่อมาว่าเนเฟชหรือ "พซีเค" ในภาษากรีกเป็นวิญญาณอมตะ จะดำรงอยู่ต่อไปแม้ว่าร่างกายจะแตกสลายไปแล้วก็ตาม นิกายโปรเตสแตนต์ฝ่ายลัทธิคาลวินเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ และยังมีความรู้สึกอยู่ตลอดแม้ตายไปแล้ว แต่ฝ่ายลูเทอแรนว่าวิญญาณเป็นมตะ จะหลับใหลไปจนกว่าบรรดาผู้ตายจะคืนชีพ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าวิญญาณจะไปอยู่ที่แดนผู้ตาย ส่วนนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์จะต้องไปอยู่ในแดนชำระก่อน เมื่อบริสุทธิ์แล้วจึงขึ้นสวรรค์ต่อไป ตั้งแต่สังคายนาลาเตรันครั้งที่ห้า คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าผู้ไม่เชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะเป็นพวกนอกรีต.

ใหม่!!: ตัวตนและเนเฟช · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »