เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระไตรปิฎกภาษาจีน

ดัชนี พระไตรปิฎกภาษาจีน

ระไตรปิฎกภาษาจีน (大藏經 Dàzàngjīng ต้าจั้งจิง) เป็นพระไตรปิฎกที่รวบรวมเอาคัมภีร์ทั้งของทั้งสามนิกายคือ ๑.ฝ่ายนิกายหินยานเรียกส่วนนี้ว่าอาคม.

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: พระไตรปิฎกพระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ยมหายานวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรสัทธรรมปุณฑรีกสูตรหีนยานอวตังสกสูตรจักรพรรดิเหลียงอู่เสถียร โพธินันทะเอเชียตะวันออก

  2. พระสูตรในพระไตรปิฎกมหายาน
  3. พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย

ระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย หรือ ฝานต้าจั้งจิง (蕃大藏經)เป็นหนึ่งในชุดพระไตรปิฎกภาษาจีน สร้างขึ้นในอาณาจักรซีเซี่ย สมัยพรเเจ้าเหรินจง หรือเมื่อปีที่ 6 รัชสมัยต้าเต๋อแห่งราชวงศ์หยวน หรือ..

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและพระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและมหายาน

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

ระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำผาม่อเกา ประเทศจีน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (Diamond Sutra) เป็นชื่อพระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย เสถียร โพธินันท.

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร

หีนยาน

หีนยาน (บาลี; हीनयान Hīnayāna) แปลว่า ยานชั้นเลวหรือยานชั้นต่ำ เป็นคำที่คณาจารย์ฝ่ายมหายานใช้เรียกแนวการปฏิบัติใด ๆ ในศาสนาพุทธที่ไม่ได้ยึดแนวทางแบบพระโพธิสัตว์ แต่เน้นการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตนแบบพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกยานและปัจเจกยาน ต่างจากมหายานซึ่งเป็นแนวทางที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมุ่งบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์จำนวนมากได้พ้นทุกข์ตามไปด้วย แนวทางอย่างหลังนี้จึงเรียกว่า มหายาน แปลว่ายานใหญ.

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและหีนยาน

อวตังสกสูตร

อวตังสกสูตร หรือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร เป็นพระสูตรสำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และถือเป็นพระสูตรที่มีขนาดยาวที่สุดสูตรหนึ่ง นิกายหัวเหยียนถือพระสูตรนี้เป็นหลัก มีคณาจารย์อธิบายหลักการอันลึกซึ้งมากมาย ทุกวันนี้ นักวิชาการยกย่องเป็นเป็นหนึ่งในพระสูตรที่มีความลึกซึ้งที่สุดสูตรหนึ่งของพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกภาษาจีน จัดอยู่ในหมวดอวตังสกะ (華嚴部) ครอบคลุมหมวดเดียวทั้งหมด เนื่องจากมีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก.

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและอวตังสกสูตร

จักรพรรดิเหลียงอู่

ักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ พระเจ้าเหลียงอู่ (梁武帝) หรือ เซียวเหยี่ยน (萧衍) แห่งราชวงศ์เหลียง ทรงครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ.

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและจักรพรรดิเหลียงอู่

เสถียร โพธินันทะ

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนหนึ่งของไทย ผู้บุกเบิกการศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน และอดีตเลขาธิการคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน..

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและเสถียร โพธินันทะ

เอเชียตะวันออก

แผนที่เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย ประเทศซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้.

ดู พระไตรปิฎกภาษาจีนและเอเชียตะวันออก

ดูเพิ่มเติม

พระสูตรในพระไตรปิฎกมหายาน

พระไตรปิฎก