เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สัสสตทิฐิ

ดัชนี สัสสตทิฐิ

ัสสตทิฐิ (อ่านว่า สัดสะตะทิถิ) แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง เป็นทิฐิที่ตรงกันข้ามกับ อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ศาสนาพุทธถือว่าทั้งสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ สัสสตทิฐิ เป็นลัทธิความเห็นที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยเห็นว่าอัตตาหรือตัวตนเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ขาดสูญ แม้ตายแล้วก็เพียงร่างกายเท่านั้นที่สลายหรือตายไป แต่สิ่งที่เรียกว่าอาตมันหรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ยังเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันสูญ จะไปถือเอาปฏิสนธิในกำเนิดของภพอื่นต่อไป.

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พุทธศักราชมิจฉาทิฐิวัดราชโอรสารามราชวรวิหารศาสนาพุทธสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)อัตตาอุจเฉททิฐิทิฐิตัวตน

  2. บทความเกี่ยวกับ พุทธศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ดู สัสสตทิฐิและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ดู สัสสตทิฐิและพุทธศักราช

มิจฉาทิฐิ

มิจฉาทิฐิ (มิจฺฉาทิฏฺฐิ) เรียกโดยย่อว่า "ทิฐิ" หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริงหรือผิดจากทำนองคลองธรรม.

ดู สัสสตทิฐิและมิจฉาทิฐิ

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ.

ดู สัสสตทิฐิและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑.

ดู สัสสตทิฐิและศาสนาพุทธ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.

ดู สัสสตทิฐิและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

อัตตา

อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา.

ดู สัสสตทิฐิและอัตตา

อุจเฉททิฐิ

อุจเฉททิฐิ (อ่านว่า อุดเฉทะทิดถิ) แปลว่า ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธหรือตรงกันข้ามกับ สัสสตทิฐิ อุจเฉททิฐิ คือความเห็นที่ว่าสัตว์โลกทั้งปวงเมื่อตายหรือละจากอัตภาพนี้ไปแล้วก็เป็นอันขาดสูญไม่มีอะไรที่จะไปเกิดหรือไปปฏิสนธิในภพอื่นอีก สิ่งที่เรียกว่าอาตมัน หรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ก็สูญไปเช่นเดียวกัน เรียกว่าขาดสูญไปทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือให้ไปเกิดในสุคติหรือทุคติอีก อุจเฉททิฐิ มีผลกระทบต่อผู้เห็นตามนั้น คือทำให้เป็นคนประมาทขาดสติ เห็นแก่ตัว ปฏิเสธบุญบาป ปฏิเสธนรกสวรรค์ ทำอะไรโดยไม่กลัวบาปกรรม มุ่งแต่หาความสุขในกามรมณ์ เบียดเบียนแก่งแย่งกันและกัน รบราฆ่าฟันกันเพื่อความเป็นใหญ่ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าก่อนที่จะตายไป.

ดู สัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ

ทิฐิ

ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) (ทิฏฺฐิ, View) แปลว่า การเห็น ในพระพุทธศาสนาใช้ในความหมายเดียวกับ "มิจฉาทิฐิ" คือการเห็นผิด มี 2 ประการ ได้แก่ สัสสตทิฐิ (การเห็นว่าเที่ยง) อุจเฉททิฐิ (การเห็นว่าขาดสูญ) เป็นต้น หากเป็นการเห็นถูก (Right View) เรียกว่า สัมมาทิฐิ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ ปัญญา หรือ การเห็นตรง หรือ ทิฐิวิสุทธิ ซึ่งหมายถึงความรู้เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง ว่าเป็นองค์ประชุมของนามรูป มีเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง ไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนเป็นสัตว์บุคคลได้ เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดไม่หลงเพลิดเพลินโลก นอกจากนี้ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าความอวดดื้อถือดี ความดื้อรั้น ความตะแบงทั้งที่รู้ว่าผิดแต่ไม่ยอมรับและไม่ยอมแก้ไข เช่นที่ใช้ว่า "เขามีทิฐิมาก ไม่ยอมลงใคร" ทิฐิมานะของเขาทำให้เขาเข้ากับใครไม่ได้เลยในที่ทำงาน".

ดู สัสสตทิฐิและทิฐิ

ตัวตน

ตัวตน หรืออัตตา (self) คือสิ่งที่เป็นสารัตถะของชีวิตของแต่ละบุคคล มีสภาพเที่ยงแท้ถาวร ตัวตนจึงทำให้บุคคลนั้นยังเป็นคนเดิม แม้ว่าร่างกายภายนอกหรือความรู้สึกนึกคิดจะแปรเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในบางศาสนาเชื่อว่าตัวตนเป็น "วิญญาณ" แม้บุคคลนั้นตาย ตัวตนจะยังดำรงอยู่ต่อไปในภพอื่น.

ดู สัสสตทิฐิและตัวตน

ดูเพิ่มเติม

บทความเกี่ยวกับ พุทธศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภวทิฏฐิสัสสตทิฏฐิ