โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิญญาณ

ดัชนี วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

24 ความสัมพันธ์: ชีวิตพระเป็นเจ้ามนุษย์ลัทธิอนุตตรธรรมวิญญาณวิญญาณนิยมศาสนาศาสนายูดาห์ศาสนาอับราฮัมศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์ศาสนาเชนสารัตถะสิ่งมีชีวิตสปิริตอมฤตอัตตาจิตตัวตนปรัชญาโลกเต๋าเนเฟช

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: วิญญาณและชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: วิญญาณและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: วิญญาณและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: วิญญาณและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

ใหม่!!: วิญญาณและวิญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณนิยม

วิญญาณนิยม (จาก ภาษาลาติน anima, "ลมหายใจ, วิญญาณ, ชีวิต") คือ ความเชื่อทางศาสนาที่ว่า วัตถุสิ่งของ สถานที่ หรือ สัตว์ทั้งหลาย ต่างมีสารัตถะทางจิตวิญญาณ (spiritual essence) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าสรรพวัตถุและสรรพสัตว์ (ซึ่งรวมถึง ต้นไม้ ก้อนหิน ลำธาร สภาพอากาศ งานหัตถกรรมของมนุษย์ และแม้แต่คำพูด) ล้วนแต่มีวิญญาณ มีชีวิต และ/หรือมีเจตจำนง (agency) เป็นของตัวเอง ลัทธิวิญญาณนิยมเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีอยู่ก่อนศาสนาจัดตั้งทุกรูปแบบ และถือกันว่าเป็นมุมมอง/ทัศนคติทางจิตวิญาณ หรือของความเชื่อเหนือธรรมมชาติอย่างแรกที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งพบหลักฐานเกี่ยวกับความเชื่อนี้ย้อนหลังไปถึงยุคหินเก่า ซึ่งเป็นสมัยมนุษย์ยังท่องเที่ยวไปตามพื้นที่ต่างๆเพื่อล่าสัตว์ หรือเก็บรวมรวบของป่า และสื่อสารกับจิตวิญญาณของธรรมชาติ ในแง่นี้ความเชื่อแบบศาสนาเชมัน (shaman) หรือลัทธิที่นับถือพ่อมดหมอผีว่าเป็นผู้ที่สื่อสารกับธรรมชาติได้ จึงมีความเกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม ในวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยศาสนาวิญญาณนิยม เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อสื่อถึงระบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง โดยเฉพาะเวลาที่นำไปเปรียบเทียบกับระบบความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือศาสนาจัดตั้งที่เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากแต่ละวัฒนธรรมจะมีตำนานความเชื่อ นิทานเทพปกรณัม และพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป แนวคิด "วิญญาณนิยม" จึงใช้สื่อถึงสายใยความต่อเนื่องในระดับรากฐานของทัศนคติทางจิตวิญญาณ หรือในเรื่องเหนือธรรมชาติของชนพื้นเมือง ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากความคิดความเชื่อ หรือคำสอนของลัทธิที่มาจากภายนอก จนถึงขนาดว่าบางครั้งทัศนคติทางวิญญาณดังกล่าวอาจจะฝังรากลึกลงไปในระบบความเชื่อของชนพื้นเมืองนั้นมาแต่ปฐมกาล จนทำให้ชนพื้นเมืองดังกล่าวไม่มีคำที่ใช้เรียกระบบความเชื่อนั้นในภาษาของตน.

ใหม่!!: วิญญาณและวิญญาณนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: วิญญาณและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: วิญญาณและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอับราฮัม

ัญลักษณ์ของศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาในกลุ่มศาสนาอับราฮัม: ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ศาสนาอับราฮัม (Abrahamic religions) หมายถึง ศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่ถือกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันตก และมีความเชื่อร่วมกันว่าพระเป็นเจ้ามีองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามJ.Z.Smith 1998, p.276Anidjar 2001, p.3 ทั้งสามศาสนาถือว่าอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนาตน นอกจากนั้นก็ยังมีศาสนาย่อยที่บางครั้งถือว่าเป็นศาสนาอับราฮัมด้วย เช่น ศาสนาบาไฮ ผู้นับถือศาสนาอับราฮัมรวมทั้งหมดมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก ในปัจจุบันมีผู้นับถือด้วยกันทั้งหมดประมาณ 3.8 พันล้านคน.

ใหม่!!: วิญญาณและศาสนาอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: วิญญาณและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: วิญญาณและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: วิญญาณและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเชน

ระมหาวีระ ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (Jainism) เป็นศาสนาแบบอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเป็นเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: วิญญาณและศาสนาเชน · ดูเพิ่มเติม »

สารัตถะ

ในทางปรัชญา สารัตถะ (essence) คือคุณลักษณะหรือภาวะอันเป็นเนื้อแท้ ซึ่งทำให้สิ่งหนึ่ง ๆ เป็นตัวของตัวเอง แตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ คตินิยมที่ยอมรับว่าสารัตถะมีอยู่จริง เรียกว่าสารัตถนิยม (essentialism) แต่ละคตินิยมมีทัศนะเกี่ยวกับสารัตถะของมนุษย์ต่างกันไป นักเหตุผลนิยมถือว่าความมีเหตุผลเป็นสารัตถะของมนุษย์ อัตถิภาวนิยมว่าเป็นเสรีภาพ บางศาสนาถือว่าเป็นวิญญาณ เป็นต้น.

ใหม่!!: วิญญาณและสารัตถะ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: วิญญาณและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

สปิริต

ำว่า สปิริต (spirit) บางตำราแปลว่าจิต.

ใหม่!!: วิญญาณและสปิริต · ดูเพิ่มเติม »

อมฤต

ำสำคัญ "อมฤต" (/อะมะริด, หรือ อะมะรึด/), "อมฤตยู" (/อะมะรึดตะยู/), "อมัจจุ" และ "อมตะ" (/อะมะตะ/) เป็นคำสมาสระหว่าง "อ" (ไม่) + "มฤต, มฤตยู, มัจจุ, มตะ" (ตาย) แปลตรงตัวว่า "ไม่ตาย"; สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: วิญญาณและอมฤต · ดูเพิ่มเติม »

อัตตา

อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์) ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัต.

ใหม่!!: วิญญาณและอัตตา · ดูเพิ่มเติม »

จิต

ต (mind) หรือจิตใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำงานของจิต ทั้งจากเพลโต อริสโตเติล หรือแม้แต่นักปรัชญาชาวกรีกและอินเดีย ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะเน้นไปทางปรัชญาหรือศาสนา แต่ทฤษฎีสมัยใหม่ จะอาศัยวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการทำงานของสมอง.

ใหม่!!: วิญญาณและจิต · ดูเพิ่มเติม »

ตัวตน

ตัวตน หรืออัตตา (self) คือสิ่งที่เป็นสารัตถะของชีวิตของแต่ละบุคคล มีสภาพเที่ยงแท้ถาวร ตัวตนจึงทำให้บุคคลนั้นยังเป็นคนเดิม แม้ว่าร่างกายภายนอกหรือความรู้สึกนึกคิดจะแปรเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในบางศาสนาเชื่อว่าตัวตนเป็น "วิญญาณ" แม้บุคคลนั้นตาย ตัวตนจะยังดำรงอยู่ต่อไปในภพอื่น.

ใหม่!!: วิญญาณและตัวตน · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: วิญญาณและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: วิญญาณและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: วิญญาณและเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

เนเฟช

นเฟช (נֶפֶש) เป็นคำที่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ หมายถึง "ชีวิต" ซึ่งมีอยู่ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ซึ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นตาย เนเฟชตามความเข้าใจของศาสนายูดาห์และพยานพระยะโฮวาจึงไม่ใช่วิญญาณอมตะ ศาสนาคริสต์ได้พัฒนาความเชื่อนี้ต่อมาว่าเนเฟชหรือ "พซีเค" ในภาษากรีกเป็นวิญญาณอมตะ จะดำรงอยู่ต่อไปแม้ว่าร่างกายจะแตกสลายไปแล้วก็ตาม นิกายโปรเตสแตนต์ฝ่ายลัทธิคาลวินเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ และยังมีความรู้สึกอยู่ตลอดแม้ตายไปแล้ว แต่ฝ่ายลูเทอแรนว่าวิญญาณเป็นมตะ จะหลับใหลไปจนกว่าบรรดาผู้ตายจะคืนชีพ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าวิญญาณจะไปอยู่ที่แดนผู้ตาย ส่วนนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์จะต้องไปอยู่ในแดนชำระก่อน เมื่อบริสุทธิ์แล้วจึงขึ้นสวรรค์ต่อไป ตั้งแต่สังคายนาลาเตรันครั้งที่ห้า คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าผู้ไม่เชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะเป็นพวกนอกรีต.

ใหม่!!: วิญญาณและเนเฟช · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »