โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เบ็นไซเต็ง

ดัชนี เบ็นไซเต็ง

็นไซเต็ง หรือที่เรียกอย่างสั้นว่า เบ็นเต็ง เป็นเทพีองค์หนึ่งตามคติพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น เป็นเทพีองค์เดียวกับพระสรัสวดีของคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คติการนับถือเบ็นไซเต็ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ผ่านการแปล สุวรรณประภาสสูตร (Suvarṇa-prabhāsa Sūtra; 金光明経) จากภาษาจีนสู่ญี่ปุ่น โดยเนื้อหาให้พระคัมภีร์ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเบ็นไซเต็ง และยังปรากฏใน สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; 妙法蓮華経) ที่ปรากฏองค์พร้อมกับเครื่องดนตรีญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า บิวะ (琵琶) ต่างกับพระสรัสวดีที่ถือ พิณ (วีณา) เบ็นไซเต็ง เป็นหนึ่งในเทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด และเป็นเทพีแห่งกวี อักษรศาสตร์ นาฏกรรม และดนตรี เชื่อกันว่าผู้ใดนับถือเทวีพระองค์นี้ก็จะพบแสงสว่างแห่งปัญญา ในอดีตเกชะนิยมบูชาเบ็นไซเต็งเพราะเชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถเชิงระบำรำฟ้อน ส่วนพวกตีนแมวและพวกย่องเบาเองก็นิยมบูชาเทวีพระองค์นี้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าเบ็นไซเต็งจะดลบันดาลให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี.

12 ความสัมพันธ์: ชินโตพระสุรัสวดีพิณกลุ่มภาษาจีนภาษาญี่ปุ่นรายพระนามเทวดาญี่ปุ่นศาสนาพุทธศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นศาสนาฮินดูสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเกอิชาเจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พิณ

ฟล์:Double_harp.JPG|ฮาร์ป ไฟล์:ReinassanceLute.jpg|ลูต พิณ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและพิณ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเทวดาญี่ปุ่น

ทพเจ้าของญี่ปุ่น ถือกำเนิดโดยมีต้นสายวงศ์คณาเทพ โดย อิซานากิ เทพบิดา และ อิซานามิ เทพมาร.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและรายพระนามเทวดาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคินเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองกษัตริย์อาณาจักรแพคเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคินเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคินเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์ พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

เกอิชา

กอิชา เกอิชา เป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ถือว่าเป็นผู้ที่ชำนาญทางศิลปะและให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นเสมือนผู้คอยต้อนรับและปรนนิบัติแขก เกอิชามีอยู่แพร่หลายอย่างมากในญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 เมื่อ ค.ศ. 1920 มีจำนวนเกอิชาถึง 80,000 คน ส่วนในปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีอาชีพเกอิชา แต่จำนวนค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกอิชาฝึกหัดจะเรียกว่า ไมโกะ คำว่า "เกอิชา" นั้น ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "เกชะ" ในแถบคันไซเรียกว่า เกงิ (芸妓, げいぎ) ส่วนเกอิชาฝึกงานหรือ "เกโกะ" (芸子, げいこ) มีใช้มาตั้งแต่สมัยเมจิ ส่วนคำว่า "กีชา" ที่เรียกว่า "สาวเกอิชา" นั้น นิยมเรียกในช่วงปฏิบัติการร่วมระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา หมายถึง หญิงขายบริการ แต่เรียกตัวเองว่า "เกอิชา" อาชีพของเกอิชานั้นพัฒนาขึ้นมาจาก ไทโคะโมะชิ หรือ โฮกัง ซึ่งคล้ายกับพวกตลกหลวงในราชสำนัก เกอิชาในสมัยแรกนั้นล้วนเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันนั้นจะเรียกกันว่า "อนนะ เกชะ" (女芸者) หรือเกอิชาหญิง แต่ในปัจจุบันเกอิชาเป็นหญิงเท่านั้น อักษรญี่ปุ่น "เกชะ" หมายถึง ศิลปิน เดิมนั้นหญิงที่จะทำอาชีพเกอิชาจะได้รับการฝึกอบรมตั้งแต่เด็ก สำนักเกอิชามักจะซื้อตัวเด็กหญิงมาจากครอบครัวที่ยากจน แล้วนำมาฝึกฝนเลี้ยงดูโดยตลอด ในช่วงวัยเด็ก พวกเขาจะทำงานเป็นหญิงรับใช้ เพราะผู้ช่วยเกอิชารุ่นพี่ในสำนักถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝนด้วยเช่นกัน และเพื่อชดใช้กับค่าเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน การสอนและฝึกฝนอาชีพที่ยาวนานเช่นนี้ นักเรียนจะอาศัยอยู่ในบ้านของครูผู้ฝึก ช่วยทำงานบ้าน สังเกต และช่วยครู และเมื่อชำนาญเป็นเกอิชาแล้ว สุดท้ายก็จะเลื่อนขึ้นไปสู่ตำแหน่งครูผู้ฝึกอบรมต่อไป การฝึกอบรมนี้จะต้องใช้เวลานานหลายปีทีเดียว ในเบื้องต้นนั้นเด็กสาวจะได้เรียนศิลปะหลายแขนง ได้แก่ การเล่นดนตรี (โดยเฉพาะชะมิเซ็ง รูปร่างคล้ายกีตาร์) การขับร้อง การเต้นรำ การชงชา การจัดดอกไม้ (อิเกะบะนะ) รวมถึงเรื่องบทกวีและวรรณคดี การได้คอยเป็นผู้ช่วยและได้เห็นเกอิชารุ่นพี่ทำงาน พวกเขาก็จะมีความชำนาญมากขึ้นและเรียนรู้ศิลปะที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การแต่งชุดกิโมโน รวมถึงการพนันหลายแบบ รู้จักการสนทนา และการโต้ตอบกับลูกค้า เมื่อหญิงสาวได้เข้ามารับการฝึกฝนเป็นไมโกะหรือเกอิชาฝึกหัด ก็จะเริ่มติดตามเกอิชารุ่นพี่ไปยังโรงน้ำชา งานเลี้ยง และการสังสรรค์ต่าง ๆ ที่เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานจริงของเกอิชา ทำให้ได้ประสบการณ์ทำงานจริงและมีความชำนาญขึ้นเรื่อย ๆ ตำบลกิอง แหล่งเกอิชาในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เกอิชาไม่ใช่โสเภณี แม้ว่าในอดีตจะมีการขายพรหมจารีอย่างถูกต้อง และเกอิชาก็ไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะจ่ายเงินซื้อเพื่อการนี้ก็ตาม เกอิชากับโสเภณีมีความแตกต่างพอสมควร โดยสังเกตอย่างง่ายจากการแต่งตัว โดยที่โสเภณีจะมีสายโอบิผูกชุดที่สามารถแกะได้จากข้างหน้า เพื่อความสะดวกในถอดชุดออกออก เครื่องประดับของเหล่าหญิงโสเภณีมีความงดงาม หรูหรา ฟู่ฟ่า ในขณะที่เกอิชามีผ้าโอบิผูกจากข้างหลังตามชุดกิโมโนทั่วไป เครื่องประดับนั้นจะเรียบง่ายแต่แสดงออกถึงความสวยงามตามธรรมชาติ ในรูปแบบของศิลปะได้อย่างดีทีเดียว เกอิชาสมัยใหม่จะไม่ถูกซื้อตัวหรือพามายังสำนักเกอิชาตั้งแต่เด็กเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว การเป็นเกอิชาในสมัยใหม่นั้นเป็นไปโดยสมัครใจทั้งสิ้น และการฝึกฝนอาชีพนั้นจะเริ่มต้นที่หญิงสาว ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ไม่ใช่เด็กหญิงอย่างแต่ก่อน และจะใช้เวลาที่ยาวนานและยุ่งยากมาก เพราะฝึกเมื่ออายุมาก ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชาในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไก (花柳界 "โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งคล้ายกับย่านโพนโทะโช ในเกียวโต เกอิชานั้นมักได้รับการว่าจ้างให้ปรนนิบัติหมู่คณะ และมักทำงานร่วมกันในโรงน้ำชา (茶屋 ชะยะ) หรือร้านอาหารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยเวลาใช้บริการนั้นจะใช้ธูปจุดเป็นเกณฑ์วัด เรียกว่า "เซนโกได" (線香代 "ค่าธูป") หรือ เคียวกุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชาหรือ "เค็นบัน" (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงานก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้นก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้.

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและเกอิชา · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ

ทพเจ้าโชคลาภทั้งเจ็ด เทพเจ้าโชคลาภทั้งเจ็ด คือเหล่าเทพเจ้าแห่งโชคลาภซึ่งเป็นที่นับถือกันมากในประเทศญี่ปุ่น ตามเทพนิยายและเรื่องเล่าต่อๆกันมา เทพทั้งเจ็ด มักสื่อออกมาในรูปเครื่องรางต่างๆทีจำหน่ายตามศาลเจ้า หรือ ของรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเทพเจ้า มักเดินทางจากสวรรค์มาโดยเรือ ซึ่งได้ชื่อว่า "เรือมหาสมบัติ".

ใหม่!!: เบ็นไซเต็งและเจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เบนไซเทน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »