เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อัปสร

ดัชนี อัปสร

ระบำนางอัปสรในปัจจุบัน ในรูปแบบเดียวกันกับภาพสลักปราสาทขอมโบราณ อัปสร (अप्सराः อปฺสราะ, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสะ; อจฺฉรา) ถือเป็นนางฟ้าจำพวกหนึ่ง แต่ไม่ใช่เทวี บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์ ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในเทพปกรณัมของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ ตามเทพปกรณัมฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมิวส์ของเทพปกรณัมกรีก นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: พระพรหมพระอินทร์มหากาพย์มหาภารตะมิวส์ศาสนาฮินดูคนธรรพ์ประเทศกัมพูชาประเทศอินเดียนาฏยศาสตร์นางฟ้านครวัดเกษียรสมุทรเทพปกรณัมกรีกเทวี

  2. ตำนานอภินิหาร
  3. เทพธิดาในศาสนาพุทธ
  4. เทวีจีน
  5. เทวีในศาสนาฮินดู

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ดู อัปสรและพระพรหม

พระอินทร์

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-5627.html | สถานบำบวงหลัก.

ดู อัปสรและพระอินทร์

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ดู อัปสรและมหากาพย์

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด.

ดู อัปสรและมหาภารตะ

มิวส์

"โลงศพมิวส์" แสดงรูปปั้นนูนสูงของมิวส์ทั้งเก้านาง ทำจากหินอ่อนในต้อนศตวรรษที่ 2 โดย Ostienese - ''Louvre'' มิวส์ (Muses) เป็นเทพธิดาผู้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่กวี เป็นผู้ขับร้องบทเพลงแสนไพเราะที่แม้เทพเจ้าก็ต้องเงี่ยโสตสดับฟัง พวกนางเป็นธิดาของซุสกับนิโมซิเน มีอยู่ทั้งหมด 9 นาง คือ.

ดู อัปสรและมิวส์

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ดู อัปสรและศาสนาฮินดู

คนธรรพ์

รูปสลักไม้คนธรรพ์ ที่พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณริมถนนสุขุมวิทจังหวัดสมุทรปราการ คนธรรพ์ (गन्धर्व Gandharva) เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง ตามคติในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู.

ดู อัปสรและคนธรรพ์

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ดู อัปสรและประเทศกัมพูชา

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ดู อัปสรและประเทศอินเดีย

นาฏยศาสตร์

ทวรูปศิวนาฏราช ศิลปะอินเดียตอนใต้ นาฏยศาสตร์ (สันสกฤต:नाट्य शास्त्र) หรือ นาฏยเวท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยการฟ้อนรำ คติความเชื่อของชาวอินเดียโบราณถือว่าคัมภีร์นาฏยศาสตร์หรือนาฏยเวทเป็นพระเวทที่ ๕ นอกเนื้อจากไปจากพระเวทเดิม คือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวทและอาถรรพณเวท นาฏยศาสตร์มีกำเนิดขึ้นเนื่องมาจากลิทธิเทวนิยม มีเรื่องราวกล่าวไว้ในคัมภีร์นี้ว่า พระพรหมได้สร้างนาฏยเวทขึ้นนำหลักจากพระเวททั้ง ๔ ที่มีมาก่อน กล่าวคือ นำคำพูดคำเจรจามาจากฤคเวท บทขับร้องมาจากสามเวท กริยาท่าทางจากยชุรเวท อารมณ์ต่างๆ จากอาถรรพณเวท ภรตมุนีได้รับนาฏยเวทจากพระพรหมแล้วนำมาสั่งสอนให้แก่มนุษยโลก.

ดู อัปสรและนาฏยศาสตร์

นางฟ้า

นางฟ้า คือนางในเทพนิยายที่เชื่อว่าอยู่บนสวรรค์ อาจหมายถึง.

ดู อัปสรและนางฟ้า

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ดู อัปสรและนครวัด

เกษียรสมุทร

รูปปั้นตำนานกวนเกษียรสมุทร ที่ชั้นขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ เกษียรสมุทร เป็นทะเลของน้ำนมตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นวรรณกรรมมหาภารตยุทธและในภควัตปุราณะ ซึ่งเล่าเรื่องถึงครั้งที่พระอินทร์เสด็จลงมาบนโลกและได้พบกับฤาษีทุรวาสที่รับดอกไม้สาการะจากนางอัปสรนางหนึ่งแต่ฤาษีเห็นว่าหากตนคล้องดอกไม้จากนางอัปสรคงจะไม่เหมาะสม จึงได้ถวายดอกไม้นั้นแก่พระอินทร์เมื่อพระอินทร์รับแล้วก็ทรงมอบแก่พระชายาอีกต่อหนึ่งแต่ด้วยกลิ่นของดอกไม้ทำให้พระชายามึนเมาจึงทิ้งไป ฤาษีเห็นดังนั้นก็โกรธจึงสาปแช่งพระอินทร์และบริวารให้อ่อนกำลังลงและพ่ายแพ้ในสงคราม เมื่อสาปแช่งดังนี้แล้วฤษีก็เดินจากไปพลันกำลังของเทวดาก็ลดลงกึ่งหนึ่งและเมื่ออสูรทราบข่าวพระอินทร์โดนสาปแช่งจึงได้ยกทัพไปตีสวรรค์ ทำให้พระอินทร์พ่ายแพ้ และเพื่อฟึ้นคืนกำลังจึงต้องทำการกวนเกษียรสมุทรให้เกิดน้ำอมฤตที่เมื่อดื่มกินจะเป็นอมตะและกำลังยังมากขึ้นกว่าที่เคยมี.

ดู อัปสรและเกษียรสมุทร

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ดู อัปสรและเทพปกรณัมกรีก

เทวี

ทวี (देवी; goddess) หมายถึง เทวดาผู้หญิง เทวีบางองค์เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น โลก ความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นแม่ เป็นต้น ลัทธิศาสนาที่บูชาเทวีเป็นหลัก เช่น ลัทธิศักติในศาสนาฮินดู พระนางตาราในศาสนาพุทธแบบทิเบต เป็นต้น.

ดู อัปสรและเทวี

ดูเพิ่มเติม

ตำนานอภินิหาร

เทพธิดาในศาสนาพุทธ

เทวีจีน

เทวีในศาสนาฮินดู

หรือที่รู้จักกันในชื่อ นางอัปสรนางอัปสรา