กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี
กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ vs. หาริตี
“กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ (Cornucopia หรือ Horn of plenty; Cornu Copiae) เป็นสัญลักษณ์ของอาหารและความอุดมสมบูรณ์ที่ใช้กันมาราวห้าร้อยปีก่อนคริสต์ศักราชบางครั้งก็เรียกว่า “กรวยแห่งอมาลเธีย” (Horn of Amalthea) หรือ “กรวยแห่งการเก็บเกี่ยว” (Harvest cone) “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” พบบ่อยในงานศิลปะทุกแขนงมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมันในการใช้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และการให้กำเนิด ในตำนานเทพเจ้ากรีกเทพีอมาลเธีย (Amalthea) เป็นแพะผู้เลี้ยงดูซูสด้วยน้ำนมของตนเอง เมื่อเขาของอมาลเธียหักด้วยอุบัติเหตุโดยซูสขณะที่กำลังเล่นกันซึ่งทำให้อมาลเธียกลายเป็นยูนิคอร์น เทพซูสผู้รู้สึกผิดก็คืนเขาให้ เขานั้นจึงมีอำนาจเหนือธรรมชาติที่จุสิ่งใดก็ได้ที่ผู้เป็นเจ้าของต้องการ ภาพดั้งเดิมเป็นภาพเขาแพะที่เต็มไปด้วยผลไม้และดอกไม้ เทพเช่นเทพีฟอร์ชูนา (Fortuna) บางภาพจะถือกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ กรวยก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของการให้กำเนิด อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าเทพีอมาลเธียอาจจะเป็นนิมฟ์ที่ถูกขอให้มาเลี้ยงซูสเมื่อถูกซ่อนตัวจากโครเนิส อมาลเธียก็นำซูสไปซ่อนไว้ที่เขาไอไกออน (Mount Aigaion) ที่แปลว่าภูเขาแพะ ซึ่งอาจจะหมายความว่าอมาลเธียเป็นนิมฟ์ที่เป็นแพะหรือเป็นนิมฟ์ที่ดูและแพะก็ได้ ฉะนั้นเขาที่หักอาจจะเป็นเขาของอมาลเธียหรือเขาของแพะของอมาลเธียที่หักขณะที่เล่นกับซูสก็ได้ เพื่อเป็นการตอบแทนเทพซูสจึงสร้าง “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าอมาลเธียเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของกลุ่มดาวแพะทะเล การสร้างงานศิลปะในสมัยใหม่ของ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” มักจะเป็นกรวยที่สานด้วยหวายที่มีรูปร่างเหมือนเขาแพะที่บรรจุด้วยสิ่งต่างสำหรับฉลองเช่นผลไม้และผัก ในทวีปอเมริกาเหนือ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” กลายมามีความสัมพันธ์กับเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้าและการเก็บเกี่ยว ในรัฐบริติชโคลัมเบีย “Cornucopia” เป็นชื่อของเทศกาลไวน์และอาหารประจำปีที่ฉลองกันที่วิสเลอร์ นอกจากนั้นสัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฏในธงและตราของรัฐไอดาโฮ, รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐนิวเจอร์ซีย์ และในตราของประเทศโคลอมเบีย, ประเทศเปรู และประเทศเวเนซุเอลา “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” ใช้ในเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์ของการมีบุตร, โชค และความอุดมสมบูรณ์ ผู้นับถือคริสต์ศาสนาบางกลุ่มก็กล่าวเตือนไม่ให้ใช้สัญลักษณ์ที่ว่านี้เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้าย และเปรียบเทียบกับ “เขา” ที่บรรยายในพระคัมภีร์ที่หมายถึงพระเยซูเท็จ (Antichrist). หารีตี (Hārītī) เป็นยักขินีในเมืองเปศวาร์และในเทพปกรฌัมทางภูมิภาคต้าเซี่ยซึ่งมีที่มาจากเทวีสวัสวดีในวัฒนธรรมฮินดู แต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงตรงที่นางหารีตีเป็นปอบกินคน นางมีบุตรนับร้อยและรักบุตรเป็นอันมาก แต่จับบุตรของผู้อื่นมาเป็นภักษาหารให้แก่บุตรนาง ครั้นพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่แว่นแคว้นดังกล่าวจากทางแม่น้ำสินธุ ก็เกิดเรื่องเล่าใหม่ว่า สตรีผู้หนึ่งซึ่งบุตรถูกนางหาริตีลักไปได้วอนขอให้พระโคตมพุทธเจ้าทรงช่วยปกป้องบุตรนางด้วย พระองค์จึงทรงลักพาไอชี (Aiji) บุตรสุดท้องของนางหารีตีไปซ่อนไว้ได้บาตร นางหารีตีออกตามหาบุตรไปทั่วท้องจักรวาลแต่ก็ไม่พบ ที่สุด นางจึงมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า นางเองบุตรหายไปหนึ่งเวลายังเป็นทุกข์ร้อนถึงเพียงนี้ แล้วบิดามารดาผู้อื่นซึ่งบุตรถูกนางลักไปฆ่ากินนั้นจนล่วงลับตลอดไปนั้นจะไม่ร้อนรนเป็นร้อยเท่าพันเท่าหรือ นางหารีตีเมื่อเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานใจของบิดามารดาผู้อื่น จึงปวารณาตัวเป็นผู้คุ้มครองเด็กและเป็นอุบาสิกา ทั้งหันไปบริโภคผลมณีพืชแทนเนื้อเด็ก ภายหลัง นางกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการพิทักษ์รักษาเด็ก การคลอดง่าย การเลี้ยงดูอุ้มชูเด็กอย่างมีความสุข ชีวิตคู่ผัวตัวเมียสุขสันต์ปรองดอง และชีวิตครอบครัวร่มเย็นมั่นคง นางหาริตียังคุ้มครองพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และสตรีไร้บุตรยังมักกราบไหว้นางหาริตีเพื่อขอบุตรด้วย กล่าวได้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนามาถึงดินแดนเปศวาร์แล้ว นางหาริตีก็เปลี่ยนจากยักขินีตามวัฒนธรรมเปอร์เซียดั้งเดิมไปเป็นผู้อภิบาลพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกับที่ในช่วงต้นพระพุทธศาสนาใช้กลืนลัทธิวิญญาณนิยม ต่อมา วัฒนธรรมเกี่ยวกับนางหาริตีก็แพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเช่นญี่ปุ่น และหาริตีในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเรียก "คิชิโมะจิง" หรือ "คิชิโบะจิง".
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี
กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี
การเปรียบเทียบระหว่าง กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี
กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ หาริตี มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (20 + 9)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์และหาริตี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: