โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ดัชนี สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

24 ความสัมพันธ์: ชะเอม แก้วคล้ายพระกุมารชีพพระสุตตันตปิฎกพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนิชิเร็งพระโพธิสัตว์กลุ่มภาษาจีนภาษาสันสกฤตภาษาปรากฤตภิกษุณีธัมมนันทามหายานราชวงศ์โครยอวัดโพธิ์แมนคุณารามศาสนาพุทธสมาคมสร้างคุณค่าสังสารวัฏอักษรจีนอนุพุทธะประเทศอินเดียประเทศเกาหลีนาคารชุนะนิชิเร็งโชชูเจ้าชายโชโตะกุเทียนไถ

ชะเอม แก้วคล้าย

'''อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย''' ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกและภาษาบาลีสันสกฤต นายชะเอม แก้วคล้าย (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 -) เกิดที่บ้านหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกอักษรโบราณ ภาษาไทย ภาษาบาลีสันสกฤต และพุทธศาสนา มีผลงานการอ่านและแปลจารึกที่พบในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาจากภาษาสันสกฤต ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ แต่ยังมีผลงานด้านภาษาและจารึกอย่างต่อเนื่อง.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและชะเอม แก้วคล้าย · ดูเพิ่มเติม »

พระกุมารชีพ

มืองกุฉา เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน พระกุมารชีพ (จีนตัวย่อ: 鸠摩罗什; จีนตัวเต็ม: 鳩摩羅什; พินยิน: Jiūmóluóshí) เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระกุมารชีพ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระปัจเจกพุทธเจ้า

ระปัจเจกพุทธเจ้า (ปจฺเจกพุทฺธ; ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น) พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดีแต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตรในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระปัจเจกพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนิชิเร็ง

อนุสาวรีย์พระนิชิเร็น ด้านนอกฮอนโนะจิ ใน อำเภอเทะระมะชิ กรุงเกียวโต พระนิชิเร็ง (日蓮) หรือ พระนิชิเร็งไดโชนิน (ใช้ในนิกายนิชิเร็งโชชู) เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิกายนิชิเร็งโชชูเชื่อว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง ท่านคือผู้สถาปนาและริเริ่มเผยแผ่คำสอน "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว" บนพื้นฐานของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็ง ซึ่งปัจจุบันได้แตกกิ่งก้านออกไปเป็นนิกายย่อย ๆ ประมาณ 32 นิกายในญี่ปุ่น และมีหลายลัทธิยืมคำสอนของท่านไปใช้ด้วย นิกายหลัก ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือนิชิเร็งโชชูและนิชิเร็งชู แต่นิกายแรกจะเป็นที่รู้จักมากกว่าเพราะมีสานุศิษย์กระจายอยู่ทั่วโลกแม้แต่ในเมืองไทย ตลอดชีวิตของพระนิชิเร็ง ท่านทุ่มเทเผยแผ่คำสอน โดยท่านเรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่นละทิ้งคำสอนของนิกายและความเชื่อต่าง ๆ หันมายึดมั่นในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแต่เพียงพระสูตรเดียว เพราะท่านกล่าวว่าเป็นพระสูตรที่สูงส่งที่สุดและเป็นเจตนาที่แท้จริงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า เมื่อทำเช่นนั้นแล้วจึงจะช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นสงบสุข มั่นคง รอดพ้นจากปัญหานานาประการทั้งจากภัยธรรมชาติ ฤดูกาลแปรปรวน โรคระบาด เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง กบฏภายใน และภัยจากจักรวรรดิมองโกล ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น แต่หนทางในการเผยแผ่คำสอนของพระนิชิเร็งไม่เรียบง่าย บางครั้งถึงขั้นต้องแลกกับชีวิต ด้วยเหตุนี้วงการพุทธศาสนามหายานจึงสดุดีท่านว่า ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตร.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระนิชิเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปรากฤต

ษาปรากฤต (Prakrit) เป็นภาษาโบราณกลุ่มหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (อินเดีย-ยุโรป)ในสาขาย่อย ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) โดยมากจะจัดเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการในกึ่งกลาง ระหว่างภาษาโบราณกับภาษาสมัยใหม่ ที่เรียก ภาษาปรากฤตนี้ ไม่ได้หมายจำเพาะไปที่ตัวภาษาหนึ่งภาษาใด แต่เป็นการเรียกภาษากลุ่มหนึ่งในระดับภาษาถิ่น และเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดว่าภาษาปรากฤตคืออย่างไร และนักวิชาการด้านภาษาอินเดียก็ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกัน บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาถิ่นอินเดียยุคใหม่ รวมทั้งในยุคกลาง หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาสันสกฤตและภาษาพระเวท บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาอินเดียยุคใหม่ ที่วิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤตยุคกลาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่า ภาษาปรากฤตคือภาษาถิ่นของภาษาสันสกฤต และยังมีความเห็นว่า ภาษาบาลี ก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาปรากฤตก็ได้ หลักฐานภาษาปรากฤตที่เก่าแก่ที่สุด คือจารึกอโศก บนเสาอโศก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้สร้างขึ้น โดยใช้อักษรพราหมี ทว่าไม่ปรากฏว่ามีการใช้ภาษาปรากฤตในงานวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง แต่กลับมีการใช้ในรูปของภาษาพูด ดังจะพบได้จากบทละครภาษาสันสกฤต ที่ให้ตัวละครในวรรณะสูงพูดภาษาสันสกฤต ขณะที่วรรณะต่ำจะพูดภาษาปรากฤต หรือภาษาอปรภรัมศะ คำว่า ปรากฤต ในภาษาสันสกฤต นั้น หมายถึง ธรรมชาติ ปกติ ดั้งเดิม หรือท้องถิ่น ฯลฯ นักภาษาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ภาษาปรากฤต น่าจะหมายถึงภาษาที่มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติตามกระบวนการทางภาษา ซึ่งตรงข้ามกับภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง ขัดเกลาแล้ว อันเป็นภาษาที่ได้รับการวางระเบียบกฎเกณฑ์โดยนักปราชญ์ ในแง่ของไวยากรณ์แล้ว ภาษาปรากฤตมีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตอย่างมาก ไม่มีทวิพจน์ มีการกน้อยกว่า และมีการแจกกริยาที่ง่ายกว่า และคำศัพท์ทั้งหมดในภาษาปรากฤตก็มาจากต้นกำเนิดในภาษาอินเดียโบราณ ภาษาอรรธมคธีเป็นรูปแบบโบราณของภาษามคธี ซึ่งใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาเชน และมักเป็นตัวแทนของภาษาปรากฤต นักไวยากรณ์ของภาษาปรากฤตจะแสดงไวยากรณ์ของภาษาอรรธมคธีก่อน เพราะฉะนั้นในการเรียนภาษาปรากฤต มักจะเริ่มด้วยภาษาอรรธมคธี.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและภาษาปรากฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุณีธัมมนันทา

กษุณีธัมมนันทา ชื่อเดิม รองศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและภิกษุณีธัมมนันทา · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โครยอ

ราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 918 - ค.ศ. 1392) ก่อตั้งใน ค.ศ. 918 และรวบรวมสามแคว้นหลังได้ใน ค.ศ. 936 จนคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังสมัยชิลลา จนถูกโค่นล้มโดยลีซองเกใน ค.ศ. 1392 สมัยโครยอเป็นสมัยที่ลัทธิขงจื้อเข้ามาในเกาหลีอย่างเต็มตัว เป็นสมัยที่ทหารปกครองบ้านเมือง และการยึดครองของมองโกลก็ทำให้วัฒนธรรมมองโกลหลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี สมัยโครยอเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลี มีการพิมพ์พระไตรปิฏกภาษาเกาหลีเป็นฉบับแรก คือ ไตรปิฏก โคเรียนะ เก็บไว้ที่วัดแฮอินซา Map of Goryeo คำว่า "โครยอ" มาจาก "โคกูรยอ" หนึ่งในสามอาณาจักรโบราณของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นที่มาของคำว่า "โคเรีย" ในภาษาอังกฤษ (โดยเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "โกเร" ที่หมายถึงอาณาจักรแห่งนี้ในความหมายของชาวอาหรับ) และ "เกาหลี" ในภาษาจีนกลางและภาษาไท.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

วัดโพธิ์แมนคุณาราม

ทางเข้าวัดโพธิ์แมนคุนาราม ภาพจากดาวเทียม วัดโพธิ์แมนคุณาราม (โพวมึ้งป่ออึงยี่) (普門報恩寺) เป็นวัดฝ่ายมหายานและเซน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย สืบทอดหลักธรรมคำสอนมาจากนิกายเซน สาขาหลินฉี (วิปัสสนา) และเป็นเป็นศูนย์กลางหลักธรรมคำสอนของนิกายวินัย และนิกายมนตรยานของศาสนาพุทธแบบทิเบต และเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย และศูนย์กลางการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธนิกายมหายานและวัชรยานอีกทั้งเป็นแหล่งข้อมูลพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของประเทศไท.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและวัดโพธิ์แมนคุณาราม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมสร้างคุณค่า

ัญลักษณ์แห่งสมาคมโซคา สมาคมสร้างคุณค่า (創価学会, Sōka Gakkai โซคา กักไก) เป็นองค์การศาสนาพุทธดำเนินการโดยฆราวาสที่จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ก่อตั้งขึ้นโดยแยกตัวออกมาจากนิกายนิชิเร็นโชชู ในปัจจุบันสมาคมโซคา กักไก นั้นไม่ได้ขึ้นตรงต่อวัดไทเซะคิและสังฆปริณายกนิชิเร็นโชชู กระทั่งปัจจุบันไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอันใดกัน โดยสมาคมโซคาศรัทธาในคำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินที่กล่าวว่า "คฤหัสถ์ก็สามารถเข้าถึงการรู้แจ้งและเปิดสภาพชีวิตพุทธะในตนเองได้" ซึ่งในปี..

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและสมาคมสร้างคุณค่า · ดูเพิ่มเติม »

สังสารวัฏ

วัฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเก.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและสังสารวัฏ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อนุพุทธะ

อนุพุทธะ หมายถึง สาวกผู้รับคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติตามจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ โดยคำว่า อนุพุทธะ มาจากศัพท์ว่า อนุ (ตาม) + พุทธะ (ผู้รู้) แปลว่า ผู้ตรัสรู้ตาม อนุพุทธะ จัดเป็นพุทธะประเภทหนึ่งในพุทธะ 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและอนุพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลี

แผนที่ประเทศเกาหลีก่อนที่จะถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ธงรวมเกาหลี ธงสัญลักษณ์ร่วมสำหรับเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในการแข่งขันกีฬานานาชาตินับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선, ฮันกุก หรือ โชซ็อน) เป็นอดีตประเทศ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและประเทศเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

นาคารชุนะ

ระนาคารชุนะ รูปปั้นของพระนาคารชุนะ ในวัดพุทธแบบทิเบตแห่งหนี่งในสหราชอาณาจักร นาคารชุนะ (नागार्जुन; Nāgārjuna; నాగార్జునా;; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนาคารชุนะ · ดูเพิ่มเติม »

นิชิเร็งโชชู

อนุสาวรีย์พระนิชิเร็น ด้านนอกฮอนโนะจิ ใน อำเภอเทะระมะชิ กรุงเกียวโต นิกายนิชิเรนโชชู (日蓮正宗) คือหนึ่งในนิกายฝ่ายมหายานของพระพุทธศาสนา นิกายนิชิเรน โดยยึดตามคำสอนของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ซึ้งเชื่อในหมู่ผู้นับถือว่าคือพระพุทธเจ้าแท้จริง มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น การปฏิบัติที่รู้จักกันดีคือการสวดไดโมขุ หรือ ธรรมสารัตถที่ว่านัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว นิกายนี้จัดเป็นนิกายที่มีคำสอนตรงกันข้ามและหักล้างนิกายอื่นๆอย่างชัดเจน อาทิเช่น นิกายเซน, นิกายชินงอน, นิกายสุขาวดี, วัชรยาน เป็นต้น ซึ่งนิชิเรน ได้เห็นความเบี่ยนเบนทางคำสอนของพระพุทธศาสนา และได้หักล้างความเบี่ยนเบนต่างๆเหล่านั้น สาวกคนสำคัญของพระนิชิเร็นไดโชนิน พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งวัดใหญ่ไทเซขิจิ ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก มีวัดสาขาและศูนย์กลางเผยแผ่ประจำในประเทศต่างๆเช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย ศรีลังกา สิงคโปร์ กานา บราซิล อาร์เจนตินา ฮ่องกง มาเลเซีย สเปน อินเดีย เป็นต้น คำสอนของนิกายได้รับการดัดแปลงและเผยแพร่โดยองค์กรทางพุทธศาสนาบางองค์กรจนแตกต่างไปในปัจจุบัน ดังนั้นนิกายนิชิเรนโชชูจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรเหล่านั้นแต่อย่างใด นิชิเรนโชชูได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 750 ปีแห่งการก่อตั้งนิกายเมื่อปี ค.ศ. 2002.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนิชิเร็งโชชู · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโชโตะกุ

้าชายโชโตะกุ (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1115 – 8 เมษายน พ.ศ. 1165) รู้จักกันในพระนามเจ้าชายอุมะยะโดะ หรือเจ้าชายคะมิสึยะ เป็นผู้ปกครองในยุคอะซุกะแห่งประเทศญี่ปุ่น อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของจักรพรรดินีซุอิโกะ พระองค์เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิโยเมและเจ้าหญิงอะนะโนะเบะ โนะ ฮะชิฮิโตะ พระบิดาและพระมารดาเป็นพระญาติของตระกูลโซะกะ ซึ่งมีอำนาจมากในสมัยนั้น และพระองค์ทรงเกี่ยวพันกับการกำจัดตระกูลโมะโนะโนะเบะอีกด้วย หลักฐานสำคัญที่ใช้อ้างอิงพระประวัติและพระกรณียกิจนั้นมาจากพงศาวดารญี่ปุ่นนามนิฮงโชะก.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและเจ้าชายโชโตะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เทียนไถ

นิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นิกายเทียนไถ (天台宗 Tiāntái) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศจีน ก่อตั้งโดยฉีอี้ นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก.

ใหม่!!: สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและเทียนไถ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สัทธรรมปุณฑริกสูตรพระสูตรบัวขาวปุณฑริกสูตรปุณฑรีกสูตร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »