โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สเตรปโตมัยซิน

ดัชนี สเตรปโตมัยซิน

ตรปโตมัยซิน (Streptomycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด รวมถึง วัณโรค, การติดเชื้อ ''Mycobacterium avium'' complex, เยื่อบุหัวใจอักเสบ, บรูเซลโลสิส, การติดเชื้อแบคทีเรียสกุลเบอโคเดอเรีย, กาฬโรค, ไข้กระต่าย, และไข้หนูกัด กรณีวัณโรคระยะแสดงอาการนั้นมักจะใช้สเตรปโตมัยซินร่วมกับไอโซไนอะซิด, ไรแฟมพิซิน, และไพราซินาไมด์ ยานี้สามารถบริหารยาได้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำและการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สเตรปโตมัยซินจัดเป็นยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ที่หน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวนได้ ส่งผลให้แบคทีเรียเซลล์นั้นๆตายไปในที่สุด อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการได้รับการรักษาด้วยสเตรปโตมัยซิน ได้แก่ อาการรู้สึกหมุน, อาเจียน, อาการชาบริเวณผิว, ไข้, และมีผื่นคัน การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกหูหนวกแต่กำเนิดได้ แต่การใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นพบว่าค่อนข้างมีความปลอดภัย ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้สเตรปโตมัยซินในผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย เนื่องจากอาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้ สเตรปโตมัยซินถูกค้นพบใน..

62 ความสัมพันธ์: ชีวสังเคราะห์โปรตีนกรดนิวคลีอิกกองทัพบกสหรัฐการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการทดลองแบบอำพรางการขายส่งการฉีดเข้าหลอดเลือดดำกาฬโรคม้ายาปฏิชีวนะยูแคริโอตรองประธานาธิบดีสหรัฐระบบการทรงตัวระบบประสาทรัฐมิชิแกนรัฐนิวเจอร์ซีย์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์รูปแบบเภสัชภัณฑ์วัววัณโรคสหรัฐสหราชอาณาจักรสารละลายสาลี่สงครามโลกครั้งที่สองห้องปฏิบัติการอะมิโนไกลโคไซด์อาการรู้สึกหมุนอาการไม่พึงประสงค์จากยาอาเจียนองค์การอาหารและยาผลไม้ผักผื่นดอลลาร์สหรัฐดีเอ็นเอประสาทสมองประธานาธิบดีสหรัฐประเทศกำลังพัฒนานีโอมัยซินแบคทีเรียแบคทีเรียกรัมบวกแบคทีเรียแกรมลบแกะโพรแคริโอตโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายไม้ประดับไรแฟมพิซินไรโบโซมไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ...ไข้ไข้กระต่ายไตไซยาโนแบคทีเรียเพนิซิลลินเมอร์คเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อเอ็มอาร์เอ็นเอเจนตามัยซินเดอะ บีเอ็มเจเซลมัน แวกส์มันเซลล์ ขยายดัชนี (12 มากกว่า) »

ชีวสังเคราะห์โปรตีน

tRNA โปรตีนที่สังเคราะห์ใหม่ (''สีดำ'') จะถูกปรับแต่งต่อไป เช่น การเชื่อมต่อกับโมเลกุลเอฟเฟคเตอร์ (''สีส้ม'') กลายเป็นโมเลกุลที่แอกตีฟเต็มที่ต่อไป การสังเคราะห์ (Protein biosynthesis (Synthesis)) เป็นกระบวนการสร้างโปรตีนที่เกิดขึ้นใน เซลล์ กระบวนการสร้างโปรตีนมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ ทรานสคริปชั่นและจบที่ ทรานสเลชั่น การสังเคราะห์โปรตีนโดยทั่วไปถึงแม้จะเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกันในระหว่าง โปรแคริโอต และ ยูแคริโอต.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและชีวสังเคราะห์โปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

กรดนิวคลีอิก

รงสร้างของดีเอ็นเอเป็นเกลียวคู่ กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) เป็นพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ ที่ต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond) โดยที่หมู่ของฟอสเฟตที่เป็นส่วนประกอบของพันธะจะเชื่อมโยงระหว่างหมู่ ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 5' ของนิวคลีโอไทด์โมเลกุลหนึ่งกับหมู่ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3' ในโมเลกุลถัดไป จึงทำให้นิวคลีโอไทด์มีโครงสร้างของสันหลัง (backbone) เป็นฟอสเฟตกับน้ำตาลและมีแขนงข้างเป็นเบส อาจจำแนกได้เป็น DNA และ RNA.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและกรดนิวคลีอิก · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกสหรัฐ

กองทัพบกสหรัฐ (United States Army) เป็นเหล่าที่ใหญ่ที่สุดในกองทัพสหรัฐ และดำเนินการปฏิบัติการทางทหารบก เป็นหนึ่งในเจ็ดของเหล่าทัพสหรัฐ โดยถูกกำหนดให้เป็นกองทัพบกสหรัฐ ในรัฐธรรมนูณสหรัฐ มาตราที่ 2 หมวด 2 วรรค 1 ในฐานะที่เป็นเหล่าที่ใหญ่และอาวุโสที่สุดในกองทัพสหรัฐ เดิมทีกองทัพสหรัฐมีรากฐานมาจากกองทัพภาคพื้นทวีป สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและกองทัพบกสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบอำพราง

การทดลองแบบอำพราง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hemisphere ว่า "doubled blind cross-over study" ว่า "การศึกษาข้ามกลุ่มแบบอำพรางสองฝ่าย" (blind experiment, blinded experiment) เป็นการทดลองที่ปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองที่อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในผลการทดลอง ไม่ให้ผู้ทำการทดลอง หรือผู้รับการทดลอง หรือทั้งสองฝ่าย รับรู้ จนกระทั่งการทดลองได้จบเสร็จสิ้นลงแล้ว ความเอนเอียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นได้ทั้งแบบจงใจหรือแบบไม่จงใจ ส่วนการทดลองที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้เรื่องที่ปิด เรียกว่า การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blinded experiment) นักวิทยาศาสตร์จะใช้การทดสอบแบบอำพราง.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและการทดลองแบบอำพราง · ดูเพิ่มเติม »

การขายส่ง

การขายส่ง (wholesale) คือการที่โรงงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า เป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ราคาที่ต่ำมากพอ ที่จะนำไปขายต่อให้ผู้บริโภคแล้วยังได้กำไรอยู่ โดยอาจมีการจำหน่ายต่อ ๆ กันอีกหลายทอด แล้วแต่ชนิดของสินค้.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและการขายส่ง · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

กาฬโรค

กาฬโรค (plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550 กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและกาฬโรค · ดูเพิ่มเติม »

ม้า

ม้า เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัย พวก "เลือดร้อน (hot blood) " ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood) " เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood) " ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ เทพนิยายเกี่ยวกับม้า เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ถูกวีรบุรุษเพอร์ซีอุสฟันคอขาดตาย ในขณะที่นางสิ้นใจตายนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลยซักคน ตอนที่มันเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่มันวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงาม คือน้ำพุพีเรเนียน (Pyrenean spring).

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและม้า · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

รองประธานาธิบดีสหรัฐ

รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (Vice President of the United States; ย่อ: VPOTUS) เป็นบุคคลแรกภายใต้โครงสร้างการบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐ และจะได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเมื่อประธานาธิบดีคนปัจจุบันถึงแก่อสัญกรรม ลาออกหรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐนั้น รองประธานาธิบดียังได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานวุฒิสภาอีกด้วย แต่จะไม่มีอำนาจในการลงมติ เว้นแต่เพื่อการชี้ขาดในกรณีคะแนนเสียงเท่ากัน รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ คือนาย ไมก์ เพนซ์ ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ รายนามรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ส หมวดหมู่:รองประธานาธิบดีสหรัฐ หมวดหมู่:คณะรัฐมนตรีสหรัฐ.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและรองประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและระบบการทรงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมิชิแกน

มืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน มิชิแกน (Michigan) เป็นรัฐตั้งอยู่บริเวณส่วนเหนือของสหรัฐอเมริกา โดยชื่อของรัฐมาจาก ชื่อทะเลสาบมิชิแกน ซึ่งตั้งโดยชาวอินเดียนแดงเผ่าชิปเปวา จากคำว่า มิชิ-กามิ ซึ่งหมายถึง น้ำอันกว้างใหญ่ รัฐมิชิแกนห้อมล้อมด้วยทะเลสาบขนาดใหญ่ 4 ทะเลสาบในด้านเหนือ ด้านตะวันตกและด้านตะวันออก ทำให้รัฐมิชิแกนมีชายฝั่งทะเลน้ำจืดที่ยาวที่สุดอันดับสองในประเทศรองจากรัฐอะแลสกา ทำให้มิชิแกนมีกิจกรรมนันทนาการทางน้ำมากที่สุดอันดับต้นของประเทศ รัฐมิชิแกนเป็นรัฐเดียวในสหรัฐอเมริกาที่มีพื้นที่แยกออกจากกันเป็นสองฝั่ง โดยจุดเชื่อมระหว่างสองที่อยู่บริเวณ แมกคีนอก์ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของมิชิแกน รัฐมิชิแกนมีเมืองที่สำคัญคือ ดีทรอยต์ ฟลินต์ วอลเลน แกรนด์แรพิดส์ แมกคินอก์ แลนซิง และ แอนอาร์เบอร์ มหาวิทยาลัยที่สำคัญได้แก่ มหาวิทยาลัยมิชิแกน และมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต ทีมกีฬาที่สำคัญที่มีชื่อเสียงคือ ดีทรอยต์ ไลออนส์ ในปี 2551 มิชิแกนมีประชากร 10,071,822 คน.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและรัฐมิชิแกน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวเจอร์ซีย์

รัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า "การ์เดนสเตต" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและรัฐนิวเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเภสัชภัณฑ์

รูปแบบเภสัชภัณฑ์ (Dosage form) คือรูปแบบทางกายภาพของสารประกอบทางเคมีที่นำมาใช้เป็นยา สารเคมีแต่ละกลุ่มที่นำมาใช้เป็นยานั้นมีการออกฤทธิ์และส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการคิดค้นรูปแบบเภสัชภัณฑ์เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ตรงกับบริเวณเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความถูกต้องตามเภสัชตำรั.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและรูปแบบเภสัชภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและวัว · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สารละลาย

รละลายเกลือแกงในน้ำ ในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและสารละลาย · ดูเพิ่มเติม »

สาลี่

ลี่ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและสาลี่ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์บริหารโดยสถาบันบัณฑิตโรคมะเร็ง ณ มหาวิทยาลัยการแพทย์จีน (ประเทศไต้หวัน) Adam Mickiewicz University ในพอซนาน โต๊ะทำงานในห้องปฏิบัติการทางเคมี  ห้องปฏิบัติการ Schuster ในมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์) ห้องปฏิบัติการ (laboratory) เรียกสั้น ๆ ว่า ห้องแล็บ (lab) คือสถานที่ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกควบคุม และเป็นที่สำหรับการวิจัย การทดลอง และการวัดทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิค   ห้องปฏิบัติการซึ่งใช้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีหลายแบบ ด้วยความที่แต่ละภาควิชาของวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มีความต้องการเฉพาะที่ต่างกัน ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์อาจมีเครื่องเร่งอนุภาคหรือห้องสุญญากาศ ส่วนห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมโลหการอาจมีเครื่องมือในการหล่อหรือการกลั่น (refine) เหล็กเพื่อทดสอบความแข็งแรงของเหล็ก นักเคมีหรือนักชีววิทยาอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบเปียก (wet laboratory) ส่วนห้องปฏิบัติการของนักจิตวิทยาอาจเป็นห้องซึ่งมีกระจกด้านเดียวติดอยู่รวมไปถึงมีกล้องซ่อนไว้เพื่อเฝ้าดูพฤติกรรม บางห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องที่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ใช้ อาจมีคอมพิวเตอร์ (บางครั้งอาจเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เพื่อใช้สำหรับบการจำลองหรือการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมาจากที่อื่น นักวิทยาศาสตร์ในภาควิชาอื่นอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบอื่น วิศวกรใช้ห้องปฏิบัติการในการออกแบบ สร้าง หรือทดสอบเครืองมือทางเทคโนโลยีต่างๆ ห้องปฎิบัตรการทางวิยาศาสตร์นั้นพบได้ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย อุตสาหกรรม สถานที่ทางราชการหรือทหาร รวมไปถึงเรือและยานอวก.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและห้องปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

อะมิโนไกลโคไซด์

อะมิโนไกลโคไซด์ (อังกฤษ:Aminoglycosides) เป็นกลุ่มของยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียยากลุ่มนี้ได้แก.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและอะมิโนไกลโคไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

อาการรู้สึกหมุน

อาการรู้สึกหมุน (vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวทั้งที่จริงๆ แล้วไม่มีการเคลื่อนไหว อาการนี้เป็นผลจากความผิดปกติของระบบควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน อาจพบร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ยืนหรือเดินลำบากได้ อาการรู้สึกหมุนนี้อาจแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ แบบที่ 1 objective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าวัตถุต่างๆ หมุนรอบตัวเอง แบบที่ 2 subjective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการเคลื่อนไหว และแบบที่ 3 pseudovertigo (อาการรู้สึกหมุนเทียม) คือรู้สึกว่ามีการหมุนอยู่ข้างในศีรษะ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการรู้สึกหมุนคืออาการหมุนเป็นระยะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าชนิดไม่ร้าย การกระทบกระเทือนที่ศีรษะ และไมเกรนของระบบควบคุมการทรงตัว สาเหตุอื่นๆ ที่พบไม่บ่อยเท่าเช่นโรคเมนิแยร์ และเส้นประสาทควบคุมการทรงตัวอักเสบ เป็นต้น การดื่มสุราก็สามารถทำให้มีอาการรู้สึกหมุนได้ การหมุนตัวหลายๆ รอบ เช่นการละเล่นของเด็ก ก็สามารถทำให้เกิดอาการรู้สึกหมุนชั่วคราวได้จากการที่ของเหลวในหูชั้นในยังคงมีการเคลื่อนไหว ("กระฉอก") จากแรงเฉื่อยจากการหมุนได้.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและอาการรู้สึกหมุน · ดูเพิ่มเติม »

อาการไม่พึงประสงค์จากยา

อาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction, ADR) คือภาวะซึ่งมีผลเสียจากการใช้ยาในขนาดปกติ ในการให้ยาแบบปกติ อาจเกิดหลังการให้ยาเพียงครั้งเดียว หรือเมื่อให้เป็นเวลานาน หรือเมื่อให้พร้อมกับยาอื่น ก็ได้ ภาวะนี้แตกต่างจากผลข้างเคียงของยาตรงที่ผลข้างเคียงของยานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์แต่เพียงอย่างเดียว วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากยาเรียกว่า pharmacovigilance Category:เภสัชวิทยา.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและอาการไม่พึงประสงค์จากยา · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอาหารและยา

องค์การอาหารและยา หรือ อ. อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและองค์การอาหารและยา · ดูเพิ่มเติม »

ผลไม้

แผงขายผลไม้ ผลไม้ (อีสาน: หมากไม้, บักไม้, ถิ่นเหนือ: หน่วยไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ผัก

ผักในตลาด ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและผัก · ดูเพิ่มเติม »

ผื่น

ผื่น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนัง ซึ่งอาจพบเพียงบางส่วน ผื่น อาจส่งผลให้ผิวหนังเปลี่ยนสี ผิวขรุขระ แห้ง คัน แตก พอง และอาจมีความเจ็บปวดร่วมด้วย หมวดหมู่:ตจวิทยา.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและผื่น · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

นีโอมัยซิน

นีโอมัยซิน (Neomycin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีจำหน่ายในท้องตลาดในหลายรูปแบบเภสัชภัณฑ์ เช่น ครีม, ขี้ผึ้ง, และยาหยอดยา นีโอมัยซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและนีโอมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียกรัมบวก

ใต้กล้องจุลทรรศน์ของ ''Staphylococcus aureus'' แบคทีเรียกรัมบวกที่อยู่เป็นกลุ่ม โครงสร้างของผนังเซลล์แบคทีเรียกรัมบวก แบคทีเรียกรัมบวก (gram-positive bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ย้อมติดสีม่วง (คริสทัลไวโอเลต) ในการย้อมสีกรัม ซึ่งตรงข้ามกับแบคทีเรียกรัมลบที่ไม่ติดสีม่วงของคริสทัลไวโอเลต แต่จะติดสีของสีที่สอง (ซาฟรานินหรือฟุคซีน) แบคทีเรียกรัมบวกสามารถรักษาสีของคริสทัลไวโอเลตได้เพราะในผนังเซลล์มีเปบทิโดไกลแคนมาก และไม่มีเยื่อหุ้มชั้นนอกแบบที่พบในแบคทีเรียกรัมล.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและแบคทีเรียกรัมบวก · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียแกรมลบ

รงสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบภาพจากกล้องจุลทรรศน์ของแบคทีเรียแกรมลบ ''Pseudomonas aeruginosa'' (ท่อนสีชมพู-แดง). แบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) เป็น แบคทีเรีย ที่ไม่สามารถรักษาสีคริสทัลไวโอเลต ในการย้อมสีแบบแกรมได้ ในการย้อมสีแบบแกรม สีตรงข้าม (ปกติคือ ซาฟรานิน) ซึ่งเติมทีหลังคริสทัลไวโอเลต จะติดสีแบคทีเรียแกรมลบให้เป็นสีแดงหรือสีชมพู วิธีนี้เป็นประโยชน์ในการจำแนกแบคทีเรียขั้นต้น โดยใช้ความแตกต่างของผนังเซลล์ แบคทีเรียแกรมบวก จะยังคงรักษาสีม่วงของคริสตัลไวโอเลตได้แม้จะใช้สารชะสีออกแล้ว ความสามารถในการก่อโรคของแบคทีเรียแกรมลบเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบ ชั้นของลิโปโพลีแซคคาไรด์ (หรือ LPS หรือ ชั้นเอนโดทอกซิน).

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและแบคทีเรียแกรมลบ · ดูเพิ่มเติม »

แกะ

ลูกแกะที่สวนสัตว์พาต้า แกะ เป็นสัตว์สี่เท้าเคี้ยวเอื้องและเลี้ยงลูกด้วยนม แกะเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนสัตว์กับเคี้ยวเอื้องส่วนใหญ่ แกะส่วนใหญ่เคยเป็นแกะป่าที่พบได้ตามป่าของเอเชียและยุโรป ซึ่งแกะป่าเป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ ที่นำมาทำให้เชื่องเพื่อใช้งานเกษตรกรรม ขน หนัง เนื้อและนม ขนแกะเป็นเส้นใยจากสัตว์ที่ผู้คนใช้มากที่สุด ส่วนมากจะเก็บขนแกะด้วยการโกนขน เนื้อแกะจะมีทั้งเนื้อของลูกแกะและเนื้อของตัวโตเต็มวัย กินอาหารประเภทพืชและหญ้าเป็นหลัก มีขนหนาฟู ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แกะบางพื้นที่กินดอกไม้และแมลงบางชนิด เช่น แกะภูเขา ส่วนใหญ่แกะจะอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่หนาวเย็น แถบภูเขาและพื้นที่ราบโล่ง เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย อเมริกาตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศแคนาดา โดยมีการกระจายอยู่ตลอดแถบประเทศเขตหนาว ในโลกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยมีตั้งแต่สายพันธุ์ดังเดิมจนถึง สายใหม่ที่ถูกผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ และสายพันธุ์ที่มนุษย์พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น ขนสัตว์, เนื้อ, นม.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและแกะ · ดูเพิ่มเติม »

โพรแคริโอต

รงสร้างของเซลล์แบคทีเรีย โพรแคริโอต (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ไม่มีนิวเคลียส มักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว คำว่า prokaryotes มาจาก ภาษากรีกโบราณ pro- ก่อน + karyon เมล็ด ซึ่งหมายถึงนิวเคลียส + ปัจจัย -otos, พหูพจน์ -otesCampbell, N. "Biology:Concepts & Connections".

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและโพรแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (myasthenia gravis, MG) เป็นโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองโรคหนึ่ง ทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอ่อนล้าขึ้นๆ ลงๆ สาเหตุเกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดีต่ออะซีทิลโคลีนรีเซพเตอร์ที่รอยต่อกล้ามเนื้อกับประสาทยับยั้งการกระตุ้นของอะซีทิลโคลีนในฐานะสารสื่อประสาท โรคนี้รักษาทางยาด้วยยาในกลุ่มโคลีนเอสเทอเรสอินฮิบิเตอร์หรือยาในกลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน ในผู้ป่วยบางครั้งอาจรักษาด้วยการตัดเอาไทมัสออก อุบัติการณ์อยู่ที่ 3-30 รายต่อล้านและเริ่มพบมากขึ้นเนื่องจากเป็นที่รู้จักมากขึ้น โรคนี้ต้องแยกจากกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่กำเนิดชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้มีอาการคล้ายคลึงกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคของกล้ามเนื้อและรอยต่อกล้ามเนื้อกับประสาท หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ประดับ

ปาล์มตัวอย่างไม้ดอก:ดาวเรือง ไม้ประดับ หมายถึงพืชที่ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม ใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนให้เกิดความเจริญตา ส่วนใหญ่ไม้ประดับมักเป็นพืชดอก จึงเรียกรวมกันว่า ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม้ประดับไม่จำเป็นต้องมีดอกก็ได้ เพียงมีใบที่ดูดีหรือมีสีสันสวยงามก็ใช้ได้ ไม้ประดับมีขนาดเล็กหรือขนาดย่อมพอเหมาะแก่พื้นที่จัดตกแต่ง อาจปลูกไว้ในกระถาง ปลูกลงดิน หรือแขวนห้อยไว้ก็ได้ ไม้ประดับมีหลายชนิด ดังเช่น.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไม้ประดับ · ดูเพิ่มเติม »

ไรแฟมพิซิน

รแฟมพิซิน (Rifampicin) หรือ ไรแฟมพิน (Rifampin) เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาทิ วัณโรค, โรคเรื้อน หรือ โรคลีเจียนแนร์ ยานี้มักใช้ควบคู่กับยาปฏิชีวนะอื่นๆ ยกเว้นเป็นการใช้เพื่อป้องกันแบคทีเรีย ''Haemophilus influenzae'' ชนิด b และไข้กาฬหลังแอ่น ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว ก่อนใช้ยาชนิดนี้จำเป็นต้องมีการตรวจนับเม็ดเลือดและวัดประสิทธิภาพของตับเสียก่อน สามารถรับยาไรแฟมพิซินได้โดยวิธีรับประทานหรือวีธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ผลข้างเคียงทั่วไปจากการใช้ยาได้แก่ คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง หรือ ไม่อยากอาหาร น้ำปัสสาวะและเหงื่อเป็นสีแดงออกส้ม และยังอาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุปว่ายานี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่ แต่ที่ผ่านมามักใช้ยานี้รักษาวัณโรคในสตรีมีครรภ์ ยานี้ทำงานโดยไปขัดขวางการสร้างอาร์เอ็นเอของแบคทีเรีย ยาไรแฟมพิซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไรแฟมพิซิน · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบโซม

หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นเล็ก 30s หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นใหญ่50s ไรโบโซม (Ribosome มาจาก ribonucleic acid และคำใน"ภาษากรีก: soma (หมายถึงร่างกาย)") เป็นออร์แกแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ มีขนาดเล็กที่สุดและมีมากสุดประกอบด้วยโปรตีน และ rRNA มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 nm (200 อังสตรอม) และประกอบด้วย ribosomal RNA 65% และ ไรโบโซมอล โปรตีน35% (หรือ ไรโบนิวคลีโอโปรตีน หรือ RNP)เป็นสารเชิงซ้อนของ RNA และ โปรตีน ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด ไรโบโซมจาก แบคทีเรีย, อาร์เคีย และ ยูคาริโอตมีโครงสร้างและ RNA ที่แตกต่างกัน ไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ยูคาริโอตมีลักษณะคล้ายกับไรโบโซมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการของออร์แกแนลล์ชนิดนี้ ในแบคทีเรียมี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 30S และ 50S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 70S ส่วนในยูคาริโอต มี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 40S และ 60S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 80S หน้าที่คือเป็นแหล่งที่เกิดการอ่านรหัสจากยีนในนิวเคลียส ซึ่งถูกส่งออกจากนิวเคลียสในรูป mRNA มาสร้างเป็นโปรตีน การทำงานของไรโบโซมในการแสดงออกของยีนไปสู่การสร้างโปรตีนเรียกทรานสเลชัน ไรโบโซมยังทำหน้าที่ในการต่อกรดอะมิโนเดี่ยวให้เป็นพอลิเพปไทด์ โดยต้องมีการจับกับ mRNA และอ่านข้อมูลจาก mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนให้ถูกต้อง การนำโมเลกุลของกรดอะมิโนเข้ามาเป็นการทำงานของ tRNA ซึ่งจับอยู่กับโมเลกุลของกรดอะมิโนอยู่ก่อนแล้ว.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไรโบโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ

rRNA ชิ้นเล็ก, 5' domain จากฐานข้อมูลRfam http://www.sanger.ac.uk/cgi-bin/Rfam/getacc?RF00177 RF00177 http://www.sanger.ac.uk/cgi-bin/Rfam/getacc?RF00177 RF00177 ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ (Ribosomal RNA; rRNA) เป็นองค์ประกอบสำคัญของไรโบโซม ที่มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์ การทำงานของ rRNA เกี่ยวข้องกับกลไกการถอดรหัสจาก mRNA ไปเป็นกรดอะมิโน และทำปฏิกิริยากับ tRNAs ที่นำกรดอะมิโนเข้ามาต่อกันระหว่างทรานสเลชัน ด้วยการเร่งปฏิกิริยา peptidyl transferase.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้กระต่าย

้กระต่าย หรือ โรคทูลารีเมีย (Tularemia) เป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู และกระต่าย มีพาหะคือ ตัวเห็บ หรือ ตัวฟลี (Flea) ลำตัวแบน สีดำ มีขนาดเล็กมาก กระโดดได้ไกลมาก เห็บที่ดูดเลือดกระต่าย หรือสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อ แล้วกระโดดไปเกาะและกัดอีกตัวทำให้ติดเชื้อกัน มีอาการเหมือนโรคกาฬโรค คือ ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้สูง มีน้ำมูก และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย โรคนี้สามารถติดจากสัตว์ไปสู่คนได้ทางลมหายใจ และสารคัดหลั่งต่างๆ วิธีการป้องกันโรค คือ การพ่นยาฆ่าตัวเห็บ เพื่อตัดตอนพาหะออกไป ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่เลี้ยงกระต่ายหรือสัตว์ที่เป็นฟันแทะ เช่น กระรอก หนู ควรปฏิบัติดังนี้ 1.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไข้กระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไต · ดูเพิ่มเติม »

ไซยาโนแบคทีเรีย

ซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cynobacteria) จัดอยู่ในไฟลัม Cynobacteria ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สาหร่ายชนิดนี้มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์เอ และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย ไซยาโนแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว รูปแบบโครงสร้างเซลล์มีสารพันธุกรรมทั้งตัวและไม่มีเยื่อหุ้มนิวนิวเคลียส (โพรแคริโอต) ทำให้สามารถเจริญแบบเพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งตัว เนื่องจากโลกยังร้อนจัด ไม่ออกซิเจน มีแต่คาร์บอนไดออกไซด์ สารประกอบจำพวก ไนโตเจน มีเทน แอมโมเนีย ไซยาโนแบคทีเรีย สามารถปรับตัวได้สูงมากโดยการ สร้างเมือกห่อหุ้มเซลล์ และในเซลล์จะมีถุงลมเพือเพิ่มการพยุงตัว หาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์แสง มีเม็ดสีช่วยในการต่อต้านแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และเริ่มสังเคราะห์ด้วยแสง เกาะอาศํยอยู่บนสโตรมาโตไลต์ ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลสมัยพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิต.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและไซยาโนแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เพนิซิลลิน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเพนิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์ค

มอร์ค (Merck & Co., Inc.) หรือ เมอร์คชาร์ปแอนด์โดม (เป็นที่รู้จักกันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) เป็นบริษัทยาของสหรัฐอเมริกา มีแหล่งกำเนิดจาก ประเทศเยอรมนี คือ Merck KGaA โดยเป็นทรัพย์สินของเยอรมนีในสหรัฐฯ บริษัทถูกยึดในปี ค.ศ. 1917 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และจัดตั้งเป็นบริษัทอิสระ ปัจจุบันเมอร์คเป็นบริษัทยาที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเมอร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ

เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ คือภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นภาวะซึ่งมีการอักเสบติดเชื้อของผิวเนื้อเยื่อชั้นในสุดของหัวใจส่วนที่สัมผัสกับเลือด (เช่น ลิ้นหัวใจ เป็นต้น) ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มอื่นๆ ได้เช่นกัน ลิ้นหัวใจเป็นอวัยวะซึ่งไม่มีระบบเลือดที่มาเลี้ยงโดยตรง จึงไม่มีทางที่จะให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันเช่นเม็ดเลือดขาวเดินทางมาทำงานที่ลิ้นหัวใจได้ ดังนั้นหากมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและก่อตัวเป็นก้อนเชื้อ (vegetation) ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดก้อนเชื้อนี้ได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกัน การที่ลิ้นหัวใจไม่มีระบบเลือดมาเลี้ยงยังทำให้เป็นปัญหาในการรักษา เพราะยาจะไปถึงลิ้นหัวใจที่ติดเชื้อได้ยากเช่นกัน ลิ้นหัวใจที่ปกติจะทำให้เลือดไหลผ่านได้โดยไม่ติดขัด แต่หากลิ้นหัวใจได้รับความเสียหาย เช่น จากไข้รูมาติก จะทำให้เลือดไหลผ่านอย่างไม่เป็นระเบียบ เพิ่มโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะเกาะติดลิ้นหัวใจได้ หมวดหมู่:โรคลิ้นหัวใจ.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มอาร์เอ็นเอ

วงชีวิตของ '''mRNA''' ในยูคาริโอต เอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger ribonucleic acid; mRNA เป็นโมเลกุลของอาร์เอ็นเอที่บรรจุรหัสหรือพิมพ์เขียวของโปรตีน mRNA สร้างโดยการทรานสคริปชันจากแม่แบบที่เป็นดีเอ็นเอ จากนั้นจะนำข้อมูลทางพันธุกรรมมาสู่การสังเคราะห์โปรตีนโดยไรโบโซม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนข้อมูลจากลำดับนิวคลีโอไทด์ไปสู่ลำดับกรดอะมิโน ข้อมูลทางพันธุกรรมใน mRNA จะอยู่ในรูปลำดับเบสของนิวคลีโอไทด์ที่เรียงเป็นรหัสพันธุกรรม ซึ่งหนึ่งรหัสประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สามเบส ซึ่งรหัสพันธุกรรมแต่ละตัวจะกำหนดกรดอะมิโนหนึ่งชนิดยกเว้นรหัสพันธุกรรมหยุด ซึ่งจะทำให้การสังเคราะห์โปรตีนสิ้นสุดลง กระบวนการนี้ต้องทำงานร่วมกับอาร์เอ็นเออีกสองชนิดคือ tRNA ที่จดจำรหัสพันธุกรรมและนำกรดอะมิโนเข้ามาต่อกัน กับ rRNAที่เป็นองค์ประกอบหลักของไรโบโซม โครงสร้างของ mRNA ที่สมบูรณ์ในยูคาริโอต ประกอบด้วย 5' cap, 5' UTR, coding region, 3' UTR, and poly(A) tail.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเอ็มอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

เจนตามัยซิน

นตามัยซิย (Gentamicin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันมีจำหน่ายในตลาดยาภายใต้ชอื่การค้า Garamycin และอื่นๆ ยานี้ถูกนำมาใช้วนการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของกระดูก (osteomyelitis), เยื่อบุหัวใจอักเสบ, ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease;PID), เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ รวมไปถึงโรคติดเชื้ออื่นๆอีกมากมาย แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาหนองใน หรือการติดเชื้อคลามัยเดีย โดยสามารถบริหารยาได้หลายช่องทาง ได้แก่ การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, การฉีดเข้าหล้ามเนื้อ หรือยาใช้ภายนอกในรูปแบบยาทา ยาทาสำหรับใช้ภายนอกนั้นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อของแผลไฟไหม้ หรืออาจมีในรูปแบบยาหยอดยาสำหรับการติดเชื้อในดวงตา ในประเทศพัฒนาแล้ว ยานี้มักถูกนำมาใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในช่วง 2 วันแรกระหว่างรอผลการตรวจเพาะเชื้อสาเหตุและตรวจความไวของเชื้อนั้นๆต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ จากนั้นจะมีการปรับเปลี่ยนการรักษาตามผลการตรวจดังกล่าว นอกจากนี้ การใช้ยานี้อาจจำเป็นต้องติดตามระดับยาในกระแสเลือดโดยการตรวจเลือดด้วย เพื่อเฝ้าติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงจากยานี้ เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ จึงมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกันนี้ โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ส่งผลให้เซลล์ของแบคทีเรียนั้นๆขาดโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ และตายไปในที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่า เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) ซึ่งแตกต่างจากยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนเช่นกัน แต่มีคุณสมบัติเพียงแค่ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) เช่นเดียวกันกับยาชนิดอื่นๆ การใช้เจนตามัยซินในการรักษา อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลายประการ โดยเฉพาะการเกิดพิษต่อหู และการเกิดพิษต่อไต ซึ่งถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของเจนตามัยซินและยาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มนี้ โดยการเกิดพิษต่อหูจากยานี้จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้ทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งอาจพัฒนาเป็นความผิดปกติแบบถาวรได้ นอกจากนี้ การใช้เจนตามัยซินในระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในกลุ่มประชากรดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม ยานี้ไม่ถูกขับออกทางน้ำนม ทำให้สามารถใช้ยานี้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงที่กำลังให้นมบุตร เจนตามัยซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเจนตามัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เซลมัน แวกส์มัน

ซลมัน อับราฮัม แวกส์มัน (Selman Abraham Waksman; 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1888 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1973) เป็นนักชีวเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายยิว เกิดที่เขตเคียฟ จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน) เป็นบุตรของยาคอบ แวกส์มันและเฟรเดีย ลอนดอน แวกส์มันย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาในปี..

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเซลมัน แวกส์มัน · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์

ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.

ใหม่!!: สเตรปโตมัยซินและเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Streptomycin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »