โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไรโบโซม

ดัชนี ไรโบโซม

หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นเล็ก 30s หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นใหญ่50s ไรโบโซม (Ribosome มาจาก ribonucleic acid และคำใน"ภาษากรีก: soma (หมายถึงร่างกาย)") เป็นออร์แกแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ มีขนาดเล็กที่สุดและมีมากสุดประกอบด้วยโปรตีน และ rRNA มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 nm (200 อังสตรอม) และประกอบด้วย ribosomal RNA 65% และ ไรโบโซมอล โปรตีน35% (หรือ ไรโบนิวคลีโอโปรตีน หรือ RNP)เป็นสารเชิงซ้อนของ RNA และ โปรตีน ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด ไรโบโซมจาก แบคทีเรีย, อาร์เคีย และ ยูคาริโอตมีโครงสร้างและ RNA ที่แตกต่างกัน ไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ยูคาริโอตมีลักษณะคล้ายกับไรโบโซมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการของออร์แกแนลล์ชนิดนี้ ในแบคทีเรียมี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 30S และ 50S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 70S ส่วนในยูคาริโอต มี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 40S และ 60S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 80S หน้าที่คือเป็นแหล่งที่เกิดการอ่านรหัสจากยีนในนิวเคลียส ซึ่งถูกส่งออกจากนิวเคลียสในรูป mRNA มาสร้างเป็นโปรตีน การทำงานของไรโบโซมในการแสดงออกของยีนไปสู่การสร้างโปรตีนเรียกทรานสเลชัน ไรโบโซมยังทำหน้าที่ในการต่อกรดอะมิโนเดี่ยวให้เป็นพอลิเพปไทด์ โดยต้องมีการจับกับ mRNA และอ่านข้อมูลจาก mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนให้ถูกต้อง การนำโมเลกุลของกรดอะมิโนเข้ามาเป็นการทำงานของ tRNA ซึ่งจับอยู่กับโมเลกุลของกรดอะมิโนอยู่ก่อนแล้ว.

41 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาของเซลล์พันธะไดซัลไฟด์พันธะเพปไทด์กรดอะมิโนกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนการแสดงออกของยีนการแปลรหัส (พันธุศาสตร์)ภาษากรีกยาปฏิชีวนะยูแคริโอตยีนรหัสพันธุกรรมรหัสพันธุกรรมเริ่มต้นรางวัลโนเบลร่างแหเอนโดพลาซึมสมมติฐานโลกของ RNAอังสตรอมอาร์เอ็นเออาร์เคียทีอาร์เอ็นเอนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียสแบคทีเรียโพรแคริโอตโพลีไรโบโซมโปรตีนไรโบนิวคลีโอโปรตีนไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอไรโบไซม์ไซโทพลาซึมไซโตซอลเพปไทด์เพปไทด์ส่งสัญญาณเมตรเยื่อหุ้มนิวเคลียสเยื่อหุ้มเซลล์เอ็มอาร์เอ็นเอเซลล์ (ชีววิทยา)Escherichia coliShine-Dalgarno sequenceThermus thermophilus

ชีววิทยาของเซลล์

Understanding cells in terms of their molecular components. ชีววิทยาของเซลล์ หรือ วิทยาเซลล์ (cell biology หรือ cytology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ ทั้งในด้านคุณสมบัติทางสรีรวิทยา, โครงสร้าง, ออร์แกเนลล์ที่อยู่ภายใน, ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม, วัฎจักรเซลล์, การแบ่งเซลล์, และการตายของเซลล์ การศึกษาคุณสมบัติของเซลล์ดังกล่าวเป็นการศึกษาในระดับจุลทรรศน์และระดับโมเลกุล การวิจัยในทางชีววิทยาของเซลล์นั้นกว้างขวางและหลากหลายมากตั้งแต่ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรียไปจนถึงเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่นในมนุษย์ ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของเซลล์และการทำงานของเซลล์เป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ชีวภาพทุกสาขา ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างเซลล์แต่ละชนิดมีความสำคัญในด้านชีววิทยาของเซลล์และอณูชีววิทยา การศึกษาชีววิทยาเซลล์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับพันธุศาสตร์, ชีวเคมี, อณูชีววิทยา และชีววิทยาของการเจริญ.

ใหม่!!: ไรโบโซมและชีววิทยาของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธะไดซัลไฟด์

ันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) เป็นพันธะโควาเลนต์ ได้จากการจับคู่ของหมู่ไทออล 2 หมู่ เกิดเป็นพันธะระหว่าง S-S คำนี้นิยมใช้ในทางชีวเคมี ในบางครั้งจะเรียก C-S-S-C ว่า พันธะเปอร์ซัลไฟด์ แบบเดียวกับพันธะเปอร์ออกไซด์ (R-O-O-R).

ใหม่!!: ไรโบโซมและพันธะไดซัลไฟด์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธะเพปไทด์

การสังเคราะห์แบบสูญเสียน้ำเพื่อสร้างเอไมด์ เรโซแนนซ์ของหมู่เพปไทด์ รูปไม่มีประจุอยู่ทางซ้าย รูปที่มีประจุอยู่ทางขวา พันธะไฮโดรเจน มักพบในรูปไม่มีประจุมากกว่ารูปมีประจุ พันธะเพปไทด์ (peptide bond) หรือพันธะเอไมด์ (amide bond) เป็นพันธะเคมีที่สร้างระหว่างหมู่คาร์บอกซิลของโมเลกุลหนึ่งกับหมู่อะมิโนของอีกโมเลกุลหนึ่ง และมีการปล่อยน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล จัดเป็นการสังเคราะห์แบบสูญเสียน้ำ (dehydration synthesis) และมักจะเกิดระหว่างกรดอะมิโน โมเลกุลที่เกิดใหม่เรียกว่าเอไมด์ C (.

ใหม่!!: ไรโบโซมและพันธะเพปไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: ไรโบโซมและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

transmission electron microscope (TEM)) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของซีเมนส์รุ่นปี 1973 ใน Musée des Arts et Métiers, กรุงปารีส กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นชนิดของกล้องจุลทรรศน์แบบหนึ่งที่ใช้อิเล็กตรอนที่ถูกเร่งความเร็วเป็นแหล่งที่มาของการส่องสว่าง เนื่องจากอิเล็กตรอนมีความยาวคลื่นสั้นกว่าโฟตอนของแสงที่มนุษย์มองเห็นได้ถึง 100,000 เท่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจึงมีกำลังขยายสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและสามารถเปิดเผยให้เห็นโครงสร้างของวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆได้ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านสามารถให้รายละเอียดได้สูงถึง 50 picometre และมีกำลังการขยายได้ถึงประมาณ 10,000,000 เท่า ขณะที่ส่วนใหญ่ของกล้องจุลทรรศน์แบบแสงจะถูกจำกัดโดยการเลี้ยวเบนของแสงที่ให้ความละเอียดประมาณ 200 นาโนเมตรและกำลังขยายที่ใชการได้ต่ำกว่า 2000 เท่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านใช้เลนส์ไฟฟ้าสถิตและแม่เหล็กไฟฟ้า (electrostatic and electromagnetic lenses) ในการควบคุมลำแสงอิเล็กตรอนและโฟกัสมันเพื่อสร้างเป้นภาพ เลนส์แสงอิเล็กตรอนเหล่านี้เปรียบเทียบได้กับเลนส์แก้วของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงออปติคอล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนถูกนำไปใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างขนาดเล็กมากๆของตัวอย่างทางชีวภาพและอนินทรีที่หลากหลายรวมทั้งจุลินทรีย์ เซลล์ชีวะ โมเลกุลขนาดใหญ่ ตัวอย่างชิ้นเนื้อ โลหะ และคริสตัล ด้านอุตสาหกรรมกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมักจะใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพและการวิเคราะห์ความล้มเหลว กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ทันสมัยสามารถผลิตภาพถ่ายขนาดจิ๋วแบบอิเล็กตรอน (electron micrograph) โดยใช้กล้องดิจิตอลแบบพิเศษหรือ frame grabber (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่ใช้จับภาพนิ่งจากสัญญาณวิดีโอแอนะลอกหรือดิจิตอล) ในการจั.

ใหม่!!: ไรโบโซมและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

การแสดงออกของยีน

การแสดงออกของยีนคือกระบวนการที่ข้อมูลในยีนถูกใช้ในการสังเคราะห์ผลผลิตของยีนที่ทำงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีน แต่บางยีน เช่น rRNA tRNA หรือ snRNA มีผลผลิตเป็น RNA ซึ่งมีบทบาททำงานได้เช่นกัน กระบวนการที่ใช้ในการแสดงออกของยีนเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งยูคาริโอต (รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ด้วย) โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) และอาจนับรวมถึงไวรัสด้วย กระบวนการนี้ทำให้เกิดกลไกที่เกิดจากโมเลกุลขนาดใหญ่ และทำให้เกิดชีวิต กระบวนการที่เซลล์ใช้ในการทำให้เกิดการแสดงออกของยีนมีหลายขั้นตอน เช่น การถอดรหัส การตัดแบ่ง RNA การแปลรหัส และการดัดแปลงโปรตีนหลังการแปลรหัส หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:การแสดงออกของยีน.

ใหม่!!: ไรโบโซมและการแสดงออกของยีน · ดูเพิ่มเติม »

การแปลรหัส (พันธุศาสตร์)

ทรานสเลชันของโปรตีนที่หลั่งเข้าสู่เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม ทรานสเลชัน (Translation) เป็นขั้นตอนแรกของการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกของยีน ทรานสเลชันเป็นการผลิตโปรตีนโดยอ่านรหัสจาก mRNA ที่ได้จากทรานสคริบชัน ทรานสเลชันเกิดในไซโตพลาสซึมซึ่งมีไรโบโซมอยู่ ไรโบโซมนั้นประกอบด้วยหน่วยย่อยขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งจะมาประกบกันเมื่อมี mRNA ทรานสเลชันนี้จะสร้างพอลิเพปไทด์จากการอ่านรหัสพันธุกรรมที่เป็นลำดับเบสบน mRNA รหัสพันธุกรรมจะเป็นตัวบอกลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน ส่วน RNA ชนิดอื่น เช่น rRNA, tRNA, snRNA ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดกรดอะมิโน ทรานสเลชันมี 4 ขั้นตอนคือ การกระตุ้น การเริ่มต้น การต่อเนื่องและการสิ้นสุด กรดอะมิโนจะถูกนำมายังไรโบโซมจากนั้นจึงต่อกันเป็นโปรตีน ขั้นตอนการกระตุ้น กรดอะมิโนจะเกิดพันธะโควาเลนต์กัน tRNA ที่เป็นคู่กัน กรดอะมิโนจะใช้หมู่คาร์บอกซิลจับกับหมู่ 3' OH ของ tRNA ด้วยพันธะเอสเทอร์ ขั้นตอนการเริ่มต้น เริ่มจากหน่วยเล็กของไรโบโซมจับกับปลาย 5' ของ mRNA โดยมี initiation factors (IF) เป็นผู้ช่วย การสิ้นสุดของการสร้างสายพอลิเพปไทด์เกิดขึ้นเมื่อด้าน A ของไรโบโซมเป็นรหัสพันธุกรรมหยุด (UAA, UAG, UGA) ซึ่งจะไม่มี tRNA เข้ามา แต่ releasing factor จะเข้ามาทำให้ปล่อยสายพอลิเพปไทด์ออกไป ปลาย 5' ของ mRNA ไปเป็นปลาย N ของพอลิเพปไทด์ และขั้นตอนทรานสเลชันเริ่มจาก N->C ยาปฏิชีวนะจำนวนหนึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งทรานสเลชัน เช่น anisomycin, cycloheximide, chloramphenicol, tetracycline, streptomycin, erythromycin และpuromycin ไรโบโซมของโปรคาริโอตมีโครงสร้างต่างจากของยูคาริโอต ทำให้ยาปฏิชีวนะจำเพาะเฉพาะแบคทีเรียไม่ทำลายยูคาริโอตที่เป็นเจ้าบ้าน หมวดหมู่:การแสดงออกของยีน หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: ไรโบโซมและการแปลรหัส (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ไรโบโซมและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: ไรโบโซมและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: ไรโบโซมและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ใหม่!!: ไรโบโซมและยีน · ดูเพิ่มเติม »

รหัสพันธุกรรม

ลำดับของกรดอะมิโนบน mRNAแต่ละรหัสมีนิวคลีโอไทด์ 3 ตัว และกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว รหัสพันธุกรรม (genetic code) เป็นชุดของการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ และถูกทรานสเลชันเป็นโปรตีน หรือลำดับกรดอะมิโน ในเซลล์ที่มีชีวิต รหัสแต่ละรหัสประกอบไปด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์สามตัว ซึ่งกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว แม้จะมีรหัสพันธุกรรมที่เป็นสากล แต่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันไปได้บ้าง เช่น รหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียของคน ต่างจากรหัสพันธุกรรมที่รู้จักกันทั่วไป ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดอาจไม่จำเป็นต้องเก็บในรหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีลำดับควบคุม (regulatory sequences) ส่วนที่รวมเข้าด้วยกัน (intergenic segments) และโครงสร้างโครโมโซม ที่มีผลต่อฟีโนไทป์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรหัสที่กำหนดกรดอะมิโน.

ใหม่!!: ไรโบโซมและรหัสพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รหัสพันธุกรรมเริ่มต้น

รหัสพันธุกรรมเริ่มต้น (start codon หรือ 101 508 151 initiation codon) คือลำดับเบส ATG ในดีเอ็นเอและ AUG ใน N/A ที่กำหนดกรดอะมิโนเมไทโอนีน (Met) ในยูคาริโอตและเมไทโอนีนที่เปลี่ยนรูปไป (unlock) ในโปรคาริโอต หลักการที่เรียกว่า ธรรมชาติ หลักเกณฑ์กลางสำหรับชีววิทยาโมเลกุล (Central dogma of molecular biology) ซึ่งอธิบายกลไกของการทรานสเลชัน จาก เอนไซม์ ไปเป็นโปรตีน ลำดับเบสที่เฉพาะของดีเอ็นเอทำหน้าที่เป็นแม่แบบเพื่อสังเคราะห์ N/A ด้วยกระบวนการที่เรียกว่าทรานสคริบชัน ในนิวเคลียส N/A นี้จะถูกส่งออกมายังไซโทพลาสซึม และทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสังเคราะห์โปรตีนที่เรียกทรานสเลชัน นิวคลีโอไทด์สามเบสจะเป็นรหัสพันธุกรรมที่กำหนดกรดอะมิโนหนึ่งตัว ซึ่งจะนำเข้ามาโดย N/A ลำดับเบสสามตัวแรกของบริเวณที่เป็นรหัส N/A ที่จะถูกถ่ายถอดมาเป็นโปรตีนนี้จะเรียกว่ารหัสพันธุกรรมเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นลำดับแรกที่ทางด้าน pasta ' UTR โดยทั่วไปเป็น AUA (หรือ ATG ในดีเอ็นเอ:xy/yx/xx/yy/xyx/yxy/xxx(f.ft.fts)/yyy(s.ss.sss).

ใหม่!!: ไรโบโซมและรหัสพันธุกรรมเริ่มต้น · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบล

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบล (Nobelpriset; Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ไรโบโซมและรางวัลโนเบล · ดูเพิ่มเติม »

ร่างแหเอนโดพลาซึม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ไรโบโซมและร่างแหเอนโดพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐานโลกของ RNA

รงสร้างของ RNA และเบส (ซ้าย)เทียบกับดีเอ็นเอ (ขวา) สมมติฐานโลกของ RNA (RNA world hypothesis) เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับโลกที่สิ่งมีชีวิตมีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม ซึ่งต่างจากโลกปัจจุบันที่สิ่งมีชีวิตมีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอนี้สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้คล้ายดีเอ็นเอ และสามารถเร่งปฏิกิริยาได้เหมือนเอนไซม์ ทำให้อาร์เอ็นเอสามารถดำเนินการต่างๆในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หรือชีวิตก่อนเซลล์ได้ สมมติฐานนี้แสดงจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตว่าเริ่มจากการเร่งปฏิกิริยาและเก็บข้อมูลด้วยอาร์เอ็นเอซึ่งเป็นวิวัฒนาการขั้นแรกของชีวิต จากสมมติฐานนี้ เซลล์ได้วิวัฒนาการมาใช้ดีเอ็นเอและโปรตีนในปัจจุบัน ดีเอ็นเอที่มีความคงตัวมากกว่าทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม ในขณะที่โปรตีนซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการเร่งปฏิกิริยาเพราะมีความหลากหลายของกรดอะมิโนทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาแทน สมมติฐานนี้เสนอว่า อาร์เอ็นเอในเซลล์ปัจจุบัน เช่น rRNA (RNA ในไรโบโซมที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีน) เป็นส่วนที่เหลืออยู่ของโลกของ RNA.

ใหม่!!: ไรโบโซมและสมมติฐานโลกของ RNA · ดูเพิ่มเติม »

อังสตรอม

อังสตรอม (angstrom, angström, หรือ ångström) มีสัญลักษณ์ คือ Å) เป็นหน่วยวัดความยาว แต่มิใช่หน่วยเอสไอ ทว่าเป็นที่ยอมรับกันสำหรับใช้ร่วมกับหน่วยเอสไอ บางครั้งใช้ระบุขนาดของอะตอม ความยาวของพันธะเคมี และสเปกตรัมแสงที่มองเห็น.

ใหม่!!: ไรโบโซมและอังสตรอม · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอ

กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สารชีวโมเลกุลหลัก ร่วมกับลิพิด คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่สำคัญแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด อาร์เอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ สายยาว เช่นเดียวกับดีเอ็นเอ นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยนิวคลีโอเบส น้ำตาลไรโบสและหมู่ฟอสเฟต ลำดับนิวคลีโอไทด์ทำให้อาร์เอ็นเอเข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรมได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อาร์เอ็นเอนำรหัส (mRNA) นำข้อมูลพันธุกรรมที่ชี้นำการสังเคราะห์โปรตีน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสหลายชนิดใช้อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมแทนดีเอ็นเอ โมเลกุลอาร์เอ็นเอบางอย่างมีบทบาทสำคัญในเซลล์โดยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ควบคุมการแสดงออกของยีนหรือรับรู้และสื่อสารการตอบสนองต่อสัญญาณของเซลล์ ขบวนการหนึ่ง คือ การสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นหน้าที่สากลซึ่งโมเลกุลอาร์เอ็นเอสื่อสารชี้นำการสร้างโปรตีนบนไรโบโซม ขบวนการนี้ใช้โมเลกุลอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (tRNA) เพื่อขนส่งกรดอะมิโนไปยังไรโบโซม ที่ซึ่งอาร์เอ็นเอไรโบโซม (rRNA) เชื่อมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรตีน เรียกขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีนจากสายอาร์เอ็นเอนี้ว่า การแปลรหัส โครงสร้างทางเคมีของอาร์เอ็นเอคล้ายคลึงกับของดีเอ็นเอเป็นอย่างมาก แต่มีข้อแตกต่างอยู่สองประการ (1) อาร์เอ็นเอมีน้ำตาลไรโบส ขณะที่ดีเอ็นเอมีน้ำตาลดีออกซีไรโบส (ขาดออกซิเจนหนึ่งอะตอม) ซึ่งแตกต่างเล็กน้อย และ (2) อาร์เอ็นเอมีนิวคลีโอเบสยูราซิล ขณะที่ดีเอ็นเอมีไทมีน โมเลกุลอาร์เอ็นเอส่วนมากเป็นสายเดี่ยว และสามารถเกิดโครงสร้างสามมิติที่ซับซ้อนมากได้ ต่างจากดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ไรโบโซมและอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เคีย

อาร์เคีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายแบคทีเรีย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่แปลกออกไป เป็นโปรคาริโอตที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและในมหาสมุทร ผนังเซลล์ไม่มีเปบทิโดไกลแคน กรดไขมันในเยื่อหุ้มแตกกิ่ง ไม่ไวต่อยาปฏิชีวนะ ยีนไม่มีอินทรอน RNA polymerase มีหลายชนิด บางส่วนเหมือนยูคาริโอต rRNA บางส่วนคล้ายกับของยูคาริโอตด้วยเช่นกัน กลุ่มของอาร์เคียที่สำคัญได้แก.

ใหม่!!: ไรโบโซมและอาร์เคีย · ดูเพิ่มเติม »

ทีอาร์เอ็นเอ

tRNA_phe ในยีสต์ ทีอาร์เอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอถ่ายโอน (transfer RNA; tRNA) เป็นอาร์เอ็นเอขนาดเล็ก ประมาณ 74-95 นิวคลีโอไทด์ มีหน้าที่นำกรดอะมิโนที่จำเพาะเข้ามาต่อเป็นสายพอลิเพปไทด์ที่ไรโบโซมระหว่างการแปลรหัส กรดอะมิโนจับกับปลาย 3' การสร้างพันธะเพปไทด์อาศัยการทำงานของ aminoacyl tRNA synthetase มีบริเวณที่มีเบสสามเบสเรียกแอนติโคดอนซึ่งจะจับกับโคดอนหรือรหัสพันธุกรรมบน mRNA tRNA แต่ละชนิดจะจับกับกรดอะมิโนตัวเดียวเท่านั้น แต่รหัสพันธุกรรมอาจจะมีหลายรหัสที่กำหนดกรดอะมิโนตัวเดียวกัน.

ใหม่!!: ไรโบโซมและทีอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: ไรโบโซมและนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: ไรโบโซมและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: ไรโบโซมและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โพรแคริโอต

รงสร้างของเซลล์แบคทีเรีย โพรแคริโอต (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ไม่มีนิวเคลียส มักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว คำว่า prokaryotes มาจาก ภาษากรีกโบราณ pro- ก่อน + karyon เมล็ด ซึ่งหมายถึงนิวเคลียส + ปัจจัย -otos, พหูพจน์ -otesCampbell, N. "Biology:Concepts & Connections".

ใหม่!!: ไรโบโซมและโพรแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

โพลีไรโบโซม

ลีไรโบโซมหรือโพลีโซม (Polyribosomes หรือ polysomes) เป็นกลุ่มของไรโบโซมที่จับกับ mRNA ค้นพบครั้งแรกโดย Jonathan Warner Paul Knopf และ Alex Rich ใน..

ใหม่!!: ไรโบโซมและโพลีไรโบโซม · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: ไรโบโซมและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบนิวคลีโอโปรตีน

หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นใหญ่ ตัวอย่างของไรโบนิวคลีโอโปรตีน ไรโบนิวคลีโอโปรตีน (Ribonucleoprotein หรือ RNP) เป็นนิวคลีโอโปรตีนที่จับอยู่กับอาร์เอ็นเอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือไรโบโซม เอนไซม์เทโลเมอเรส และ ไรโบนิวคลีโอโปรตีนขนาดเล็กในนิวเคลียส (snRNPs) ที่มีบทบาทสำคัญในการตัดแต่ง mRNA หลังทรานสคริปชัน และเป็นองค์ประกอบหลักของนิวคลีโอลัส ไรโบนิวคลีโอโปรตีนใน snRNPs มีส่วนที่จับกับ RNA ในโปรตีนที่จับกับ RNA ซึ่งส่วนนี้มีลำดับกรดอะมิโนที่มีหมู่อะโรมาติก กรดอะมิโนไลซีนช่วยให้อาร์เอ็นเอความคงตัวและเร่งปฏิกิริยาได้ดีขึ้น การจับกันระหว่างโปรตีนกับอาร์เอ็นเอยังขึ้นกับความคงตัวทางด้านไฟฟ้าระหว่างประจุบวกของไลซีนและประจุลบจากฟอสเฟตในสายอาร์เอ็นเอ RNPsมีบทบาทสำคัญในการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอของ influenzavirus A RNA ของไวรัสถูกทรานสคริบชัน เป็น mRNAs โดย RNA polymerase ที่จับอยู่กับ RNP.

ใหม่!!: ไรโบโซมและไรโบนิวคลีโอโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ

rRNA ชิ้นเล็ก, 5' domain จากฐานข้อมูลRfam http://www.sanger.ac.uk/cgi-bin/Rfam/getacc?RF00177 RF00177 http://www.sanger.ac.uk/cgi-bin/Rfam/getacc?RF00177 RF00177 ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ (Ribosomal RNA; rRNA) เป็นองค์ประกอบสำคัญของไรโบโซม ที่มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์ การทำงานของ rRNA เกี่ยวข้องกับกลไกการถอดรหัสจาก mRNA ไปเป็นกรดอะมิโน และทำปฏิกิริยากับ tRNAs ที่นำกรดอะมิโนเข้ามาต่อกันระหว่างทรานสเลชัน ด้วยการเร่งปฏิกิริยา peptidyl transferase.

ใหม่!!: ไรโบโซมและไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบไซม์

รงสร้างของ hammerhead ribozyme ไรโบไซม์ (ribozyme มาจาก ribonucleic acid enzyme) หรือ RNA enzyme หรือ catalytic RNA) เป็นอาร์เอ็นเอที่เร่งปฏิกิริยาเคมีได้ ไรโบไซม์ตามธรรมชาติส่วนใหญ่จะเร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ของตนเอง หรือของอาร์เอ็นเอ แต่ในไรโบโซมจะเร่งปฏิกิริยา aminotransferase ได้ด้วย การศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิต มีการผลิตไรโบไซม์ในห้องปฏิบัติการ สามารถเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ตัวเองได้ ในสภาวะเฉพาะ เช่น RNA polymerase การกลายพันธุ์และการคัดเลือกทำให้สามารถคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ “Round-18" polymerase ribozyme ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 "B6.61" สามารถเติม 20 นิวคลีโอไทด์ ต่อจากไพรเมอร์ ภายใน 24 ชั่วโมง จนกระทั่งมีการสลายพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ของตนเอง ไรโบไซม์บางชนิดมีบทบาทสำคัญในการรักษา ใช้เป็นไบโอเซนเซอร์ หรือมีบทบาททางด้านการศึกษาจีโนมและการค้นพบยีน.

ใหม่!!: ไรโบโซมและไรโบไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: ไรโบโซมและไซโทพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

ไซโตซอล

doi.

ใหม่!!: ไรโบโซมและไซโตซอล · ดูเพิ่มเติม »

เพปไทด์

ปไทด์ เพปไทด์ (peptide มาจากภาษากรีก πεπτίδια) คือสายพอลิเมอร์ของกรดอะมิโนที่มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ ปลายด้านที่มีหมู่อะมิโนเป็นอิสระเรียกว่าปลายเอ็น (N-terminal) ส่วนปลายที่มีหมู่คาร์บอกซิลเป็นอิสระเรียกว่าปลายซี (C-terminal) การเรียกชื่อเพปไทด์จะเรียกตามลำดับกรดอะมิโนจากปลายเอ็นไปหาปลายซี เพปไทด์ขนาดเล็กหลายชนิดมีความสำคัญในสิ่งมีชีวิต เช่น.

ใหม่!!: ไรโบโซมและเพปไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

เพปไทด์ส่งสัญญาณ

การสังเคราะห์โปรตีนที่จะหลั่งเข้าสู่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมซึ่งอาศัยการทำงานของเพปไทด์ส่งสัญญาณในการเข้าไปจับเอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม เพปไทด์ส่งสัญญาณ (signal peptide, targeting signals, signal sequences, transit peptides, localization signals) เป็นเพปไทด์สายสั้นๆ (มีกรดอะมิโน 3-60 ตัว) ที่ควบคุมการขนส่งโปรตีน ความหมายอย่างแคบหมายถึง สายเพปไทด์สั้นๆที่สังเคราะห์ก่อนซึ่งนำเพปไทด์นั้นๆไปสู่เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม และเข้าสู่วิถีการหลั่งสารต่อไป ซึ่งต่างจากเพปไทด์ขนส่ง ซึ่งเป็นเพปไทด์ที่นำโปรตีนชนิดนั้นๆไปสู่ ไมโทคอนเดรีย คลอโรพลาสต์ หรืออะพิโคพลาสต์ แต่ความหมายอย่างกว้างหมายถึง ลำดับกรดอะมิโนที่นำโปรตีนที่สังเคราะห์ในไซโตซอลไปสู่ออร์แกเนล์ต่างๆทั้งนิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม คลอโรพลาสต์ อะโปพลาสต์ และเพอรอกซิโซม เพปไทด์ส่งสัญญาณในโปรตีนบางชนิดถูกตัดออกเมื่อการขนส่งโปรตีนเสร็จสิ้นลง.

ใหม่!!: ไรโบโซมและเพปไทด์ส่งสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ไรโบโซมและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มนิวเคลียส

นิวเคลียสของเซลล์มนุษย์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสอยู่นอกสุด มีรูพรุน เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear envelope, perinuclear envelope, nuclear membrane, nucleolemma หรือ karyotheca) เป็นชั้นของลิพิด ไบเลเยอร์ ที่ห่อหุ้มสารพันธุกรรมในเซลล์ยูคาริโอต ทำหน้าที่เป็นฉนวนทางชีวภาพ แยกส่วนของนิวเคลียสออกจากไซโตซอล ที่เยื่อหุ้มจะมีรูพรุน ที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม และสารอื่นๆระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม ระหว่างเยื่อหุ้มทั้งสองด้านเป็นช่องว่าง (Perinuclear space) บนเยื่อหุ้มมีช่อง (Nuclear pore) เชื่อมต่อกับ RER ซึ่งมีบทบาทในการส่งต่อรหัสพันธุกรรมออกนอกนิวเคลียสเพื่อสร้างโปรตีน จำนวนช่องนี้ขึ้นกับกิจกรรมของนิวเคลียส เซลล์โอโอไซต์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีมากถึง 70 ช่องต่อตารางไมครอน ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 3-4 ช่องต่อตารางไมครอน เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นเป็นชั้นลิพิด ไบเลเยอร์ เยื่อชั้นนอกต่อเนื่องกับ RER ส่วนเยื่อหุ้มชั้นในมีโปรตีนชนิดต่างๆฝังตัวอยู่ url.

ใหม่!!: ไรโบโซมและเยื่อหุ้มนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: ไรโบโซมและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มอาร์เอ็นเอ

วงชีวิตของ '''mRNA''' ในยูคาริโอต เอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger ribonucleic acid; mRNA เป็นโมเลกุลของอาร์เอ็นเอที่บรรจุรหัสหรือพิมพ์เขียวของโปรตีน mRNA สร้างโดยการทรานสคริปชันจากแม่แบบที่เป็นดีเอ็นเอ จากนั้นจะนำข้อมูลทางพันธุกรรมมาสู่การสังเคราะห์โปรตีนโดยไรโบโซม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนข้อมูลจากลำดับนิวคลีโอไทด์ไปสู่ลำดับกรดอะมิโน ข้อมูลทางพันธุกรรมใน mRNA จะอยู่ในรูปลำดับเบสของนิวคลีโอไทด์ที่เรียงเป็นรหัสพันธุกรรม ซึ่งหนึ่งรหัสประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สามเบส ซึ่งรหัสพันธุกรรมแต่ละตัวจะกำหนดกรดอะมิโนหนึ่งชนิดยกเว้นรหัสพันธุกรรมหยุด ซึ่งจะทำให้การสังเคราะห์โปรตีนสิ้นสุดลง กระบวนการนี้ต้องทำงานร่วมกับอาร์เอ็นเออีกสองชนิดคือ tRNA ที่จดจำรหัสพันธุกรรมและนำกรดอะมิโนเข้ามาต่อกัน กับ rRNAที่เป็นองค์ประกอบหลักของไรโบโซม โครงสร้างของ mRNA ที่สมบูรณ์ในยูคาริโอต ประกอบด้วย 5' cap, 5' UTR, coding region, 3' UTR, and poly(A) tail.

ใหม่!!: ไรโบโซมและเอ็มอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: ไรโบโซมและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

Escherichia coli

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของ ''E. coli'' กำลังขยาย 10,000 เท่า Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ ") หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย เป็นต้น ถูกค้นพบโดย Theodur Escherich มีลักษณะเป็นรูปท่อน ติดสีแดง เป็นแกรมลบ เป็น Facultative aerobe.

ใหม่!!: ไรโบโซมและEscherichia coli · ดูเพิ่มเติม »

Shine-Dalgarno sequence

Shine-Delgarno sequence หรือ Shine-Dalgerno box เสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย John Shine และLynn Dalgerno เป็นตำแหน่งที่ไรโบโซมจับกับ mRNA โดยทั่วไปอยู่ที่ตำแหน่ง 16 นิวคลีโอไทด์ ก่อนรหัสพันธุกรรมเริ่มต้น AUG Shine-Dalgarno sequence พบเฉพาะในโปรคาริโอต ลำดับซ้ำๆกัน 6 นิวคลีโอไทด์ AGGAGG ใน E. coli เป็น AGGAGGU ลำดับนี้ช่วยให้ไรโบโซมเริ่มการสังเคราะห์โปรตีนได้ โดยการจดจำรหัสพันธุกรรมเริ่มต้น ลำดับคู่สม (UCCUCCA) เรียก anti-Shine-Dalgarno sequence อยู่ที่ปลาย 3' ของ 16S rRNA ในไรโบโซม ในยูคาริโอต ส่วนที่ทำหน้าที่เหมือน Shine-Dalgarno sequence เรียก Kozak sequence การกลายพันธุ์ใน Shine-Dalgarno sequence ลดการทรานสเลชัน เพราะลดประสิทธิภาพการจับกันระหว่างไรโบโซมกับ mRNA เมื่อ Shine-Dalgarno sequence an และ anti-Shine-Dalgarno sequence จับกัน ตัวเริ่มทรานสเลชัน (initiation factors) IF2-GTP, IF1, IF3 และ tRNA fMet-tRNA(fmet) จะเริ่มเข้าทำงานร่วมกับไรโบโซม.

ใหม่!!: ไรโบโซมและShine-Dalgarno sequence · ดูเพิ่มเติม »

Thermus thermophilus

Thermus thermophilus เป็นแบคทีเรียแกรมลบ หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน และนำมาใช้ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาก รวมทั้งใช้เป็นสิ่งมีชีวิตต้นแบบในพันธุวิศวกรรม การศึกษาโครงสร้างจีโนม และ การจัดจำแนก แบคทีเรียชนิดนี้ทนร้อนได้สูงมาก อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญคือ 65-75℃ คัดแยก Thermus thermophilus ได้ครั้งแรกจากน้ำพุร้อนในญี่ปุ่นโดย Tairo Oshima และ Kazutomo Imahori แบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในการหมักปุ๋ยเมื่อมีอุณหภูมิสูง T. thermophilus มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่รู้จักโดยทั่วไปคือ HB8 และ HB27 และมีการวิเคราะห์จีโนมอย่างสมบูรณ์ใน..

ใหม่!!: ไรโบโซมและThermus thermophilus · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ribosome

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »