โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทดลองแบบอำพราง

ดัชนี การทดลองแบบอำพราง

การทดลองแบบอำพราง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hemisphere ว่า "doubled blind cross-over study" ว่า "การศึกษาข้ามกลุ่มแบบอำพรางสองฝ่าย" (blind experiment, blinded experiment) เป็นการทดลองที่ปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองที่อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในผลการทดลอง ไม่ให้ผู้ทำการทดลอง หรือผู้รับการทดลอง หรือทั้งสองฝ่าย รับรู้ จนกระทั่งการทดลองได้จบเสร็จสิ้นลงแล้ว ความเอนเอียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นได้ทั้งแบบจงใจหรือแบบไม่จงใจ ส่วนการทดลองที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้เรื่องที่ปิด เรียกว่า การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blinded experiment) นักวิทยาศาสตร์จะใช้การทดสอบแบบอำพราง.

51 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาฟิสิกส์ฟิสิกส์ของอนุภาคฟิสิกส์นิวเคลียร์การวิเคราะห์อภิมานการทดลองการทดลองทางคลินิกการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการขัดกันแห่งผลประโยชน์การตลาดการเข้ารหัสกีตาร์ภาพพจน์ยาหลอกยุคเรืองปัญญาระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์วิศวกรรมต่อเรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ประยุกต์ศัลยศาสตร์สมมติฐานสรีรวิทยาสังคมศาสตร์สิทธิมนุษยชนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอัตวิสัยอันโตนิโอ สตราดิวารีฮัมฟรี เดวีจริยธรรมจักษุวิทยาจิตวิทยาจิตวิทยาพัฒนาการทฤษฎีความเอนเอียงความเอนเอียงของผู้ทดลองคำวิเศษณ์ตัวกระตุ้นตัวแปรซอฟต์แวร์นิวทริโนแพทยศาสตร์โคคา-โคล่าไวโอลินไนตรัสออกไซด์เบนจามิน แฟรงคลินเวชปฏิบัติอิงหลักฐานเศษส่วนเคมีเครื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเคลฟเวอร์แฮนส์...เป๊ปซี่ ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์ของอนุภาค

ฟิสิกส์ของอนุภาค (particle physics) เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ที่ศึกษาธรรมชาติของอนุภาคทั้งหลายที่รวมตัวกันขึ้นเป็นสสาร (อนุภาคที่มีมวล) และ การฉายรังสี (อนุภาคที่ไม่มีมวล) แม้ว่าคำว่า "อนุภาค" สามารถหมายถึงวัตถุที่มีขนาดเล็กมากหลากหลายชนิด (เช่นโปรตอน อนุภาคก๊าซ หรือแม้กระทั่งฝุ่นในครัวเรือน), "ฟิสิกส์ของอนุภาค" มักจะสำรวจตรวจหาอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถตรวจพบได้ ไม่สามารถลดขนาดลงได้อีก และมีสนามฟิสิกส์ที่มีแรงขนาดพื้นฐานที่ลดขนาดลงไม่ได้ที่จำเป็นต้องใช้ในการที่จะอธิบายตัวมันเองได้ ตามความเข้าใจของเราในปัจจุบัน อนุภาคมูลฐานเหล่านี้เป็นการกระตุ้นของสนามควอนตัมที่ควบคุมการปฏิสัมพันธ์ของพวกมันอีกด้วย ทฤษฎีที่โดดเด่นในปัจจุบันที่ใช้อธิบายอนุภาคมูลฐานและสนามเหล่านี้ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง (ไดนามิกส์) ของพวกมัน จะถูกเรียกว่าแบบจำลองมาตรฐาน ดังนั้นฟิสิกส์ของอนุภาคที่ทันสมัยโดย​​ทั่วไปจะสำรวจแบบจำลองมาตรฐานและส่วนขยายที่เป็นไปได้ต่าง ๆ ของพวกมัน เช่น ส่วนขยายไปที่อนุภาคใหม่ล่าสุด "เท่าที่รู้จักกัน" ที่เรียกว่า Higgs boson หรือแม้กระทั่งไปที่สนามของแรงที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกัน คือแรงโน้มถ่วง.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและฟิสิกส์ของอนุภาค · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์นิวเคลียร์

ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Nuclear physics) หรือฟิสิกส์ของนิวเคลียส เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของนิวเคลียสทั้งหลายของอะตอม การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่ทราบกันดีที่สุดคือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ แต่การวิจัยได้ประยุกต์ในหลายสาขา เช่น เวชศาสตร์นิวเคลียร์และการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก การปลูกฝังไอออนในวิศวกรรมศาสตร์วัสดุ และการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีในวิชาภูมิศาสตร์และโบราณคดี นิวเคลียสเป็นสิ่งที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจทางทฤษฏี เพราะมันประกอบไปด้วยอนุภาคจำนวนมาก (เช่น โปรตอน และนิวตรอน) แต่ไม่มีขนาดใหญ่พอที่จะอธิบายลักษณะได้ถูกต้องเหมือนอย่างผลึก จึงมีการใช้แบบจำลองของนิวเคลียสซึ่งใช้ศึกษาพฤติกรรมทางนิวเคลียร์ส่วนใหญ่ได้ โดยอาจใช้เป็นวิธีการเดียวหรือร่วมกับวิธีการอื่น.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและฟิสิกส์นิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

การวิเคราะห์อภิมาน

การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) หมายถึงวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดสิ่งที่พบเหมือน ๆ กัน สิ่งที่ต่างกัน และความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่อาจปรากฏด้วยการศึกษางานวิจัยหลาย ๆ งาน Meta-analysis สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการ "ทำการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาอื่นที่ทำมาแล้ว" โดยแบบที่ง่ายที่สุด Meta-analysis จะทำโดยกำหนดการวัดค่าทางสถิติที่เหมือนกันในงานวิจัยหลาย ๆ งาน เช่น ขนาดผล (effect size) หรือ p-value แล้วสร้างค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของการวัดค่าที่เหมือนกัน โดยน้ำหนักที่ให้มักจะขึ้นอยู่กับขนาดตัวอย่าง (sample size) ของแต่ละงานวิจัย แต่ก็สามารถขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างอื่น ๆ เช่นคุณภาพของงานศึกษาด้วย แรงจูงใจที่จะทำงานศึกษาแบบ meta-analysis ก็เพื่อรวมข้อมูลเพื่อจะเพิ่มกำลังทางสถิติ (statistical power) ของค่าที่สนใจ เมื่อเปรียบเทียบกับเพียงใช้ค่าวัดจากงานศึกษาเดียว ในการทำงานศึกษาเช่นนี้ นักวิจัยต้องเลือกองค์ประกอบหลายอย่างที่อาจมีอิทธิพลต่อผลงาน รวมทั้งวิธีการสืบหางานวิจัย การเลือกงานวิจัยตามกฏเกณฑ์ที่เป็นกลาง การแก้ปัญหาเมื่อมีข้อมูลไม่ครบ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ และการแก้ปัญหาหรือไม่แก้ปัญหาความเอนเอียงในการตีพิมพ์ การศึกษาแบบ Meta-analysis มักจะเป็นส่วนสำคัญของงานปริทัศน์แบบทั้งระบบ (systematic review) แต่ไม่เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการทำงานแบบ Meta-analysis โดยใช้ผลงานการทดลองทางคลินิก (clinical trial) เกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์อย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้ความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าการรักษาได้ผลแค่ไหน เมื่อใช้ศัพท์ต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กร Cochrane Collaboration คำว่า meta-analysis ก็จะหมายถึงวิธีทางสถิติที่ใช้ในการประมวลหลักฐาน โดยไม่รวมเอาการประมวลข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ เช่น research synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์งานวิจัย) หรือ evidence synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์หลักฐาน) ที่ใช้ประมวลข้อมูลจากงานศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative studies) ซึ่งใช้ในงานปริทัศน์แบบทั้งร.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการวิเคราะห์อภิมาน · ดูเพิ่มเติม »

การทดลอง

เด็กเล็กทุกคนล้วนทำการทดลองเบื้องต้นเพื่อเรียนรู้โลก การทดลองเป็นวิธีดำเนินการอย่างมีระเบียบเพื่อพิสูจน์ยืนยัน หักล้างหรือสร้างความสมเหตุสมผลของสมมุติฐาน การทดลองที่มีการควบคุมทำให้ได้วิจารณญาณในเหตุภาพโดยการแสดงว่าผลลัพธ์ใดจะเกิดขึ้นหากเปลี่ยนแปลงปัจจัยหนึ่ง ๆ การทดลองที่มีการควบคุมแปรผันอย่างมากตามเป้าหมายและขนาด แต่ล้วนอาศัยวิธีดำเนินการที่ทำซ้ำได้และการวิเคราะห์ผลลัพธ์เชิงตรรกะเสมอ หมวดหมู่:การวิจัย.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองทางคลินิก

การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) คือชุดของกระบวนการในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายาที่ทำขึ้นเพื่อประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (รวมทั้งผลไม่พึงประสงค์จากยาและผลข้างเคียงของวิธีการรักษา) และประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพ (เช่น ยา การตรวจ อุปกรณ์ วิธีการรักษา ฯลฯ) การวิจัยจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคลินิกจนได้ข้อมูลที่น่าพอใจแล้ว และผ่านการรับรองขององค์กรจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ในการทำวิจัยเช่นนี้ผู้วิจัยจะรวบรวมอาสาสมัครทั้งที่มีสุขภาพปกติและ/หรือป่วยด้วยภาวะที่สนใจเข้ามาศึกษาในการวิจัยนำร่องขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงเริ่มการวิจัยขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำโดยเปรียบเทียบของใหม่กับของเก่าที่ใช้อยู่ เมื่อศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว การวิจัยลำดับถัดไปจะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยให้มากขึ้น การวิจัยเช่นนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจทำในศูนย์วิจัยแห่งเดียวหรือหลายศูนย์หลายประเทศพร้อมๆ กัน ก็มี หมวดหมู่:การวิจัยทางคลินิก หมวดหมู่:การออกแบบการทดลอง หมวดหมู่:เภสัชวิทยา หมวดหมู่:อุตสาหกรรมยา หมวดหมู่:วิทยาการระบาด หมวดหมู่:วิธีการประเมินผล หมวดหมู่:การค้นพบยาเสพติด หมวดหมู่:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมวดหมู่:การทดลองทางคลินิก หมวดหมู่:การวิจัยทางการพยาบาล.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการทดลองทางคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การขัดกันแห่งผลประโยชน์

การขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานว่า ผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) คือ สถานการณ์ที่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอันเป็นที่ไว้วางใจ เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กร ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข เป็นต้น ต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ในวิชาชีพ ซึ่งทำให้ตัดสินใจยากในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติได้ การขัดกันแห่งผลประโยชน์นี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ส่งผลทางจริยธรรมหรือความไม่เหมาะสมต่าง ๆ และสามารถทำให้ทุเลาเบาบางลงได้ด้วยการตรวจสอบโดยบุคคลภายนอก การขัดกันแห่งผลประโยชน์มิได้ปรากฏแต่ในทางวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บุคคลมีบทบาทหลากหลายและบทบาทเหล่านั้นก็เกิดขัดกันเอง เช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจมีหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และก็อาจมีหน้าที่ในทางกตัญญูกตเวทีต่อญาติพี่น้องที่มาเสนอขายสินค้าใด ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ · ดูเพิ่มเติม »

การตลาด

การตลาด คือกระบวนการของการสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการไปยังลูกค้า การตลาดอาจถูกตีความว่าเป็นศิลปะแห่งการขายสินค้าในบางครั้ง แต่การขายนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของการตลาด การตลาดอาจถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การและกลุ่มกระบวนการเพื่อการผลิต การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่าไปยังลูกค้า และการจัดการความสัมพันธ์ต่อลูกค้า ในทางที่เป็นประโยชน์แก่องค์การและผู้ถือหุ้น การจัดการการตลาดเป็นศิลปะของการเลือกตลาดเป้าหมาย ตลอดจนการได้มาและการรักษาลูกค้า ผ่านทางการจัดหาคุณค่าของลูกค้าที่เหนือกว่า มีมโนทัศน์ห้าอย่างหลัก ๆ ที่องค์การสามารถเลือกเพื่อนำไปดำเนินการธุรกิจได้แก่ มโนทัศน์เน้นการผลิต เน้นผลิตภัณฑ์ เน้นการขาย เน้นการตลาด และเน้นการตลาดองค์รวม ซึ่งองค์ประกอบสี่อย่างของการตลาดองค์รวมคือ การตลาดความสัมพันธ์ การตลาดภายใน การตลาดครบวงจร และการตลาดรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มของภาระหน้าที่ที่สำคัญต่อการจัดการการตลาดที่ประสบผลสำเร็จประกอบไปด้วย การมองการตลาดเชิงลึก การติดต่อเชื่อมโยงกับลูกค้า การสร้างตราสินค้าที่มั่นคง การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองลูกค้า การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่า การสร้างความเจริญเติบโตในระยะยาว และการพัฒนากลยุทธ์และแผนการตลาด Kotler, Philip & Keller, L. Kevin (2012).

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการตลาด · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัส

การเข้ารหัส (encryption) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของรับบการอ่านที่เป็นภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องหรือสัญญาณอื่น โดยเกี่ยวข้องกับวิธีการทางคณิตศาสตร.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการเข้ารหัส · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพจน์

น์ (figure of speech) คือ ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงม.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและภาพพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาหลอก

หลอก (placebo) เป็นการรักษาโรคหรืออาการอื่นทางการแพทย์ที่ไม่แท้หรือไม่มีผลทางการแพทย์ โดยตั้งใจให้หลอกผู้รับการรักษา บางครั้ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปลอมจะมีการพัฒนาของอาการทางการแพทย์ที่รับรู้หรือแท้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยทั่วไปเรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก ในการวิจัยทางการแพทย์ มีการให้ยาหลอกเป็นการรักษาควบคุมและขึ้นอยู่กับการหลอกที่ควบคุมได้ ยาหลอกสามัญรวมถึง ยาเม็ดเฉื่อย การผ่าตัดหลอก และกระบวนการอื่นที่ใช้สารสนเทศเท็จ อย่างไรก็ดี ยาหลอกสามารถมีผลทางบวกอย่างน่าประหลาดใจต่อผู้ป่วยที่ทราบว่า การรักษาที่ให้แก่ตนนั้นปราศจากยาออกฤทธิ์ใด ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทราบว่าไม่ได้รับยาหลอก.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมต่อเรือ

"ตาฮิเตียนปริ๊นเซส" ใน Tórshavn, หมู่เกาะแฟโร, สิงหาคม 2009 นาวาสถาปัตยกรรม, วิศวกรรมต่อเรือ หรือ วิศวกรรมเรือ (อังกฤษ: Naval Architecture หรือ Naval Engineering) เป็นสาขาวิศวกรรมที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ, การก่อสร้าง, การบำรุงรักษา, และการดำเนินงานของเรือและโครงสร้างของเรือ12.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและวิศวกรรมต่อเรือ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (อังกฤษ: natural science) หมายถึงกลุ่มของสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการจัดให้สาขาใดสาขาหนึ่งอยู่ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้น ขึ้นอยู่กับทั้งข้อตกลงในอดีตและความหมายสาขาในปัจจุบัน ตามธรรมเนียมดั้งเดิม ความหมายของ.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์ประยุกต์

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (อังกฤษ: applied science) คือสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่นำความรู้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไปใช้กับปัญหาในทางปฏิบัติ สาขาวิชาต่างของวิศวกรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และในด้านอุตสาหกรรมเรียกวิทยาศาสตร์ประยุกต์ว่า การวิจัยและพัฒนา (research & development) มีนักวิทยาศาสตร์ดังนี้ 1.ทอมัส อัลวา เอดิสัน 2.ไมเคิล ฟาราเดย์ 3.หลุยส์ ปาสเตอร์ 4.พี่น้องตระกูลไรต์ 5.กาลิเลโอ กาลิเลอี.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สรีรวิทยา

"เดอะ วิทรูเวียน แมน" (The Vitruvian Man) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ประมาณปี 1487 เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับความรู้ด้านสรีรวิทยา สรีรวิทยา (physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี สรีรวิทยาแบ่งออกเป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่สรีรวิทยาทุกสาขามีหลักการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใด เช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาเซลล์ของมนุษย์ได้ สาขาสรีรวิทยาของสัตว์นั้นหมายรวมถึงเครื่องมือและวิธีการศึกษาสรีรวิทยาของมนุษย์ซึ่งนำมาใช้ศึกษาในสัตว์ด้วย สาขาสรีรวิทยาของพืชก็สามารถใช้วิธีการศึกษาเช่นเดียวกับสัตว์และมนุษย์ด้วยเช่นกัน สาขาวิชาอื่นๆที่ถือกำเนิดจากการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ ชีวกลศาสตร์ และเภสัชวิท.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและสรีรวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

อันโตนิโอ สตราดิวารี

อันโตนิโอ สตราดิวารี (Antonio Stradivari) (ค.ศ. 1644 - 8 ธันวาคม ค.ศ. 1737) เป็นช่างทำเครื่องดนตรีชาวอิตาลีที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับถืงฝีมือการสร้างไวโอลิน วิโอลา เชลโล กีตาร์ และฮาร์พ ว่าเป็นหนึ่งในช่างฝีมือเอก ในระดับเดียวกับนิโคโล อามาติ และกุยเซ็ปเป กวาร์นิเอรี อันโตนิโอ สตราดิวารี เริ่มเป็นช่างทำไวโอลินจากการเป็นลูกศิษย์ของนิโคโล อามาติ และเปิดร้านเป็นของตนเองควบคู่ไปกับการทำงานที่ร้านของอามาติ ในปี ค.ศ. 1666 จนกระทั่งอามาติเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและอันโตนิโอ สตราดิวารี · ดูเพิ่มเติม »

ฮัมฟรี เดวี

ซอร์ ฮัมฟรี เดวี, บารอนเน็ตที่ 1 (Sir Humphry Davy, 1st Baronet) (17 ธันวาคม ค.ศ. 1778 - 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1829) เป็นนักเคมีและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษDavid Knight, ‘Davy, Sir Humphry, baronet (1778–1829)’, Oxford Dictionary of National Biography, Oxford University Press, 2004 เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ค้นพบโลหะแอลคาไลและโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท และยังค้นพบธาตุคลอรีนและไอโอดีน ในปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและฮัมฟรี เดวี · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

จักษุวิทยา

การใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit lamp) ตรวจตาในคลินิกจักษุวิทยา จักษุวิทยา (Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพท.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและจักษุวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาพัฒนาการ

ตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงอายุ ในระยะแรกนั้นเน้นศึกษาไปที่ทารกและเด็ก ในระยะเวลาต่อมาจึงได้ขยายไปศึกษาวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุและตลอดทั้งชีวิต โดยศาสตร์ของจิตวิทยาพัฒนาการนี้จะเน้นศึกษาทักษะการเคลื่อนไหวและสรีระร่างกาย การพัฒนาทางสติปัญญาทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาและความเข้าใจทางด้านศีลธรรม การเข้าใจมโนทัศน์ นอกจากนี้ยังศึกษาในด้านของการพัฒนาทักษะทางภาษา สังคมและอารมณ์ รวมไปถึงความเข้าใจในตนเอง.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและจิตวิทยาพัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎี

ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น หรือ คือกลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียง

วามเอนเอียง (Bias) เป็นความโน้มไปของภาวะจิตใจหรือทัศนคติ ที่จะแสดงหรือยึดถือความคิดเห็นที่ไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งพร้อมกับการปฏิเสธที่จะแม้พิจารณาความเป็นไปได้ของความคิดเห็นที่ต่างออกไป เราอาจจะมีความเอนเอียงต่อบุคคล ต่อเชื้อชาติ ต่อศาสนา ต่อชนชั้นในสังคม หรือต่อพรรคการเมือง การมีความเอนเอียงหมายถึง เอนไปข้างเดียว ไม่มีความเป็นกลาง ไม่เปิดใจ ความเอนเอียงมาในหลายรูปแบบ และคำว่า Bias ในภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า prejudice (ความเดียดฉันท์) และ bigotry (ความหัวดื้อ ความมีทิฏฐิมานะ).

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงของผู้ทดลอง

ในวิทยาศาสตร์เชิงทดลอง ความเอนเอียงของผู้ทดลอง (experimenter's bias) เป็นความเอนเอียงที่เป็นอัตวิสัยที่เกิดขึ้นโดยโน้มน้าวไปทางค่าผลที่คาดหวังโดยผู้ทำการทดลอง ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงที่เกิดขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลโดยไม่รู้ตัวต่อผู้ร่วมการทดลองหรือสัตว์ทดลอง เช่นในกรณีของม้าคเลเวอร์แฮน.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและความเอนเอียงของผู้ทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

คำวิเศษณ์

ำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและคำวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแปร

ตัวแปร (variable) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและตัวแปร · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวทริโน

นิวทริโน (Neutrino) เป็นอนุภาคมูลฐาน ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า และมีค่าสปิน (ฟิสิกส์)เท่ากับครึ่งจำนวนเต็ม นิวทริโน (ภาษาอิตาลีหมายถึง "สิ่งเป็นกลางตัวน้อย") ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรกรีกว่า \nu_^ (นิว) มวลของนิวทริโนมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาคย่อยอื่นๆ และเป็นอนุภาคเพียงชนิดเดียวที่รู้จักในขณะนี้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นสสารมืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสสารมืดร้อน นิวทริโนเป็นเลปตอน กลุ่มเดียวกับอิเล็กตรอน มิวออน และเทา (อนุภาค) แต่ไม่มีประจุไฟฟ้า แบ่งเป็น 3 ชนิด (หรือ flavour) ได้แก่ อิเล็กตรอนนิวทริโน (Ve) มิวออนนิวทริโน (Vμ) และเทานิวทริโน (VT) แต่ละเฟลเวอร์มีคู่ปฏิปักษ์ (ปฏิยานุภาค) ของมันเรียกว่า "ปฏินิวทริโน" ซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าและมีสปินเป็นครึ่งเช่นกัน นิวทริโนถูกสร้างขึ้นในวิธีที่อนุรักษ์ เลขเลปตอน นั่นคือ เมื่อมี อิเล็กตรอนนิวทริโน ถูกสร้างขึ้น หนึ่งตัว จะมี โพซิตรอน (ปฏิอิเล็กตรอน) หนึ่งตัวถูกสร้างขึ้นด้วย และเมื่อมี อิเล็กตรอนปฏินิวทริโนหนึ่งตัวถูกสร้างขึ้น ก็จะมีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวถูกสร้างขึ้นเช่นกัน นิวทริโนไม่มีประจุไฟฟ้า จึงไม่ถูกกระทบโดยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะกระทำต่อทุกอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และเนื่องจากมันเป็นเลปตอน จึงไม่ถูกกระทบโดยอันตรกิริยาอย่างเข้มที่จะกระทำต่อทุกอนุภาคที่ประกอบเป็นนิวเคลียสของอะตอม นิวทริโนจึงถูกกระทบโดย อันตรกิริยาอย่างอ่อน และ แรงโน้มถ่วง เท่านั้น แรงอย่างอ่อนเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีระยะทำการสั้นมาก และแรงโน้มถ่วงก็อ่อนแออย่างสุดขั้วในระยะทางระดับอนุภาค ดังนั้นนิวทริโนโดยทั่วไปจึงสามารถเคลื่อนผ่านสสารทั่วไปได้โดยไม่ถูกขวางกั้นและไม่สามารถตรวจจับได้ นิวทริโนสามารถสร้างขึ้นได้ในหลายวิธี รวมทั้งในหลายชนิดที่แน่นอนของการสลายให้กัมมันตรังสี, ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่นพวกที่เกิดขึ้นในดวงอาทิตย์, ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, เมื่อรังสีคอสมิกชนกับอะตอมและในซูเปอร์โนวา ส่วนใหญ่ของนิวทริโนในบริเวณใกล้โลกเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ ในความเป็นจริง นิวทรืโนจากดวงอาทิตย์ประมาณ 65 พันล้านตัว ต่อวินาทีเคลื่อนที่ผ่านทุก ๆ ตารางเซนติเมตรที่ตั้งฉากกับทิศทางของดวงอาทิตย์ในภูมิภาคของโลก นิวทริโนมีการ แกว่ง (oscillate) ไปมาระหว่างฟเลเวอร์ที่แตกต่างกันเมื่อมีการเคลื่อนที่ นั่นคิอ อิเล็กตรอนนิวทริโนตัวหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในปฏิกิริยาการสลายให้อนุภาคบีตา อาจกลายเป็นมิวออนนิวทริโนหรือเทานิวทริโนหนึ่งตัวเมื่อมาถึงเครื่องตรวจจับ ซึ่งนิวทริโนแต่ละชนิดจะมีมวลไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่ามวลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กมาก จากการวัดทางจักรวาลวิทยา ได้มีการคำนวณว่าผลรวมของมวลนิวทริโนสามตัวน้อยกว่าหนึ่งในล้านส่วนของมวลอิเล็กตรอน.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและนิวทริโน · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โคคา-โคล่า

รื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทโคคา-โคล่า โคคา-โคล่า โรงงานบรรจุขวด 8 มกราคม 1941 มอนทรีออล, ประเทศแคนาดา Coca-Cola โคคา-โคล่า เป็นเครื่องดื่มอัดลมที่วางขายตามร้านค้า ภัตตาคารและตู้ขายสินค้าแบบหยอดเหรียญในกว่า 200 ประเทศ ผลิตโดย บริษัทโคคา-โคล่าแห่งแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ซึ่งมักเรียกสั้น ๆ ว่า โค้ก (เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทโคคา-โคล่าในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1944) เดิมตั้งใจขายเป็นยาตำรับสงวนสิทธิ์ (patent medicine) เมื่อจอห์น เพมเบอร์ตันคิดค้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนนักธุรกิจเอซา กริกส์ แคนด์เลอร์ (Asa Griggs Candler) ผลิตโคคา-โคล่า ซึ่งกลยุทธ์การตลาดของเขานำโค้กครองตลาดเครื่องดื่มอัดลมทั่วโลกตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและโคคา-โคล่า · ดูเพิ่มเติม »

ไวโอลิน

วโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตร.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและไวโอลิน · ดูเพิ่มเติม »

ไนตรัสออกไซด์

แนวโน้มในการเป็นแก๊สเรือนกระจก ถังแก๊สไนตรัสออกไซด์สำหรับใช้ในทางทันตกรรม ไนตรัสออกไซด์ หรือ แก๊สหัวเราะ (Nitrous oxide หรือ laughing gas) คือสารประกอบทางเคมีที่มีสูตรทางเคมีว่า N2O ที่อุณหภูมิห้อง ไนตรัสออกไซด์จะไม่มีสี และเป็นแก๊สไม่ติดไฟ ไนตรัสออกไซด์มีกลิ่นหอมและมีรสหวานเล็กน้อย มีการนำไนตรัสออกไซด์ไปใช้ในการผ่าตัดและทางทันตกรรมเพื่อให้เกิดอาการชาและเพื่อการระงับความปวด โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ “แก๊สหัวเราะ” เนื่องจากเมื่อสูดดมแล้วจะให้ความรู้สึกเคลิ้มสุขหรือครึ้มใจ เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มีการใช้ในเชิงนันทนาการโดยการใช้เป็นยาดม และยังมีการนำไปใช้ในการแข่งรถยนต์โดยให้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อเพิ่มกำลังให้เครื่องยนต์อีกด้ว.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและไนตรัสออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

เบนจามิน แฟรงคลิน

นจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) (– 17 เมษายน ค.ศ. 1790) เป็นหนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา เบนจามิน แฟรงคลิน เป็น ช่างพิมพ์ คนเรียงพิมพ์ นักเขียน นักปรัชญา นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักปฏิรูป และนักการทูต คนสำคัญในยุคแสงสว่างของสหรัฐอเมริกา ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ เขามีผลงานหลายอย่างในด้านฟิสิกส์ ผลงานที่สำคัญคือคิดค้นสายล่อฟ้า และผลงานอื่นเช่นแว่นไบโฟคอล เตาแฟรงคลิน และฮาร์โมนิกาแก้ว เขาเป็นผู้เริ่มก่อตั้งห้องสมุดแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา และก่อตั้งสถานีดับเพลิงแห่งแรกในรัฐเพนซิลเวเนีย ผลงานในฐานะนักการเมืองเขาเป็นนักเขียนและผู้นำการเคลื่อนไหวคนสำคัญไปสู่การแยกตัวออกจากอาณานิคมและร่วมก่อตั้งชาติสหรัฐอเมริกา ในฐานะนักการทูต เขาได้เป็นทูตคนสำคัญในช่วงปฏิวัติอเมริกาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนำไปสู่การแยกตัวของประเทศจากอาณานิคมของอังกฤษในที่สุด แฟรงคลินเริ่มต้นชีวิตจากการเป็นนักเรียงพิมพ์ในฟิลาเดลเฟีย ซึ่งสร้างความมั่งคั่งจากหนังสือ Poor Richard's Almanack และหนังสือพิมพ์เพนน์ซิลเวเนียแกเซตต์ (Pennsylvania Gazette) แฟรงคลินมีความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีชื่อเสียงในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกคนหนึ่ง นอกจากนี้เขาได้เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และวิทยาลัยแฟรงคลินแอนด์มาร์แชลล์ เขายังได้รับเลือกให้เป็นประธานคนแรกของสมาคมปรัชญาอเมริกา จากผลงานของแฟรงคลินทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และการเมือง เขาได้ถูกยกย่องและกล่าวถึงในหลายด้าน เขาปรากฏในธนบัตรของสหรัฐอเมริกา (100 ดอลลาร์สหรัฐ) ชื่อของเขายังปรากฏเป็นชื่อ เมือง เคาน์ตี สถานศึกษา และผลงานอีกหลายด้านยังมีการกล่าวถึงตราบจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเบนจามิน แฟรงคลิน · ดูเพิ่มเติม »

เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

ำว่า เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (Evidence-based medicine ตัวย่อ EBM) เป็นแบบการแพทย์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินใจให้ดีที่สุด โดยเน้นการใช้หลักฐานจากงานวิจัยที่มีการออกแบบและการดำเนินการที่ดี แม้ว่าการแพทย์ที่อาศัยวิทยาศาสตร์ (คือไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกเป็นต้น) ทั้งหมดล้วนแต่ต้องอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ (empirical evidence) แต่ว่า EBM เข้มงวดยิ่งกว่านั้น คือมีการจัดระดับหลักฐานโดยกำลังของวิธีการสืบหาหลักฐาน (epistemologic strength) และมีการกำหนดว่า หลักฐานที่มีกำลังที่สุด (คือที่มาจากงาน meta-analysis, งานปริทัศน์เป็นระบบ, และงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม) เท่านั้นที่จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) ที่เข้มแข็งน่าเชื่อถือที่สุดได้ ส่วนหลักฐานจากงานที่มีกำลังอ่อนประเภทอื่น (เช่นงานศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นต้น) จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) แบบอ่อนเท่านั้น ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Evidence-based medicine" ดั้งเดิม (เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1992) ใช้หมายถึงวิธีการสอนวิชาการทางแพทย์ และวิธีเพื่อเพิ่มคุณภาพการวินิจฉัยตัดสินใจของแพทย์แต่ละบุคคล ๆ หลังจากนั้น คำก็เริ่มใช้กินความหมายมากขึ้นและรวมถึงวิธีการที่มีมาก่อนแล้ว คือวิธีการที่เน้นใช้หลักฐานในการแนะนำแนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งชุมชน (เช่นคำว่า "evidence-based practice policies" แปลว่า นโยบายการปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ต่อจากนั้นอีก คำก็กินความมากขึ้น หมายถึงวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจในการแพทย์ทุกระดับ และแม้ในวิชาการสาขาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเรียกใช้คำที่กว้างขึ้นว่า evidence-based practice (ตัวย่อ EBP แปลว่า การปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการศึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยตัดสินใจในคนไข้รายบุคคล แนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งกลุ่มชน หรือการให้บริการทางสุขภาพโดยทั่ว ๆ ไป EBM สนับสนุนว่า โดยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจและนโยบายการปฏิบัติ ควรจะอาศัยหลักฐาน ไม่ใช่เพียงแค่อาศัยความเชื่อของแพทย์รักษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารเท่านั้น คือ เป็นแบบการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความคิดเห็นของแพทย์รักษา ซึ่งอาจจะจำกัดโดยความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือโดยความเอนเอียง มีการบูรณาการด้วยความรู้ที่มีอยู่ทั้งหมดจากสิ่งเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) และนำไปใช้ได้ EBM โปรโหมตระเบียบวิธีที่เป็นรูปนัย (formal) และชัดแจ้ง (explicit) ในการวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อให้เป็นข้อมูลกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ EBM สนับสนุนโปรแกรมการศึกษาเพื่อสอนข้อปฏิบัติของ EBM ต่อนักศึกษาแพทย์ แพทย์รักษา และผู้กำหนดน.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เศษส่วน

้กถูกตัดออกไปหนึ่งในสี่ส่วน เหลือเพียงสามในสี่ส่วน ในทางคณิตศาสตร์ เศษส่วน คือความสัมพันธ์ตามสัดส่วนระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุหนึ่งเมื่อเทียบกับวัตถุทั้งหมด เศษส่วนประกอบด้วยตัวเศษ (numerator) หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนของวัตถุที่มี และตัวส่วน (denominator) หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนทั้งหมดของวัตถุนั้น ตัวอย่างเช่น อ่านว่า เศษสามส่วนสี่ หรือ สามในสี่ หมายความว่า วัตถุสามชิ้นส่วนจากวัตถุทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน นอกจากนั้น การแบ่งวัตถุสิ่งหนึ่งออกเป็นศูนย์ส่วนเท่า ๆ กันนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น 0 จึงไม่สามารถเป็นตัวส่วนของเศษส่วนได้ (ดูเพิ่มที่ การหารด้วยศูนย์) เศษส่วนเป็นตัวอย่างชนิดหนึ่งของอัตราส่วน ซึ่งเศษส่วนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนย่อยต่อชิ้นส่วนทั้งหมด ในขณะที่อัตราส่วนพิจารณาจากปริมาณของสองวัตถุที่แตกต่างกัน (ดังนั้น อาจไม่เท่ากับ 3: 4) และเศษส่วนนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นผลหาร (quotient) ของจำนวน ซึ่งปริมาณที่แท้จริงสามารถคำนวณได้จากการหารตัวเศษด้วยตัวส่วน ตัวอย่างเช่น คือการหารสามด้วยสี่ ได้ปริมาณเท่ากับ 0.7599999999999999999999999999999999999 ในทศนิยม หรือ 1000000000000000000000000000000000% ในอัตราร้อยละ การเขียนเศษส่วน ให้เขียนแยกออกจากกันด้วยเครื่องหมายทับหรือ ซอลิดัส (solidus) แล้ววางตัวเศษกับตัวส่วนในแนวเฉียง เช่น ¾ หรือคั่นด้วยเส้นแบ่งตามแนวนอนเรียกว่า วิงคิวลัม (vinculum) เช่น ในบางกรณีอาจพบเศษส่วนที่ไม่มีเครื่องหมายคั่น อาทิ 34 บนป้ายจราจรในบางประเท.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเศษส่วน · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

รื่องลงคะแนนเลือกตั้งของบราซิล เครื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (voting machine) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งร่วมมือกับบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและการออกเสียงประชามต.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเครื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

เคลฟเวอร์แฮนส์

ลฟเวอร์แฮนส์แสดงความสามารถ เคลฟเวอร์แฮนส์ (Clever Hans) หรือ แดร์คลูเกอฮันส์ (der Kluge Hans)เป็นม้าพันธุ์รัสเซีย (Orlov Trotter) ตัวหนึ่ง ที่มีการอ้างว่า มันสามารถคิดเลขง่าย ๆ และแก้ปัญหาใช้สติปัญญาอื่น ๆ บางอย่างได้ แต่ว่าหลังจากได้ทำการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบแล้วในปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเคลฟเวอร์แฮนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เป๊ปซี่

ป๊ปซี่ โคล่า คือ เครื่องดื่มอัดลมที่ผลิตโดยบริษัทเป๊ปซี่ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งรายสำคัญของโคคา โคล่า เป๊ปซี่ โคล่ากำเนิดขึ้นครั้งแรกโดยการคิดค้นของเภสัชกรคาแร็ป แรดแฮมที่นิวเบิร์น นอร์ทแคโรไลนา ช่วงทศวรรษ1800-1900 แรกเริ่มเครื่องดื่มชนิดนี้ตั้งชื่อว่า "เครื่องดื่มของแบรด (Brad's drink)" โดยมีเจตนาจะผลิตเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นเพื่อช่วยรักษาอาการปวดท้อง ต่อมาแรดแฮมจึงตั้งชื่อเครื่องดื่มนี้ว่าเป๊ปซี่จากอาการปวดท้องที่เรียกว่า ดิสเป๊ปเซีย ชื่อเป๊ปซี่นั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1903 ส่วนผสมของเป๊ปซี่ถือเป็นความลับทางการค้าเช่นเดียวกับสูตรผสมของ โค้ก เคเอฟซี และแม็คโดนัลด์ ในปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเป๊ปซี่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Blind experimentBlind trialBlinded experimentBlinded trialDouble blindDouble-blind trialDouble-blinded experimentDouble-blinded trialSingle blindTriple blindTriple-blind experimentTriple-blind trialTriple-blinded experimentTriple-blinded trialการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียวการทดลองแบบอำพรางสองฝ่ายการทดลองแบบบอดการทดลองแบบบอดสองทางการทดลองแบบบอดสามทางการทดลองแบบบอดทางเดียวการทดลองแบบปิดการทดลองแบบปิดสองทางการทดลองแบบปิดสามทางการทดลองแบบปิดทางเดียวงานทดลองแบบบอดงานทดลองแบบบอดสองทางงานทดลองแบบบอดสามทางงานทดลองแบบบอดทางเดียวงานทดลองแบบปิดงานทดลองแบบปิดสองทางงานทดลองแบบปิดสามทางงานทดลองแบบปิดทางเดียว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »