โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สลาวอย ชิเชค

ดัชนี สลาวอย ชิเชค

ลาวอย ชิเชค (Slavoj Žižek) (เกิด 21 มีนาคม ค.ศ. 1949) เป็นนักปรัชญา นักวิพากษ์วัฒนธรรม และปัญญาชนมาร์กซิสต์ชาวสโลวีเนีย เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสประจำสถาบันสังคมวิทยาและปรัชญา มหาวิทยาลัยลูบลิยานา เป็นศาสตราภิชานด้านภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และเป็นผู้อำนวยการนานาชาติประจำสถาบันมนุษยศาสตร์แห่งเบิร์กเบค (Birkbeck Institute for the Humanities) มหาวิทยาลัยลอนดอน ชิเชคมีผลงานตีพิมพ์หลากหลายหัวข้อ อาทิ ทฤษฎีการเมือง จิตวิเคราะห์ ภาพยนตร์วิจารณ์ เทววิทยา ฯลฯ ชิเชคเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติภายหลังผลงานเล่มแรกเรื่อง The Sublime Object of Ideology (1989) ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ในหนังสือเล่มดังกล่าว ชิเชคได้อาศัยกรอบการตีความแบบวัตถุนิยม ซึ่งพัฒนาขึ้นจากปรัชญาของจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan) ในการทำความเข้าใจอุดมการณ์ในฐานะแฟนตาซีของจิตไร้สำนึกที่ทำหน้าที่ประกอบสร้างสภาพความเป็นจริงให้กับมนุษย์ นอกจากผลงานชิ้นดังกล่าว ชิเชคยังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม เสรีนิยมใหม่ รวมถึงวิจารณ์การวิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายซ้ายที่มีต่อทุนนิยมเองมาอย่างต่อเนื่อง.

26 ความสัมพันธ์: ฟรีดริช เองเงิลส์พ.ศ. 2492มหาวิทยาลัยลอนดอนมหาวิทยาลัยนิวยอร์กมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ยูโกสลาเวียลัทธิมากซ์ลูบลิยานาวลาดีมีร์ เลนินวัฒนธรรมอภิปรัชญาอุดมการณ์ฌ็อง-ฌัก รูโซจิตวิเคราะห์จิตไร้สำนึกจินตนิมิตทฤษฎีการเมืองทุนนิยมคาร์ล มากซ์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ประเทศสโลวีเนียเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลเสรีนิยมใหม่เทววิทยา21 มีนาคม4 มกราคม

ฟรีดริช เองเงิลส์

ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) เป็นนักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน และนักทฤษฎีสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เป็นเพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่ใกล้ชิดของ คาร์ล มาร์กซ์ โดยร่วมกันวางรากฐานของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ และมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงหลักการของลัทธิมาร์กซว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ และวัตถุนิยมวิภาษวิธี ให้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในขบวนการสังคมนิยม.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและฟรีดริช เองเงิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยลอนดอน

ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร ดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในลอนดอน มีนักศึกษาในวิทยาเขต 135,090 คน และมากกว่า 40,000 ในโครงการ University of London External Programme มหาวิทยาลัยก่อตั้งใน..

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและมหาวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก

มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) (โดยทั่วไปเรียกว่า NYU หรือ เอ็นวายยู) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง นิวยอร์ก ในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) มหาวิทยาลัยนิวยอร์กเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนนักศึกษากว่า 50,000 คน มหาวิทยาลัยนิวยอร์กประกอบไปด้วย 16 คณะและวิทยาลัย โดยมีวิทยาเขตอยู่ทั้งในใจกลางเกาะแมนฮัตตันและบรู๊กลิน นอกจากนี้ยังมีสำนักงานและสถาบันวิจัยอยู่ทั่วโลก อาทิเช่น ลอนดอน ปารีส มาดริด เบอร์ลิน เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ และวิทยาเขตต่างประเทศที่กรุงอาบูดาบี มหาวิทยาลัยนิวยอร์กมีคณาจารย์และศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบล 31 คน รางวัลอาเบล 3 คน รางวัลพูลิตเซอร์ 16 คน รวมถึงรางวัลออสการ์ รางวัลเอมมี่ รางวัลแกรมมีและรางวัลโทนีรวม 19 คน มหาวิทยาลัยนิวยอร์กมีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษในด้าน กฎหมาย ธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ การแสดงและการภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีนท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2301 หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้สมรู้ร่วมคิดการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโกสลาเวีย

ูโกสลาเวีย (Yugoslavia; สลาวิกใต้: Jugoslavija; เซอร์เบีย: Југославија) เป็นชื่ออดีตประเทศบริเวณคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความหมายของคำว่ายูโกสลาเวียคือ "ดินแดนของชาวสลาฟตอนใต้".

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูบลิยานา

(สโลวีเนีย: Ljubljana) คือเมืองหลวง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสโลวีเนีย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางของยุโรป ระหว่างเทือกเขาแอลป์, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และที่ราบแพนโนเนียน ลูบลิยานาตั้งอยู่ใจกลางของประเทศสโลวีเนีย มีประชากร 267,386 คน (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2549) ปัจจุบันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมประเพณี, เศรษฐกิจ, การเมือง และศูนย์กลางบริหารของประเทศสโลวีเนี.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและลูบลิยานา · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov, Владимир Ильич Ульянов) เป็นผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและวลาดีมีร์ เลนิน · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและอภิปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

อุดมการณ์

อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง แนวความคิดทางการเมืองที่นำไปปฏิบัติจริง มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐ และการให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังสะท้อนสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชน อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและอุดมการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ฌัก รูโซ

็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญ.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและฌ็อง-ฌัก รูโซ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิเคราะห์

ตวิเคราะห์ (psychoanalysis) เป็นชุดทฤษฎีและเทคนิคจิตวิทยาและจิตบำบัดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมแพทย์ชาวออสเตรีย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทำให้แพร่หลายและบางส่วนกำเนิดจากงานด้านการรักษาของโยเซฟ บรอแยร์ (Josef Breuer) และอื่น ๆ นับแต่นั้น จิตวิเคราะห์ได้ขยายและมีการทบทวน ปฏิรูปและพัฒนาในทิศทางต่าง ๆ เดิมโดยผู้ร่วมงานและศิษย์ของฟรอยด์ เช่น อัลเฟรด อัดแลร์และคาร์ล กุสทัฟ ยุงผู้พัฒนาความคิดของตนเองเป็นเอกเทศจากฟรอยด์ นักจิตวิทยาฟรอยด์ใหม่ (neo-Freudian) สมัยหลังมีเอริช ฟรอมม์, คาเริน ฮอร์ไน, แฮร์รี สแทก ซัลลิแวนและฌัค ลาคา (Jacques Lacan) หลักพื้นฐานของจิตวิเคราะห์มีดังนี้.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและจิตวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตไร้สำนึก

จิตไร้สำนึก (unconscious mind) ประกอบด้วยกระบวนการในจิตซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและไม่สามารถพินิจภายในได้ มีกระบวนการคิด ความจำ อารมณ์และแรงจูงใจ แม้กระบวนการเหล่านี้มีอยู่ใต้ผิวของความตระหนักพิชาน (conscious) แต่มีทฤษฎีว่า จิตไร้สำนึกส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรม คำนี้บัญญัติโดย ฟรีดริช เชลลิง นักปรัชญาจินตนิยมชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และภายหลังเซมาเอล เทย์เลอร์ โคละริดจ์ กวีและผู้เขียนงานประพันธ์ นำเข้ามาในภาษาอังกฤษ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักประสาทวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรียพัฒนาและเผยแพร่มโนทัศน์ดังกล่าว หลักฐานเชิงประจักษ์แนะว่า ปรากฏการณ์ไร้สำนึกมีความรู้สึกที่ถูกกดเก็บ ทักษะอัตโนมัติ สัญชานใต้ระดับ (subliminal perception) ความคิด นิสัยและปฏิกิริยาอัตโนมัติ และอาจยังมีปม (complex) ความกลัวและความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เข้าใจว่ากระบวนการไร้สำนึกแสดงออกในฝันในรูปสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับการพลั้งปาก (slips of the tongue) และมุกตลก ฉะนั้น จึงมองได้ว่าจิตไร้สำนึกเป็นบ่อเกิดของฝันและความคิดอัตโนมัติ (ที่ปรากฏโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน) คลังความจำที่ถูกลืม (ซึ่งยังอาจเข้าถึงพิชานในภายหลัง) และที่ตั้งของความรู้โดยปริยาย (implicit knowledge, หมายถึง สิ่งที่สิ่งที่เรียนรู้มาอย่างดีจนทำได้โดยไม่ต้องคิด) หมวดหมู่:จิตไร้สำนึก หมวดหมู่:จิตวิทยาวิเคราะห์ หมวดหมู่:ระบบประสาทส่วนกลาง หมวดหมู่:กระบวนการทางจิต หมวดหมู่:จิตวิทยาแบบฟรอยด์.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและจิตไร้สำนึก · ดูเพิ่มเติม »

จินตนิมิต

นตนิมิต (fantasy) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีเค้าโครงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และเรื่องเหนือจริง มักมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยุคกลางของยุโรป หรือมีลักษณะที่แสดงถึงยุคเดียวกันนั้น เช่นสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องแต่งกาย หรือเทคโนโลยี โลกแห่งจินตนิมิตมักยอมรับสภาวะเหนือจริงและเวทมนตร์ต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ความแตกต่างระหว่างจินตนิมิต กับนิยายวิทยาศาสตร์หรือนิยายสยองขวัญ คือลักษณะของเทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอเกี่ยวกับความตาย งานจินตนิมิตประกอบด้วยผลงานประพันธ์ของนักเขียน ศิลปิน นักดนตรี หรือนักสร้างภาพยนตร์มากมาย นับแต่อดีตกาลประหนึ่งปกรณัมหรือตำนานลี้ลับ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เผยแพร่แก่ผู้คนจำนวนมาก.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและจินตนิมิต · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีการเมือง

ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ ทฤษฏีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่เกิดมาพร้อมๆกับวิชารัฐศาสตร์ คือราว ทศวรรษที่ 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่วิธีวิทยา แบบวิทยาศาสตร์เข้ามีอิทธิพลอย่างสูงในวิชารัฐศาสตร์ อย่างไรก็ตามแม้ทฤษฎีการเมืองจะเป็นวิชาของการศึกษาการเมืองในยุควิทยาศาสตร์ ทว่าก็มีทฤษฎีการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ได้รับอิทธิพลมาจากนักปรัชญาการเมือง.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและทฤษฎีการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวีเนีย

ประเทศสโลวีเนีย (Slovenia; Slovenija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene:, abbr.: RS) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาและเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวีเนียเป็นภูเขาและมีลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีปหลัก ยกเว้นภูมิภาคชายฝั่งจะมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเทือกเขาแอลป์ นอกจากนี้ไดนาริกแอลป์และที่ราบพันโนเนียก็พอได้ในสโลวีเนียเช่นกัน สโลวีเนียเป็นหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในพื้นที่ ๆ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์มากในยุโรป ทั้งแม่น้ำจำนวนมาก ชั้นหินอุ้มน้ำและแหล่งธารน้ำใต้ดิน สโลวีเรียมีป่าปกคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ส่วนการตั้งถิ่นฐานของประชากรก็จะกระจักกระจายกันไป ประวัติศาสตร์สโลวีเนียได้รับทั้งวัฒนธรรมและภาษาจากสลาวิกตะวันตก สลาวิกใต้ เจอร์แมนิก โรมานซ์และฮังกาเรียน ถึงแม้ประชากรในประเทศจะไม่ได้เป็นเอกพันธุ์เดียวกันแต่ส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีน ภาษาสโลวีเนียซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาราชการของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไม่นับถือศาสนาอย่างแท้จริง แต่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศได้รับอิทธิพลจากโรมันคาทอลิกและลูเทอแรน เศรษฐกิจของประเทศสโลเวเนียเป็นแบบเปิดขนาดเล็กและเป็นอุตสาหกรรมมุ่งการส่งออก ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปที่เริ่มช่วงปลายยุค 2000 เศรษฐกิจหลักคืออุตสาหกรรมบริการตามด้วยอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในอดีตพื้นที่ของสโลเวเนียเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่แตกต่างกันหลายแห่งทั้งจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค สาธารณรัฐเวนิส จังหวัดอิลลิเรียของนโปเลียนที่ 1ที่ปกครองโดยฝรั่งเศส จักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและประเทศสโลวีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนิยมใหม่

รีนิยมใหม่ (neoliberalism) หมายถึง การกำเนิดใหม่ของความคิดที่สัมพันธ์กับเสรีนิยมทางเศรษฐกิจปล่อยให้ทำไปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เสรีนิยมใหม่ประกอบด้วยนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การรัดเข็มขัดทางการเงิน (fiscal austerity) การลดข้อบังคับ (deregulation) การค้าเสรี และการลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในเศรษฐกิจ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการนำนโยบายเสรีนิยมใหม่มาใช้และการยอมรับทฤษฎีเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นเหง้าของกระบวนการเพิ่มอิทธิพลของสถาบันการเงิน (financialization) โดยมีวิกฤตการณ์การเงิน ค.ศ. 2007–2008 เป็นผลสุดท้าย คำนี้มีใช้มาตั้งแต..

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและเสรีนิยมใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและเทววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

21 มีนาคม

วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ 80 ของปี (วันที่ 81 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 285 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและ21 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

4 มกราคม

วันที่ 4 มกราคม เป็นวันที่ 4 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 361 วันในปีนั้น (362 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สลาวอย ชิเชคและ4 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »