เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สลาวอย ชิเชคและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สลาวอย ชิเชคและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

สลาวอย ชิเชค vs. เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

ลาวอย ชิเชค (Slavoj Žižek) (เกิด 21 มีนาคม ค.ศ. 1949) เป็นนักปรัชญา นักวิพากษ์วัฒนธรรม และปัญญาชนมาร์กซิสต์ชาวสโลวีเนีย เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสประจำสถาบันสังคมวิทยาและปรัชญา มหาวิทยาลัยลูบลิยานา เป็นศาสตราภิชานด้านภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และเป็นผู้อำนวยการนานาชาติประจำสถาบันมนุษยศาสตร์แห่งเบิร์กเบค (Birkbeck Institute for the Humanities) มหาวิทยาลัยลอนดอน ชิเชคมีผลงานตีพิมพ์หลากหลายหัวข้อ อาทิ ทฤษฎีการเมือง จิตวิเคราะห์ ภาพยนตร์วิจารณ์ เทววิทยา ฯลฯ ชิเชคเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติภายหลังผลงานเล่มแรกเรื่อง The Sublime Object of Ideology (1989) ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ในหนังสือเล่มดังกล่าว ชิเชคได้อาศัยกรอบการตีความแบบวัตถุนิยม ซึ่งพัฒนาขึ้นจากปรัชญาของจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan) ในการทำความเข้าใจอุดมการณ์ในฐานะแฟนตาซีของจิตไร้สำนึกที่ทำหน้าที่ประกอบสร้างสภาพความเป็นจริงให้กับมนุษย์ นอกจากผลงานชิ้นดังกล่าว ชิเชคยังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม เสรีนิยมใหม่ รวมถึงวิจารณ์การวิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายซ้ายที่มีต่อทุนนิยมเองมาอย่างต่อเนื่อง. กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สลาวอย ชิเชคและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

สลาวอย ชิเชคและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลัทธิมากซ์อภิปรัชญา

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ลัทธิมากซ์และสลาวอย ชิเชค · ลัทธิมากซ์และเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

สลาวอย ชิเชคและอภิปรัชญา · อภิปรัชญาและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สลาวอย ชิเชคและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

สลาวอย ชิเชค มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.76% = 2 / (26 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สลาวอย ชิเชคและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: