โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คาร์ล มากซ์

ดัชนี คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

104 ความสัมพันธ์: บารุค สปิโนซาชาลส์ ดาร์วินชาลส์ แบบบิจชาตินิยมชนชั้นกระฎุมพีชนชั้นทางสังคมชนกรรมาชีพฟรีดริช เองเงิลส์ฟิลิปส์ฟีเดล กัสโตรพ.ศ. 2360พ.ศ. 2361พ.ศ. 2374พ.ศ. 2376พ.ศ. 2383พ.ศ. 2385พ.ศ. 2386พ.ศ. 2391พ.ศ. 2392พ.ศ. 2395พ.ศ. 2404พ.ศ. 2406พ.ศ. 2407พ.ศ. 2410พ.ศ. 2426พระเจ้าพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสกฎหมายกษัตริย์การล่มสลายของสหภาพโซเวียตการขูดรีดแรงงานการต่อสู้ระหว่างชนชั้นการเมืองมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์มูลค่าส่วนเกินมนุษย์ยิวระบบเจ้าขุนมูลนายรับบีราชอาณาจักรปรัสเซียลอนดอนลัทธิมากซ์ลัทธิคอมมิวนิสต์วลาดีมีร์ เลนินวอลแตร์วิภาษวิธีวิลเลียม แกลดสตันวิลเลียม เชกสเปียร์วิทยาศาสตร์...ศาสนาประจำชาติศีลธรรมสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักรสังคมสังคมนิยมสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองสงครามเย็นอาริสโตเติลอินเทอร์เน็ตอุดมการณ์อุปสงค์และอุปทานอดัม สมิธฌ็อง-ฌัก รูโซฌ็อง-ปอล ซาทร์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรพรรดินโปเลียนที่ 3จักรวรรดินิยมจิตจุลสารทฤษฎีมูลค่าแรงงานทวีปยุโรปทุนทุน (หนังสือ)ทุนนิยมทนายความไร้สัญชาติประวัติศาสตร์ประเทศฝรั่งเศสประเทศอังกฤษประเทศเบลเยียมประเทศเยอรมนีปรัชญาปารีสนักข่าวแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอโรซา ลุกเซิมบวร์คโลกตะวันตกโฌแซ็ฟ ฟูรีเยโจเซฟ สตาลินโครงสร้างส่วนบนโคโลญเช เกบาราเบอร์ลินเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลเลออน ทรอตสกีเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์เหมา เจ๋อตงเทรียร์เทคโนโลยี21 กุมภาพันธ์5 พฤษภาคม ขยายดัชนี (54 มากกว่า) »

บารุค สปิโนซา

รุค สปิโนซา เบเนดิคตัส เดอ สปิโนซา หรือ บารุค สปิโนซา หรือชื่อในภาษาลาตินของเขาคือ เบเนดิก (24 พ.ย. ค.ศ. 1632 (พ.ศ. 2175) - 21 ก.พ. ค.ศ. 1677 (พ.ศ. 2220) จากผู้อาวุโสชาวยิว และเป็นที่รู้จักในชื่อ เบนโต เดอ สปิโนซา หรือ เบนโต เอสปิโนซา ในชุมชนที่เขาได้เติบโตขึ้น เรอเน เดส์การตส์ กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ และสปิโนซา) เป็นนักเหตุผลนิยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปรัชญาคริสต์ศตวรรษที่ 17 เขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ริเริ่มการวิพากษ์เกี่ยวกับไบเบิล ผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือหนังสือ จริยศาสตร.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และบารุค สปิโนซา · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และชาลส์ ดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ แบบบิจ

ลส์ แบบบิจ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2414) ''On the economy of machinery and manufactures'', 1835 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) เกิดวันที่ 26 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1791 (พ.ศ. 2334) ที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร แบบบิจเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นมหาอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ทุนการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ อย่างเต็มที.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และชาลส์ แบบบิจ · ดูเพิ่มเติม »

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นกระฎุมพี

กระฎุมพี (/กฺระดุมพี/) เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิช ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ,, มติชน, 1 กันยายน..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และชนชั้นกระฎุมพี · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นทางสังคม

นชั้นทางสังคม หรือเรียกเพียง ชนชั้น เป็นกลุ่มมโนทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเมืองซึ่งมีศูนย์กลางที่แบบจำลองการจัดชั้นภูมิทางสังคมซึ่งบุคคลถูกจัดอยู่ในกลุ่มหมวดหมู่สังคมลำดับชั้น ชนชั้นสามัญที่สุด คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ชนชั้นเป็นวัตถุสำคัญแห่งการวิเคราะห์สำหรับนักสังคมวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์สังคม อย่างไรก็ดี ไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่านิยามที่ดีที่สุดของคำว่า "ชนชั้น" คืออะไร และคำนี้มีหลายความหมายบริบท ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "ชนชั้นทางสังคม" โดยทั่วไปพ้องกับ "ชนชั้นทางสังคม-เศรษฐกิจ" ซึ่งนิยามว่าเป็น "บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจหรือการศึกษาเท่ากัน" เช่น ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นวิชาชีพอุบัติใหม่ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำว่า "ชนชั้น" เริ่มเป็นวิธีหลักในการจัดระเบียบสังคมเป็นการแบ่งลำดับชั้นแทนการจำแนกประเภทอย่างฐานันดร ยศและลำดับ ซึ่งสัมพันธ์กับการให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่ตกทอดมาลดลงโดยทั่วไป และให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นตัวชี้วัดฐานะในลำดับชั้นทางสังคม.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และชนชั้นทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ชนกรรมาชีพ

นกรรมาชีพ (proletariat) เป็นคำใช้อธิบายชนชั้นลูกจ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานอุตสาหกรรม) ในสังคมทุนนิยมซึ่งครอบครองมูลค่าทางวัตถุ (material value) ที่สำคัญอย่างเดียว คือ พลังแรงงาน (labour-power) หรือความสามารถในการทำงาน สมาชิกของชนชั้นนี้เรียก ชนกรรมาชี.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และชนกรรมาชีพ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริช เองเงิลส์

ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) เป็นนักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน และนักทฤษฎีสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เป็นเพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่ใกล้ชิดของ คาร์ล มาร์กซ์ โดยร่วมกันวางรากฐานของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ และมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงหลักการของลัทธิมาร์กซว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ และวัตถุนิยมวิภาษวิธี ให้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในขบวนการสังคมนิยม.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลิปส์

ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (Koninklijke Philips Electronics N.V.; Royal Philips Electronics) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติดัตช์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เป็นบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่รายหนึ่งของโลก มีพนักงานกว่า 122,000 คน ในกว่า 60 ประเทศ ในปี..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และฟิลิปส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีเดล กัสโตร

ฟีเดล อาเลคันโดร กัสโตร รุซ (Fidel Alejandro Castro Ruz (audio); 13 สิงหาคม ค.ศ. 1926 — 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016) เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองคิวบา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคิวบาตั้งแต..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และฟีเดล กัสโตร · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2360

ทธศักราช 2360 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2360 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2361

ทธศักราช 2361 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2361 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2374

ทธศักราช 2374 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2374 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2376

ทธศักราช 2376 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2376 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2385

ทธศักราช 2385 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2385 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2386

ทธศักราช 2386 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2386 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2391

ทธศักราช 2391 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2391 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2392

ทธศักราช 2392 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2392 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2395

ทธศักราช 2395 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1852.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2395 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2404

ทธศักราช 2404 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1861.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2404 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2406

ทธศักราช 2406 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1863.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2406 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2407

ทธศักราช 2407 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1864.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2407 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2410

ทธศักราช 2410 ตรงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2410 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2426

ทธศักราช 2426 ตรงกั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพ.ศ. 2426 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (Louis-Philippe Ier; Louis-Philippe of France) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2316 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2393) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส (King of the French) ตั้งแต่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2373 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 รวม 18 ปี ต่อจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักของประชาชนในนาม "พระมหากษัตริย์แห่งเดือนกรกฎาคม" โดยพระองค์ก็ถูกบังคับให้สละราชสมบัติในปีค.ศ. 1830 และเสด็จไปลี้ภัยที่ประเทศอังกฤษจนสิ้นพระชนม์ชีพ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งฝรั่งเศส (ถ้าไม่นับรวมจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งอยู่ในฐานะจักรพรรดิ).

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตถูกยุบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ตามปฏิญญาหมายเลข 142-เอชแห่งสภาโซเวียตแห่งสาธารณรัฐ (Soviet of the Republics)Declaration № 142-Н of the Soviet of the Republics of the Supreme Soviet of the Soviet Union, formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

การขูดรีดแรงงาน

การขูดรีดแรงงาน (Exploitation of labour) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างนายจ้างซึ่งใช้งานลูกจ้างเพื่อแสวงหากำไร กำไรนี้เกิดจากการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียมระหว่างพลังกายกับค่าจ้าง ตามหลักแล้ว แนวคิดนี้ได้สะท้อนถึงความเอารัดเอาเปรียบต่อบุคคลที่ด้อยกว่า ซึ่งบุคคลที่ไม่มีทุนหรือกรรมสิทธิเป็นของตนเองไม่มีทางเลือกที่จะประกอบอาชีพอื่นนอกจากขายแรงงานแก่นายทุน ดังนั้นในสมัยสังคมศักดินาและระบบทาสจึงเป็นยุคที่มีการขูดรีดแรงงานอย่างมหาศาล คาร์ล มากซ์ ถือเป็นนักทฤษฎีคลาสสิกที่มีอิทธิพลที่สุดในเรื่องการขูดรีดแรงงาน แนวคิดการขูดรีดแรงงานของมากซ์นี้เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีมูลค่าแรงงานและมูลค่าส่วนเกิน เป็นสภาวะการณ์นายจ้างพยายามขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกินมาจากลูกจ้าง โดยวิธีให้ลูกจ้างใช้ทำงานเกินเวลา ลูกจ้างได้ทำงานให้แก่นายจ้างเกินมูลค่าอำนาจซื้อที่ตนเองได้รับ แนวคิดการขูดรีดแรงงานของมากซ์นี้ ยืนอยู่บนหลักความคิดเรื่องมูลค่าของมากซ์ที่ว่า สินค้าทุกอย่างมีมูลค่าในตัวมันเอง และเงินไม่มีมูลค่า เป็นแค่สื่อการในการแลกเปลี่ยนเท่านั้น อาทิ ราคาแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมคือ 2 ชั่วโมงแรงงาน.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และการขูดรีดแรงงาน · ดูเพิ่มเติม »

การต่อสู้ระหว่างชนชั้น

การต่อสู้ระหว่างชนชั้น (class struggle) เป็นการแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดของความขัดแย้งทางชนชั้นตามทฤษฎี เมื่อพิจารณาจากมุมมองสังคมนิยมทุกรูปแบบ คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ นักอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เขียนว่า "ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น" ความเข้าใจของมากซ์เกี่ยวกับชนชั้นนั้นไม่เกี่ยวกับชนชั้นทางสังคมในวิชาสังคมวิทยา ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นบน ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง (เป็นการอธิบายในแง่ของปริมาณรายรับหรือความมั่งคั่ง) แต่มากซ์อธิบายในยุคของทุนนิยม ซึ่งเป็นชนชั้นทางเศรษฐกิจ สมาชิกในชนชั้นจะถูกนิยามโดยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับวิธีการผลิต นั่นคือ ตำแหน่งของบุคคลในโครงสร้างทางสังคมที่แสดงคุณสมบัติของทุนนิยม ส่วนใหญ่มากซ์กล่าวถึงสองชนชั้นซึ่งรวมไปถึงประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ได้แก่ ชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นนายทุน ส่วนชนชั้นอื่น ๆ อย่างเช่น ชนชั้นนายทุนน้อยแสดงคุณลักษณะอยู่ระหว่างชนชั้นหลักทั้งสองนี้.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และการต่อสู้ระหว่างชนชั้น · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน เดิมทีเรียกว่า มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีนท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2301 หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้สมรู้ร่วมคิดการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

มูลค่าส่วนเกิน

มูลค่าส่วนเกิน (Surplus value) เป็นแนวคิดหลักในบทวิจารณ์เศรษฐศาสตร์การเมืองของคาร์ล มากซ์ ในหนังสือของเขาเขียนคำนี้เป็นภาษาเยอรมันว่า เมียร์แวร์ท (Mehrwert) ซึ่งแปลได้อย่างง่ายว่า "มูลค่าเพิ่ม" แม้ว่ามูลค่าเพิ่มจะมีนิยามของตัวมันเองหมายถึงมวลของรายได้ค่าแรงรวมกับรายได้กำไรรวม แต่มากซ์ได้ใช้คำนี้ในทางที่ต่างไป เนื่องจาก แมร์แวร์ท ในแนวทางของมากซ์หมายถึงผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการผลิตที่ได้ลงทุนไป นั่นคือมูลค่าทุนที่เพิ่มขึ้น เช่นนั้นแล้ว มากซ์ได้ใช้ เมียร์แวร์ท ในความหมาย "มูลค่าส่วนเกิน" คนละความหมายกับ "มูลค่าเพิ่ม" ตามทฤษฎีของมากซ์นั้น มูลค่าส่วนเกินจะเท่ากับมูลค่าแรงงานที่ถูกสร้างขึ้นมาเกินไปจากต้นทุนที่ตัวแรงงานได้รับ เป็นวิธีของนายทุนที่จะแสวงหากำไรจากการขายสินค้า"...It was made clear that the wage worker has permission to work for his own subsistence—that is, to live, only insofar as he works for a certain time gratis for the capitalist (and hence also for the latter's co-consumers of surplus value)..." Karl Marx,.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และมูลค่าส่วนเกิน · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยิว

ว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และยิว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

รับบี

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดาห์ออร์ทอดอกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รับบี (רב รับบี; Rabbi, แรบาย) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “อาจารย์” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดาห์ที่หมายถึงผู้สอนศาสนา คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮีบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งรับบีผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.” รับบีไม่ใช่งานอาชีพตามคัมภีร์โทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” เพื่อกล่าวถึงนักปราชญ์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล แม้แต่ศาสดาผู้มีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่ารับบี แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “รับบัน” หรือ “รับบี” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับรับบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และโยฮานัน เบน ซัคไค ซึ่งต่างก็เป็นประธานสภาซันเฮดริน คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญยอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู. การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับรับบีเริ่มขึ้นในสมัยฟาริสีและทาลมุด เมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดาห์ทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของรับบีก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “รับบีแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ในนิกายต่างๆ ของศาสนายูดาห์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งรับบีก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นรับบี.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และรับบี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov, Владимир Ильич Ульянов) เป็นผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และวลาดีมีร์ เลนิน · ดูเพิ่มเติม »

วอลแตร์

ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ (Voltaire) เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และวอลแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิภาษวิธี

วิภาษวิธี (dialectic) เป็นวิธีการถกเถียงเพื่อระงับความไม่ลงรอยซึ่งอยู่กลางปรัชญายุโรปและอินเดียมาแต่สมัยโบราณ คำว่า dialectic กำเนิดในกรีซโบราณ และเพลโตทำให้แพร่หลายในบทสนทนาโสเครตีส วิภาษวิธีเป็นวจนิพนธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีมุมมองต่างกันเกี่ยวกับหัวเรื่องหนึ่ง ซึ่งปรารถนาสถาปนาความจริงของสสารที่มีการถกเถียงด้วยเหตุผลชี้นำ คำว่า วิภาษวิธี ไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า การอภิปราย (debate) แม้ตามทฤษฎี ผู้อภิปรายไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ร่วมในมุมมองของตน แต่ในทางปฏิบัติ ผู้อภิปรายมักแสดงความยึดติดทางอารมณ์ซึ่งอาจบดบังการตัดสินด้วยเหตุผลได้ ผู้อภิปรายชนะโดยการโน้มน้าวฝ่ายตรงข้าม พิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของตัวถูกต้อง หรือพิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของฝ่ายตรงข้ามผิดรวมกัน การอภิปรายไม่จำเป็นต้องระบุผู้ชนะหรือผู้แพ้ชัดเจนในทันที ทว่า บ่อยครั้งผู้ชนะชัดเจนมักตัดสินโดยผู้พิพากษา คณะลูกขุนหรือโดยการเห็นพ้องต้องกันของกลุ่ม คำว่า วิภาษวิธี ยังไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า วาทศิลป์ คือ วิธีหรือศาสตร์วจนิพนธ์ซึ่งมุ่งโน้มน้าว แจ้งหรือกระตุ้นผู้ฟัง นักวาทศิลป์มักใช้มโนทัศน์ เช่น logos หรือการอุทธรณ์เหตุผล pathos หรือการอุทธรณ์อารมณ์ และ ethos หรือการอุทธรณ์จริยศาสตร์ โดยเจตนาเพื่อชักจูงผู้ฟัง หมวดหมู่:ปรัชญาสังคม หมวดหมู่:วาทศิลป์ หมวดหมู่:วิธีวิทยาปรัชญา.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม แกลดสตัน

วิลเลียม อีเวิร์ต แกลดสตัน (William Ewart Gladstone) เป็นรัฐบุรุษของพรรคลิเบอรัล และเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสี่สมัยในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สมัยแรกระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1868 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1874; สมัยที่สองระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1880 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1885; สมัยที่สามระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 และสมัยสุดท้ายระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1892 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1894 นอกจากนั้นก็ยังเป็นสมุหพระคลังอยู่ระยะหนึ่งและเป็นผู้สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการก่อตั้งรัฐบาลปกครองตนเอง (Home Rule Bill) ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ร้องขอการก่อตั้งรัฐบาลในการปกครองตนเองในไอร์แลนด์ภายในสหราชอาณาจักร แกลดสตันมีชื่อเสียงว่าเป็นคู่อริคนสำคัญของเบนจามิน ดิสราเอลีผู้นำของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ความเป็นอริมิได้จำกัดแต่เพียงทางการเมืองแต่ในทางส่วนตัวด้วย เมื่อดิสราเอลีถึงแก่อสัญกรรมแกลดสตันเสนอให้มีงานศพอย่างเป็นทางการ แต่พินัยกรรมของดิสราเอลีระบุให้ฝังร่างไว้ข้างเคียงกับภรรยาที่แกลดสตันโต้ว่า "As Disraeli lived, so he died — all display, without reality or genuineness." สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียก็ไม่โปรดแกลดสตันตลอดเวลาที่เป็นนายกรัฐมนตรี และทรงเปรยครั้งหนึ่งว่าแกลดสตันพูดกับพระองค์ราวกับกล่าวปราศัยในการประชุมสาธารณชน แต่แกลดสตันเป็นที่รู้จักกันในบรรดาผู้สนับสนุนว่า “แกลดสตันขวัญใจประชาชน” หรือ “G.O.M.” (Grand Old Man) หรือโดยดิสราเอลี “God's Only Mistake” (ความผิดอย่างเดียวของพระเจ้า) แต่วินสตัน เชอร์ชิลล์ถือว่าแกลดสตันเป็นแรงบันดาลใ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และวิลเลียม แกลดสตัน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาประจำชาติ

นาประจำรัฐ หรือ ศาสนาประจำชาติ (state religion) บางทีเรียก ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับ (established religion) หรือ ศาสนาทางการ (official religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น แม้ไม่ใช่รัฐฆราวาส ก็ไม่จำต้องเป็นรัฐแบบเทวาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐที่ผู้ปกครองควบตำแหน่งทั้งทางโลกและทางสงฆ์ ส่วนศาสนาประจำรัฐนั้น แม้ได้รับอนุมัติจากรัฐ ก็ไม่จำเป็นที่รัฐจะอยู่ในความควบคุมของศาสนา หรือศาสนาจะอยู่ในความควบคุมของรัฐเสมอไป ศาสนาประจำรัฐนั้นปรากฏโฉมอยู่ทั่วทุกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิศาสนาและรัฐนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาแต่โบราณ เช่น ในงานของแวร์โร (Varro) ที่เรียกศาสนาประจำรัฐว่า ศาสนาของพลเมือง (theologia civilis) สำหรับศาสนาคริสต์นั้น คริสตจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นแห่งแรก คือ คริสตจักรอัครทูตอาร์เมเนีย (Armenian Apostolic Church) ซึ่งตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และศาสนาประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลธรรม

ีลธรรม (Morality) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลและธรรม ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และ เบญจธรรม คือศีล 5 และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้ ศีลธรรม เป็นชื่อวิชาหนึ่งในโรงเรียนที่กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียนมาตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่า วิชาศีลธรรม ปัจจุบันเรียกว่า วิชาพุทธศาสน.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และศีลธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร

มัญชน (House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันมาจากการเลือกตั้งทุกห้าปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 650 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2558 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การประชุมสภาร่วมฯ จัดขึ้นที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ปัจจุบันสภาสามัญชนมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับสภาขุนนาง (House of Lords) อันเป็นสภาสูง ซึ่งมีบทบาทน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต โดยบทบาทของสภาสามัญชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างครั้งแรกเมื่อปี 1911 จากการตรา "พระราชบัญญัติรั..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สังคม

กลุ่มคนในสังคม สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และสังคม · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ทธิพลเมือง (Civil Rights) หมายถึง การที่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับสิทธิทางการเมือง (political rights) เนื่องจากในสังคม และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น เสรีภาพจัดได้ว่าเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหากพลเมืองทุกคนมีเสรีภาพอย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้เสรีภาพของพลเมืองคนหนึ่งๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมีเสรีภาพของพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เสรีภาพของพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่รัฐกำหนดว่า สิ่งใดที่พลเมืองไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่พลเมืองสามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของรัฐ เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235) ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่าสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือนๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็นพลเมืองของรัฐใดก็ตาม สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และสงครามเย็น · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

อุดมการณ์

อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง แนวความคิดทางการเมืองที่นำไปปฏิบัติจริง มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐ และการให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังสะท้อนสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชน อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และอุดมการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์และอุปทานแผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q* ความหมายในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน โดยถือว่าอุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด โดยทั่วไป อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน (supply) หมายถึง ความต้องการขายสินค้าและบริการ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และอุปสงค์และอุปทาน · ดูเพิ่มเติม »

อดัม สมิธ

อดัม สมิธ (Adam Smith) นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ อดัม สมิธ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคสว่างของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment) โดยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งศาสตรนิพนธ์2 เรื่องคือ ทฤษฎีว่าด้วยศีลธรรมเร้าอารมณ์ (พ.ศ. 2302).

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และอดัม สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ฌัก รูโซ

็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และฌ็อง-ฌัก รูโซ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ปอล ซาทร์

็อง-ปอล ซาทร์ ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และฌ็อง-ปอล ซาทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (Louis-Napoléon Bonaparte ลุย-นาโปเลยง โบนาปัทร์) ชื่อเกิดว่า ชาล-ลุย นโปเลียน โบนาปัทร์ (Charles-Louis Napoleon Bonaparte) เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง เป็นบุคคลแรกที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งนี้ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดินิยม

ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบายถึงนโยบายของประเทศใดประเทศหนึ่งในการคงไว้ซึ่งอาณานิคม และอิทธิพลเหนือดินแดนอันไกลโพ้น โดยไม่คำนึงว่าประเทศนั้น ๆ จะเรียกตนเองว่าเป็นจักรวรรดิหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มีการนำเอาคำว่า 'จักรวรรดินิยม' ไปใช้ในบริบทที่แสดงถึงความมีสติปัญญา/ความเจริญที่สูงกว่าด้วย ซึ่งในบริบทนี้คำว่า "จักรวรรดินิยม" มีนัยแสดงถึงความเชื่อที่ว่า การเข้าถือสิทธิยึดครองดินแดนต่างชาติและการคงอยู่ของจักรวรรดิเป็นสิ่งดีงาม เนื่องจากมีการประสมผสานรวมเอาหลักสมมุติฐานที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมนั้นจะมีวัฒนธรรมและความเจริญด้านอื่น ๆ เหนือกว่าชาติที่ถูกรุกรานเข้าไว้ด้วย — โปรดดู ภาระคนขาว (The White Man's Burden) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มวิพากษ์วิจารณ์กันมากยิ่งขึ้นว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยม" นั้นไม่ได้มีบริบทจำกัดอยู่เพียงแค่ระดับของการเข้าครอบครองหรือครอบงำทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของชาติอื่นเท่านั้น แต่ยังขยายเข้าครอบคลุมไปถึงระดับวัฒนธรรมด้วย โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมอเมริกันที่แผ่ขยายไปทั่วโลก — โปรดดู ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม หลายคนโต้แย้งการขยายคำจำกัดความดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลว่าเรื่องของ "วัฒนธรรม" นั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน ยากที่จะแยกความแตกต่างให้เห็นชัดเจนได้ว่า การรับวัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งไปนั้น เป็นเรื่องของปฏิกิริยาที่ชนในชาติมีต่อกันและกันทั้งสองฝ่าย หรือเป็นเรื่องของอิทธิพลที่แผ่ขยายจนเกินขีดจำกัด นอกจากนี้แล้วการนำเอา "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ไปใช้ในการอธิบายหรือวิเคราะห์นั้น ยังมีการ "เลือกปฏิบัติ" ด้วย ตัวอย่าง เช่น "แฮมเบอร์เกอร์" ถูกจัดว่าเป็น "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ขณะที่ "น้ำชา" นั้นไม่ใ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และจักรวรรดินิยม · ดูเพิ่มเติม »

จิต

ต (mind) หรือจิตใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำงานของจิต ทั้งจากเพลโต อริสโตเติล หรือแม้แต่นักปรัชญาชาวกรีกและอินเดีย ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะเน้นไปทางปรัชญาหรือศาสนา แต่ทฤษฎีสมัยใหม่ จะอาศัยวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการทำงานของสมอง.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และจิต · ดูเพิ่มเติม »

จุลสาร

ลสาร (Pamphlet) คือ สิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มิใช่วารสาร ถูกจัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษเพื่อเผยแพร่งานเขียนข้อโต้แย้งของกลุ่มผู้ปฏิรูปในศตวรรษที่ 16 ส่วนใหญ่มีจำนวนหน้าตั้งแต่ 5 หน้า แต่ไม่เกิน 48 หน้า และมีจำนวนตัวอักษรโดยประมาณ 500-10,000 คำ ขนาดเอ5 นำเสนอเนื้อหาสาระเฉพาะด้าน จบสมบูรณ์ในเล่ม เย็บเล่มไม่ทนทาน รูปเล่มไม่แข็งแรง มักจัดทำโดยหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ หรือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญหรือเป็นที่สนใจในระยะหนึ่ง.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และจุลสาร · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน

ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน (Labor theory of value) เป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นอกหลักการว่าด้วยมูลค่าแรงงาน อธิบายว่าทุกสิ่งไม่สามารถสร้างมูลค่าได้ด้วยตัวมันเองหากปราศจากการลงแรงของมนุษย์ มูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าและบริการนั้น ไม่ได้ถูกกำหนดตามความพอใจของผู้ขาย แต่สามารถวัดได้ในขั้นตอนการผลิตโดยวัดจากชั่วโมงการทำงานของกรรมกรที่ระดับจำเป็น แนวคิดนี้เป็นที่ถกเถียงของนักเศรษฐศาสตร์สำนักมากซ์มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าแนวคิดนี้จะเคยถูกยกขึ้นมาเสนอก่อนหน้านั้นแล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม อาทิ อดัม สมิธ และ เดวิด ริคาร.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และทฤษฎีมูลค่าแรงงาน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทุน

ในเศรษฐศาสตร์ ทุนหมายถึงปัจจัยในการผลิตที่ใช้ในการสร้างเศรษฐทรัพย์หรือบริการอื่นๆที่มนุษย์เป็นผู้ผลิตและไม่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เศรษฐทรัพย์และบริการนั้นๆจะต้องไม่ใช่ตัวทุนนั้นๆเอง แม้ว่าทุนนั้นๆสามารถที่จะเสื่อมราคาลงได้ สินค้าประเภททุนสามารถรับมาได้โดยใช้เงินหรือเงินทุน ในการเงินและการบัญชี คำว่าทุนหมายถึงความมั่งคั่ง โดยเฉพาะความมั่งคั่งที่ใช้ในการเปิดกิจการ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และทุน · ดูเพิ่มเติม »

ทุน (หนังสือ)

ปกหนังสือเรื่อง ทุน ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง (Das Kapital: Kritik der politischen Ökonomie) เป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่เขียนขึ้นโดย คาร์ล มาร์กซ์ และได้มีการแก้ไขบางส่วนโดย ฟรีดริช เองเงิลส์ โดยมีเนื้อหาวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม ซึ่งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1867 และมีการตีพิมพ์เพิ่มอีกหลายครั้ง.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และทุน (หนังสือ) · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ทนาย

"ทนาย" หมายความว่า ผู้รับใช้ หรือผู้แทนนาย, กร่อนมาจาก "แทนนาย", และสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และทนาย · ดูเพิ่มเติม »

ความไร้สัญชาติ

วามไร้สัญชาติ (statelessness) เป็นข้อความคิดทางกฎหมายซึ่งพรรณนาถึงการที่บุคคลไม่มีสัญชาติ (nationality) ใด ๆ เลย กล่าวคือ สภาวะซึ่งบุคคลไม่เป็นที่รับรองว่าเกี่ยวข้องกับรัฐชาติรัฐใด ๆ เลย บุคคลเช่นนี้เรียก คนไร้สัญชาติ (stateless person) ไร้สัญชาติ แบ่งเป็นสองลักษณะ คือ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และความไร้สัญชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นักข่าว

นักข่าว (journalist) เป็นบุคคลที่รวบรวม เขียน และเผยแพร่ข่าว หรือการให้ข้อมูลล่าสุดแก่สาธารณะ นักข่าวอาจทำงานในประเด็นทั่ว ๆ ไป หรือประเด็นเฉพาะทาง อย่างไรก็ตาม นักข่าวส่วนใหญ่อาจจะสามารถเขียนข่าวเฉพาะทางได้ และร่วมงานกับนักข่าวอื่น ๆ ผลิตข่าวในหัวข้อต่าง ๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ข่าวกีฬาอาจจะครอบคลุมเฉพาะโลกของกีฬา แต่นักข่าวก็อาจเขียนข่าวของหนังสือพิมพ์ที่ครอบคลุมหัวข้อที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และนักข่าว · ดูเพิ่มเติม »

แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์

ำแถลงนโยบายคอมมิวนิสต์ แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (Manifesto of the Communist Party หรือ The Communist Manifesto) หรือ คำแถลงนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ (Manifest der Kommunistischen Partei) เป็นหนังสือการเมืองเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลสูงต่อประวัติศาสตร์โลก เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดริช เองเงิลส์ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสหพันธ์คอมมิวนิสต์ จัดพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 21 กุมภาพัน..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolfgang von Goethe, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2292 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2375) เป็นผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักเขียนนิยาย นักเขียนบทละคร นักสิทธิมนุษยชน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา รวมถึงดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะบริหารของไวมาร์ในประเทศเยอรมนีอยู่ 10 ปี เกอเทอเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวรรณคดีเยอรมัน คลาสสิกใหม่ของยุโรปและโรมัน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกอเทอและงานของเขาได้ส่งผลไปทั่วยุโรปและได้สร้างแรงบันดาลใจกับงานต่อ ๆ มาทางด้าน ดนตรี การละคร และกวี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2292 หมวดหมู่:นักเขียนชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักสิทธิมนุษยชน หมวดหมู่:ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ · ดูเพิ่มเติม »

โรซา ลุกเซิมบวร์ค

รซา ลุกเซิมบวร์ค (Rosa Luxemburg; Róża Luksemburg) (5 มีนาคม ค.ศ. 1871 - 15 มกราคม ค.ศ. 1919) เป็นนักทฤษฎีมาร์กซิสม์ นักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ และนักกิจกรรมชาวยิวเชื้อสายโปแลนด์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพลเมืองเยอรมัน เธอเคยเป็นสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยโปแลนด์และลิทัวเนีย พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) พรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมนี และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และโรซา ลุกเซิมบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

โฌแซ็ฟ ฟูรีเย

บารอนโฌแซ็ฟ ฟูรีเย นักคณิตศาสตร์ ฌ็อง บาติสต์ โฌแซ็ฟ ฟูรีเย (Jean Baptiste Joseph Fourier; พ.ศ. 2311 - 2373) นักคณิตศาสตร์ เกิดที่เมืองโอแซร์ ประเทศฝรั่งเศส ฟูรีเยได้เดินทางติดตามนโปเลียนไปประเทศอียิปต์ในปี พ.ศ. 2341 หลังจากเดินทางกลับในปี พ.ศ. 2345 ฟูรีเยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองเกรอนอบล์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2351 ได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นบารอน ฟูรีเยได้หันมาสนใจคณิตศาสตร์ประยุกต์เป็นครั้งแรก ในขณะที่กำลังทดลองเกี่ยวกับการไหลของความร้อน ฟูรีเยก็ได้ค้นพบสมการการไหลนี้ ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อเป็น "สมการฟูรีเย" เพื่อแก้ปัญหาและพิสูจน์สมการนี้ ฟูรีเยได้แสดงให้เห็นว่าฟังก์ชันหลายฟังก์ชันของตัวแปรเดี่ยวสามารถขยายออกเป็นอนุกรมของไซน์ (sines) เชิงซ้อนของตัวแปร ที่เรียกในภายหลังว่า "อนุกรมฟูรีเย" ฌ็อง บาติสต์ โฌแซ็ฟ ฟูรีเย มีชีวิตอยู่ตรงกับสมัยระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2311 หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และโฌแซ็ฟ ฟูรีเย · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างส่วนบน

ในสาขาสังคมศาสตร์ โครงสร้างส่วนบน คือกลุ่มของกรอบควบคุมเชิงสังคมและจิตวิทยาที่รักษาโครงสร้างที่เป็นเอกภาพ และมีความหมายภายในสังคม โครงสร้างนี้รวมถึงวัฒนธรรม, สถาบัน, โครงสร้างของอำนาจ, บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในสังคม, รวมไปถึงขนบต่างๆ โครงสร้างดังกล่าวนี้สามารถกำหนดกฎเกณฑ์และแนวปฏิบัติของกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางรูปแบบของพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมวดหมู่:สังคมศาสตร์ it:Sovrastruttura pl:Nadbudowa społeczeństwa.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และโครงสร้างส่วนบน · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

เช เกบารา

อร์เนสโต เกบารา (Ernesto Guevara)ในระบบเสียงภาษาสเปนทั้งในยุโรปและลาตินอเมริกาโดยทั่วไปไม่ปรากฏหน่วยเสียง (ตรงกับเสียงของตัวอักษร v ในภาษาอังกฤษ) เพราะตัวอักษร b และ v แทนหน่วยเสียงเดียวกันคือ ซึ่งในการออกเสียงจริงอาจแปรเป็นเสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง หรือเสียงเปิด ริมฝีปาก ก้อง ก็ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งภายในคำและในประโยค รวมทั้งความระมัดระวังในการเปล่งเสียงของผู้พูด อนึ่ง เสียง นี้เป็นเสียงที่ฟังดูคล้ายกับเสียง หรือ สำหรับหูคนไทยหลายคน แต่ความจริงไม่ใช่ทั้งคู่ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เช (Che,; 14 มิถุนายนThe date of birth recorded on his birth certificate was June 14, 1928, although one tertiary source, (Julia Constenla, quoted by Jon Lee Anderson), asserts that he was actually born on May 14 of that year. Constenla alleges that she was told by Che's mother, Celia de la Serna, that she was already pregnant when she and Ernesto Guevara Lynch were married and that the date on the birth certificate of their son was forged to make it appear that he was born a month later than the actual date to avoid scandal. (Anderson 1997, pp. 3, 769.) ค.ศ. 1928 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1967) เป็นนักปฏิวัติลัทธิมากซ์ นายแพทย์ นักเขียน ผู้นำนักรบกองโจร นักการทูต และนักทฤษฎีการทหารชาวอาร์เจนตินา ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งจากการปฏิวัติคิวบา ภาพใบหน้าของเขากลายเป็นสัญลักษณ์ที่พบทั่วไปของวัฒนธรรมต่อต้านและการกบฏ และเป็นตราต้นแบบที่รู้จักกันเป็นสากลภายในวัฒนธรรมสมัยนิยม ครั้งยังเป็นนักศึกษาแพทย์หนุ่ม เกบาราเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาใต้และรู้สึกสะเทือนใจกับความยากจนข้นแค้น ความหิวโหย และโรคภัยที่เขาพบระหว่างทาง Speech by Che Guevara to the Cuban Militia on August 19, 1960.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเช เกบารา · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เลออน ทรอตสกี

ลออน ทรอตสกี (Лев Тро́цкий) ชื่อเกิด เลฟ ดาวิโดวิช บรอนชเทย์น (Лев Дави́дович Бронште́йн) เป็นนักปฏิวัติและนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ นักการเมืองโซเวียต และผู้ก่อตั้งและผู้นำคนแรกของกองทัพแดง ทรอตสกีแต่แรกเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มแยกสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศเมนเชวิค (Menshevik Internationalists) แห่งพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย เขาเข้ากับพรรคบอลเชวิคทันทีก่อนการปฏิวัติตุลาคม..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเลออน ทรอตสกี · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เหมา เจ๋อตง

หมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อตุง (26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 — 9 กันยายน พ.ศ. 2519) หรือที่นิยมเรียกอีกอย่างว่า ท่านประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และทำให้จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเหมา เจ๋อตง · ดูเพิ่มเติม »

เทรียร์

กลางตลาดเมืองเทรียร์ เทรียร์ (Trier; Augusta Treverorum) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโมแซลในประเทศเยอรมนี เทรียร์ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเยอรมนีก่อตั้งขึ้นเมื่อก่อนปี 16 ก่อนคริสต์ศักราช บันทึกเจสตา เทรเวโรรุมกล่าวว่าเทรียร์เป็นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นโดยเทรบีทา พระราชโอรสพระเจ้าไนนัสแห่งอัสซีเรียกับพระชายาองค์ก่อนที่จะมเสกสมรสกับพระราชินีเซมิรามิส เซมิรามิสทรงเกลียดชังเทรบีทา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของไนนัสแล้ว ไนนัสก็ออกจากอัสซีเรียไปยังยุโรป หลังจากที่เร่ร่อนอยู่พักหนึ่งแล้วไนนัสก็นำผู้คนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเทรียร์ราว 2000 ก่อนคริสต์ศักราชที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี เมื่อเสียชีวิตร่างของไนนัสก็ได้รับการเผาบนเพทริสแบร์กโดยประชากรชาวเทรียร์ เทรียร์ตั้งอยู่ในหุบเขาเตี้ย ๆ ที่ปกคลุมไปด้วยไร่องุ่นของดินที่เป็นหินทรายทางตะวันตกของรัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ไม่ไกลจากพรมแดนที่ติดกับประเทศลักเซมเบิร์กและเป็นเมืองสำคัญในภูมิภาคที่มีชื่อในการทำไร่องุ่นที่ใช้ในการผลิตไวน์โมเซิล เทรียร์เป็นที่ตั้งของมุขมณฑลที่เก่าแก่ที่สุดทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ในยุคกลางอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์เป็นตำแหน่งเจ้าชายมุขนายกที่มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่พรมแดนประเทศฝรั่งเศสไปจนถึงแม่น้ำไรน์ นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในเจ็ดเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การที่มีประชากรประมาณ 100,000 ทำให้เทรียร์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่สี่เท่ากับไคเซอร์สเลาเทิร์น มาจนถึงปี..

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเทรียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

21 กุมภาพันธ์

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 52 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 313 วันในปีนั้น (314 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และ21 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

5 พฤษภาคม

วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นวันที่ 125 ของปี (วันที่ 126 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 240 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คาร์ล มากซ์และ5 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Karl MarxMarxมาร์กซมาร์กซ์คาร์ล มาร์กคาร์ล มาร์กซคาร์ล มาร์กซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »