โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จินตนิมิต

ดัชนี จินตนิมิต

นตนิมิต (fantasy) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีเค้าโครงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และเรื่องเหนือจริง มักมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยุคกลางของยุโรป หรือมีลักษณะที่แสดงถึงยุคเดียวกันนั้น เช่นสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องแต่งกาย หรือเทคโนโลยี โลกแห่งจินตนิมิตมักยอมรับสภาวะเหนือจริงและเวทมนตร์ต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ความแตกต่างระหว่างจินตนิมิต กับนิยายวิทยาศาสตร์หรือนิยายสยองขวัญ คือลักษณะของเทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอเกี่ยวกับความตาย งานจินตนิมิตประกอบด้วยผลงานประพันธ์ของนักเขียน ศิลปิน นักดนตรี หรือนักสร้างภาพยนตร์มากมาย นับแต่อดีตกาลประหนึ่งปกรณัมหรือตำนานลี้ลับ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เผยแพร่แก่ผู้คนจำนวนมาก.

40 ความสัมพันธ์: AMVบรรณาธิการบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์พ่อมดแห่งเอิร์ธซีกษัตริย์อาเธอร์มหากาพย์กิลกาเมชมหาภารตะรัดยาร์ด คิปลิงรามายณะวรรณกรรมเยาวชนวิลเลียม มอร์ริสศิลปินสมัยกลางสหรัฐสปิริเต็ดอะเวย์อะนิเมะอาหรับราตรีฮอบบิท (หนังสือ)ทวีปยุโรปคอสเพลย์ตำนานซี. เอส. ลิวอิสประเทศอังกฤษปีเตอร์ แพนปีเตอร์ แจ็กสันนักเขียนนิทานพื้นบ้านแฟนตาซีระดับสูงแฮร์รี่ พอตเตอร์โอดิสซีย์โดจินชิเบวูล์ฟเวทมนตร์เอช. ไรเดอร์ แฮ็กการ์ดเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเจ. เค. โรว์ลิงเทพนิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค)เซเลอร์มูน

AMV

AMV อาจหมายความได้ว.

ใหม่!!: จินตนิมิตและAMV · ดูเพิ่มเติม »

บรรณาธิการ

รรณาธิการ (คำสนธิ: บรรณ (หนังสือ) + อธิการ (เจ้าการ); Editor) เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำ รวบรวม ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุม เนื้อหาและภาพทั้งหมด ที่จะตีพิมพ์เป็นหนังสือ หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดว่าจะออกเรื่อยไปตามลำดับ โดยใช้ชื่อเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ และนิยมใช้เป็นคำย่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “.ก.” ส่วนคำที่ใช้เรียกกระบวนการลักษณะดังกล่าว คือ บรรณาธิกร (Editing) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ บรรณาธิการ ไว้ว่า ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์ และในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2550 ระบุว่า บรรณาธิการ หมายความถึง บุคคลผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำ และควบคุมเนื้อหา ข้อความ หรือภาพ ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งวัสดุ หรือเอกสาร ที่แทรกในหนังสือพิมพ์ โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย เมื่อหนังสือพิมพ์ มีความหมายรวมไปถึง นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในทำนองเดียวกัน.

ใหม่!!: จินตนิมิตและบรรณาธิการ · ดูเพิ่มเติม »

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ใหม่!!: จินตนิมิตและบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ่อมดแห่งเอิร์ธซี

อมดแห่งเอิร์ธซี (A Wizard of Earthsea) เป็นหนังสือเล่มแรกในนวนิยายชุด เอิร์ธซี ของ เออร์ซูลา เค. เลอกวิน เป็นนวนิยายแฟนตาซีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในโลกอีกแห่งหนึ่ง ชื่อว่า หมู่เกาะเอิร์ธซี เรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของพ่อมดหนุ่มคนหนึ่งชื่อ เกด ไปในดินแดนต่างๆ ของเอิร์ธซี เกิดเป็นนิยายชุดต่อเนื่องคือ The Tombs of Atuan, The Farthest Shore, Tehanu และ The Other Wind นวนิยายชุดนี้ได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมมากมาย เช่น รางวัลเนบิวลาในปี 1990 สำหรับ Tehanu, รางวัล Newbery Silver Medal Award สำหรับ The Tombs of Atuan ในปี 1972, รางวัล National Book Award for Children's Books สำหรับ The Farthest Shore ในปี 1972 และรางวัล Lewis Carroll Shelf Award ในปี 1979 สำหรับนิยายชุด พ่อมดแห่งเอิร์ธซี.

ใหม่!!: จินตนิมิตและพ่อมดแห่งเอิร์ธซี · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์อาเธอร์

รูปปั้นกษัตริย์อาเธอร์ ที่โบสถ์ Hofkirche, Innsbruck, ออสเตรีย ออกแบบโดย Albrecht Dürer และสร้างโดย Peter Vischer ผู้พ่อ ในคริสต์ทศวรรษ 1520Barber, Richard (2004), ''The Holy Grail: Imagination and Belief'', London: Allen Lane, ISBN 978-0713992069. กษัตริย์อาเธอร์ (King Arthur) เป็นกษัตริย์อังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนานเล่าขานในฐานะวีรบุรุษในยุคกลาง ซึ่งได้ปกป้องเกาะบริเตนจากการรุกรานของชาวแซกซันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 รายละเอียดส่วนใหญ่เกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าขาน ตำนานพื้นบ้าน และวรรณกรรมที่แต่งขึ้น นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ากษัตริย์อาเธอร์มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่Higham, N. J. (2002), King Arthur, Myth-Making and History, ลอนดอน: Routledge, ISBN 978-0415213059.

ใหม่!!: จินตนิมิตและกษัตริย์อาเธอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์กิลกาเมช

รึกมหากาพย์กิลกาเมช ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ในอัคคาเดียน มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของเมโสโปเตเมียโบราณ เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมประเภทนิยายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นักวิชาการเชื่อว่ามหากาพย์เรื่องนี้มีกำเนิดมาจากตำนานกษัตริย์สุเมเรียนและบทกวีเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำนานที่ชื่อว่า กิลกาเมช ซึ่งถูกรวบรวมเอาไว้กับบรรดาบทกวีอัคคาเดียนในยุคต่อมา มหากาพย์ชุดที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบันปรากฏในแผ่นดินเหนียว 12 แท่งซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีชื่อดั้งเดิมว่า ผู้มองเห็นเบื้องลึก (He who Saw the Deep; Sha naqba īmuru) หรือ ผู้ยิ่งใหญ่กว่าราชันทั้งปวง (Surpassing All Other Kings; Shūtur eli sharrī) กิลกาเมชอาจจะเป็นผู้ปกครองที่มีตัวตนจริงในอดีตระหว่างราชวงศ์ที่ 2 ของยุคต้นของสุเมเรีย (ประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล) สาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกิลกาเมช ผู้กำลังท้อใจกับการปกครองของตน กับเพื่อนของเขาชื่อ เอนกิดู ซึ่งเข้ารับภารกิจเสี่ยงภัยร่วมกับกิลกาเมช เนื้อหาส่วนใหญ่ในมหากาพย์เน้นย้ำถึงความรู้สึกสูญเสียของกิลกาเมชหลังจากเอนกิดูเสียชีวิต และกล่าวถึงการกลับเป็นมนุษย์อีกครั้งพร้อมกับเน้นย้ำเรื่องความเป็นอมตะ เรื่องราวในหนังสือเล่าถึงการที่กิลกาเมชออกเสาะหาความเป็นอมตะหลังจากการเสียชีวิตของเอนกิดู มหากาพย์เรื่องนี้ได้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ส่วนวีรบุรุษกิลกาเมชก็ได้เป็นตัวเอกอยู่ในวัฒนธรรมมวลชนยุคใหม.

ใหม่!!: จินตนิมิตและมหากาพย์กิลกาเมช · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: จินตนิมิตและมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

รัดยาร์ด คิปลิง

ซฟ รัดยาร์ด คิปลิง (Joseph Rudyard Kipling; 30 ธันวาคม ค.ศ. 1865 - 18 มกราคม ค.ศ. 1936) เป็นกวีและนักเขียนชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองมุมไบ (หรือเมืองบอมเบย์ ในบริติชอินเดีย) เป็นที่รู้จักจากผลงานอันมีชื่อเสียงคือ เมาคลีลูกหมาป่า (The Jungle Book; 1894) และนวนิยายเรื่อง Kim (1901) เขาเขียนบทกวีมากมาย รวมถึงเรื่อง Mandalay (1890) และ Gunga Din (1890) รวมทั้งเขียนเรื่องสั้นอีกหลายเรื่อง งานเขียนเกี่ยวกับเด็กของเขาถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมคลาสสิกสำหรับเด็ก คิปลิงถือเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทั้งงานเขียนร้อยแก้วและร้อยกรอง ในปี..

ใหม่!!: จินตนิมิตและรัดยาร์ด คิปลิง · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: จินตนิมิตและรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมเยาวชน

วรรณกรรมเยาวชน (Young-adult fiction; บางครั้งเรียกย่อว่า YA fiction หรือ YA) เป็นนวนิยาย หรือ เรื่องสั้น ที่เขียนขึ้นสำหรับกลุ่มผู้อ่านที่มีอายุโดยประมาณระหว่าง 12-18 ปี ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากวรรณกรรมสำหรับวัยอื่น คือวรรณกรรมสำหรับผู้ใหญ่ วรรณกรรมยุวชน และวรรณกรรมเด็ก ตัวละครหลักของวรรณกรรมเยาวชนมักเป็นวัยรุ่น มีส่วนน้อยที่ใช้ตัวเอกเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พึงประสบด้วยวัยและประสบการณ์ของตัวเอกของนวนิยายนั้นๆ ส่วนเนื้อหาของเรื่องอาจครอบคลุมลักษณะของนวนิยายหลากหลายประเภท แต่มักเน้นไปที่ประเด็นซึ่งท้าทายความเป็นวัยรุ่น รวมไปถึงนวนิยายประเภทการเปลี่ยนผ่านของวัย (coming of age) นอกเหนือจากนี้แล้ว วรรณกรรมเยาวชนก็มีลักษณะพื้นฐานเช่นเดียวกับนวนิยายประเภทอื่นๆ ทั้งเรื่องของตัวละคร พล็อต ฉาก แนวทางของเรื่อง และวิธีการเล่าเรื่อง.

ใหม่!!: จินตนิมิตและวรรณกรรมเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม มอร์ริส

วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) (24 มีนาคม ค.ศ. 1834 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1896) เป็นศิลปิน นักเขียน และนักสังคมนิยมชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานของ British Arts and Crafts movement และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหราชอาณาจักร รวมถึงเป็นกวีและนักประพันธ์นวนิยายด้วย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ออกแบบลวดลายบนผนัง มอร์ริสเคยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นสถาปนิก ต่อมาจึงพบว่าตัวเองชอบศิลปะการวาดมากกว่า มอร์ริสได้ตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อน และสร้างงานศิลปะเช่น ภาพวาดบนกระจกสี.

ใหม่!!: จินตนิมิตและวิลเลียม มอร์ริส · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปิน

ศิลปิน (artist) เป็นกลุ่มบุคคลที่แสดงความคิดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้สัญลักษณ์ การแสดงออกทางร่างกาย การใช้เสียง การใช้อุปกรณ์ หรือการวาด หมวดหมู่:ศิลปะ หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: จินตนิมิตและศิลปิน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จินตนิมิตและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: จินตนิมิตและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สปิริเต็ดอะเวย์

ปิริเต็ดอะเวย์ (Spirited Away; "การถูกผีพาไปของเซ็งและชิฮิโระ") เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันจากประเทศญี่ปุ่น แนวแฟนตาซี/ผจญภัย เขียนและกำกับโดย ฮะยะโอะ มิยะซะกิ (Hayao Miyazaki) และผลิตโดย สตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) มีเนื้อหาว่าด้วยเด็กหญิงวัยสิบปีหลงเข้าไปในโลกของภูตพร้อมครอบครัวโดยบังเอิญ บิดามารดากลายร่างเป็นสุกร และเธอต้องทำงานที่โรงอาบน้ำของแม่มด เธอจึงพยายามปลดแอกตนและครอบครัวเพื่อกลับโลกมนุษย์ มิยะซะกิเขียนบทภาพยนตร์นี้ขึ้น โดยอ้างอิงลูกสาววัยสิบปีของเพื่อน ซึ่งมักมาเยี่ยมเขาทุกฤดูร้อน ภาพยนตร์เรื่อง สปิริเต็ดอะเวย์ นี้เริ่มกระบวนการผลิตใน..

ใหม่!!: จินตนิมิตและสปิริเต็ดอะเวย์ · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: จินตนิมิตและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับราตรี

อาหรับราตรี หรือพันหนึ่งราตรี (كِتَاب أَلْف لَيْلَة وَلَيْلَة, One Thousand and One Nights หรือ Arabian Nights) เป็นงานรวบรวมนิยายและนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางและเอเชียใต้ซึ่งรวบรวมไว้เป็นภาษาอังกฤษระหว่างยุคทองของอิสลาม ซึ่งฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรก (ค.ศ. 1706) ใช้ชื่อเรื่องว่า ความบันเทิงอาหรับราตรี (The Arabian Nights' Entertainment) งานดังกล่าวมีการรวบรวมเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยมีผู้ประพันธ์ ผู้แปลและนักวิชาการต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันตก เอเชียกลางและเอเชียใต้และแอฟริกาเหนือ ตัวนิทานเองสืบย้อนไปถึงตำนานพื้นบ้านวรรณกรรมอาหรับ เปอร์เซีย เมโสโปเตเมีย อินเดียและอียิปต์โบราณและสมัยกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิทานหลายเรื่องเดิมเป็นนิยายพื้นบ้านจากสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์ ส่วนเรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบเรื่อง เป็นไปได้ว่าถูกดึงมาจากงานภาษาเปอร์เซียปาห์ลาวี Hazār Afsā (هزار افسان, ท. พันนิยาย) ซึ่งอิงส่วนของอินเดียบางส่วน บางเรื่องสัมพันธ์อย่างกว้างขวางมากกับอาหรับราตรี โดยเฉพาะ "ตะเกียงวิเศษของอะลาดิน" "อาลีบาบากับโจรสี่สิบคน" และ "การเดินทางเจ็ดเที่ยวของกะลาสีซินแบด" แม้ว่าแทบเป็นนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางของแท้ค่อนข้างแน่นอน แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของอาหรับราตรีในฉบับภาษาอาหรับดั้งเดิม แต่ถูกอ็องตวน ก็อลล็องและผู้แปลยุโรปคนอื่นเพิ่มเข้างาน.

ใหม่!!: จินตนิมิตและอาหรับราตรี · ดูเพิ่มเติม »

ฮอบบิท (หนังสือ)

อะฮอบบิท (ชื่อภาษาอังกฤษ "The Hobbit" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "There and Back Again") เป็นนิยายแฟนตาซีสำหรับเด็ก ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน..

ใหม่!!: จินตนิมิตและฮอบบิท (หนังสือ) · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: จินตนิมิตและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คอสเพลย์

วิกิพีตัง คอสเพลย์ (cosplay) โดยทั่วไปหมายถึงการแต่งกายเลียนแบบตัวละครจากในเกมหรือการ์ตูน โดยอาจมีการแสดงท่าทางหรือบุคลิกตามตัวละครนั้น ๆ ด้วย เดิมทีการแต่งกายในลักษณะนี้ยังไม่มีคำระบุเรียกอย่างชัดเจน คำว่าคอสเพลย์นี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้การเขียนคอลัมน์ในนิตยสาร My Anime เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยโนบุยุกิ ทากาฮาชิ ซึ่งมาจากการนำคำ 2 คำมาผสมกัน คือคำว่า Costume และ Play.

ใหม่!!: จินตนิมิตและคอสเพลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตำนาน

ตำนาน (legend; legenda, แปลว่า "สิ่งที่จะต้องอ่าน") คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" ไว้ว่า ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 74 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" และการใช้ประโยชน์จากตำนานในการศึกษาทางวิชาการไว้ว.

ใหม่!!: จินตนิมิตและตำนาน · ดูเพิ่มเติม »

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ใหม่!!: จินตนิมิตและซี. เอส. ลิวอิส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: จินตนิมิตและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ แพน

วาดปีเตอร์ แพน เป่าขลุ่ย ในนวนิยายเรื่อง ''ปีเตอร์กับเวนดี้'' ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1911 ปีเตอร์ แพน (Peter Pan) เป็นตัวละครตัวหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยนักประพันธ์ชาวสก๊อต ชื่อ เจ. เอ็ม. แบร์รี่ เป็นเด็กชายผู้หนึ่งที่สามารถบินได้ และมีมนต์พิเศษในการปฏิเสธการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่กลับเป็นเด็กตลอดกาล เขาใช้ชีวิตวัยเด็กตลอดกาลของเขาท่องเที่ยวผจญภัยอยู่ในเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในดินแดนเนเวอร์แลนด์ เป็นหัวหน้าของแก๊งเด็กหลง อยู่กับหมู่นางฟ้า และต่อสู้กับโจรสลัด ปีเตอร์ แพนจะมาพบปะกับเด็กธรรมดาๆ ในโลกภายนอกบ้างเป็นครั้งคราว ตัวละคร ปีเตอร์ แพน ปรากฏตัวครั้งแรกในตอนหนึ่งของ "The Little White Bird" ซึ่งเป็นนวนิยายสำหรับผู้ใหญ่ ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: จินตนิมิตและปีเตอร์ แพน · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ แจ็กสัน

ซอร์ปีเตอร์ โรเบิร์ต แจ็กสัน (Sir Peter Robert Jackson) เป็นชาวนิวซีแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: จินตนิมิตและปีเตอร์ แจ็กสัน · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: จินตนิมิตและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน (folktale) เป็นนิทานประเภทหนึ่ง เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐาน เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า นิทานพื้นบ้านที่โด่งดัง อย่างเช่น ซินเดอเรลลา เจ้าชายกบ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เจ้าหญิงนิทร.

ใหม่!!: จินตนิมิตและนิทานพื้นบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

แฟนตาซีระดับสูง

แฟนตาซีระดับสูง (High fantasy) เป็นสาขาย่อยแขนงหนึ่งของนวนิยายแฟนตาซี ซึ่งมีพื้นฐานบนโลกที่สร้างขึ้นใหม่หรือโลกคู่ขนาน งานแฟนตาซีประเภทนี้เกิดขึ้นจากผลงานแนวแฟนตาซีอันมีชื่อเสียงของนักเขียนหลายคน เช่น ผลงานของ ซี. เอส. ลิวอิส เป็นต้น โดยผลงานชิ้นสำคัญในงานแฟนตาซีแขนงนี้คือ ผลงานของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ที่เผยแพร่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 แม้ว่าแฟนตาซีแขนงนี้จะเป็นแขนงใหม่ ไม่เก่าแก่เหมือนอย่างแฟนตาซีดั้งเดิมที่ประกอบด้วยดาบและเวทมนตร์ (ซึ่งมีที่มาจากงานเขียนของ โรเบิร์ต อี. โฮเวิร์ด) แต่ก็ได้เป็นหนึ่งในสองสาขาของนวนิยายแฟนตาซีที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางมากที่สุด หมวดหมู่:จินตนิมิต หมวดหมู่:คำศัพท์และเทคนิคทางวรรณกรรม.

ใหม่!!: จินตนิมิตและแฟนตาซีระดับสูง · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์

แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน..

ใหม่!!: จินตนิมิตและแฮร์รี่ พอตเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสซีย์

โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์ โอดีสซีย์ (Odyssey; Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีกD.C.H. Rieu's introduction to The Odyssey (Penguin, 2003), p. xi.

ใหม่!!: จินตนิมิตและโอดิสซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โดจินชิ

โดจินชิ หมายถึง สื่อสัญชาติญี่ปุ่นที่สร้างและจัดจำหน่ายโดยมือสมัครเล่น โดยอาจเป็นมังงะ อะนิเมะ นิยาย หนังสือรวมภาพเขียนหรืองานศิลปะ หรือวิดีโอเกม อย่างไรก็ดีศิลปินอาชีพหลายคนตีพิมพ์โดจินชิเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ คำว่าโดจินชิสร้างมาจากคำว่า 同人 ซึ่งแปลว่า "กลุ่มคนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน" และ 誌 ซึ่งแปลว่า "นิตยสาร" หรือ "การเผยแพร่" กลุ่มผู้สร้างโดจินชิมักเรียกตัวเองว่า "เซอร์เคิล" (サークル, circle) โดจินชิโดยส่วนมากจะเขียนโดยแฟนๆ ของการ์ตูนที่ได้รับความนิยม โดยนำตัวละครจากการ์ตูนที่ชื่นชอบมาเขียนเรื่องราวเพิ่มเติมออกไปตามแต่จินตนาการของแฟนๆ นับเป็นการตอบสนองความต้องการของแฟนการ์ตูนในแบบหนึ่ง อย่างไรก็ดีโดจินชิก็สามารถเป็นเรื่องที่ผู้วาดแต่งขึ้นมาเองก็ได้ เป็นทางเลือกสำหรับศิลปินหรือนักประพันธ์ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานโดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองหรือประเมินคุณค่าจากสำนักพิมพ์ การเผยแพร่ทำได้โดยจำหน่ายผลงานของตนได้ในงานขายตรงโดจินชิ ที่ใหญ่ที่สุดคืองานคอมิเก็ตจัดในหน้าร้อนและหน้าหนาวของทุกปีที่โตเกียวบิ๊กไซต์ มีผู้เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่าครั้งละ 400,000 คน นอกจากนี้ปัจจุบันนักเขียนโดจินชิยังสามารถจำหน่ายผลงานทางอินเทอร์เน็ต หรือทางร้านหนังสือซึ่งขายเฉพาะโดจินชิได้อีกด้วย นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อดังหลายคน อาทิ เคน อาคามัตสึ, คิโยฮิโกะ อะสึมะ, และCLAMP เผยแพร่ผลงานของตนในระยะแรกๆ เป็นโดจินชิ และปัจจุบันก็มีนักเขียนการ์ตูน นักออกแบบตัวละคร และศิลปินมีออาชีพหลายคนที่ยังเขียนโดจินชิควบคู่กับงานหลักไปด้วย เช่น มาริโอะ คาเนดะ, เคจิ โกโต, และ โทนี ทากะ ปัจจุบันการเขียนโดจินชิได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย โดยมีการจัดงานขายตรงโดจินเป็นระยะๆ ตลอดทั้งปี อาทิ งานโคมิคอนโรด, งานคอมิกซีซัน เป็นต้น บางครั้งการ์ตูนโป๊ที่เป็นลายเส้นแบบการ์ตูนญี่ปุ่นอาจถูกเรียกรวม ๆ ว่าโดจินชิ เพื่อเลี่ยงการกล่าวถึงโดยตรง แม้ว่าโดจินชิไม่จำเป็นต้องมีฉากลามกอนาจารเสมอไปก็ตาม บางครั้งโดจินชิยังอาจหมายความเฉพาะเจาะจงถึงการ์ตูนยะโอะอิ (ชายรักชาย) หรือการ์ตูนยุริ (หญิงรักหญิง) หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จินตนิมิตและโดจินชิ · ดูเพิ่มเติม »

เบวูล์ฟ

ต้นฉบับเก่าแก่ของบทกวี ''เบวูล์ฟ'' หน้าแรก เบวูล์ฟ (Beowulf) เป็นบทกวีมหากาพย์เกี่ยวกับวีรบุรุษยุคอังกฤษโบราณแต่งโดยผู้ประพันธ์หลายคนที่ไม่ทราบชื่อ งานวรรณกรรมภาษาแองโกลแซกซอนชิ้นนี้คาดว่าแต่งขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1958).

ใหม่!!: จินตนิมิตและเบวูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

เวทมนตร์

วทมนตร์ หมายถึง ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้บริกรรมเพื่อให้ความประสงค์ของตนสำเร็จพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: จินตนิมิตและเวทมนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอช. ไรเดอร์ แฮ็กการ์ด

อ.

ใหม่!!: จินตนิมิตและเอช. ไรเดอร์ แฮ็กการ์ด · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: จินตนิมิตและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เจ. เค. โรว์ลิง

แอนน์ "โจ" โรว์ลิง (Joanne "Jo" Rowling, OBE FRSL) หรือนามปากก.

ใหม่!!: จินตนิมิตและเจ. เค. โรว์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

เทพนิยาย

วาดของกุสตาฟ ดอเร เกี่ยวกับเทพนิยายเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยาย (Fairy tale) หมายถึงงานประพันธ์ที่มีตัวละครจากความเชื่อพื้นบ้าน (เช่น ภูต ยักษ์ คนแคระ แม่มด สัตว์พูดได้) กับเรื่องของเวทมนตร์ และเหตุการณ์ที่ดำเนินไปเกินคาดคิด ในยุคสมัยใหม่มักใช้คำนี้ในความหมายถึงเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์กับความสุขอย่างพิเศษ เช่นในคำว่า "จบแบบเทพนิยาย" (หมายถึง "จบอย่างมีความสุข") แม้ว่าในความจริงแล้ว เทพนิยายไม่ได้จบอย่างมีความสุขเสมอไปทุกเรื่อง นอกจากนี้ คำว่า "เทพนิยาย" ยังอาจใช้ในความหมายว่า เรื่องเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ ในวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าปีศาจกับเหล่าแม่มดมีตัวตนจริง ผู้เล่าเรื่องจะเอ่ยถึงเรื่องราวเหมือนกับว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว บางครั้ง เทพนิยาย ก็หมายรวมถึง ตำนาน ด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนที่ไม่เหมือน ตำนาน หรือ มหากาพย์ ก็คือ เทพนิยายจะไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่มีจริงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถานที่ บุคคล หรือเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์ในเทพนิยายเกิดขึ้นเมื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" ที่ไม่สามารถระบุเวลาอย่างแน่ชัดได้ เป็นการยากที่จะสืบหาประวัติความเป็นมาของเทพนิยาย เพราะสิ่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีแต่เพียงงานเขียนที่เป็นเอกสารเท่านั้น แต่นักเล่านิทานได้สืบทอดเรื่องราวกันมานานหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งเทพนิยายอาจเกิดขึ้นมานานพอๆ กัน แม้ในช่วงนั้นยังไม่สามารถแยกประเภทได้ชัดเจน คำว่า "เทพนิยาย" บัญญัติขึ้นใช้สำหรับวรรณกรรมประเภทนี้เป็นครั้งแรกโดยมาดามดัลนอย (Madame d'Aulnoy) ปัจจุบันยังคงมีการประพันธ์เทพนิยายและเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเทพนิยายอยู่เสมอ เทพนิยายในยุคก่อนประพันธ์ขึ้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่พอๆ กับเด็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประพันธ์แบบ précieuses ในวรรณกรรมฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลกริมม์เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น นิทานสำหรับเด็กและครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไป เทพนิยายก็มีความเกี่ยวพันกับเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิทานพื้นบ้าน มีการแบ่งประเภทเทพนิยายหลายวิธี ระบบที่น่าสนใจได้แก่ระบบการจัดประเภทของอาร์นี-ทอมป์สัน (Aarne-Thompson) และการวิเคราะห์ของ วลาดิเมียร์ พร็อพพ์ การศึกษาเทพนิยายในแบบอื่นนิยมการแปลความหมายของจุดสำคัญในนิยาย แต่ไม่มีโรงเรียนแห่งไหนตีความเทพนิยายแบบนั้น.

ใหม่!!: จินตนิมิตและเทพนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: จินตนิมิตและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค)

นตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประกอบด้วยภาพยนตร์สามเรื่องในแนวมหากาพย์แฟนตาซี ได้แก่ อภินิหารแหวนครองพิภพ (พ.ศ. 2544), ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (พ.ศ. 2545) และ มหาสงครามชิงพิภพ (พ.ศ. 2546) สร้างขึ้นจากนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นบนโลกในจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ เกี่ยวกับการเดินทางของฮอบบิทผู้หนึ่งชื่อ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และเพื่อนของเขา ที่จำเป็นต้องรับภารกิจในการทำลาย แหวนเอกธำมรงค์ เพื่อโค่นอำนาจของจอมมารมืดเซารอน พร้อมกันนั้น พ่อมดแกนดัล์ฟ และอารากอร์น ทายาทบัลลังก์กอนดอร์ ได้รวบรวมเหล่าอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธเข้าร่วมในสงครามแหวน เพื่อเปิดทางให้โฟรโดสามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ เนื้อความในฉบับนิยายถูกดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดย ปีเตอร์ แจ็กสัน ร่วมกับ แฟรน วอลช์ และ ฟิลิปปา โบเยนส์ โดยมีนิวไลน์ ซีนีม่า เป็นผู้จัดจำหน่าย โครงการสร้างภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่มากที่สุดโครงการหนึ่งที่เคยเกิดขึ้น ด้วยทุนสร้างสูงถึง 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เวลาตลอดโครงการนานถึง 8 ปี โดยถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งสามภาคไปในคราวเดียวกันทั้งหมด ที่ประเทศนิวซีแลนด์ บ้านเกิดของปีเตอร์ แจ็กสันเอง ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างมาก โดยติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในลำดับที่ 27, ที่ 20 และ ที่ 6 เรียงตามลำดับ และได้รับรางวัลออสการ์รวมทั้งสิ้น 17 รางวัล รวมถึงเสียงชื่นชมทั้งส่วนของนักแสดงและเทคนิคพิเศษ.

ใหม่!!: จินตนิมิตและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค) · ดูเพิ่มเติม »

เซเลอร์มูน

ซเลอร์มูน (Sailor Moon) เป็นชื่อของการ์ตูนญี่ปุ่นสำหรับผู้หญิง วาดโดยนาโอโกะ ทาเคอุจิ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารนาคาโยชิ ของสำนักพิมพ์โคดันฉะ ประเทศญี่ปุ่น ส่วนฉบับรวมเล่มมีความยาว 18 เล่มจบ อีกทั้งยังมีการ์ตูนที่แตกออกจากเรื่องนี้อีกมากมาย รวมทั้งนำเสนอในสื่อหลายประเภท เป็นต้นว่า ภาพยนตร์อะนิเมะ, ละครเวที, เกม และละครโทรทัศน์ แนวโทคุซัทสึ.

ใหม่!!: จินตนิมิตและเซเลอร์มูน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fantasyแฟนตาซี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »