เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

ดัชนี เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: ชาวเยอรมันชตุทท์การ์ทญาณวิทยายุคเรืองปัญญาราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์คลัทธิมากซ์วิภาษวิธีศาสนาสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูอภิปรัชญาจริยธรรมตรรกศาสตร์ปรัชญาปรัชญาการเมืองเบอร์ลินเยอรมัน

  2. นักปรัชญายุคเรืองปัญญา
  3. บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2313
  4. บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2374
  5. ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน
  6. ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค
  7. เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและชาวเยอรมัน

ชตุทท์การ์ท

ตุทท์การ์ท (Stuttgart) เป็นเมืองทางใต้ของประเทศเยอรมนี เป็นเมืองหลวงของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ในเขตเมืองมีประชากรประมาณ 590,000 คน ถ้านับเขตที่อยู่อาศัยโดยรอบจะมีประชากรประมาณ 3 ล้านคน (ข้อมูลปี 2005) ชตุทท์การ์ทเป็นเมืองใหญ่อันดับหกของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บริเวณป่าดำ (Black Forest) ตัวเมืองชตุทท์การ์ทแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 เขต.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและชตุทท์การ์ท

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและญาณวิทยา

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและยุคเรืองปัญญา

ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค

ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค (Königreich Württemberg) เคยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1806 - ค.ศ. 1918 ปัจจุบันอยู่ในเขตของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและลัทธิมากซ์

วิภาษวิธี

วิภาษวิธี (dialectic) เป็นวิธีการถกเถียงเพื่อระงับความไม่ลงรอยซึ่งอยู่กลางปรัชญายุโรปและอินเดียมาแต่สมัยโบราณ คำว่า dialectic กำเนิดในกรีซโบราณ และเพลโตทำให้แพร่หลายในบทสนทนาโสเครตีส วิภาษวิธีเป็นวจนิพนธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีมุมมองต่างกันเกี่ยวกับหัวเรื่องหนึ่ง ซึ่งปรารถนาสถาปนาความจริงของสสารที่มีการถกเถียงด้วยเหตุผลชี้นำ คำว่า วิภาษวิธี ไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า การอภิปราย (debate) แม้ตามทฤษฎี ผู้อภิปรายไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ร่วมในมุมมองของตน แต่ในทางปฏิบัติ ผู้อภิปรายมักแสดงความยึดติดทางอารมณ์ซึ่งอาจบดบังการตัดสินด้วยเหตุผลได้ ผู้อภิปรายชนะโดยการโน้มน้าวฝ่ายตรงข้าม พิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของตัวถูกต้อง หรือพิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของฝ่ายตรงข้ามผิดรวมกัน การอภิปรายไม่จำเป็นต้องระบุผู้ชนะหรือผู้แพ้ชัดเจนในทันที ทว่า บ่อยครั้งผู้ชนะชัดเจนมักตัดสินโดยผู้พิพากษา คณะลูกขุนหรือโดยการเห็นพ้องต้องกันของกลุ่ม คำว่า วิภาษวิธี ยังไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า วาทศิลป์ คือ วิธีหรือศาสตร์วจนิพนธ์ซึ่งมุ่งโน้มน้าว แจ้งหรือกระตุ้นผู้ฟัง นักวาทศิลป์มักใช้มโนทัศน์ เช่น logos หรือการอุทธรณ์เหตุผล pathos หรือการอุทธรณ์อารมณ์ และ ethos หรือการอุทธรณ์จริยศาสตร์ โดยเจตนาเพื่อชักจูงผู้ฟัง หมวดหมู่:ปรัชญาสังคม หมวดหมู่:วาทศิลป์ หมวดหมู่:วิธีวิทยาปรัชญา.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและวิภาษวิธี

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและศาสนา

สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (ย่อว่า GFDL) เป็นลักษณะสัญญาอนุญาตชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) สำหรับโครงการกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในปัจจุบันเป็นรุ่น 1.3 และเป็นสัญญาอนุญาตควบคู่กับสัญญาอนุญาต GPL เนื้อหาสัญญาทั้งหมดสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู มีลักษณะเปิดกว้าง หรือเรียกว่า copyleft โดยให้ผู้อื่นสามารถนำข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดไปใช้ได้ฟรีโดยมีเงื่อนไขว่า ผลงานที่สร้างใหม่ต้องใช้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู เช่นกัน ผลงานที่สร้างใหม่นั้นสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ถ้ามีการขายเป็นจำนวนมากจะมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมเข้ามา สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ครอบคลุมสำหรับ คู่มือคอมพิวเตอร์ ตำรา และแหล่งอ้างอิงอื่นทั้งในการเรียนการสอนและการทำงาน วิกิพีเดีย และโครงการอื่นของมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของสื่ออื่นที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและอภิปรัชญา

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและจริยธรรม

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและตรรกศาสตร์

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและปรัชญา

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและปรัชญาการเมือง

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและเบอร์ลิน

เยอรมัน

อรมัน หรือ เยอรมนี อาจหมายถึง.

ดู เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและเยอรมัน

ดูเพิ่มเติม

นักปรัชญายุคเรืองปัญญา

บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2313

บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2374

ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน

ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค

เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค

หรือที่รู้จักกันในชื่อ จอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล