เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ละก์ซา

ดัชนี ละก์ซา

ละก์ซา (laksa) หรือที่ในภาษามลายูปัตตานีเรียกว่า ละซอ (ออกเสียง) เป็นอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวรสเผ็ดของชาวเปอรานากัน อันเป็นการผสมผลานระหว่างวัฒนธรรมจีนและมลายูในประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย รวมทั้งทางใต้ของประเทศไท.

สารบัญ

  1. 37 ความสัมพันธ์: ช้อนพริกขี้หนูกะทิกัวลาลัมเปอร์ภาษามลายูปัตตานีภาษาสันสกฤตภาษาอูรดูภาษาจีนกวางตุ้งภาษาเปอร์เซียมะขามมีการีรัฐกลันตันรัฐตรังกานูรัฐปีนังรัฐเกอดะฮ์สะระแหน่สับปะรดสาคูสปาเกตตีส้มแขกหอมใหญ่อันดับปลาไหลผักกาดหอมผักกาดหัวขิงข่า (พืช)ตะไคร้ซัมบัลประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศอินโดนีเซียประเทศไทยปลาแมกเคอเรลแตงกวาเย็นตาโฟเต็มเปเปอรานากัน

  2. อาหารข้างถนน
  3. อาหารจากมะพร้าว
  4. อาหารมลายู

ช้อน

้อนโลหะ ช้อน เป็นเครื่องครัวที่มีลักษณะเป็นแอ่งตื้นและเล็กกว่าทัพพี ตรงปลายมีที่จับ โดยทั่วไปใช้ในการตักอาหารเหลว หรืออาหารกึ่งเหลว หรืออาหารแข็งที่ไม่อาจใช้กับส้อมได้อย่างสะดวก เช่น ใช้ในการตักข้าวหรือธัญพืช นอกจากนี้ ช้อนยังใช้ในการทำอาหารที่จะตวงวัดปริมาณส่วนผสมของอาหารที่จะใช้ด้วย ช้อนอาจจะทำมาจากโลหะ ไม้ พลาสติก หิน หรือแม้แต่งาช้าง ในวัฒนธรรมไทยแต่เดิมใช้มือในการเปิบอาหารรับประทาน ภายหลังมีการนำช้อนเข้ามาใช้ โดยปรากฏในรูปของช้อนสั้น ส่วนในปัจจุบันมักใช้ช้อนยาวคู่กับส้อมในการรับประทานอาหารโดยทั่วไป ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดที่ใดในโลก แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีการนำช้อนคู่กับส้อมเมื่อใด ช้อนสำหรับตักน้ำผึ้ง.

ดู ละก์ซาและช้อน

พริกขี้หนู

ริกขี้หนู อยู่ในวงศ์ Solanaceae มีลักษณะเป็นไม้ต้น ความสูง 30-120 cm ใบมีลักษณะแบนและเรียบมัน ผลมีขนาดเล็กเรียวยาวประมาณ 2-3 ซ.ม.

ดู ละก์ซาและพริกขี้หนู

กะทิ

กะทิ กะทิ เป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม ได้มาจากการคั้นน้ำจากเนื้อมะพร้าวแก่ สีและรสชาติที่เข้มข้นของกะทิมาจากน้ำมันมะพร้าวและน้ำตาลมะพร้าวที่อยู่ในเนื้อมะพร้าว โดยมีรสชาติมันและหวาน.

ดู ละก์ซาและกะทิ

กัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.

ดู ละก์ซาและกัวลาลัมเปอร์

ภาษามลายูปัตตานี

ษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมเป็นภาษาเดียวกันว่า "ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี".

ดู ละก์ซาและภาษามลายูปัตตานี

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ดู ละก์ซาและภาษาสันสกฤต

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ดู ละก์ซาและภาษาอูรดู

ภาษาจีนกวางตุ้ง

ษาจีนกวางตุ้ง (ชาวจีนเรียกว่า 粵 เยฺว่ Yuè หรือ ยฺหวืด Jyut6) เป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณมณฑลแถบตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และยังใช้มากในหมู่ของชาวจีนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเหล่าชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกที่อพยพไปจากมณฑลกวางตุ้งอีกด้วย โดยที่สำเนียงกวางเจาจัดเป็นสำเนียงกลางของภาษาจีนกวางตุ้ง มีผู้พูดทั่วโลกราวๆ 71 ล้านคน ซึ่งภาษากวางตุ้งจัดได้ว่าเป็นภาษาถิ่นอันดับหนึ่งของจีนที่คนพูดมากที่สุด และเป็นภาษาที่ใช้ทางการเป็นอันดับสอง รองลงมาจากภาษาจีนกลางที่เป็นภาษาราชการหลักของประเท.

ดู ละก์ซาและภาษาจีนกวางตุ้ง

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ดู ละก์ซาและภาษาเปอร์เซีย

มะขาม

วามหมายอื่น ดูที่ อำเภอมะขาม มะขาม เป็นไม้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชียและประเทศแถบลาตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก ชื่อมะขามในภาคต่าง ๆ เรียก มะขามไทย ภาคกลาง ขาม ภาคใต้ ตะลูบ โคราช ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล เขมร จังหวัดสุรินทร์ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า tamarind ซึ่งมาจากภาษาอาหรับ:تمر هندي (tamr hindī) แปลว่า Indian date มะขามเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ มะขามในไทยมีสองชนิดคือมะขามเปรี้ยวและมะขามหวาน โดยมะขามหวานมีหลายพันธุ์เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง อินทผลัม หมื่นจง สีทอง ในบางครั้งจะเรียกมะขามตามลักษณะของฝัก เช่น มะขามขี้แมว คือมะขามฝักกลม มะขามกระดาน คือมะขามฝักแบน มะขามข้อเดียวคือมะขามที่ฝักมีข้อเดียวออกกลมป้อม.

ดู ละก์ซาและมะขาม

มีการี

มีการี (mi kari, mee kari, "บะหมี่แกง"; 咖喱麵) เป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะในมาเลเซีย ทำจากบะหมี่ไข่สีเหลืองหรือหมี่ฮุ้นที่ทำจากข้าว ในน้ำแกงเผ็ดใส่กะทิ ใส่เต้าหู้ กุ้ง ไก่ ปลาดุก เนื้อไก่ ไข่ต้ม ใบสะระแหน่ กินกับซัมบัล ทางภาคใต้ของมาเลเซียและสิงคโปร์จะเรียกเป็น "ละก์ซาการี" (laksa kari, "ละก์ซาแกง"; 咖喱喇沙) ถ้าใส่หอยแครง.

ดู ละก์ซาและมีการี

รัฐกลันตัน

กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.

ดู ละก์ซาและรัฐกลันตัน

รัฐตรังกานู

ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ.

ดู ละก์ซาและรัฐตรังกานู

รัฐปีนัง

ปูเลาปีนัง (Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวล.

ดู ละก์ซาและรัฐปีนัง

รัฐเกอดะฮ์

กอดะฮ์ (Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี.

ดู ละก์ซาและรัฐเกอดะฮ์

สะระแหน่

ระแหน่ เป็นพืชในตระกูลมินต์ วงศ์กะเพรา มีแหล่งกำเนิดมาจากแถบยุโรปตอนใต้และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 70 - 150 เซนติเมตร ส่วนใบจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับใบพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว และทุก ๆ ปลายฤดูร้อนต้นสะระแหน่จะออกดอกสีขาว ๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำหอมและน้ำหวานอยู่ภายใน นี้ดึงดูดใจให้ผึ้งมาดูดน้ำหวาน จากเหตุนี้ทำให้สะระแหน่อยู่ในสกุลเมลิสซา (Melissa: ภาษากรีก แปลว่าน้ำผึ้ง) และยังมีรสชาติคล้ายคลึงกับ ตะไคร้หอม, มะนาวและแอลกอฮอล.

ดู ละก์ซาและสะระแหน่

สับปะรด

ับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล แต่ละท้องถิ่นเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไปเช่น.

ดู ละก์ซาและสับปะรด

สาคู

ู อาจหมายถึง.

ดู ละก์ซาและสาคู

สปาเกตตี

เส้นสปาเกตตี ที่ผลิดจากแป้งดูรัมเซโมลินา สปาเกตตีผัดซอสมะเขือเทศ สปาเกตตี (Spaghetti) เป็นเส้นกลมคล้ายขนมจีนทำจากแป้งสาลี และมีขนาดโตกว่าเส้นขนมจีนเล็กน้อย การรับประทานสปาเกตตีเป็นที่นิยมมาก เช่นเดียวกับการนิยมทำก๋วยเตี๋ยวรับประทานเป็นอาหารทั่วไปของชาวเอเชีย ในปัจจุบัน เส้นสปาเกตตีที่นิยม คือ เส้นสปาเกตตีที่ผลิตจากแป้งดูรัมเซโมลินา ส หมวดหมู่:อาหารอิตาลี.

ดู ละก์ซาและสปาเกตตี

ส้มแขก

้มแขก ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม ผลเป็นผิวเดี่ยว ผิวเรียบ เนื้อผลที่เป็นเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้มมีรสหวาน มี 5-8 เมล็ด ใบส้มแขก เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิก และ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก และ ฟลาโวนอยด์ นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามลายูเรียก อาซัมเกอปิง มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ ผลดิบเมื่อโตเต็มที่นำมาตากแห้งนำไปต้มเคี่ยวในน้ำเชื่อม รับประทานเป็นของหวาน ผลแห้งเป็นตัวช่วยให้สีย้อมติดแน่นทนทาน น้ำต้มเคี่ยวใบและรากใช้แก้อาการปวดหูใช้แปรรูปได้หลายอย่าง เช่น น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน ส้มแขกหยี แยมส้มแขก ส้มแขกแช่อิ่ม รสเปรี้ยวของส้มแขกเกิดจากกรดหลายชนิดเช่นกรดซิตริก กรดทาร์ทาริก กรดมาลิก กรดแอสคอร์บิกและกรดไฮดรอกซีซิตริก.

ดู ละก์ซาและส้มแขก

หอมใหญ่

หอมใหญ่ เป็นพืชหัว (bulb) ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดีที่ค่าความเป็นกรด-เบสช่วง 6.0–6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15–24 องศาเซลเซียส และมีความเค็มของดินปานกลาง เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับหอมแดง ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลม มีเปลือกนอกบางๆหุ้มอยู่ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในเป็นกาบสีขาวซ้อนกัน ลักษณะของดอกมีสีขาว เป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว แทงออกจากลำต้นใต้ดิน ช่วงเวลาในการเพาะปลูกและเก็บผลผลิต: ให้ผลผลิต 2 ครั้งใน 1 ปี คือ ช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน และในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์http://www.adirek.com/stwork/fruitvet/hom.htm.

ดู ละก์ซาและหอมใหญ่

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ดู ละก์ซาและอันดับปลาไหล

ผักกาดหอม

ผักกาดหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ.

ดู ละก์ซาและผักกาดหอม

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว (subsp. longipinnatus) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น หัวผักกาด, หัวไช้เท้า หรือ หัวไชเท้า เป็นสปีชีส์ย่อยของ ผักกาดหัวสีแดง (R.

ดู ละก์ซาและผักกาดหัว

ขิง

ง เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม.

ดู ละก์ซาและขิง

ข่า (พืช)

ป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน).

ดู ละก์ซาและข่า (พืช)

ตะไคร้

ตะไคร้; ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้ว.

ดู ละก์ซาและตะไคร้

ซัมบัล

ซัมบัล (อินโดนีเซียและsambal) เป็นอาหารที่ปรุงจากพริก มีลักษณะคล้ายน้ำพริกในอาหารไทย เป็นที่นิยมในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และศรีลังกา รวมทั้งในเนเธอร์แลนด์และซูรินามซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหารชวา ทำได้ทั้งจากพริกขี้หนูและพริกอื่น ๆ บางชนิดมีรสเผ็ดมาก ซัมบัลเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาชวาว่า ซัมเบ็ล ซึ่งยืมมาใช้ในภาษามาเลเซียและภาษาอินโดนีเซี.

ดู ละก์ซาและซัมบัล

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ดู ละก์ซาและประเทศมาเลเซีย

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ดู ละก์ซาและประเทศสิงคโปร์

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ดู ละก์ซาและประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู ละก์ซาและประเทศไทย

ปลาแมกเคอเรล

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (''Scomberomorus sinensis'') จัดเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ Scombridae ปลาแมกเคอเรล (mackerel) เป็นชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae (เป็นส่วนใหญ่), Carangidae, Hexagrammidae และ Gempylidae ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่จัดว่าเป็นปลาแมกเคอเรล ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาที่มนุษย์รับประทานได้ สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง.

ดู ละก์ซาและปลาแมกเคอเรล

แตงกวา

แตงกวา หรือ แตงร้านhttp://frynn.com/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2/ เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (วงศ์เดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง.

ดู ละก์ซาและแตงกวา

เย็นตาโฟ

็นตาโฟ เย็นตาโฟ เป็นชื่อเรียกของ ก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง เหมือนก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาทั่วไป แต่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่เหมือนกันในการทำ คือ ต้องใส่ซอสเย็นตาโฟ ลงไปในน้ำก๋วยเตี๋ยว ทำให้น้ำก๋วยเตี๋ยวมีสีแดง ซอสเย็นตาโฟ มีลักษณะของซอสเป็นสีแดงที่ทำมาจากเต้าหู้ยี้และ ซอสแดง หรือซอสมะเขือเทศหรือซอสพริก พริกป่น ตามแต่สูตรใคร ที่มาของชื่อ เย็นตาโฟ มาจากภาษาจีนแคะ ตัวเต็ม 釀豆腐 ตัวย่อ 酿豆腐 อ่านว่า ย้องแท้วฟู้ yòng-theu-fú ภาษาจีนกลางอ่านว่า เนี่ยงโต้วฟุ niàng dòufu หมายถึงเต้าหู้บ่มสอดไส้หมูสับ (ลักษณะเดียวกับส่วนประกอบของก๋วยเตี๋ยวแคะ) ซึ่งเป็นอาหารเลื่องชื่อของชาวจีนแคะมาแต่โบราณ ไม่ได้แปลว่า เต้าหู้หมัก (ที่หมายถึงเต้าหู้ยี้หรือ แท้วฟู้ยู้ ในภาษาจีนแคะ) ก่อนหน้านี้มีผู้สันนิษฐานว่าชาวแต้จิ๋วรับมาแล้วออกเสียงตามแบบถนัดว่า เยี่ยงเต่าฮู และเพี้ยนมาเป็นเย็นตาโฟในปัจจุบัน แต่ถ้าพิจารณาคำอ่านภาษาจีนฮากกา หรือ คากกา ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็เพี้ยนเป็นเย็นตาโฟได้เช่นกัน "ย้องแท้วฟู้" หรือเต้าหู้ยัดไส้ที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ “เต้าหู้แคะ” ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของ “ก๋วยเตี๋ยวแคะ” ในประเทศไทยด้วยนั้น เป็นวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านโบราณของชาวแคะที่สืบทอดมาเป็นเวลายาวนานนับพันปีจนกลายเป็นอาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อของประเทศจีนเอง ตลอดจนประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอื่นๆ ที่มีชนเชื้อชาติแคะอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติจีนที่มีพลเมืองรวมกันมากที่สุดในโลก และประเทศมาเลเซียยังได้ขึ้นบัญชี "ย้องแท้วฟู้" เป็นหนึ่งใน 100 รายการมรดกวัฒนธรรมอาหารแห่งชาติมาเลเซียด้วย นอกจากเครื่องที่เป็นเอกลักษณ์แล้วยังมี เต้าหู้ทอด ปาท่องโก๋ชิ้นเล็ก ปลาหมึกกรอบ เลือดหมูก้อน และผักนิยมใช้ ผักบุ้ง อาจจะใส่ เกี๊ยวทอดกรอบหรือ ปลาชิ้น ลูกชิ้นปลา ในแถบจังหวัดระยอง สูตรของเย็นตาโฟมีหลายสูตร ทั้งแบบธรรมดา แบบต้มยำทะเล โดยใส่เครื่องปรุงที่เป็นอาหารทะเลไปด้วย ตามการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ก๋วยเตี๋ยวถูกปรุงแต่งเป็นเย็นตาโฟเมื่อใด ยังไม่มีการบันทึกไว้ แต่ตามที่มีการศึกษา ต้นตำรับอาหารของจีนจะมีรสชาติจืด ซึ่งคนไทยในสมัยก่อนนั้นไม่ชอบอาหารจืด ชอบอาหารที่มีรสจัด โดยมีการนำเต้าหู้ยี้มาใส่เพื่อปรุง และนำชื่อเรียกของเต้าหู้ชนิดนั้นมาตั้งเป็นชื่อของก๋วยเตี๋ยวใส่เต้าหู้ยี้ว่า เย็นตาโฟ โดยจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป.

ดู ละก์ซาและเย็นตาโฟ

เต็มเป

ต็มเปสดในตลาดในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ห่อด้วยใบตอง เต็มเป (tempe; ชวา: témpé) เป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองแบบพื้นบ้านของอินโดนีเซีย เป็นอาหารที่เตรียมด้วยการหมักจนถั่วเหลืองกลายเป็นแท่งคล้ายเค้ก เป็นอาหารหมักจากถั่วเหลืองเพียงชนิดเดียวที่อยู่นอกอิทธิพลของจีน จุดกำเนิดของเต็มเปอยู่ที่บริเวณที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน และเป็นที่นิยมในเกาะชวา เป็นแหล่งของโปรตีนเช่นเดียวกับเต้าหู้ แต่มีลักษณะ สารอาหาร และคุณภาพของเนื้อสัมผัสต่างไป กระบวนการหมักเต็มเปและการที่ยังคงรูปถั่วเหลืองไว้ทำให้ยังมีปริมาณโปรตีน เส้นใย และวิตามินสูง เมื่อเก็บไว้นานจะมีกลิ่นเหมือนดินแรงขึ้น เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เต็มเปจึงเป็นที่นิยมในบรรดาผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ โดยใช้แทนเนื้อสัตว.

ดู ละก์ซาและเต็มเป

เปอรานากัน

ปอรานากัน (Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (Baba-Nyonya, จีน: 峇峇娘惹, พินอิน: Bābā Niángrě, ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีนกับมลายูมารวมกัน โดยชื่อ "เปอรานากัน" มีความหมายว่า "เกิดที่นี่" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.

ดู ละก์ซาและเปอรานากัน

ดูเพิ่มเติม

อาหารข้างถนน

อาหารจากมะพร้าว

อาหารมลายู

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ละซอ