โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาจาด

ดัชนี อาจาด

อาจาดที่เคียงอยู่ในชุดอาหารอินโดนีเซีย อาจาด เป็นน้ำจิ้มชนิดหนึ่ง ทำจากน้ำส้มสายชูหรือน้ำกระเทียมดอง เพิ่มน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย (บางตำรับใช้น้ำเชื่อม) มาตั้งไฟเคี่ยวจนมีลักษณะเหนียวหรือข้น มีแตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้า หั่นเป็นชิ้น ๆ อยู่ด้วย รับประทานเคียงอาหารจำพวกสะเต๊ะและแกงกะหรี่เพื่อแก้เลี่ยน.

37 ความสัมพันธ์: บั๊ญแส่วพริกพริกชี้ฟ้าพริกหยวกพริกขี้หนูกะหล่ำปลีภาษาสันสกฤตภาษาฮินดีภาษาเปอร์เซียมะตะบะรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบสะเต๊ะสับปะรดหอมแดงหน่อไม้อาหารมาเลเซียอาหารอินโดนีเซียอาหารไทยผักบุ้งผักชีจังหวัดสตูลถั่วฝักยาวถั่วลันเตาถั่วลิสงขิงขนมปังตะลิงปลิงตะไคร้น้ำส้มสายชูน้ำตาลแกงกะหรี่แกงเผ็ดแคร์รอตแตงกวาโรตีเกลือเห็ดหูหนู

บั๊ญแส่ว

ไส้ขนมเบื้องญวน บั๊ญแส่ว (bánh xèo) หรือที่เรียกกันในประเทศไทยว่า ขนมเบื้องญวน เป็นอาหารเวียดนามลักษณะคล้ายแพนเค้กที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำ และผงขมิ้นหรือกะทิ (ในพื้นที่ภาคใต้) ยัดไส้ด้วยมันหมู กุ้ง และถั่วงอกแล้วนำมาทอดในกระทะ ตามธรรมเนียม บั๊ญแส่วจะห่อด้วยใบมัสตาร์ด ใบผักกาด หอม และยัดด้วยใบสะระแหน่ ใบโหระพา หรือสมุนไพรอื่น ๆ แล้วจิ้มด้วยเนื้อกเจิ๊ม (น้ำปลาของเวียดนามที่มีส่วนผสมของน้ำและมะนาว) ในภาคกลางจะรับประทานบั๊ญแส่วกับซอสเตือง (tương) ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ในภาคกลาง บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีชื่อเรียก ว่า "บั๊ญคว้าย" (bánh khoái) หรือไข่เจียวยัดไส้ ซึ่งทุกวันนี้ได้เป็นหนึ่งในอาหารที่คนรู้จักกันดีจากภาคกลาง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและเพิ่มรสชาติด้วยกับผงขมิ้นแล้วนำไปทอดในกระทะจนกรอบ บั๊ญคว้ายจะยัดไส้ด้วยหมูสับ ไข่ กุ้ง ถั่วงอก ถั่วเขียวบดแล้วก็พับ เวลาจะรับประทานให้ใช้ตะเกียบแยกเป็นชิ้น ๆ และนำมาห่อด้วยผักสมุนไพรสดแล้วจุ่มลงในซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม ส่วนผักสมุนไพรสดต่าง ๆ จะช่วยลดความมันในอาหารทอด ในอาหารกัมพูชาจะมีจานที่คล้ายบั๊ญแส่ว เรียกว่า "บัญแชว" (បាញ់​ឆែវ banh chhaew) ส่วนชาวเขมรใต้ที่อยู่เวียดนามภาคใต้ เรียกว่า "นมจักอำแบง" (នំ​ចាក់​អំបែង หรือ នំ​ចាក់​អម្បែង ขนมเทเศษภาชนะแตก) หมวดหมู่:อาหารเวียดนาม.

ใหม่!!: อาจาดและบั๊ญแส่ว · ดูเพิ่มเติม »

พริก

right right พริก เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae สกุล Capsicum ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่าง ๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: อาจาดและพริก · ดูเพิ่มเติม »

พริกชี้ฟ้า

ริกชี้ฟ้า พริกชี้ฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum Linn. Var acuminatum Fingerh.) เป็นพืชวงศ์ Solanaceae.

ใหม่!!: อาจาดและพริกชี้ฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

พริกหยวก

ริกหยวกสีแดง เหลืองและเขียว พริกหยวก, พริกหวาน หรือพริกยักษ์ (bell pepper, sweet pepper หรือ capsicum) เป็นกลุ่มพันธุ์ของสปีชีส์ Capsicum annuum พริกหยวกให้ผลสีต่าง ๆ กัน รวมถึงแดง เหลือง ส้มและเขียว บางครั้งพริกหยวกถูกจัดกลุ่มรวมกับพริกที่เผ็ดน้อย เรียกว่า "พริกหวาน" พริกเป็นพืชประจำถิ่นในเม็กซิโก อเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ตอนเหนือ ภายหลังเมล็ดพริกถูกนำไปยังสเปนใน..

ใหม่!!: อาจาดและพริกหยวก · ดูเพิ่มเติม »

พริกขี้หนู

ริกขี้หนู อยู่ในวงศ์ Solanaceae มีลักษณะเป็นไม้ต้น ความสูง 30-120 cm ใบมีลักษณะแบนและเรียบมัน ผลมีขนาดเล็กเรียวยาวประมาณ 2-3 ซ.ม. เมื่อดิบผลมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดจัด นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ ได้แก่ Chilli Padi, Bird's Eye Chilli, Bird Chilli, Thai pepper ผลมีรสเผ็ดร้อน ใช้ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด ผลดองสุราใช้ทาแก้ฟกช้ำดำเขียว ต้นมีรสเผ็ด ใช้ขับลม แก้กษัย รากใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ เป็นยากวาดคอ ใบใช้แก้หวัด ตำใบสดผสมกับดินสอพองพอกขมับแก้ปวดศีรษะได้.

ใหม่!!: อาจาดและพริกขี้หนู · ดูเพิ่มเติม »

กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี หรือ กะหล่ำใบ เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Brassica oleracea L. var.

ใหม่!!: อาจาดและกะหล่ำปลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: อาจาดและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: อาจาดและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: อาจาดและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

มะตะบะ

มะตะบะไส้กล้วย มะตะบะ (Murtabak)เป็นอาหารของไทยมุสลิม มาจากอินเดีย ทำจากโรตีชนิดหนึ่ง ซึ่งทำมาจากแป้งโรตี ห่อด้วยใส้ต่าง ๆ มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: อาจาดและมะตะบะ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: อาจาดและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

สะเต๊ะ

ต๊ะไก่ในมาเลเซีย สะเต๊ะ (satay, saté) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน คำว่า "สะเต๊ะ" เชื่อว่ามีที่มาจากประเทศจีนในอดีต โดยมาจากภาษาหมิ่นใต้คำว่า "แซบัก" (จีน: 三疊肉; พินอิน: sae bak) หมายถึง "เนื้อสามชิ้น" อย่างไรก็ตามนักวิชาการร่วมสมัยกล่าวว่าคำว่า "สะเต๊ะ" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาอินโดนีเซีย: "ซาเต" (sate) และภาษามลายู: "ซาเต" (saté) หรือ "ซาไท" (satai) ทั้งสองอย่างอาจจะมีที่มาจากภาษาทมิฬ สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยร้านขายหมูสะเต๊ะร้านแรกในประเทศไทย คือ ร้านจึงอังลัก ย่านเยาวราช ข้างโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี ปัจจุบันได้ย้ายร้านไปที่ย่านถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน.

ใหม่!!: อาจาดและสะเต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

สับปะรด

ับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล แต่ละท้องถิ่นเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไปเช่น.

ใหม่!!: อาจาดและสับปะรด · ดูเพิ่มเติม »

หอมแดง

หอมแดง เป็นพืชในวงศ์ Alliaceae โดยยึดเอา French grey challot หรือ griselle เป็นหอมที่แท้จริง จัดอยู่ในสปีชีย์นี้ มีการเพาะปลูกในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนความหลากหลายอื่นที่มีคือ Allium cepa var.

ใหม่!!: อาจาดและหอมแดง · ดูเพิ่มเติม »

หน่อไม้

หน่อไม้ เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของไผ่ที่รับประทานได้ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมรับประทานในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีการปรุงที่หลากหล.

ใหม่!!: อาจาดและหน่อไม้ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารมาเลเซีย

มะตะบะที่ขายริมถนนในมาเลเซีย อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก อิทธิพลหลักมาจากชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากชาวเปอรานากันและยูเรเซีย ชาวโอรังอัสลี และชนเผ่าต่าง ๆ ในซาราวะก์และซาบะฮ์ อาหารมาเลเซียจึงมีความหลากหลายมากโดยรวมทั้งการปรุงอาหารของมลายู จีน อินเดีย อินโดนีเซียโดยเฉพาะในเกาะบอร์เนียว และได้รับอิทธิพลในส่วนน้อยมาจากไทย โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ ทำให้อาหารมาเลเซียมีความหลากหลายทั้งรสชาติ วิธีการ และมีความซับซ้อนมาก.

ใหม่!!: อาจาดและอาหารมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารอินโดนีเซีย

ตัวอย่างของอาหารซุนดาหนึ่งมื้อ; ''อีกันบาการ์'' (ปลาย่าง), ''นาซีติมเบ็ล'' (ข้าวห่อใบตอง), ''อายัมโกเร็ง'' (ไก่ทอด), ''ซัมบัล'', ''เต็มเปทอด'' และเต้าหู้, และ ''ซายูร์อาเซ็ม''; ชามใส่น้ำและมะนาวคือโกโบกันใช้ล้างมือ สะเต๊ะในอินโดนีเซีย อาหารอินโดนีเซีย (Masakan Indonesia) เป็นอาหารทีมีความหลากหลายทางด้านรูปลักษณ์และสีสันเพราะประกอบด้วยประชากรจากเกาะต่าง ๆ ที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะจากทั้งหมด 18,000 เก.

ใหม่!!: อาจาดและอาหารอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารไทย

ต้มยำกุ้ง อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดยซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1.

ใหม่!!: อาจาดและอาหารไทย · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว.

ใหม่!!: อาจาดและผักบุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ผักชี

ใบผักชี ผลแห้งของผักชีที่มักเรียกว่าเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศ ผักชี, ผักชีลา หรือ ผักหอมป้อม เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Apiaceae ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก.

ใหม่!!: อาจาดและผักชี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: อาจาดและจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วฝักยาว

มล็ดถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาว (subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลา) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า vali, Borboti ในรัฐกัว อินเดีย เรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว.

ใหม่!!: อาจาดและถั่วฝักยาว · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วลันเตา

''Pisum sativum'' ถั่วลันเตา จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น.

ใหม่!!: อาจาดและถั่วลันเตา · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วลิสง

ั่วลิสง หรือ ถั่วดิน จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว.

ใหม่!!: อาจาดและถั่วลิสง · ดูเพิ่มเติม »

ขิง

ง เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม.

ใหม่!!: อาจาดและขิง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปัง

นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.

ใหม่!!: อาจาดและขนมปัง · ดูเพิ่มเติม »

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง เป็นไม้ผลในวงศ์ Oxalidaceae เป็นพืชเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล ในประเทศไทยเชื่อว่านำเข้ามาจากอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยมปลูกทั่วไป นอกจากนี้ผลยังสามารถใช้บริโภค ตะลิงปลิงเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ผลมะเฟืองมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง.

ใหม่!!: อาจาดและตะลิงปลิง · ดูเพิ่มเติม »

ตะไคร้

ตะไคร้; ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้ว.

ใหม่!!: อาจาดและตะไคร้ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำส้มสายชู

Balsamic vinegar น้ำส้มสายชูแดงและขาว น้ำส้มสายชูที่บรรจุขวดรวมกับเครื่องเทศและสมุนไพร น้ำส้มสายชู เป็นของเหลวที่ได้จากกระบวนการหมัก มีองค์ประกอบหลักคือกรดน้ำส้ม (กรดอะซิติก) น้ำส้มสายชูทั่วไปมีความเข้มข้นของกรดตั้งแต่ 4% ถึง 8% โดยปริมาณ และอาจสูงถึง 18% สำหรับ pickling.

ใหม่!!: อาจาดและน้ำส้มสายชู · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: อาจาดและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

แกงกะหรี่

แกงกะหรี่ผักนานาชนิดในอินเดีย แกงกะหรี่เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลจากแกงแบบมัสล่าหรือแกงกุรุหม่าของอินเดียใต้ ซึ่งมีน้ำมากกว่าแกงกุรุหม่าทางอินเดียเหนือ เครื่องเทศหลักที่ใช้ในแกงกะหรี่แบบอินเดีย-ปากีสถาน ได้แก่ ลูกผักชี ยี่หร่า พริกป่นอินเดีย พริกไทยป่น ขมิ้น ลูกกระวานเทศ กานพลู อบเชย นิยมโรยหน้าด้วยใบสำมาหลุย ถ้าเป็นกะหรี่ไก่เพิ่มลูกซัด แกงกะหรี่ปูเพิ่มโป๊ยกั้ก.

ใหม่!!: อาจาดและแกงกะหรี่ · ดูเพิ่มเติม »

แกงเผ็ด

แกงเผ็ด หรืออาจเรียกว่า แกงแดง ก็ได้ เพราะพริกแกงทำจากพริกแดงเป็นหลัก โดยจะมีส่วนผสมของกะทิเป็นหลักในการแกง นิยมที่จะแกงกับเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ดหรือกุ้ง หรือเต้าหู้สำหรับผู้เป็นมังสวิรัติและใส่หน่อไม้ มะเขือเปาะ ใบโหระพา เป็นหนึ่งในแกงยอดนิยมของคนไท.

ใหม่!!: อาจาดและแกงเผ็ด · ดูเพิ่มเติม »

แคร์รอต

''Daucus carota subsp. maximus'' แคร์รอต (carrot) เป็นพืชกินหัวชนิดหนึ่ง มีลักษณะยาว หัวแคร์รอตมีหลายสี เช่น เหลือง ม่วง ส้ม แต่ที่นิยมรับประทานในปัจจุบันคือสีส้ม แคร์รอตเป็นพืชแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าแท่งดินสอ หรือที่เรียกว่าเบบีแคร์รอต (baby carrot) ไปจนถึงขนาดใหญ.

ใหม่!!: อาจาดและแคร์รอต · ดูเพิ่มเติม »

แตงกวา

แตงกวา หรือ แตงร้านhttp://frynn.com/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2/ เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (วงศ์เดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง.

ใหม่!!: อาจาดและแตงกวา · ดูเพิ่มเติม »

โรตี

ผุลกา โรตีแบบกรอบ โรตี เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง นวดแล้วนำไปทอดหรือปิ้งเป็นแผ่นบางๆ รับประทานเป็นของหวาน หรือรับประทานพร้อมอาหารคาวอื่นๆ ก็ได้ ในประเทศไทยมักจะคุ้นกับโรตีที่ทอดเป็นแผ่นนุ่ม ราดด้วยนมข้นและน้ำตาลทราย เป็นของหวาน คำว่า โรตี เป็นคำศัพท์ที่พบได้ในหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฮินดี, อุรดู, ปัญจาบี, โซมาลี, อินโดนีเซีย และ มลายู ซึ่งล้วนแต่มีความหมายว่า ขนมปัง.

ใหม่!!: อาจาดและโรตี · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ

กลือ เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง หลักฐานการทำเกลือยุคแรกที่สุดย้อนไปถึง 6,000 ปีที่แล้ว เมื่อคนที่อาศัยในประเทศโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ การทำนาเกลือในจีนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีราคาสูง เกลือกลายเป็นวัตถุสำคัญและขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางทางเกลือที่สร้างขึ้นเฉพาะ และผ่านทะเลทรายซาฮาราในคาราวานอูฐ ความขาดแคลนและความต้องการเกลือทั่วโลกนำไปสู่สงครามชิงเกลือ และใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เกลือผลิตจากเหมืองเกลือ หรือจากการระเหยน้ำทะเล หรือน้ำซับที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในบ่อตื้น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักของเกลือคือโซดาไฟ และคลอรีน และใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์ พลาสติก เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากการผลิตเกลือปริมาณสองล้านตันต่อปี มีเพียง 6% ที่ให้มนุษย์บริโภค ส่วนอื่น ๆ ใช้ในการปรับสภาวะของน้ำ กำจัดน้ำแข็งบนถนน และใช้ในการเกษตร เกลือที่กินได้มีขายในหลายรูปแบบ เช่น เกลือสมุทรและเกลือโต๊ะปกติจะบรรจุสารป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน และอาจเสริมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะพร่องไอโอดีน นอกจากจะใช้ปรุงอาหารและวางบนโต๊ะแล้ว เกลือยังพบได้ในอาหารแปรรูปจำนวนมาก อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 5 กรัมต่อวัน.

ใหม่!!: อาจาดและเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดหูหนู

ห็ดหูหนู อยู่ในวงศ์ Auriculariaceae ดอกเห็ดเป็นวุ้นทรงถ้วย รูปร่างคล้ายหูไม่แน่นอน ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอมเหลือง แดง หรือเทา มีขนเล็กๆ ผิวด้านในสีอ่อนกว่า ไม่มีขน มีรอยหยักย่นออกจากโคนไปถึงปลาย สปอร์รูปรี ใส ผิวเรียบ เป็นเห็ดที่รับประทานได้.

ใหม่!!: อาจาดและเห็ดหูหนู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

น้ำอาจาดน้ำจิ้มอาจาด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »