สารบัญ
กะทิ
กะทิ กะทิ เป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม ได้มาจากการคั้นน้ำจากเนื้อมะพร้าวแก่ สีและรสชาติที่เข้มข้นของกะทิมาจากน้ำมันมะพร้าวและน้ำตาลมะพร้าวที่อยู่ในเนื้อมะพร้าว โดยมีรสชาติมันและหวาน.
ฤดูหนาว
ฤดูหนาว (ฝรั่งเศส: hiver; เยอรมัน อังกฤษ: winter; สเปน: invierno; โปรตุเกส: inverno) เป็นฤดูที่มีอากาศหนาวที่สุดในปี ฤดูหนาวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนือ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 22 มีนาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป อากาศจะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิจะลดลงได้บ้างเป็นครั้งคราวและจะมีฝนตกตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงนราธิวาส หนาว หมวดหมู่:ฤดูหนาว.
ถั่วดำ
ั่วดำ เป็นพืชล้มลุก มีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแห้งแตก เปลือกหุ้มเมล็ดเป็นสีดำ มีสารพวกแอนโทไซยานิน ใช้แต่งสีขนม โดยต้มเคี่ยวกับน้ำหรือบดผสมกับแป้ง ในทางสมุนไพร มีรสหวาน บำรุงเลือด ขับของเหลวในร่างกาย ขับลม ขจัดพิษ บำรุงไต ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน บำรุงสายตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการบวมน้ำ เหน็บชา ดีซ่าน ไตเสื่อม ปวดเอว มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคโรทีน ไนอะซิน วิตามินบี 1 และบี 2 และสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้เล็ก.
ข้าวเหนียว
้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียว (Glutinous rice; var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ(คนเหนือเรียกว่า"ข้าวก่ำ") แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี"(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน.
ไผ่
ผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า (วงศ์ Poaceae; เดิมคือวงศ์ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B.
เลอมัง
ลอมัง (Lemang) เป็นข้าวหลามแบบท้องถิ่นของอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ ทำจากข้าวเหนียว กะทิ และเกลือ ปรุงในกระบอกไม้ไผ่ ปิดจุกด้วยใบตอง การปรุงอาหารในกระบอกไม้ไผ่นี้ เป็นที่นิยมในหมู่ชาวอีบันบนเกาะบอร์เนียว นิยมใช้ในงานฉลอง เช่น เทศกาลเก็บเกี่ยวของอีบัน และชาวกาไวดยัก นิยมกินกับแกงไก่ วิธีการปรุงเลอมังนี้เรียกว่าปันโซะห์หรือปันซุห์ โดยนำไปย่างบนไฟอ่อนๆ เปิดจุกออก หมุนกระบอกไปมาบ้าง ใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง เลอมังเป็นที่นิยมในหมู่ชาวอินโดนีเซีย มินังกาเบา และอีบันในบอร์เนียว เลอมังมักพบได้ทั่วไปในอินโดนีเซียที่มีชาวมินังกาเบาอาศัยอยู่ วิธีผ่ากระบอกข้าวหลามเพื่อรับประทานข้าวข้างใน เลอมังนิยมรับประทานในช่วงเย็นในเทศกาลอีดุลฟิตรีและอีดุลอัดฮาสำหรับชาวมุสลิมอินโดนีเซีย ชาวโอรังอัสลีในคาบสมุทรมลายูหุงข้าวในกระบอกไม้ไผ่และรับประทานเลอมังเช่นเดียวกัน.