โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ติ่มซำ

ดัชนี ติ่มซำ

ติ่มซำ (Dimsum; 點心 สำเนียงกวางตุ้งแปลว่า ตามใจ, ตามสั่ง) เป็นอาหารว่างหรืออาหารเรียกน้ำย่อยของจีน นิยมรับประทานกับน้ำชา (หยำฉ่า 飲茶 ว่า ดื่มน้ำชา เสิร์ฟพร้อมติ่มซำ) ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เป็นคำเรียกรวมอาหารหลายอย่าง มักเป็นอาหารจำพวกปรุงด้วยการนึ่ง เช่น ขนมจีบ, ซาลาเปา, ฮะเก๋า, เกี๊ยวซ่า เป็นต้น บรรจุในภาชนะขนาดเล็ก เช่น เข่งไม้ไผ่ หรือจานใบเล็ก ในร้านอาหารจีนบางร้านนึ่งติ่มซำไว้บนเตารอลูกค้าสั่ง บางร้านใส่รถเข็นหรือใส่ตะกร้าคล้องคอ ให้พนักงานนำไปเสนอลูกค้าในร้าน ขณะที่กำลังรออาหารอื่น นอกจากนั้นอาหารทอดบางอย่างก็อาจรวมอยู่ในเมนูติ่มชำด้วย ในประเทศไทย จังหวัดที่ขึ้นชื่อทางด้านติ่มซำ คือ จังหวัดตรัง ตามร้านกาแฟยามเช้า จะขายกาแฟหรือชาพร้อมกับติ่มซำหลากหลายชนิด หรือรับประทานคู่กับหมูหัน โดยมากแล้ว ติ่มซำจำพวกขนมจีบหรือฮะเก๋า จะรับประทานโดยจิ้มกับซอสเปรี้่ยว หรือจิ๊กโฉ่ว แต่ที่จังหวัดตรัง จะเป็นซอสลักษณะสีแดงขุ่น มีรสชาติหวาน ทำมาจากมันเทศ ถั่วลิสงต้มสุก ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้ม และเกลือ เรียกว่า "ค้อมเจือง" หรือ "น้ำส้มเจือง" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "กำเจือง" สันนิษฐานว่าที่มาจากซอสมะเขือเทศของฝรั่ง.

20 ความสัมพันธ์: ชาชาวจีนกาแฟฝั่นโก๋ภาษาจีนกวางตุ้งหมั่นโถวหมูหันอาหารว่างฮะเก๋าจังหวัดจังหวัดตรังขนมกุยช่ายขนมผักกาดซอสมะเขือเทศซาลาเปาประเทศไทยโชคดีติ่มซำโจ๊กเกี๊ยวเสี่ยวหลงเปา

ชา

ใบชาเขียวในถ้วยชาจีน ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ ชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: ติ่มซำและชา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ติ่มซำและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟ

กาแฟดำ ซึ่งบรรจุในถ้วย กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก ต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เป็นที่เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบเป็นครั้งแรกใน เยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ถูกพบในวิหาร ซูฟี ในเยเมน แถบอาระเบีย จาก โลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป อินโดนีเซีย และทวีปอเมริกา ในระหว่างที่กาแฟเริ่มเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกีไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิตาลีและออสเตรีย กาแฟได้แพร่ขยายไปยังส่วนที่เหลือของทวีปยุโรป กาแฟได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมหลายแห่งตลอดประวัติศาสตร์ ในแอฟริกาและเยเมน มันถูกใช้ร่วมกับพิธีกรรมทางศาสนา ผลที่ตามมาคือ ศาสนจักรเอธิโอเปีย ได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟตลอดกาล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ จักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 มันยังได้ถูกห้ามใน จักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากสาเหตุทางการเมือง และมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป ผลกาแฟ ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กใน จีนัส Coffea หลายสปีชีส์ โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ "โรบัสต้า" ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวม นำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้น เมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ กาแฟสามารถตระเตรียมและนำเสนอได้ในหลายวิธี กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก โดยในปี คริสต์ศักราช 2004 กาแฟเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ และเป็นพืชที่มีการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปี คริสต์ศักราช 2005 กาแฟได้รับการโต้เถียงบางส่วนในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน.

ใหม่!!: ติ่มซำและกาแฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฝั่นโก๋

ฝั่นโก๋ (Fun guo 粉粿 พินอิน: fěn guǒ ความหมาย "ขนมแป้ง" หรือ Chaozhou fun guo) เป็นอาหารจีนประเภทติ่มซำชนิดหนึ่ง แป้งทำจากแป้งตังหมิ่นผสมแป้งมันเช่นเดียวกับฮะเก๋า แต่แป้งบางกว่า และปั้นเป็นทรงพระจันทร์เสี้ยว ไส้เป็นหมูสับผสมผัก ถ้าเป็นฝั่นโก๋แต้จิ๋ว ไส้จะเป็นผักกาดดองผสมหน่อไม้.

ใหม่!!: ติ่มซำและฝั่นโก๋ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกวางตุ้ง

ษาจีนกวางตุ้ง (ชาวจีนเรียกว่า 粵 เยฺว่ Yuè หรือ ยฺหวืด Jyut6) เป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณมณฑลแถบตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และยังใช้มากในหมู่ของชาวจีนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเหล่าชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกที่อพยพไปจากมณฑลกวางตุ้งอีกด้วย โดยที่สำเนียงกวางเจาจัดเป็นสำเนียงกลางของภาษาจีนกวางตุ้ง มีผู้พูดทั่วโลกราวๆ 71 ล้านคน ซึ่งภาษากวางตุ้งจัดได้ว่าเป็นภาษาถิ่นอันดับหนึ่งของจีนที่คนพูดมากที่สุด และเป็นภาษาที่ใช้ทางการเป็นอันดับสอง รองลงมาจากภาษาจีนกลางที่เป็นภาษาราชการหลักของประเท.

ใหม่!!: ติ่มซำและภาษาจีนกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

หมั่นโถว

หมั่นโถวสีขาว หมั่นโถว เป็นซาลาเปาที่ไม่มีไส้.

ใหม่!!: ติ่มซำและหมั่นโถว · ดูเพิ่มเติม »

หมูหัน

หมูหัน เป็นเมนูอาหารจีนชนิดหนึ่งที่มีต้นตำหรับมาจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีน ซึ่งหมูที่ทำหมูหันจะเป็นลูกหมูเพิ่งหย่านม มีขนาดเพียง 2-3 เดือน ส่วนวิธีการทำหมูหันต้องผ่าท้องเพื่อเอาเครื่องในออกให้หมดจึงจะนำมาปรุงรสชาติก่อนที่จะนำไปย่างหมดเตาถ่านร้อน ๆ แล้ว เพื่อทำให้หนังกรอบ นอกจากในจีนแล้ว ยังมีในสเปน โปรตุเกส เวียดนามและฟิลิปปินส์ที่มีอาหารที่ทำจากการย่างลูกหมูทั้งตัวคล้ายๆกัน หมวดหมู่:อาหารจีน หมวดหมู่:อาหารประเภทเนื้อหมู หมวดหมู่:อาหารประเภทปิ้งย่าง.

ใหม่!!: ติ่มซำและหมูหัน · ดูเพิ่มเติม »

อาหารว่าง

อาหารว่างหรือของว่าง (snack food หรือ snack) ในสายตาของชาวตะวันตกคือประเภทของอาหารที่ไม่ได้บริโภคเป็นอาหารหลักในแต่ละวัน อาหารว่างมีหน้าที่เพียงแต่บรรเทาความหิวได้ชั่วคราวเท่านั้น ให้พลังงานแก่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วหรือเป็นสิ่งที่รับประทานเพื่อความสุขเท่านั้น อาหารว่างออกแบบมาให้ทนต่อสภาพอากาศและมีหน้าตาน่ารับประทานกว่าอาหารตามธรรมชาติทั่วไป มักมีส่วนประกอบของสารให้ความหวาน สารกันบูดในจำนวนมาก รวมไปถึงส่วนผสมเย้ายวนผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นช็อกโกแลต ถั่วลิสง และสารปรุงแต่งรสชาติ (เช่นรสชาติของมันฝรั่งทอดกรอบ) อาหารที่ผลิตขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้ในขั้นต้นจะถูกมองว่าเป็นอาหารขยะ (junk food) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สุขภาพ ในแต่ละปี อุตสาหกรรมอาหารว่างในบางประเภทเช่นสหรัฐอเมริกาทำรายได้หนึ่งร้อยล้านดอลลาร์ ตลาดของอาหารจำพวกนี้กว้าง หลายบริษัทต้องการเป็นหุ้นส่วนของตลาดอาหารว่างนี้ ผลที่ตามมาก็คือการจัดรายการที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าจำพวกนี้ โฆษณาของอาหารกินเล่นมีมากกว่าโฆษณาของอาหารปกติ (เช่นผลไม้ ผัก เนื้อหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม) และโฆษณาในโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะมุ่งขายอาหารประเภทนี้ หลังจากที่ความตระหนักถึงคุณค่าทางอาหาร อาหารที่รับประทานเข้าไป การลดหรือคุมน้ำหนัก และสุขภาพเริ่มมีมากขึ้น หลายคนจึงเริ่มหันมาบริโภคเพื่อสุขภาพ และเลือกอาหารว่างที่มีเป็นของธรรมชาติเช่นผลไม้ (สดหรืออบแห้ง) ผัก (แท่งแครอต) ถั่วและธัญพื.

ใหม่!!: ติ่มซำและอาหารว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ฮะเก๋า

ก๋า (Ha gow; 蝦餃; พินอิน: xiā jiǎo; ความหมาย: "เกี๊ยวกุ้ง") เป็นอาหารว่างประเภทติ่มซำของจีนHsiung, Deh-Ta.

ใหม่!!: ติ่มซำและฮะเก๋า · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัด

ังหวัด หรือมณฑล (province) คือชื่อเรียกหน่วยการปกครองระดับหนึ่ง โดยปกติจะเป็นระดับใหญ่ที่สุดในประเทศ หรือรัฐ (ลำดับแรกในการแบ่งการปกครอง) คำว่าจังหวัดใช้เรียก province ในประเทศไทย ส่วนมณฑลใช้กับบางประเทศ เช่น มณฑลยูนนาน (Yunnan Province) ในประเทศจีน หรือ.

ใหม่!!: ติ่มซำและจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตรัง

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้.

ใหม่!!: ติ่มซำและจังหวัดตรัง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมกุยช่าย

นมกุยช่าย (韭菜粿; แต้จิ๋ว: กุยไช่ก้วย; จีนกลาง: โจ่วไชกั่ว) หรือที่เขตอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรีเรียก ช่วยปั้น เป็นขนมประเภทก้วยของชาวจีนแต้จิ๋วชนิดหนึ่ง ตัวแป้งทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ไส้ทำจากกุยช่ายเขียว กุยไช่ก้วยของชาวจีนแต้จิ๋วจะหมายถึงชนิดที่ไส้ทำจากกุยช่ายเท่านั้น ส่วนในไทย ขนมกุยช่ายที่ทำจากแป้งอย่างเดียวกันแต่เปลี่ยนไส้เป็นแบบอื่น เช่น ไส้เผือก ไส้หน่อไม้ ไส้มันแกว ล้วนเรียกว่าขนมกุยช่ายก.

ใหม่!!: ติ่มซำและขนมกุยช่าย · ดูเพิ่มเติม »

ขนมผักกาด

นมผักกาดเป็นอาหารจำพวกติ่มซำที่พบบ่อยมากในภัตตาคารอาหารกวางตุ้ง ในขณะเดียวกันยังเป็นอาหารที่คนกวางตุ้งต้องกินในช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ ขนมผักกาดยังได้รับความนิยมในไต้หวัน สิงคโปร์ และเมืองบางเมืองในประเทศมาเลเซีย คนจีนโพ้นทะเลในบริเวณนั้นอาจจะเรียกขนมผักกาดว่า 菜頭粿 (Chai tow kway หรือแปลเป็น:Fried Radish cake) ในประเทศไทยใช้คำว่า "ไชเท้าก้วย" ชาวฮกเกี้ยนในภูเก็ตเรียกว่า ฉ่ายเท่าโก้ย ตามปกติวิธีการทำขนมผักกาดจะเริ่มต้นจากการสับผักกาดเป็นชิ้นๆ แล้วเติมแป้งสาลี แป้งข้าวโพด จากนั้นค่อยตามด้วยเห็ดและข้าวเหนียว ไส้กรอก หรือหมูสับจากนั้นนึ่งจนเสร็.

ใหม่!!: ติ่มซำและขนมผักกาด · ดูเพิ่มเติม »

ซอสมะเขือเทศ

ซอสมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ คือซอสที่ทำจากมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบหลัก ใช้สำหรับเติมรสเปรี้ยวอมหวานให้กับอาหาร ซอสมะเขือเทศปลอม คือ ซอสไม่ได้ทำมาจากมะเขือเทศจริง หรือมีมะเขือเทศเป็นเพียงส่วนประกอบรองเท่านั้น อีกทั้งยังแต่งกลิ่นเพิ่มเติม ซอสมะเขือเทศปลอมมักทำมาจากมะละกอเป็นส่วนหลัก มะละกอเป็นผลไม้ที่กินได้ไม่เป็นอันตราย ในประเทศไทยมีการใช้มะละกอในอุตสาหกรรมการทำซอสมะเขือเทศและซอสพริก ซอสมะเขือเทศโดยทั่วไปตามท้องตลาดในประเทศไทยไม่ระบุถึงมะละกอในส่วนประกอบสำคัญบนฉลาก แต่ยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของซอสมะเขือเทศเหมือนเช่นน้ำปลา ทำให้จำนวนมะเขือเทศที่ใช้มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละยี่ห้อ ในสหรัฐอเมริกาได้บังคับใช้กฎหมายว่า ต้องมีส่วนประสมของมะเขือเทศอย่างน้อย 50 % และต้องเป็นส่วนประสมหลัก จึงจะใช้ชื่อว่าเป็นซอสมะเขือเทศได้ มิเช่นนั้นผู้ผลิตจะมีโทษที่กฎหมายระบุไว้ ถือว่าเป็นซอสปลอม เป็นต้น.

ใหม่!!: ติ่มซำและซอสมะเขือเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาเปา

ซาลาเปา ซาลาเปา (包子, เปาจื่อ; 燒包 ความหมาย "ห่อเผา") พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม" ซาลาเปาเป็นอาหารจีนชนิดหนึ่งทำมาจากแป้งสาลีและยีสต์ และนำมาผ่านขบวนการนึ่ง ซาลาเปาจะมีไส้อยู่ภายในโดยอาจจะเป็นเนื้อหรือผัก ซาลาเปาที่นิยมนำมารับประทานได้แก่ ซาลาเปาไส้หมู และ ซาลาเปาไส้ครีม สำหรับอาหารที่มีลักษณะคล้ายซาลาเปา ที่ไม่มีไส้จะเรียกว่า หมั่นโถว ซาลาเปาเชื่อว่าถือกำเนิดขึ้นมาในยุคราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960–1279) ซาลาเปาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในชุดอาหารติ่มซำในวัฒนธรรมจีน ซาลาเปาสามารถนำมารับประทานได้ในทุกมื้ออาหาร ที่ฟิลิปปินส์ก็นิยมรับประทานซาลาเปาเช่นเดียวกัน โดยเรียกว่า "ซัวเปา" (Siopao).

ใหม่!!: ติ่มซำและซาลาเปา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ติ่มซำและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โชคดีติ่มซำ

ีติ่มซำ เป็นร้านอาหารประเภทติ่มซำ อย่าง ขนมจีบ ฮะเก๋า ซาลาเปา ปอเปี๊ยะทอด หรือก๋วยเตี๋ยวหลอด เปิดสาขาแรกที่ สาขาบรรทัดทอง (จุฬา ซอย 12) ในปี 2543 และหลังจากนั้นได้รับการตอบรับ ไม่ว่าจากทั้งลูกค้าชาวจีน กลุ่มครอบครัว วัยรุ่น นักศึกษา และคนทำงาน อีกทั้งได้หาลู่ทางขยายสาขาซึ่งในขณะนั้นภาครัฐโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้สนับสนุนผู้ประกอบการให้ขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ จากนั้นก็ได้ขยายสาขา ในปี 2549 มี 17 สาขา เป็นสาขาที่ดำเนินการเอง 8 สาขาและสาขาแฟรนไชส์ 9 สาขา และมีสาขาที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงอยู่ 2 สาขาคือ ในสาขาบรรทัดทอง และสาขาสีลม.

ใหม่!!: ติ่มซำและโชคดีติ่มซำ · ดูเพิ่มเติม »

โจ๊ก

ก เป็นข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ นิยมรับประทานกันในหลายประเทศในเอเชีย ในบางวัฒนธรรมจะรับประทานโจ๊กเป็นอาหารเช้าหรืออาหารมื้อค่ำแทนอาหารหลักในบางมื้อ ส่วนเทศกาลวันตรุษจีนจะมีข้อห้ามกินโจ๊กเพราะการกินโจ๊กวันตรุษจีนเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวยเนื่องจากคนจนจะนิยมกินโจ๊ก โจ๊กยังสามารถทำได้ในหม้อธรรมดาหรือหม้อหุงข้าว คำว่า congee ในภาษาอังกฤษน่าจะมีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำในภาษาดราวิเดียน คำว่า kanji และเว็บสเตอร์ดิกชันนารี ระบุว่าคำว่า Congee มาจากอินเดีย ส่วนคำว่า โจ๊ก ในภาษาไทย เลียนเสียงมาจากภาษาจีนกวางตุ้ง จุ๊ก (粥 dzuk7) บ้างก็ว่ามาจากคำว่า ล่าปาเจี๋ย (腊八节) ซึ่งแปลว่า "เทศกาลลาป่า" อันเป็นประเพณีตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่ยุคสามราชาห้าจักรพรรดิ (2852 ก่อนคริสตกาล ถึง 2070 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นการล่าสัตว์เพื่อบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า ตามคติของพุทธศาสนาแบบมหายานของจีน เล่าว่า เจ้าชายสิทธัตถะขณะกำลังบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งสลบไป หญิงเลี้ยงวัวคนหนึ่งมาพบเข้าได้นำอาหารที่ติดตัวมาผสมกับนมวัวรวมกับผลไม้ป่าหลายชนิดป้อนให้เจ้าชายสิทธัตถะให้รับประทานจนกระทั่งฟื้นคืนสติ และได้ตรัสรู้ในคืนนั้นสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจีน ในยุคราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644) เล่ากันว่าจูหยวนจาง ปฐมจักรพรรดิขณะยังมีสถานะเป็นสามัญชน เป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่แร้นแค้นมาก วันหนึ่งได้ขุดรูหนูเพื่อจับหนูกิน แต่ได้ไปพบข้าวฟ่างและธัญพืชหลายชนิด จึงนำมาต้มรวมกัน เรียกว่า ล่าปาโจว (腊八粥; แปลว่า ข้าวต้มล่าปา) ในประเทศไทยบางพื้นที่ออกเสียงคำว่า "โจว" (节) เพี้ยนเป็น "โจ๊ก" จนกลายมาเป็นโจ๊กดังในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ติ่มซำและโจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เกี๊ยว

กี๊ยว (wonton wantan wanton หรือ wuntun) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียก húntun เป็นอาหารว่างแบบหนึ่งของจีน.

ใหม่!!: ติ่มซำและเกี๊ยว · ดูเพิ่มเติม »

เสี่ยวหลงเปา

ี่ยวหลงเปา (Xiaolongbao; จีนตัวเต็ม: 小籠包; จีนตัวย่อ: 小笼包) เป็นติ่มซำแบบหนึ่งของจีน แปลตรงตัวว่าซาลาเปาในเข่งเล็ก เป็นอาหารเซี่ยงไฮ้ที่ได้รับความนิยมมากทางตอนใต้ของจีน มีต้นกำเนิดในสมัยซ่งเหนือ โดยแต่เดิมเป็นซาลาเปาลูกใหญ่ มีน้ำซุปอยู่ข้างใน เรียกทางเปา เมื่อราชสำนักซ่งเหนืออพยพหนีชนเผ่าจินลงใต้ ย้ายเมืองหลวงจากเมืองไคฟงมาเมืองหางโจว ทางเปาก็เป็นที่นิยมในหางโจว และปรับรูปแบบให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นเสี่ยวหลงเปาในปัจจุบัน เสี่ยวหลงเปาทำจากแป้งขนมปังผสมกับแป้งสาลีอเนกประสงค์ ไม่ใส่ผงฟูหรือยีสต์ ไส้เป็นหมูสับมีน้ำซุปอยู่ข้างใน ซึ่งมาจากการใส่วุ้นที่มาจากการเคี่ยวหนังหมู หนังไก่ แล้วพักให้เย็นจนแข็งตัวเป็นวุ้น ตักวุ้นนี้วางบนไส้หมู แล้วห่อด้วยแป้ง จับจีบให้ได้ 18 จีบ เมื่อนึ่งสุกวุ้นจะละลาย กลายเป็นน้ำซุปอยู่ข้างใน.

ใหม่!!: ติ่มซำและเสี่ยวหลงเปา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ติ๋มซำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »