โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สำเนียงตากใบ

ดัชนี สำเนียงตากใบ

ษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มหนึ่ง ที่พูดกันมากตั้งแต่อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรีของจังหวัดปัตตานี ลงไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวมถึงในเขตอำเภออื่นๆ ของจังหวัดนราธิวาสด้วย นอกจากนี้ ภาษาเจ๊ะเห ยังใช้พูดกันในกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันของมาเลเซียด้วย ถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ มีการคำที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปค่อนข้างมากคำพูดและสำเนียงภาษาได้สร้างความพิศวงแก่ชาวใต้ด้วยกันเองรวมไปถึงชาวไทยกลุ่มอื่นด้วย คือสำเนียงพูดเสียงชาวใต้ผสมกับภาษากับภาษาไทยถิ่นเหนือ เช่นถ้าชาวตากใบถามว่ามาทำไม เขาจะพูดว่า ”มาเญิใด๋” ปลายประโยคทอดเสียงยาวว่า “มาเญียด้าย” อนึ่งสำเนียงตากใบมีลักษณะสำเนียงคล้ายกับกลุ่มภาษาไทยถิ่นตะวันออก (ภาษาไทยถิ่นจันทบุรี, ภาษาไทยถิ่นระยอง, เป็นต้น).

32 ความสัมพันธ์: ภาษามลายูภาษามลายูปัตตานีภาษาไทยถิ่นใต้ภาษาไทยถิ่นเหนือมาเลเซียเชื้อสายไทยรัฐกลันตันสำเนียงพิเทนสำเนียงสะกอมอำเภอบาเจาะอำเภอกะพ้ออำเภอมายออำเภอยี่งออำเภอระแงะอำเภอรือเสาะอำเภอศรีสาครอำเภอสายบุรีอำเภอสุคิรินอำเภอสุไหงปาดีอำเภอจะนะอำเภอจะแนะอำเภอทุ่งยางแดงอำเภอตากใบอำเภอปะนาเระอำเภอแว้งอำเภอไม้แก่นอำเภอเมืองนราธิวาสอำเภอเจาะไอร้องจังหวัดสุโขทัยจังหวัดสงขลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดนราธิวาสประเทศมาเลเซีย

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูปัตตานี

ษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมเป็นภาษาเดียวกันว่า "ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี".

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและภาษามลายูปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียเชื้อสายไทย

วมาเลเซียเชื้อสายไทย หรือ ชาวสยาม (นิยมเรียกในมาเลเซีย) เป็นชาวไทยถิ่นใต้ที่อาศัยอยู่พื้นที่แถบนี้มาช้านาน โดยการเข้ามาเรื่อย ๆ พอนานเข้าก็กลายเป็นชนกลุ่มหนึ่งในรัฐไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ทางตอนเหนือของรัฐเประก์ และมีจำนวนหนึ่งอาศัยในปีนัง โดยบางส่วนได้ผสมกลมกลืนกับชนพื้นเมืองแถบนี้ด้วย ภายหลังการยกดินแดนส่วนนี้แก่อังกฤษ ชาวไทยกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งตกค้างในประเทศมาเลเซียจนถึงปัจจุบัน แต่ชาวไทยในประเทศมาเลเซียนี้ก็ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยในอดีตไว้ได้อย่างดี รวมถึงภาษา และศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกับชาวมลายูทั่วไป.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและมาเลเซียเชื้อสายไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกลันตัน

กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียงพิเทน

ำเนียงพิเทน เป็นภาษาไทยถิ่นย่อยถิ่นหนึ่ง ที่ใช้จำเพาะอยู่ในชาวไทยมุสลิมในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี มีลักษณะพิเศษคือเป็นภาษาไทยภาคกลางปนถิ่นใต้ มีการใช้คำราชาศัพท์ร่วมด้วย และยืมคำมลายูเสียมาก ปัจจุบันสำเนียงพิเทนกำลังสูญไปและแทนที่ด้วยภาษามลายูปัตตานี.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและสำเนียงพิเทน · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียงสะกอม

ษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอม เป็นภาษาไทยใต้กลุ่มหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากภาษาใต้อื่นๆ มีคำศัพท์ที่ได้รับอิทธพลมาจากภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษามลายูปัตตานี เป็นต้น ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอมมีใช้พูดสื่อสารกันในระหว่างสองตำบล ในสองอำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ และตำบลสะกอม อำเภอเทพา มีอาณาเขตตั้งแต่ออกจากตัวเมืองจะนะ 4 กิโลเมตร เรื่อยไปจนถึงชายฝั่งทะเลจรดตำบลปากบาง อำเภอเทพา ผู้พูดมีทั้ง ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธ และชาวไทยเชื้อสายจีน.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและสำเนียงสะกอม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบาเจาะ

อำเภอบาเจาะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอบาเจาะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกะพ้อ

กะพ้อ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอกะพ้อ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอมายอ

อำเภอมายอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอมายอ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอยี่งอ

อำเภอยี่งอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอยี่งอ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอระแงะ

อำเภอระแงะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอระแงะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอรือเสาะ

อำเภอรือเสาะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอรือเสาะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอศรีสาคร

อำเภอศรีสาคร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอศรีสาคร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสายบุรี

อำเภอสายบุรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ชาวไทยเชื้อสายมลายูจะเรียกว่า ตะลุแบ (تلوبن Taluban; Telubae) หรือในภาษามลายู-สันสกฤตเรียกว่า สลินดงบายู หรือ ซือลินดงบายู (سليندوڠ بايو. Selindung Bayu) แปลว่า ที่กำบังลมพายุ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง มีความหลากหลายทางด้านภาษ.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอสายบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสุคิริน

อำเภอสุคิริน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอสุคิริน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสุไหงปาดี

อำเภอสุไหงปาดี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอสุไหงปาดี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอจะนะ

นะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา และเป็นหนึ่งในสี่อำเภอจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไท.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอจะนะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอจะแนะ

อำเภอจะแนะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอจะแนะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งยางแดง

ทุ่งยางแดง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอทุ่งยางแดง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอตากใบ

ตากใบ เป็นอำเภอในจังหวัดนราธิวาสที่มีเขตแดนติดรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซี.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอตากใบ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปะนาเระ

อำเภอปะนาเระ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ประชากรแต่งกายตามแบบของประชากรมลายู มีประเพณี วัฒนธรรมตามแบบอิสลาม พูดภาษามลายูและภาษาถิ่นใต้เจ๊ะเห (ตากใบ).

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอปะนาเระ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแว้ง

อำเภอแว้ง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอแว้ง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอไม้แก่น

อำเภอไม้แก่น เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอไม้แก่น · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนราธิวาส

อำเภอเมืองนราธิวาส เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอเมืองนราธิวาส · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเจาะไอร้อง

อำเภอเจาะไอร้อง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและอำเภอเจาะไอร้อง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุโขทัย

ทัย (ᩈᩩᨠᩮ᩠ᨡᩣᨴᩱ᩠ᨿ, เดิมสะกดว่า ศุโขไทย) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ).

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและจังหวัดสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสงขลา

งขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและจังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปัตตานี

ปัตตานี เป็นจังหวัดในภาคใต้ ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขล.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและจังหวัดปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก.

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและจังหวัดนราธิวาส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: สำเนียงตากใบและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาตากใบภาษาเจ๊ะเห

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »