โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สำเนียงสะกอม

ดัชนี สำเนียงสะกอม

ษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอม เป็นภาษาไทยใต้กลุ่มหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากภาษาใต้อื่นๆ มีคำศัพท์ที่ได้รับอิทธพลมาจากภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษามลายูปัตตานี เป็นต้น ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอมมีใช้พูดสื่อสารกันในระหว่างสองตำบล ในสองอำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ และตำบลสะกอม อำเภอเทพา มีอาณาเขตตั้งแต่ออกจากตัวเมืองจะนะ 4 กิโลเมตร เรื่อยไปจนถึงชายฝั่งทะเลจรดตำบลปากบาง อำเภอเทพา ผู้พูดมีทั้ง ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธ และชาวไทยเชื้อสายจีน.

11 ความสัมพันธ์: ภาษามลายูภาษามลายูปัตตานีภาษาไทยถิ่นใต้มุสลิมสำเนียงพิเทนสำเนียงสงขลาอำเภอจะนะอำเภอเทพาจังหวัดสงขลาไทยสยามไทยเชื้อสายจีน

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูปัตตานี

ษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมเป็นภาษาเดียวกันว่า "ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี".

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและภาษามลายูปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียงพิเทน

ำเนียงพิเทน เป็นภาษาไทยถิ่นย่อยถิ่นหนึ่ง ที่ใช้จำเพาะอยู่ในชาวไทยมุสลิมในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี มีลักษณะพิเศษคือเป็นภาษาไทยภาคกลางปนถิ่นใต้ มีการใช้คำราชาศัพท์ร่วมด้วย และยืมคำมลายูเสียมาก ปัจจุบันสำเนียงพิเทนกำลังสูญไปและแทนที่ด้วยภาษามลายูปัตตานี.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและสำเนียงพิเทน · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียงสงขลา

ษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา เป็นภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มหนึ่งที่พูดกันมากในจังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ โดยมีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ ยังมีคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า, ก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไป เป็นต้น.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและสำเนียงสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอจะนะ

นะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา และเป็นหนึ่งในสี่อำเภอจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไท.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและอำเภอจะนะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเทพา

อำเภอเทพา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา และเป็นหนึ่งในสี่อำเภอจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไท.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและอำเภอเทพา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสงขลา

งขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและจังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ไทยเชื้อสายจีน

วไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมิ่นหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ.

ใหม่!!: สำเนียงสะกอมและไทยเชื้อสายจีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาสะกอม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »