โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพเหมือนผู้อุทิศ

ดัชนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ

“การชื่นชมของพระบุตร” ฌอง เฮย์ ผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางขวาและเป็นส่วนหนึ่งของของภาพ ภาพเหมือนผู้อุทิศ หรือ ภาพรวมผู้อุทิศ (donor portrait หรือ votive portrait) คือภาพเหมือนในจิตรกรรมหรืองานศิลปะแบบอื่นเช่นประติมากรรมที่แสดงภาพของเจ้าของภาพหรือผู้จ้างให้สร้างงานศิลปะชิ้นนั้นที่อาจจะรวมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้องของผู้จ้าง หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวกับผู้จ้างด้วย “ภาพรวมผู้อุทิศ” (votive portrait) มักจะภาพทั้งภาพที่รวมทั้งภาพหลักและผู้อุทิศที่อยู่ในภาพ แต่ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” (donor portrait) มักจะหมายถึงภาพเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผู้อุทิศเท่านั้น “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” เป็นที่นิยมกันในการสร้างศิลปะคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในงานจิตรกรรมจากยุคกลาง และยุคเรอเนสซองซ์ที่มักจะแสดงผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางด้านหน้าสองข้างของภาพ และบ่อยครั้งที่แม้แต่ในตอนปลายของยุคเรอเนสซองซ์ที่ผู้อุทิศโดยเฉพาะเมื่อแสดงทั้งครอบครัวจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเอกในภาพมากที่ขัดกับทฤษฎีการวาดทัศนมิติ เมื่อมาถึงยุคเรอเนสซองซ์ผู้อุทิศก็เริ่มมีความสำคัญขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญของภาพที่อาจจะเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ไปเลยก็ได้.

45 ความสัมพันธ์: บานพับภาพฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัวฟีลิปโป ลิปปีพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษภาพเหมือนมหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลามาซัชโชยัน ฟัน ไอก์ศิลปะคริสเตียนศิลปะเกี่ยวกับความตายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 1อันเดรอา มันเตญญาอาสนวิหารกลอสเตอร์ฮันส์ แม็มลิงฮือโค ฟัน เดอร์คุสฌ็อง ฟูแกจิตรกรรมฝาผนังจิตรกรรมประวัติศาสตร์จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกทัศนมิติงานกระจกสีงานโมเสกฉากประดับแท่นบูชาฉากแท่นบูชาวิลทันฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารีฉากแท่นบูชาเกนต์ฉากแท่นบูชาเมรอดปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกานักบุญคริสโตเฟอร์แบล็กเดทแม่พระและพระกุมารแอนโทนีอธิการโบสถ์คริสต์โบสถ์น้อยตอร์นาบูโอนีโรเบิร์ต กัมปินโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดินโจวันนี เบลลีนีโดเมนีโก กีร์ลันดาโยเบนอซโซ กอซโซลีเมดีชีเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตีเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและบานพับภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัว

ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัว หรือ ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา หรือ 'ที่ 4' (Francesco II Gonzaga, Marquess of Mantua) (10 สิงหาคม ค.ศ. 1466 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1519) ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากาเป็นประมุขผู้ปกครองมานตัว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1484 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1466.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัว · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปโป ลิปปี

“แม่พระและพระกุมาร”ราว ค.ศ. 1440-1445พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา “ภาพเหมือนผู้ชายและผู้หญิงในห้อง” (Portrait of a Man and Woman at a Casement) ราว ค.ศ. 1440พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ภาพเหมือนกับลูกศิษย์ ฟีลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi) (ค.ศ. 1406 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1469) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฟีลิปโป ลิปปี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Charles VII de France; Charles VII of France) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1403- 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว ที่ได้รับการขนานพระนามว่า “le Victorieux” (ผู้พิชิต) หรือ “le Bien-Servi” (ผู้ได้รับการสนองพระบรมราชโองการเป็นอย่างดี) พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระองค์ได้รับการคัดค้านโดยฝ่ายอังกฤษที่ขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษที่นำโดยจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ที่ทำการปกครองฝรั่งเศสแทนพระเจ้าเฮนรีอยู่ในปารีสก็อ้างว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงเป็นผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสนธิสัญญาตรัวส์ (Treaty of Troyes) แต่พระเจ้าชาร์ลก็ทรงได้เข้าทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เมืองแรงส์ในปี ค.ศ. 1429 ด้วยความช่วยเหลือของโจนออฟอาร์คในการทำสงครามขับไล่อังกฤษออกจากฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461 ในปลายรัชสมัยพระองค์ทรงต้องประสบกับความยุ่งยากจากความขัดแย้งกับพระราชโอรสผู้ครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่ง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ (Richard II of England) (6 มกราคม ค.ศ. 1367 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1400) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1367 ที่บอโดซ์ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือเจ้าชายดำ และ โจนแห่งเค้นท์ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีแอนน์และต่อมา สมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาแห่งวาลัวร์ส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1377 จนกระทั่งถูกปลดจากราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1399 พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1399 ที่ปราสาทพอนติแฟรคท์, ยอร์คเชอร์ตะวันตก, อังกฤษ (ไม่แน่ชัดว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์หรือไม่) บทบาทในการปกครองของพระองค์เป็นผลให้เกิด การกบฏชาวนา (Peasants' Revolt) ในปี..

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือน

หมือนเด็กชายชาวโรมัน-อียิปต์เป็นภาพเหมือนที่ใช้ปิดหน้าศพของผู้ตาย “ภาพเหมือนตนเอง” โดย ฟินเซนต์ ฟัน โคค ภาพถ่ายภาพเหมือนของทอมัส ดิลวาร์ด โดยแม็ทธิว เบรดี ภาพเหมือน (ภาษาอังกฤษ: portrait) เป็นจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ประติมากรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและภาพเหมือน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลา

มหาวิหารซานตามาเรียโนเวลลา (ภาษาอังกฤษ: Basilica of Santa Maria Novella; ภาษาอิตาลี: Santa Maria Novella) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอธิคและเรอเนซองส์ตอนต้น มหาวิหารซานตามาเรียโนเวลลามีงานจิตรกรรมฝาผนังสำคัญๆ ของจิตรกรผู้มีชื่อเสียงหลายคนของฟลอเรนซ์ เช่นงานในชาเปลทอร์นาบุโอนิ โดย โดเมนนิโค เกอร์ลันเดา, ในชาเปลสปาโยลิ หรืองานในระเบียงคดโดย เปาโล อูเชลโล และงานศิลปะชนิดอื่นๆ เช่นกางเขนของ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและมหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลา · ดูเพิ่มเติม »

มาซัชโช

"ภาพเหมือนตนเอง" มาซัชชีโอ หรือ ตอมมาโซ มาซัชชีโอ (Masaccio; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Tommaso Cassai หรือ Tommaso di Ser Giovanni di Mone, 21 ธันวาคม ค.ศ. 1401 - ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1428) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทาง การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และบานพับภาพ จิตรกรรมฝาผนังของมาซัชชีโอเป็นงานเชิงมนุษยนิยมซึ่งทำให้แสดงให้เห็นความยืดหยุ่นที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน ชื่อ “มาซัชชีโอ” เป็นสมญาของชื่อตัว “ตอมมาโซ” เพราะ “มาซัชชีโอ” แปลว่า ตอมมาโซ “ใหญ่” “อ้วน” “งุ่มง่าม” หรือ “เลอะเทอะ” สร้อยที่ให้นี้เพื่อให้แตกต่างจากจิตรกรที่มาซัชชีโอร่วมงานด้วยที่ชื่อ “ตอมมาโซ” เช่นกัน “ตอมมาโซ” หลังนี้มารู้จักกันในชื่อ “มาโซลีโน ดา ปานีกาเล” (Masolino da Panicale) หรือ “ตอมมาโซเล็ก” แม้ว่ามาซัชชีโอจะวาดภาพเพียงไม่นานแต่ก็มีอิทธิพลต่อจิตรกรคนอื่นๆ มาซัชชีโอเป็นจิตรกรคนแรกๆ ที่ใช้การเขียนแบบทัศนียภาพโดยเฉพาะการใช้จุดลับตา หรือจุดอันตธาน (Vanishing point) เป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมาซาชิโอก็ยังละทิ้งวิธีการเขียนแบบกอธิคและการใช้การตกแต่งอย่างเช่นจิตรกรเจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน (Gentile da Fabriano) มาเป็นแบบที่เป็นธรรมชาติมากกว่าโดยใช้การวาดแบบทัศนียภาพเข้าช่ว.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและมาซัชโช · ดูเพิ่มเติม »

ยัน ฟัน ไอก์

หมือนของชายโพกหัวแดง" อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองของฟัน ไอก์ ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1433 ยัน ฟัน ไอก์ (Jan van Eyck; ราวก่อน ค.ศ. 1395 - ก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1441) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานที่บรูช และถือกันว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศวรรษที่ 15 สิ่งหนึ่งที่มักจะเข้าใจผิดกันเกี่ยวกับ ฟัน ไอก์ ว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้สีน้ำมันในการวาดภาพ มาจากข้อเขียนของจอร์โจ วาซารี ผู้เขียน "ชีวิตจิตรกร" ในคริสต์ศวรรษที่ 16 แต่ที่แน่ ๆ คือฟัน ไอก์มีความสำเร็จเป็นอันมากจากการใช้วิธีการวาดภาพด้วยสีน้ำมัน ยัน ฟัน ไอก์มักจะมีชื่อเกี่ยวข้องกับฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้เป็นจิตรกรและเป็นพี่ชาย และทั้งสองคนมาจากมาไซก์ ในประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน พี่ชายอีกคนหนึ่ง แลมเบิร์ตมีชื่อกล่าวในเอกสารของราชสำนักเบอร์กันดี และสันนิษฐานกันว่าคงเป็นจิตรกรด้วยและอาจจะเป็นผู้ที่ดูแลการปิดโรงฝึกงานของยัน ฟัน ไอก์ที่บรูช ฟัน ไอก์อีกผู้หนี่งคือ บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ (Barthélemy van Eyck) ผู้ทำงานอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศสก็เข้าใจว่าจะเป็นญาติกัน.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและยัน ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะเกี่ยวกับความตาย

ลปะเกี่ยวกับความตาย (Funerary art) คือประเภทของงานศิลปะที่เป็นรูปแบบหรือตั้งอยู่กับร่างของผู้ตาย ที่เก็บศพเป็นคำกว้างๆ ที่สใช้สำหรับบรรจุผู้ตาย ขณะที่สมบัติสุสานคือสิ่งของที่ฝังหรือตั้งไว้กับผู้ตาย—ที่นอกไปจากร่างของผู้ตาย—ที่ได้รับการวางไว้กับผู้ตาย สิ่งของต่างๆ ที่ฝังไปกับผู้ตายอาจจะรวมทั้งสิ่งของส่วนตัว หรือวัตถุหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำการฝัง หรือวัตถุหรือสิ่งของขนาดย่อที่เชื่อกันว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ตายในโลกใหม่ ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ ในอดีตมักจะมาจากวัตถุที่ฝังไว้กับผู้ตายเหล่านี้ ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะมีวัตถุประสงค์หลายประการที่นอกไปจากเพื่อความมีสุนทรีย์ในการแสดงถึงความเชื่อหรืออารมณ์เกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการฝังศพ, เป็นสิ่งของที่ผู้ตายจะนำไปใช้ได้ในโลกหน้า และ เป็นวัตถุเพื่อการเฉลิมฉลองชีวิตและความสำเร็จของผู้ตาย หรือ เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในประเพณีการสักการะบรรพบุรุษ (ancestor veneration) นอกจากนั้นศิลปะเกี่ยวกับความตายก็อาจจะเป็นเครื่องเตือนถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขารของมนุษย์, เครื่องแสดงถึงคุณค่าและบทบาทของวัฒนธรรม และเป็นการเอาใจวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กลับมาหลอกหลอนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมมีบุคลาธิษฐานยมทูต เช่นเทพเฮอร์มีสของกรีก หรือเทพชารุน ผู้เป็นผู้นำทางวิญญาณไปยังโลกสำหรับผู้ตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายมีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์นีอันเดอร์ธอลกว่า 100,000 ปีมาแล้ว และดำเนินในทุกชาติทุกวัฒนธรรมต่อมา—ยกเว้นวัฒนธรรมฮินดูที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่เป็นข้อยกเว้น งานศิลปะอันมีชื่อเสียงในวัฒนธรรมยุคโบราณในอดีต—ตั้งแต่พีระมิดอียิปต์ และสมบัติฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ไปจนถึง สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ล้อมรอบฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน, the ที่เก็บศพฮาลิคาร์นาสซัส, เรือฝังที่ซัททันฮู และ ทัชมาฮาล—เป็นที่เก็บศพหรือที่พบสิ่งของที่ฝังไปกับผู้ตายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วศิลปะเกี่ยวกับความตายมักจะสร้างขึ้นโดยผู้อุปถัมภ์ศิลปินผู้มีฐานะดี ส่วนการฝังศพหรือทำศพของผู้มีฐานะยากจนก็อาจจะเพียงแต่เป็นภาพที่เขียนหยาบๆ ง่ายๆ และสิ่งของติดตัวที่เป็นสมบัติเมื่อมีชีวิตอยู.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและศิลปะเกี่ยวกับความตาย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 1

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 1 (อังกฤษ: Honorius I) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 625 ถึง ค.ศ. 638 โฮโนริอุสที่ 1 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรอา มันเตญญา

“The Agony in the Garden” (ค.ศ. 1455) พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ, ลอนดอน, อังกฤษ เป็นลักษณะงานสมัยต้นของมานเทนยา อันเดรีย มานเทนยา (ภาษาอังกฤษ: Andrea Mantegna) (ราว ค.ศ. 1431 - 13 กันยายน ค.ศ. 1506) เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน มานเทนยาเป็นนักศึกษาโบราณคดีโรมัน เป็นลูกเขยของ จาคโคโป เบลลินี และพี่เขยของจิโอวานนี เบลลินี มานเทนยาก็เช่นกันกับศิลปินรุ่นเดียวกันที่ทดลองวิธีต่างๆในการเขียนแบบทัศนียภาพ เช่นลดระดับขอบฟ้าให้ต่ำลงเพื่อทำให้สิ่งที่อยู่ในภาพดูใหญ่ขึ้น ภาพของมานเทนยาจะมีลักษณะแข็ง และ เหมือนรูปทำจากหินทำให้เห็นว่ามานเทนยาเขียนภาพจากมุมมองของรูปสลัก ก่อนปี..

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและอันเดรอา มันเตญญา · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกลอสเตอร์

วิวจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาสนวิหารกลอสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1828 อาสนวิหารกลอสเตอร์ (Gloucester Cathedral) เป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมืองกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แต่เดิมเป็นแอบบีย์ที่อุทิศให้นักบุญเปโตร เมื่อราวปี..

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและอาสนวิหารกลอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ แม็มลิง

ันส์ แม็มลิง (Hans Memling; ราว ค.ศ. 1430 - 11 สิงหาคม ค.ศ. 1494) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฮันส์ แม็มลิง · ดูเพิ่มเติม »

ฮือโค ฟัน เดอร์คุส

ือโค ฟัน เดอร์คุส (Hugo van der Goes; ราว ค.ศ. 1440 - ราว ค.ศ. 1482) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (เรอแนซ็องส์) ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและบานพับภาพ ฮือโค ฟัน เดอร์คุสเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1440 ที่เมืองเกนต์ เสียชีวิตที่ใกล้เมืองบรัสเซลส์เมื่อราว ค.ศ. 1482 ฮือโคเป็นสมาชิกของสมาคมช่างเขียนแห่งเกนต์ในฐานะมาสเตอร์ในปี ค.ศ. 1467 ในปี ค.ศ. 1468 ฮือโคก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกแต่งเมืองบรูชเพื่อเตรียมการฉลองการเสกสมรสระหว่างชาร์ลพระเศียรล้าน ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี (Charles the Bold) กับมาร์กาเรตแห่งยอร์ก (Margaret of York) และเป็นผู้ตกแต่งตราประจำพระองค์สำหรับขบวนการเสด็จเข้าเมืองเกนต์ของพระเจ้าชาร์ลในปี ค.ศ. 1469 และต่อมาในปี ค.ศ. 1472 ฮือโคก็ได้รับเลือกให้เป็นอธิการของสมาคมในปี ค.ศ. 1473 หรือปี ค.ศ. 1474 ในปี ค.ศ. 1475 หรือหลายปีต่อมา ฮือโคก็บวชเป็นพระที่สำนักสงฆ์โรดโกลสเตอร์ (Rood Klooster) ไม่ไกลจากบรัสเซลส์ที่เป็นของนิกายวินเดิสไฮม์ (Windesheim Congregation) และยังคงทำงานจิตรกรรมต่อจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1482 หรือในปี ค.ศ. 1483 ในปี ค.ศ. 1480 ฮือโคถูกเรียกตัวไปเมืองเลอเฟินเพื่อไปเขียน "Justice Scenes" ที่ดีร์ก เบาตส์ เขียนค้างไว้ก่อนที่จะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1475 หลังจากนั้นไม่นานขณะที่ฮือโคเดินทางกลับจากโคโลญกับพระในสำนักก็เกิดความรู้สึกอยากจะฆ่าตัวตายและประกาศตัวเองว่าเป็นผู้ที่ถูกแช่ง แต่เมื่อกลับมาถึงโรดโกลสเตอร์ ฮือโคก็หายและเสียชีวิตที่นั่น ระยะเวลาที่พำนักที่สำนักสงฆ์ถูกบันทึกโดยคัสปาร์ โอฟเฮยส์ (Gaspar Ofhuys) นักบวชอีกองค์หนึ่ง รายงานโดยแพทย์ชาวเยอรมันฮีเยโรนือมุส มึนเซอร์ (Hieronymus Münzer) ในปี ค.ศ. 1495 ทีกล่าวถึงจิตรกรชาวเกนต์ตกอยู่ในอารมณ์เศร้าเพราะความกดดันที่จะเขียนภาพให้ดีเท่าฉากแท่นบูชาเกนต์ อาจจะหมายถึงฮือโค งานเขียนชิ้นที่สำคัญที่สุดที่ยังเหลืออยู่คือฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์) ที่เป็นงานที่จ้างสำหรับวัดซานเอจีดีโอในโรงพยาบาลของวัดซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์ โดยตอมมาโซ ปอร์ตีนารี (Tommaso Portinari) ผู้จัดการสาขาบรูชของธนาคารเมดีชี ฉากแท่นบูชามาถึงฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1483 หลายปีหลังจากที่ฮือโคเขียนเสร็จ เป็นงานที่ชื่นชมกันในฟลอเรนซ์ จอร์โจ วาซารีในหนังสือ "ชีวิตศิลปิน" ของปี ค.ศ. 1550 เรียกฮือโคว่า "Ugo d'Anversa" (ฮือโคแห่งแอนต์เวิร์ป) ซึ่งเป็นหลักฐานเดียวที่ยืนยันว่าฮือโคเป็นผู้เขียนภาพ งานชิ้นอื่นใช้การวิจัยลักษณะการเขียนโดยการเปรียบเทียบกับฉากแท่นบูชานี้ในการบ่งว่าฮือโคเป็นผู้วาด ดูเหมือนว่าฮือโคจะทิ้งงานร่างไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะใช้โดยผู้นิยมในการสร้างงานเขียนที่ฮือโคไม่ได้วาดด้วยตนเอง ร่างภาพ "เจค็อบและเรเชล" อยู่ที่ไครสต์เชิร์ช เชื่อเป็นงานที่ลงชื่อในจำนวนไม่กี่ชิ้นที่เหลืออยู.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฮือโค ฟัน เดอร์คุส · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง ฟูแก

็อง ฟูแก (Jean Fouquet) หรือ เฌออ็อง ฟูแก (Jehan Fouquet; ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1481) เป็นจิตรกรคนสำค้ญของฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญทั้งการเขียนภาพบนแผ่นไม้และการเขียนภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript) และเป็นผู้เริ่มการวาดภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรม (Miniature).

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฌ็อง ฟูแก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและจิตรกรรมฝาผนัง · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมประวัติศาสตร์

“วันสุดท้ายของปอมเปอี” (ค.ศ. 1833) เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพเขียนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ (History painting) เริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ค.ศ. 1667 โดยอันเดร เฟลิเบียน (André Félibien) จิตกรประวัติศาสตร์, สถาปนิก, นักทฤษฎีคลาสสิกซิสม์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลักษณะที่ระบบ “การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะ” (Hierarchy of genres) ถือว่าเป็นประเภทการเขียนภาพที่มีคุณค่าสูงที่สุดในบรรดาการเขียนภาพประเภทต่าง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและจิตรกรรมประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก

ตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (Early Netherlandish painting) เป็นงานจิตรกรรมของจิตรกรในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาตอนเหนือโดยเฉพาะในบริเวณเมืองบรูชและเกนต์ ที่เริ่มในช่วงเวลาเดียวกับที่ยัน ฟัน ไอก์ เริ่มอาชีพเป็นจิตรกร ฟัน ไอก์มีชื่อเสียงจนกระทั่งได้รับชื่อว่าเป็นจิตรกรอะเพลลีสคนใหม่ของยุโรปตอนเหนือ เรื่อยมาจนถึงภาพเขียนโดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาจบลงด้วยเคราร์ด ดาฟิด ราว ค.ศ. 1520 ยุคนี้เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีตอนต้นและตอนสูง แต่เป็นขบวนการศิลปะที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ต่างจากลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ที่รุ่งเรืองในเวลาเดียวกันในตอนกลางของอิตาลีJanson, H.W. Janson's History of Art: Western Tradition.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนมิติ

ทัศนมิติแบบสองจุด ทัศนมิติ (perspective) หรือทับศัพท์ว่าเพอร์สเปกทีฟ คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและทัศนมิติ · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

งานโมเสก

งานโมเสก (Mosaic.) เป็นศิลปะการตกแต่งด้วยชิ้นแก้ว, หิน, หรือกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นการตกแต่งภายในเช่นภายในมหาวิหาร การตกแต่งลวดลายหรือภาพทำจากชิ้นกระเบื้องหรือเศษจากเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “tesserae” หรือ กระจกสี หรือแก้วใสเคลือบด้วยโลหะข้างหลัง งานโมเสก.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและงานโมเสก · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฉากประดับแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาวิลทัน

นักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพเสียบด้วยตราของพระมหากษัตริย์อังกฤษ (''l.'') และ กวางขาวของของพระเจ้าริชาร์ด (''r.'') ฉากแท่นบูชาวิลทัน หรือ บานพับภาพวิลทัน (Wilton Diptych) เป็นบานพับภาพฉากแท่นบูชาขนาดเล็กที่เขียนบนแผ่นไม้สองแผ่นสองด้านที่ยึดติดกันด้วยบานพับ งานฉากแท่นบูชาวิลทันเป็นงานศิลปะที่หายากที่เป็นจิตรกรรมแผงเพียงไม่กี่ชิ้นที่ยังหลงเหลือมาจากปลายยุคกลางของอังกฤษ “ฉากแท่นบูชาวิลทัน” ที่เขียนขึ้นราวระหว่างปี ค.ศ. 1395 ถึงปี ค.ศ. 1399 ปัจจุบันเป็นของหอศิลป์แห่งชาติในลอนดอนในสหราชอาณาจักร เป็นงานที่สร้างขึ้นสำหรับสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษผู้ที่ปรากฏบนภาพเป็นผู้คุกเข่าต่อพระพักตร์ของพระแม่มารีและพระบุตรที่เรียกกันว่า “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” “ฉากแท่นบูชาวิลทัน” เป็นตัวอย่างงานอันมีฝีมือดีของการเขียนแบบศิลปะกอธิคนานาชาติโดยศิลปินไม่ทราบนามที่อาจจะเป็นชาวฝรั่งเศสหรืออังกฤษก็ได้.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฉากแท่นบูชาวิลทัน · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (Portinari-triptiek; Trittico Portinari; Portinari Altarpiece) เป็นบานพับภาพที่เขียนโดยฮือโค ฟัน เดอร์คุส จิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวดัตช์ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ฟัน เดอร์คุสเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี" ราวปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพการชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ เป็นงานที่ได้รับจ้างสำหรับวัดโรงพยาบาลซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์โดยนายธนาคารชาวอิตาลี ตอมมาโซ ปอร์ตีนารี ที่พำนักอยู่ที่เมืองบรูชเป็นเวลากว่าสี่สิบปีในฐานะผู้แทนของธนาคารเมดีชีของตระกูลเมดีชี ปอร์ตีนารีเองปรากฏในแผงซ้ายของฉากแท่นบูชากับลูกชายสองคน คือ อันโตนีโอและปีเจลโล ส่วนมารีอา ดี ฟรันเชสโก บารอนเชลลี (ภรรยา) กับมาร์การีตา (ลูกสาว) อยู่บนแผงขวา ทุกคนในภาพมีนักบุญผู้พิทักษ์ของแต่ละคน (ยกเว้นปีเจลโล) กล่าวคือ บนแผงซ้ายเป็นนักบุญทอมัสอัครสาวกถือหอกและนักบุญแอนโทนีอธิการถือกระดิ่ง บนแผงซ้ายนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาถือผอบน้ำมันหอม และนักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออกถือหนังสือและมีมังกรที่เท้า แผงกลางประกอบด้วยคนเลี้ยงแกะสามคนคุกเข่าทำความเคารพพระบุตร ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากบ้าน ๆ อย่างเป็นจริงเป็นจังและได้บรรยากาศ นอกจากนั้นในภาพก็มีเทวดาที่ลอยอยู่เหนือและที่คุกเข่ารอบพระแม่มารีและพระบุตรผู้ที่มิได้นอนในกองฟางแต่นอนอยู่กลางลานโดยมีรัศมีรอบ การเขียนที่มีลักษณะแปลกเช่นนี้อาจจะเขียนตามทิพยทัศน์ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดนก่อนที่จะเสียชีวิตที่บรรยายถึงการเห็นแสงสว่างส่องออกมาจากร่างของพระบุตร แจกันดอกไม้ ในฉากหลัง ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก กล่าวคือ บนแผงซ้ายฉากหลังเป็นภาพนักบุญโจเซฟพาพระแม่มารีผู้ทรงครรภ์เดินทางหนีไปอียิปต์; แผงกลางทางด้านขวาเป็นภาพเทวดาที่ประกาศข่าวการกำเนิดของพระเยซูแก่คนเลี้ยงแกะ และแผงขวาเป็นภาพการเดินทางของแมไจสามคนมายังเบทเลเฮม ด้านหน้าของภาพเป็นภาพนิ่งขนาดเล็กของแจกันดอกไม้สองแจกันและข้าวสาลีกำมือหนึ่ง (ซึ่งหมายถึงเบทเลเฮม "เมืองแห่งขนมปัง") ที่อาจจะเป็นนัยถึงศีลมหาสนิทหรือทุกขกิริยาของพระเยซู กำข้าวสาลีอาจจะหมายถึงพระกระยาหารมื้อสุดท้าย ที่พระเยซูแบ่งขนมปังกับอัครสาวก ดอกลิลลีสีส้มในแจกันเป็นสัญลักษณ์ของทุกขกิริยาของพระเยซูที่จะมาถึง ดอกไอริสสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ขณะที่ดอกไอริสสีม่วงและก้านดอกแอควิลีเจีย (Aquilegia caerulea) เป็นสัญลักษณ์ของความเศร้าเจ็ดอย่างของพระแม่มารี (Seven sorrows of the Virgin) ฉะนั้นภาพการกำเนิดนี้จึงเป็นภาพที่เป็นเหตุการณ์ที่จะนำมาซึ่งความตายของพระเยซูในที่สุด เมื่องานชิ้นนี้ไปถึงฟลอเรนซ์ในปี..

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเกนต์

วิวเมื่อเปิดบานพับภาพ วิวเมื่อปิดบานพับภาพ ฉากประดับแท่นบูชาเกนต์ (Gents altaarstuk; Ghent Altarpiece) หรือ ลูกแกะของพระเจ้า (Het Lam Gods; Adoration of the Mystic Lamb) เป็นบานพับภาพเขียนเสร็จเมื่อ..

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฉากแท่นบูชาเกนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย "โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย" "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและฉากแท่นบูชาเมรอด · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา

ระเยซูคืนชีพ” (Resurrection) รายละเอียดจากภาพประวัติของสัตยกางเขน พระเยซูคืนชีพ เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา (ภาษาอังกฤษ: Piero della Francesca) (ราว ค.ศ. 1412 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากจะเป็นจิตรกรแล้ว เปียโร เดลลา ฟรานเชสกาก็ยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักเรขาคณิต ลักษณะของภาพเขียนจะสงบและการใช้รูปเรขาคณิตโดยเฉพาะการเขียนแบบทัศนียภาพและการเขียนภาพลึกบนผนังแบนเรียบ (foreshortening) งานส่วนใหญ่ของเดลลา ฟรานเชสกาอยู่ที่เมืองอเรซโซในแคว้นทัสเคนี.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญคริสโตเฟอร์

นักบุญคริสโตเฟอร์ (Saint Christopher; Άγιος Χριστόφορος) เป็นชาวคานาอัน ต่อมาได้นับถือศาสนาคริสต์และพลีชีพเป็นมรณสักขีในรัชสมัยจักรพรรดิเดซิอุสแห่งจักรวรรดิโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 และเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญคริสโตเฟอร์เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้เดินทางและนักกีฬา แต่เมื่อปี..

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและนักบุญคริสโตเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กเดท

การฝังศพผู้เสียชีวิตจากแบล็กเดทในเมืองตูร์แน ภาพประกอบจากบันทึกของฌีล ลี มุยซี (Gilles Li Muisis) อธิการอารามนักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์แน แบล็กเดท (Black Death) หรือ กาฬมรณะ เป็นโรคระบาดทั่วครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 100 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–50 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอาจก่อกาฬโรคได้หลายแบบ คาดว่าแบล็กเดทเริ่มต้นในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมและถึงไครเมียในปี 1346 และหมัดหนูตะวันออก (Xenopsylla cheopis) ซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำอันอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไป น่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย กาฬโรคได้แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็น 30–60% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป กาฬโรคลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ 450 ล้านคน ลงเหลือ 350–375 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กาฬโรคมีผลต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดทั้งกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ ประชากรยุโรปกว่าจะกลับคืนจำนวนก็ใช้เวลา 150 ปี กาฬโรคอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวในทวีปยุโรปกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและแบล็กเดท · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระและพระกุมาร

แม่พระและพระกุมาร (Madonna and Child; Madonna col Bambino) เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในศาสนาคริสต์ เป็นรูปของพระนางมารีย์พรหมจารี (ซึ่งชาวคาทอลิกเรียกว่าแม่พระ) และพระกุมารเยซู (พระเยซูเมื่อทรงพระเยาว์) “แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi).

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

แอนโทนีอธิการ

นักบุญแอนโทนี (หรืออันตน) อธิการ (St.) เกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ. 251 และถึงแก่มรณกรรมประมาณปี ค.ศ. 356 หรือที่รู้จักกันว่าแอนโทนีผู้ยิ่งใหญ่ (Anthony the Great) แอนโทนีแห่งอียิปต์ (Anthony of Egypt) แอนโทนีแห่งทะเลทราย (Anthony of the Desert) แอนโทนีแองคอไรต์ (Anthony the Anchorite) คุณพ่ออันโตนีอุส (Abba Antonius) และบิดาแห่งนักพรตทั้งปวง (Father of All Monks) นักบุญแอนโทนีอธิการเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ชาวอียิปต์ ที่เป็นผู้นำของนักพรตในศาสนาคริสต์ที่ใช้ชีวิตอย่างสันโดษในทะเลทราย (ปิตาจารย์ทะเลทราย) ในประเทศอียิปต์ ท่านใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย และเป็นอธิการอารามอะเล็กซานเดรีย ชีวประวัติของนักบุญแอนโทนีเขียนโดยนักบุญอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งช่วยเผยแพร่การใช้ชีวิตอารามวาสีแบบนักบุญแอนโทนีไปยังยุโรปตะวันตกโดยแปลเป็นภาษาละติน ซึ่งยึดถือคติความสันโดษและยากจนเป็นหลักในการขัดเกลาตนเอง และเป็นต้นแบบนักพรตคาทอลิกในยุโรปในเวลาต่อมา นักบุญแอนโทนีอธิการเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้ป่วยโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคงูสวัด ฉะนั้นบางทีที่ประเทศอิตาลีหรือประเทศมอลตาจึงเรียกโรคนี้ว่า “ไฟแอนโทนี” (Anthony's fire) หมวดหมู่:นักบุญชาวโรมัน หมวดหมู่:นักบุญชาวอียิปต์ หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 4 หมวดหมู่:นักบุญในตำนานทอง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและแอนโทนีอธิการ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยตอร์นาบูโอนี

ปลทอร์นาบุโอนิ (Tornabuoni Chapel, Cappella Tornabuoni) เป็นชาเปลหลักหรือชาเปลของบริเวณร้องเพลงสวดอยู่ภายในบาซิลิกาซานตามาเรียโนเวลลาที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สิ่งที่สำคัญที่สุดภายในชาเปลคืองานจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีและสมบูรณ์ที่เขียนโดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาและห้องเขียนภาพระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1490.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและโบสถ์น้อยตอร์นาบูโอนี · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต กัมปิน

แผ่นภาพ "Flemalle" ส่วนหนึ่ง งานที่มักจะสันนิษฐานว่าเขียนโดยกัมปิน บานภาพนี้เป็นบานทางขวาของบานพับภาพเวิร์ล (Werl triptych) ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1438 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานปราโด ประเทศสเปน โรเบิร์ต กัมปิน (Robert Campin; ราว ค.ศ. 1375 - 26 เมษายน ค.ศ. 1444) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมแผงและบานพับภาพ สันนิษฐานกันว่าโรเบิร์ต กัมปิน เป็นคนคนเดียวกับจิตรกรที่เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" (Master of Flémalle) ประวัติของกัมปินมีเนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับชีวิตของคนในยุคนั้น แต่ไม่มีงานชิ้นใดที่กล่าวได้แน่นอนว่าเป็นของกัมปิน ขณะที่งานส่วนใหญ่กล่าวกันว่าเป็นงานของผู้เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกตามภาพเขียน.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและโรเบิร์ต กัมปิน · ดูเพิ่มเติม »

โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน

รเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน (Rogier van der Weyden) หรือ รอฌีเย เดอ เลอ ปัสตูร์ (Rogier de le Pasture; ค.ศ. 1399/ค.ศ. 1400 - 18 มิถุนายน ค.ศ. 1464) เป็นจิตรกรคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพั.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี เบลลีนี

“การนำพระเยซูเข้าวัด” (Presentation in the Temple) โดย จิโอวานนี เบลลินี (ราว ค.ศ. 1499-1500), พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย จิโอวานนี เบลลินี (Giovanni Bellini) (ค.ศ. 1430 - ค.ศ. 1516) เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน เบลลินีเป็นครอบครัวจิตรกรจากเวนิส จิโอวานนี เบลลินีเป็นลูกของจาคโคโป เบลลินี เป็นน้องชายของ เจ็นทิลี เบลลินี และเป็นน้องเขยของอันเดรีย มานเทนยา (Andrea Mantegna) จิโอวานนี เบลลินีมีชื่อว่าเป็นผู้ปฏิวัติการเขียนภาพแบบเวนิสในการออกไปทางแบบที่ให้ความรู้สึกอ่อนหวาน (sensuous) และเป็นสีสรรค์ (colouristic) เบลลินีใช้สีน้ำมันที่ใสและแห้งช้าซึ่งเมื่อแห้งทำให้มีภาพมีสีเข้มขึ้น เหลือบ และเป็นเงาที่ละเอียด การใช้สีที่ sumptuous และ ภูมิทัศน์ที่มีบรรยากาศมีผลต่อการอิทธิพลต่อการเขียนภาพแบบเวนิสโดยเฉพาะต่อจอร์จิโอเนและทิเทียน ผู้เป็นลูกศิษย์ของเบลลินีเอง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและโจวันนี เบลลีนี · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนีโก กีร์ลันดาโย

มนีโก กีร์ลันดาโย (Domenico Ghirlandaio) หรือ โดเมนีโก ดี ตอมมาโซ กูร์ราดี ดี ดอฟโฟ บีกอร์ดี (Domenico di Tommaso Curradi di Doffo Bigordi; ค.ศ. 1449 - 11 มกราคม ค.ศ. 1494) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และการเขียนด้วยสึฝุ่นบนไม้ โดเมนีโกเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับซันโดร บอตตีเชลลี และฟิลิปปินโน ลิบปี และมีลูกศิษย์หลายคนรวมทั้งมีเกลันเจโล.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและโดเมนีโก กีร์ลันดาโย · ดูเพิ่มเติม »

เบนอซโซ กอซโซลี

นนอซโซ กอซโซลิ (Benozzo Gozzoli ชื่อเมื่อแรกเกิด: Benozzo di Lese, ราว ค.ศ. 1421 - ค.ศ. 1497) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลีจากฟลอเรนซ์ ของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง งานของกอซโซลิที่สุดคือจิตรกรรมฝาผนังภายในวังเมดิชิ (Palazzo Medici) ซึ่งแสดงขบวนที่หรูหราที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและมีอิทธิพลจากศิลปะกอธิคนานาชาติ (International Gothic).

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและเบนอซโซ กอซโซลี · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี

ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ (Leon Battista Alberti) (18 กุมภาพันธ์พ.ศ. 1947 – 25 เมษายน พ.ศ. 2015) เป็นผู้รู้รอบด้าน ผู้เป็นปราชญ์ สถาปนิก นักเขียน กวี นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา นักถอดรหัส ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศิลปวิทยาการในยุคเรอเนซอง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: ภาพเหมือนผู้อุทิศและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Donor portraitVotive portraitภาพรวมผู้อุทิศ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »