โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิตรกรรมฝาผนัง

ดัชนี จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

58 ความสัมพันธ์: ฟรีดา คาห์โลพลาสเตอร์อินโทนาโคภาษาอิตาลีภาษาเยอรมันมหาวิหารมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมาซัชโชมีเกลันเจโลราชวงศ์โจฬะลาตินอเมริกาลูกา ซิญโญเรลลีศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางสุสานใต้ดินสีฝุ่นเทมเพอราสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมกรีกโบราณสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์สถาปนิกหอล้างบาปอัสซีซีอันเดรอา ปัลลาดีโออาสนวิหารฟลอเรนซ์อาหารค่ำมื้อสุดท้ายจอตโต ดี บอนโดเนจักรวรรดิโรมันทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดันเต อาลีกีเอรีดีวีนากอมเมเดียครีตซีโมนเปโตรปฏิกิริยาเคมีประเทศกรีซประเทศอิตาลีประเทศอินเดียประเทศอียิปต์ประเทศตุรกีประเทศโมร็อกโกประเทศไซปรัสประเทศเม็กซิโกประเทศเยอรมนีปอมเปอีปาลัซโซปุบบลีโกปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกาปีเอโตร เปรูจีโน...นครรัฐวาติกันแลพิสแลซูลีโรมโจวันนี บัตติสตา ตีเอโปโลโดเมนีโก กีร์ลันดาโยเพดานโบสถ์น้อยซิสทีนเลโอนาร์โด ดา วินชีเฮอร์คิวเลเนียม ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

ฟรีดา คาห์โล

ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo) (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2497) จิตรกรชาวเม็กซิโกแนวผสมแบบเหมือนจริง สัญลักษณนิยม และเหนือจริง เป็นผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ ภรรยาของจิตรกรชาวเม็กซิกัน ดิเอโก ริเวรา (Diego Rivera) ฟรีดา คาห์โล มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตได้จากไรหนวดและขนคิ้วดกชนกัน ชอบแต่งกายด้วยชุดฟูฟ่องแบบชุดเม็กซิกัน.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและฟรีดา คาห์โล · ดูเพิ่มเติม »

พลาสเตอร์อินโทนาโค

“เทพอพอลโลกับพิณ” จิตรกรรมฝาผนังตั้งแต่สมัยโรมันที่เขียนบน “พลาสเตอร์อินโทนาโค” ราว ค.ศ. 50 ที่ยังเห็นรอยฉาบเป็นชั้นๆ พลาสเตอร์อินโทนาโค (Intonaco) “อินโทนาโค” เป็นศัพท์ภาษาอิตาลีที่ใช้เรียกปูนปลาสเตอร์ที่ฉาบชั้นบางชั้นสุดท้ายก่อนที่จะลงมือเขียนจิตรกรรมฝาผนัง การเขียนภาพจะทำขณะที่ปูนยังอมความชื้นอยู่เพื่อที่จะให้สีซึมลงไปในตัวปูน ชั้นที่ฉาบก่อนหน้าเรียกว่า “arriccio” จะหยาบกว่าอินโทนาโคเล็กน้อยเพื่อให้อินโทนาโคเกาะตัวเมื่อฉาบทับ และชั้นนี้จะต้องแห้งก่อนที่จะฉาบอินโทนาโคได้ ซึ่งมักจะใช้เวลาสองสามวันก่อนที่จะฉาบอินโทนาโคทับได้ คำว่าอินโทนาโคนอกจากจะใช้ดังว่าแล้วก็ยังมีความหมายกว้างๆ ถึงปูนฉาบปกติ หรือ การฉาบกำแพงหรือผนังโดยทั่วไปด้วย ส่วนผสมของอินโทนาโคตามปกติแล้วจะประกอบด้วยทราย (ที่มีความละเอียดของเม็ดทรายน้อยกว่าสองมิลลิเมตร) และสารที่เป็นตัวเชื่อม.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและพลาสเตอร์อินโทนาโค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Basilica di San Francesco d'Assisi; Basilica of St.) ตั้งอยู่ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกของคณะฟรันซิสกัน ซึ่งเป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก่อตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชั้นบนและชั้นล่างของมหาวิหารมองจากจัตุรัสเดลเลลอจเจ (Piazza delle Logge).

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

มาซัชโช

"ภาพเหมือนตนเอง" มาซัชชีโอ หรือ ตอมมาโซ มาซัชชีโอ (Masaccio; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Tommaso Cassai หรือ Tommaso di Ser Giovanni di Mone, 21 ธันวาคม ค.ศ. 1401 - ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1428) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทาง การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และบานพับภาพ จิตรกรรมฝาผนังของมาซัชชีโอเป็นงานเชิงมนุษยนิยมซึ่งทำให้แสดงให้เห็นความยืดหยุ่นที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน ชื่อ “มาซัชชีโอ” เป็นสมญาของชื่อตัว “ตอมมาโซ” เพราะ “มาซัชชีโอ” แปลว่า ตอมมาโซ “ใหญ่” “อ้วน” “งุ่มง่าม” หรือ “เลอะเทอะ” สร้อยที่ให้นี้เพื่อให้แตกต่างจากจิตรกรที่มาซัชชีโอร่วมงานด้วยที่ชื่อ “ตอมมาโซ” เช่นกัน “ตอมมาโซ” หลังนี้มารู้จักกันในชื่อ “มาโซลีโน ดา ปานีกาเล” (Masolino da Panicale) หรือ “ตอมมาโซเล็ก” แม้ว่ามาซัชชีโอจะวาดภาพเพียงไม่นานแต่ก็มีอิทธิพลต่อจิตรกรคนอื่นๆ มาซัชชีโอเป็นจิตรกรคนแรกๆ ที่ใช้การเขียนแบบทัศนียภาพโดยเฉพาะการใช้จุดลับตา หรือจุดอันตธาน (Vanishing point) เป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมาซาชิโอก็ยังละทิ้งวิธีการเขียนแบบกอธิคและการใช้การตกแต่งอย่างเช่นจิตรกรเจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน (Gentile da Fabriano) มาเป็นแบบที่เป็นธรรมชาติมากกว่าโดยใช้การวาดแบบทัศนียภาพเข้าช่ว.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและมาซัชโช · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจฬะ

ราชวงศ์โจฬะ (Chola Dynasty, சோழர் குலம்) เป็นราชวงศ์ทมิฬทราวิฑที่ส่วนใหญ่ปกครองทางตอนใต้ของอินเดียมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถิ่นกำเนิดของราชวงศ์อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำกาเวรี (Kaveri River) พระเจ้าการิกาลาโจฬะ (Karikala Chola) เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในยุคโจฬะตอนต้น ขณะที่จักรพรรดิองค์อื่นๆ หลายองค์ทรงมีชื่อเสียงในยุคกลาง ราชวงศ์โจฬะรุ่งเรืองตลอดมาตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 5 ในรัชสมัยของพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรส ราชวงศ์โจฬะก็กลายเป็นมหาอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเอเชียKulke and Rothermund, p 115Keay, p 215 ระหว่างปี ค.ศ. 1010 ถึงปี ค.ศ. 1200 ดินแดนของจักรวรรดิโจฬะก็ครอบคลุมตั้งแต่เกาะมัลดีฟส์ทางตอนใต้ขึ้นไปทางเหนือจนจรดแม่น้ำโคทาวารีในรัฐอานธรประเทศMajumdar, p 407 พระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 ทรงพิชิตคาบสมุทรอินเดียใต้ ผนวกดินแดนที่ปัจจุบันคือศรีลังกา และยึดครองมัลดีฟส์ ต่อมาพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ทรงรณรงค์ขึ้นไปทางเหนือของอินเดียจนไปถึงแม่น้ำคงคาและสามารถพิชิตนครหลวงปาฏลีบุตรแห่งจักรวรรดิปาละ นอกจากนั้นก็ยังทรงไปรุกรานราชอาณาจักรของกลุ่มเกาะมลายู และขยายดินแดนไปถึงพม่า และ เวียดนามและภาคใต้ของไทย The kadaram campaign is first mentioned in Rajendra's inscriptions dating from his 14th year. The name of the Srivijaya king was Sangrama Vijayatungavarman. K.A. Nilakanta Sastri, The CōĻas, pp 211–220Meyer, p 73 ราชวงศ์โจฬะมาเริ่มเสื่อมโทรมลงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 และสลายตัวไปเมื่อราชอาณาจักรปัณฑยะและจักรวรรดิฮอยซาลาขึ้นมาเรืองอำนาจK.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 192 สิ่งที่สำคัญของราชวงศ์โจฬะคือการเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณคดีทมิฬ และการก่อสร้างวัด พระมหากษัตริย์ของราชวงศ์โจฬะทรงนิยมสร้างวัด ที่ไม่แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการสักการะ แต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจการทางเศรษฐกิจด้วยVasudevan, pp 20-22 และ ยังริเริ่มระบบการปกครองจากศูนย์กลางและระบบราชการที่เป็นระเบียบแบบแผน.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและราชวงศ์โจฬะ · ดูเพิ่มเติม »

ลาตินอเมริกา

นแดนลาตินอเมริกา ลาตินอเมริกา (América Latina; Amérique Latine; Latinoamérica, América Latina) คือ กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ที่พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ เป็นหลัก ได้แก.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและลาตินอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ลูกา ซิญโญเรลลี

ตรกรรมฝาผนัง “กิจการของพระเยซูเท็จ”(Deeds of the Antichrist) ราว ค.ศ. 1501)ที่มหาวิหารออร์เวียตโต ลูคา ซินยอเรลลิ (Luca Signorelli หรือ Luca da Cortona หรือ Luca d'Egidio di Ventura (ชื่อเมื่อแรกเกิด)) (ราว ค.ศ. 1445 - 16 ตุลาคม ค.ศ. 1523) เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 16 เป็นช่างร่าง ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง โดยเฉพาะการเขียนแบบลวงตาที่ทำให้ดูภาพลึกกว่าความเป็นจริง (foreshortening) ที่ใช้ในงานเขียนชิ้นเอก “การตัดสินครั้งสุดท้าย” (Last Judgment) ที่เขียนระหว่างปี..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและลูกา ซิญโญเรลลี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สุสานใต้ดิน

นักบุญคัลลิสตัสในกรุงโรม สุสานใต้ดิน (catacombs) เป็นสุสานที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บศพใต้ดิน สุสานใต้ดินหลายแห่งที่ตั้งอยู่ใต้เมืองใช้เป็นที่หลบภัยระหว่างสงคราม หรือเป็นที่พบปะของกลุ่มลัทธิบูชา ระเบียงช่องเก็บศพที่เรียกกันว่า “สุสานใต้ดิน” ที่ได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกตั้งอยู่ภายใต้มหาวิหารนักบุญเซบัสเตียนนอกกำแพง (San Sebastiano fuori le mura) ในกรุงโรม ในปัจจุบันคำว่า “สุสานใต้ดิน” หมายถึงเครือถ้ำ หรือ ช่อง หรือระเบียงที่ใช้ในยุคกลางสำหรับหนีภัยระหว่างสงคราม หรือสำหรับบรร.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสุสานใต้ดิน · ดูเพิ่มเติม »

สีฝุ่นเทมเพอรา

ระแม่มารีและพระบุตรโดยดุชโช, เทมเพอราและทองบนไม้, ค.ศ. 1284, เซียนา นิคโคโล เซมิเทโคโล ค.ศ. 1367 สีฝุ่นเทมเพอรา (tempera, egg tempera) เป็นสิ่งที่ใช้ในการเขียนภาพที่แห้งง่ายและถาวรที่ประกอบด้วยรงควัตถุผสมกับของเหลวที่เป็นตัวเชื่อม (มักจะใช้สารกลูเตน (Gluten)) เช่นไข่แดงหรือสารที่เป็นตัวเชื่อม (Sizing) อื่นๆ นอกจากนั้นเทมเพอราก็ยังหมายถึงจิตรกรรมที่เขียนด้วยสารผสมดังกล่าวด้วย การเขียนด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ภาพที่เขียนมีอายุยืนนานเช่นภาพที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งก็ยังมีอยู่ให้เห็น เทมเพอราที่ผสมด้วยไข่เป็นวิธีที่ใช้ในการเขียนภาพโดยทั่วไปมาจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมาแทนที่ด้วยการเขียนด้วยสีน้ำมัน เทมเพอราอีกประเภทหนึ่งที่ผสมระหว่างรงควัตถุกับสารที่เป็นกาวที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมักจะเรียกโดยผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาว่าสีโปสเตอร.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสีฝุ่นเทมเพอรา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ

Stoa of Attalus ที่ได้รับการบูรณะที่เอเธนส์ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ (Architecture of ancient Greece) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่สูญหายไปจากกรีซมาตั้งแต่ปลายสมัยเฮลลาดิค (Helladic period) หรือสมัยไมซีเนียน (ราว 1200 ก่อนคริสต์ศักราช) มาจนกระทั่งราว 700 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อชาวโรมันมีความมั่งคั่งและฟื้นตัวขึ้นจนถึงจุดที่เริ่มมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสำหรับสาธารณชนขึ้นได้อีก แต่ในเมื่อสิ่งก่อสร้างของกรีกหลายแห่งในสมัยอาณานิคม (800-600 ก่อนคริสต์ศักราช) สร้างด้วยไม้หรือ อิฐดินเหนียว หรือ ดินเหนียว จึงทำให้ไม่มีที่ใดที่ยังเหลือหรอให้ได้เห็น นอกจากแผนผังบนพื้นอยู่สองสามแห่ง และไม่มีหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสมัยแรกหรือคำบรรยายเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ที่ยังคงอยู่ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างโดยทั่วไปจะเป็นไม้ ที่ใช้ในการรองรับคานที่รับหลังคา, พลาสเตอร์สำหรับอ่างและอ่างอาบน้ำ, อิฐดิบสำหรับก่อผนังโดยเฉพาะสำหรับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล, หินปูน และ หินอ่อน ในการก่อสร้างเสา, กำแพง หรือตอนบนของเทวสถาน หรือ ตึกที่ทำการสาธารณะ, “เครื่องดินเผาสีหม้อใหม่”ที่ใช้เป็นกระเบื้องปูหลังคาและเครื่องตกแต่ง และโลหะโดยเฉพาะสำริดที่ใช้ในการตกแต่งรายละเอียด สถาปนิกใช้วัสดุดังกล่าวในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอย่างง่ายๆ ห้าประเภท: ศาสนสถาน, ที่ทำการราชการ, ที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ สถานที่เพื่อการบันเทิง.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

ซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี รูปแบบสถาปัตยกรรมบีเซินทีน สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ หรือ สถาปัตยกรรมไบแซนทีน (Byzantine architecture; /bī-ˈzanˌtēn/merriam-webster.com.) คือสถาปัตยกรรมที่เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ลักษณะอาคารส่วนใหญ่เป็นโดมคลุมบนเนื้อที่กลม สี่เหลี่ยม หรือรูปหลายเหลี่ยม บางครั้งมีการจัดรูปทรงภายนอกเป็นโดมหลายอัน ต่างขนาดกัน ลดหลั่นกันไป โดยส่วนใหญ่ยึดหลักสมดุลชนิด 2 ข้างเท่ากันรอบแกนใดแกนหนึ่ง เช่น โบสถ์เซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

หอล้างบาป

หอล้างบาปกลมเมืองปีซาตั้งอยู่ข้างตัวมหาวิหาร หอล้างบาปประจำมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน หอล้างบาปที่ฟลอเรนซ์ หอล้างบาป หรือ หอบัพติศมา (Baptistery หรือ BaptistryCatholic Encyclopedia. ''Baptistery''. http://www.newadvent.org/cathen/02276b.htm.) เป็นคริสต์ศาสนสถาน ที่สร้างเป็นอิสระจากสิ่งก่อสร้างอื่นโดยมีอ่างล้างบาปเป็นศูนย์กลาง หอล้างบาปอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์หรืออาสนวิหารซึ่งมีแท่นบูชาและคูหาสวดมนต์ของตนเอง ในศาสนาคริสต์ยุคแรกหอล้างบาปจะเป็นสถานสำหรับผู้จะเข้ารีตเรียนรู้เรื่องศาสนาก่อนจะรับศีลล้างบาป และเป็นที่ทำพิธีล้างบาป การสร้างหอล้างบาปอย่างสวยงามเป็นการแสดงถึงความสำคัญของการล้างบาปในศาสนาคริสต์ หอล้างบาปทรงแปดเหลี่ยมของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันเป็นหอล้างบาปแรกที่สร้างเพื่อการพิธีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแบบลักษณะตัวอย่างของหอล้างบาปที่สร้างกันต่อมา ซึ่งบางครั้งจะเป็นสิบสองเหลี่ยม หรือกลมอย่างที่ปิซา ในบริเวณโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับใช้เรียนคำสอนและสารภาพความศรัทธาก่อนที่จะทำการรับศีลล้างบาป โถงกลางจะมีอ่างล้างบาปป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ที่ผู้รับศีลจะลงไปใต้น้ำสามหน จากอ่างจะเป็นบันไดสามขั้นลงไปในอ่าง ห้อยอยู่เหนืออ่างอาจจะเป็นนกพิลาปทองหรือเงินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ รูปเคารพที่ทำจากโมเสกบนผนัง หรือจิตรกรรมฝาผนังมักจะเป็นฉากชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา อ่างล้างบาปในระยะแรกมักจะทำด้วยหิน แต่ต่อมาก็มีการทำด้วโลหะบ้าง แหล่งน้ำของหอล้างบาปของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันมาจากน้ำพุธรรมชาติ ก่อนที่จะมาเป็นมหาวิหารสิ่งก่อสร้างเดิมเป็นวังของครอบครัวพลอติอิ แลเตอร์รัน (Plautii Laterani) ผู้เป็นผู้บริหารของจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นผู้ถวายวังนี้ให้กับบิชอปมิลทิอาเดส (Bishop Miltiades) น้ำพุธรรมชาติเป็นแหล่งน้ำของสิ่งก่อสร้างหลายสิ่งก่อสร้างภายในวัง เมื่อมีการเปลี่ยนศาสนาผู้เปลี่ยนก็ต้องรับล้างบาปทำให้แหล่งน้ำกลายเป็นความจำเป็น คาสสิโอโดรัสนักการเมืองและนักเขียนชาวโรมันบรรยายไว้ในปี..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและหอล้างบาป · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีซี

อัสซีซี โบสถ์น้อย Porziuncola ภายในมหาวิหารซันตามาเรียเดกลีอันเจลี อัสซีซี (Assisi) เป็นโคมูนี (เทศบาล) ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเปรูจา แคว้นอุมเบรีย อยู่ทางตะวันตกของภูเขาซูบาซิโอ (Mt. Subasio) อัสซีซีเป็นเมืองเกิดของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีผู้ก่อตั้งคณะฟรันซิสกันในปี..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรอา ปัลลาดีโอ

อันเดรอา ปัลลาดิโอ อันเดรอา ปัลลาดีโอ (Andrea Palladio, 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1508 – 19 สิงหาคม ค.ศ. 1580) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดผู้หนึ่งทางด้านแนวคิดการออกแบบในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตก ผลงานชิ้นสำคัญของ ปัลลาดิโอ คือ หนังสือเรื่อง Quattro Libri dell'Architettura หรือ เดอะ โฟร์ บุคส์ ออฟ อาร์คิเท็คเจอร์ (The Four Books of Architecture) Monument to Andrea Palladio (Vicenza).jpg|Andrea Palladio Basilica Palladiana (Vicenza) - facade on Piazza dei signori.jpg|Basilica Palladiana Palazzo del Capitanio (Vicenza).jpg|Palazzo del Capitanio Palazzo Chiericati (Vicenza).jpg| Palazzo Chiericati Interior of Teatro Olimpico (Vicenza) scena.jpg|Teatro Olimpico Basilica di San Giorgio Maggiore (Venice).jpg|San Giorgio Maggiore หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2051 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นเวเนโต.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและอันเดรอา ปัลลาดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารฟลอเรนซ์

อาสนวิหารฟลอเรนซ์ (Florence Cathedral) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารซันตามาเรียแห่งฟลอเรนซ์ (Cattedrale di Santa Maria del Fiore) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขนายกแห่งฟลอเรนซ์ ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ มณฑลฟลอเรนซ์ แคว้นตอสคานา ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออกแบบโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ด้านหน้าโบสถ์ประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนสีขาว เขียว และชมพู อาสนวิหารแห่งนี้ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจากมหาวิหารนักบุญเปโตร มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง และอาสนวิหารมิลาน มีความยาว 153 เมตร และฐานของโดมกว้างถึง 90 เมตร หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1290 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1430 หมวดหมู่:แคว้นตอสคานา หมวดหมู่:อาสนวิหารในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและอาสนวิหารฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

จอตโต ดี บอนโดเน

อตโต ดี บอนโดเน จอตโต ดี บอนโดเน (Giotto di Bondone) (ค.ศ. 1267 – 8 มกราคม ค.ศ. 1337), เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม จอตโต (Giotto), เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี จากเมืองฟลอเรนซ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนสร้างสรรค์ผลงาน ที่ก่อให้เกิดกระแสใหม่ในสังคมที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในที่สุด จอตโต ดี บอนโดเนเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับจิโอวานนี วิลลานิผู้กล่าวว่าจอตโตเป็นช่างผู้มีความสามารถที่สุดในสมัยนั้น เป็นผู้วาดภาพตามกฎของธรรมชาติ และจอตโตได้รับเงินเดีอนจากรัฐบาลเมืองฟลอเรนซ์เนื่องมาจากความสามารถBartlett, Kenneth R. (1992).

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและจอตโต ดี บอนโดเน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ดันเต อาลีกีเอรี

ูรันเต เดกลี อาลีกีเอรี หรือดันเต อาลีกีเอรี หรือเรียกสั้น ๆ ว่าดันเต (Durante degli Alighieri; Dante Alighieri) (ราวกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1265 - 14 กันยายน ค.ศ. 1321) ดันเต อาลีกีเอรีเป็นรัฐบุรุษ กวี และนักภาษาศาสตร์คนสำคัญของฟลอเรนซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในยุคกลาง งานชิ้นที่สำคัญที่สุดคือ “ดีวีนากอมเมเดีย” (Divina Commedia) ที่เดิมชื่อ “Commedia” แต่ต่อมาเรียก “Divina” โดยโจวันนี บอกกัชโช และในที่สุดก็กลายเป็น “Divina Commedia” ซึ่งถือว่าเป็นกวีนิพนธ์ชิ้นเอกของภาษาอิตาลีและของโลก ดันเตได้รับการขนานนามในอิตาลีว่า “il Sommo Poeta” หรือ “มหากวี” และได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งภาษาอิตาลี” ดานเต เปตราก และโจวันนี บอกกัชโช รู้จักรวมกันว่า “สามมงกุฏ” (the three fountains หรือ the three crowns) บอกกัชโชเป็นคนแรกที่เขียนชีวประวัติของดันเตใน “ศาสตรนิพนธ์ในการสรรเสริญดันเต” (Trattatello in laude di Dante).

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและดันเต อาลีกีเอรี · ดูเพิ่มเติม »

ดีวีนากอมเมเดีย

ีวีนากอมเมเดีย (Divina Commedia; Divine Comedy) หรือไตรภูมิดันเต เป็นวรรณกรรมอุปมานิทัศน์ที่ดันเต อาลีกีเอรี เขียนขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและดีวีนากอมเมเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและครีต · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและปฏิกิริยาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโมร็อกโก

มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600 ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริก.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศโมร็อกโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไซปรัส

ซปรัส (Cyprus; Κύπρος คีโปรส; Kıbrıs) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus; Κυπριακή Δημοκρατία; Kıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปอมเปอี

แผนที่ของภูเขาไฟวิสุเวียส นครปอมเปอี และเมืองใกล้เคียง ขณะวิสุเวียสระเบิด วันนั้น ทิศทางลมพัดเถ้าถ่านลอยมาที่ปอมเปอี ผู้เสียชีวิตในปอมเปอี ร่างกายถูกความร้อนหลอมจนในเวลาต่อมาเกิดเป็นโพรงขึ้นภายในซากชั้นธรณี ในการขุดค้นทางโบราณคดีจึงต้องหาโพรงดังกล่าว และเทปูนหล่อปลาสเตอร์เข้าไป เพื่อทำให้เห็นเป็นร่างผู้เสียชีวิตในอิริยาบทขณะเกิดวิบัติภัยจากธรรมชาติครั้งนั้น ภาพวาดหายนะของปอมเปอีโดย Karl Brullov วาดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1830-1833 ปอมเปอี (Pompeii) เป็นนครโรมันโบราณที่ถูกฝังบางส่วนใกล้กับเมืองเนเปิลส์สมัยใหม่ ในแคว้นคัมปาเนีย ประเทศอิตาลี ปอมเปอีถูกทำลายบางส่วนและถูกฝังใต้เถ้าและหินภูเขาไฟหนา 4 ถึง 6 เมตร จากเหตุภูเขาไฟวิสุเวียสปะทุใน..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและปอมเปอี · ดูเพิ่มเติม »

ปาลัซโซปุบบลีโก

ปาลัซโซปุบบลีโก (Palazzo Pubblico) เป็นสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์ตั้งอยู่ที่ในเมืองซีเอนา ในแคว้นทัสกานีของประเทศอิตาลี ที่สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1297 จุดประสงค์เดิมของสิ่งก่อสร้างก็เพื่อใช้เป็นตึกที่ทำงานของรัฐบาลของเมืองซีเอนาที่ประกอบด้วยโปเดสตา (Podesta) และสภาเก้าผู้แทน (Council of Nine) ด้านนอกของสิ่งก่อสร้างเป็นตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างของยุคกลางของอิตาลีที่มีอิทธิพลของกอทิก ชั้นล่างสร้างด้วยหินและชั้นบนสร้างด้วยอิฐ ด้านหน้าของวังโค้งเว้าเล็กน้อยรอบโค้งนูนของจัตุรัสกัมโพ (Piazza del Campo) ซึ่งเป็นจัตุรัสใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางของเมือง หอระฆังมันจา (Torre del Mangia) สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1325 ถึงปี ค.ศ. 1344 ตอนบนออกแบบโดยลิปโป เมมมี หอออกแบบให้สูงกว่าหอของเมืองฟลอเรนซ์คู่อริ และในช่วงเวลานั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในอิตาลี ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็มีการติดตั้งนาฬิกาที่ทำด้วยเครื่องกล.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและปาลัซโซปุบบลีโก · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา

ระเยซูคืนชีพ” (Resurrection) รายละเอียดจากภาพประวัติของสัตยกางเขน พระเยซูคืนชีพ เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา (ภาษาอังกฤษ: Piero della Francesca) (ราว ค.ศ. 1412 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากจะเป็นจิตรกรแล้ว เปียโร เดลลา ฟรานเชสกาก็ยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักเรขาคณิต ลักษณะของภาพเขียนจะสงบและการใช้รูปเรขาคณิตโดยเฉพาะการเขียนแบบทัศนียภาพและการเขียนภาพลึกบนผนังแบนเรียบ (foreshortening) งานส่วนใหญ่ของเดลลา ฟรานเชสกาอยู่ที่เมืองอเรซโซในแคว้นทัสเคนี.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโตร เปรูจีโน

“ภาพเหมือนตนเอง” (ค.ศ. 1497–1500) เปียโตร เปรูจิโน (Pietro Perugino; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Pietro Vannucci, ค.ศ. 1446 - ค.ศ. 1524) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและปีเอโตร เปรูจีโน · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

แลพิสแลซูลี

แลพิสแลซูลี (lapis lazuli) คือ รัตนชาติกึ่งสูงค่า (semi-precious stone) ถือว่าเป็นอัญมณีที่ค่อนข้างหายาก ถือเป็นของมีค่ามาตั้งแต่โบราณเพราะมีสีน้ำเงินสด แลพิสแลซูลีขุดกันที่จังหวัดบาดัคห์ชานในประเทศอัฟกานิสถานมากว่า 6,000 ปี และค้ามาตั้งแต่โบราณจนปรากฏในเครื่องประดับที่พบในอียิปต์โบราณก่อนยุคราชวงศ์ นอกจากนี้ ยังพบลูกปัดแลพิสแลซูลีในที่ฝังศพที่เมห์รการ์ห์ คอเคซัส หรือแม้แต่ที่ไกลไปจากอัฟกานิสถานในมอริเตเนีย แลพิสแลซูลีเป็นหินที่ขัดแล้วจะเป็นเงาขึ้น นำไปใช้เป็นเครื่องประดับ งานแกะสลัก กล่อง งานโมเสก เครื่องตกแต่ง และ แจกัน ในด้านสถาปัตยกรรมก็ใช้ตกแต่งประดับเสาของวังหรือศาสนสถาน นอกจากใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งแล้ว แลพิสแลซูลียังใช้ในการทำรงควัตถุสีน้ำเงินเข้ม (ultramarine) สำหรับสีฝุ่น และบางครั้งก็ใช้สำหรับสีน้ำมันแต่น้อย การใช้ทำเป็นส่วนผสมสำหรับสีน้ำมันมาหมดความนิยมลงไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีสารเคมีที่สามารถทำสีที่ต้องการได้ที่มักจะเรียกว่าสีน้ำเงินเข้มฝรั่ง.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและแลพิสแลซูลี · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี บัตติสตา ตีเอโปโล

อวานนิ บัตติสตา ติเอโปโล (Giovanni Battista Tiepolo หรือ Giambattista Tiepolo หรือ Gianbattista) (5 มีนาคม ค.ศ. 1696 - 27 มีนาคม ค.ศ. 1770) เป็นจิตรกรยุคบาโรกชาวเวนิสของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และ จิตรกรรมสีน้ำมัน ติเอโปโลไม่แต่ทำงานในอิตาลีแต่ยังทำงานในเยอรมนีและสเปนด้ว.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและโจวันนี บัตติสตา ตีเอโปโล · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนีโก กีร์ลันดาโย

มนีโก กีร์ลันดาโย (Domenico Ghirlandaio) หรือ โดเมนีโก ดี ตอมมาโซ กูร์ราดี ดี ดอฟโฟ บีกอร์ดี (Domenico di Tommaso Curradi di Doffo Bigordi; ค.ศ. 1449 - 11 มกราคม ค.ศ. 1494) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และการเขียนด้วยสึฝุ่นบนไม้ โดเมนีโกเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับซันโดร บอตตีเชลลี และฟิลิปปินโน ลิบปี และมีลูกศิษย์หลายคนรวมทั้งมีเกลันเจโล.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและโดเมนีโก กีร์ลันดาโย · ดูเพิ่มเติม »

เพดานโบสถ์น้อยซิสทีน

มือของพระเจ้าจรดกับมือของอาดัม เพดานโบสถ์น้อยซิสติน (Sistine Chapel ceiling) เป็นจิตรกรรมฝาผนังบนเพดานของโบสถ์น้อยซิสตินที่เขียนโดยไมเคิล แอนเจโลระหว่าง ค.ศ. 1508 ถึง ค.ศ. 1512 ที่ได้รับการจ้างโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 เป็นงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุคทองของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เพดานที่เขียนภาพอยู่ภายในโบสถ์น้อยของพระสันตะปาปาภายในพระราชวังวาติกันที่สร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1477 ถึง ค.ศ. 1480 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 ที่กลายมาเป็นชื่อโบสถ์น้อย โบสถ์น้อยเป็นที่ตั้งของห้องประชุมพระสันตะปาปาและสถานที่ที่ใช้ในการทำพิธีทางศาสนาของพระสันตะปาปาShearman 1986, pp. 22-36 ภาพเขียนบนเพดานเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อใหญ่ในการตกแต่งภายในทั้งหมดของโบสถ์น้อยที่รวมทั้งจิตรกรรมฝาผนัง “การตัดสินครั้งสุดท้าย” บนผนังด้านพิธีโดยไมเคิล แอนเจโลเช่นกัน และภาพเขียนอื่น ๆ โดยกลุ่มจิตรกรชั้นนำของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่รวมทั้งซานโดร บอตติเชลลี และเปียโตร เปรูจิโน และพรมทอแขวนผนังชุดใหญ่โดยราฟาเอล หัวใจของภาพทั้งหมดสะท้อนปรัชญาของโรมันคาทอลิกShearman 1986b, pp. 38-87O'Malley 1986, pp. 92-148 หัวใจของภาพเขียนบนเพดานเป็นฉากเก้าฉากจากพระธรรมปฐมกาล ในบรรดาเก้าภาพ ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือภาพพระเจ้าสร้างอาดัม (Creation of Adam) ที่กลายมาเป็นรูปสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีพอ ๆ กับ “โมนาลิซา” ของเลโอนาร์โด ดา วินชี โดยเฉพาะส่วนที่เป็นนิ้วมือของพระเจ้าที่แทบจะมาจรดกับนิ้วมือของอาดัมที่เป็นภาพที่กลายมาเป็นภาพที่แปลงไปเป็นงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ มากม.

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและเพดานโบสถ์น้อยซิสทีน · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์คิวเลเนียม

อร์คิวเลเนียม (Herculaneum) คือเมืองโรมันโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าแอร์โกลาโนในปัจจุบันของประเทศอิตาลี “เฮอร์คิวเลเนียม” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี..

ใหม่!!: จิตรกรรมฝาผนังและเฮอร์คิวเลเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FrescoFrescoesMuralจิตรกรรมฝาผนังปูนเปียกจิตรกรรมปูนเปียก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »