โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฌ็อง ฟูแกและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฌ็อง ฟูแกและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ฌ็อง ฟูแก vs. ภาพเหมือนผู้อุทิศ

็อง ฟูแก (Jean Fouquet) หรือ เฌออ็อง ฟูแก (Jehan Fouquet; ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1481) เป็นจิตรกรคนสำค้ญของฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญทั้งการเขียนภาพบนแผ่นไม้และการเขียนภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript) และเป็นผู้เริ่มการวาดภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรม (Miniature). “การชื่นชมของพระบุตร” ฌอง เฮย์ ผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางขวาและเป็นส่วนหนึ่งของของภาพ ภาพเหมือนผู้อุทิศ หรือ ภาพรวมผู้อุทิศ (donor portrait หรือ votive portrait) คือภาพเหมือนในจิตรกรรมหรืองานศิลปะแบบอื่นเช่นประติมากรรมที่แสดงภาพของเจ้าของภาพหรือผู้จ้างให้สร้างงานศิลปะชิ้นนั้นที่อาจจะรวมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้องของผู้จ้าง หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวกับผู้จ้างด้วย “ภาพรวมผู้อุทิศ” (votive portrait) มักจะภาพทั้งภาพที่รวมทั้งภาพหลักและผู้อุทิศที่อยู่ในภาพ แต่ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” (donor portrait) มักจะหมายถึงภาพเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผู้อุทิศเท่านั้น “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” เป็นที่นิยมกันในการสร้างศิลปะคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในงานจิตรกรรมจากยุคกลาง และยุคเรอเนสซองซ์ที่มักจะแสดงผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางด้านหน้าสองข้างของภาพ และบ่อยครั้งที่แม้แต่ในตอนปลายของยุคเรอเนสซองซ์ที่ผู้อุทิศโดยเฉพาะเมื่อแสดงทั้งครอบครัวจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเอกในภาพมากที่ขัดกับทฤษฎีการวาดทัศนมิติ เมื่อมาถึงยุคเรอเนสซองซ์ผู้อุทิศก็เริ่มมีความสำคัญขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญของภาพที่อาจจะเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ไปเลยก็ได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฌ็อง ฟูแกและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ฌ็อง ฟูแกและภาพเหมือนผู้อุทิศ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บานพับภาพยัน ฟัน ไอก์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแม่พระและพระกุมารเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ฌ็อง ฟูแกและบานพับภาพ · บานพับภาพและภาพเหมือนผู้อุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ยัน ฟัน ไอก์

หมือนของชายโพกหัวแดง" อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองของฟัน ไอก์ ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1433 ยัน ฟัน ไอก์ (Jan van Eyck; ราวก่อน ค.ศ. 1395 - ก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1441) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานที่บรูช และถือกันว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศวรรษที่ 15 สิ่งหนึ่งที่มักจะเข้าใจผิดกันเกี่ยวกับ ฟัน ไอก์ ว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้สีน้ำมันในการวาดภาพ มาจากข้อเขียนของจอร์โจ วาซารี ผู้เขียน "ชีวิตจิตรกร" ในคริสต์ศวรรษที่ 16 แต่ที่แน่ ๆ คือฟัน ไอก์มีความสำเร็จเป็นอันมากจากการใช้วิธีการวาดภาพด้วยสีน้ำมัน ยัน ฟัน ไอก์มักจะมีชื่อเกี่ยวข้องกับฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้เป็นจิตรกรและเป็นพี่ชาย และทั้งสองคนมาจากมาไซก์ ในประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน พี่ชายอีกคนหนึ่ง แลมเบิร์ตมีชื่อกล่าวในเอกสารของราชสำนักเบอร์กันดี และสันนิษฐานกันว่าคงเป็นจิตรกรด้วยและอาจจะเป็นผู้ที่ดูแลการปิดโรงฝึกงานของยัน ฟัน ไอก์ที่บรูช ฟัน ไอก์อีกผู้หนี่งคือ บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ (Barthélemy van Eyck) ผู้ทำงานอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศสก็เข้าใจว่าจะเป็นญาติกัน.

ฌ็อง ฟูแกและยัน ฟัน ไอก์ · ภาพเหมือนผู้อุทิศและยัน ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ฌ็อง ฟูแกและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ภาพเหมือนผู้อุทิศและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระและพระกุมาร

แม่พระและพระกุมาร (Madonna and Child; Madonna col Bambino) เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในศาสนาคริสต์ เป็นรูปของพระนางมารีย์พรหมจารี (ซึ่งชาวคาทอลิกเรียกว่าแม่พระ) และพระกุมารเยซู (พระเยซูเมื่อทรงพระเยาว์) “แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi).

ฌ็อง ฟูแกและแม่พระและพระกุมาร · ภาพเหมือนผู้อุทิศและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ฌ็อง ฟูแกและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ภาพเหมือนผู้อุทิศและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฌ็อง ฟูแกและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ฌ็อง ฟูแก มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาพเหมือนผู้อุทิศ มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 7.35% = 5 / (23 + 45)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฌ็อง ฟูแกและภาพเหมือนผู้อุทิศ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »