เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฉากประดับแท่นบูชาและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฉากประดับแท่นบูชาและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ฉากประดับแท่นบูชา vs. ภาพเหมือนผู้อุทิศ

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู. “การชื่นชมของพระบุตร” ฌอง เฮย์ ผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางขวาและเป็นส่วนหนึ่งของของภาพ ภาพเหมือนผู้อุทิศ หรือ ภาพรวมผู้อุทิศ (donor portrait หรือ votive portrait) คือภาพเหมือนในจิตรกรรมหรืองานศิลปะแบบอื่นเช่นประติมากรรมที่แสดงภาพของเจ้าของภาพหรือผู้จ้างให้สร้างงานศิลปะชิ้นนั้นที่อาจจะรวมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้องของผู้จ้าง หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวกับผู้จ้างด้วย “ภาพรวมผู้อุทิศ” (votive portrait) มักจะภาพทั้งภาพที่รวมทั้งภาพหลักและผู้อุทิศที่อยู่ในภาพ แต่ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” (donor portrait) มักจะหมายถึงภาพเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผู้อุทิศเท่านั้น “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” เป็นที่นิยมกันในการสร้างศิลปะคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในงานจิตรกรรมจากยุคกลาง และยุคเรอเนสซองซ์ที่มักจะแสดงผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางด้านหน้าสองข้างของภาพ และบ่อยครั้งที่แม้แต่ในตอนปลายของยุคเรอเนสซองซ์ที่ผู้อุทิศโดยเฉพาะเมื่อแสดงทั้งครอบครัวจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเอกในภาพมากที่ขัดกับทฤษฎีการวาดทัศนมิติ เมื่อมาถึงยุคเรอเนสซองซ์ผู้อุทิศก็เริ่มมีความสำคัญขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญของภาพที่อาจจะเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ไปเลยก็ได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฉากประดับแท่นบูชาและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ฉากประดับแท่นบูชาและภาพเหมือนผู้อุทิศ มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บานพับภาพยัน ฟัน ไอก์ศิลปะคริสเตียนฮือโค ฟัน เดอร์คุสฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารีฉากแท่นบูชาเกนต์ฉากแท่นบูชาเมรอดโรเบิร์ต กัมปิน

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ฉากประดับแท่นบูชาและบานพับภาพ · บานพับภาพและภาพเหมือนผู้อุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ยัน ฟัน ไอก์

หมือนของชายโพกหัวแดง" อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองของฟัน ไอก์ ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1433 ยัน ฟัน ไอก์ (Jan van Eyck; ราวก่อน ค.ศ. 1395 - ก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1441) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานที่บรูช และถือกันว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศวรรษที่ 15 สิ่งหนึ่งที่มักจะเข้าใจผิดกันเกี่ยวกับ ฟัน ไอก์ ว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้สีน้ำมันในการวาดภาพ มาจากข้อเขียนของจอร์โจ วาซารี ผู้เขียน "ชีวิตจิตรกร" ในคริสต์ศวรรษที่ 16 แต่ที่แน่ ๆ คือฟัน ไอก์มีความสำเร็จเป็นอันมากจากการใช้วิธีการวาดภาพด้วยสีน้ำมัน ยัน ฟัน ไอก์มักจะมีชื่อเกี่ยวข้องกับฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้เป็นจิตรกรและเป็นพี่ชาย และทั้งสองคนมาจากมาไซก์ ในประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน พี่ชายอีกคนหนึ่ง แลมเบิร์ตมีชื่อกล่าวในเอกสารของราชสำนักเบอร์กันดี และสันนิษฐานกันว่าคงเป็นจิตรกรด้วยและอาจจะเป็นผู้ที่ดูแลการปิดโรงฝึกงานของยัน ฟัน ไอก์ที่บรูช ฟัน ไอก์อีกผู้หนี่งคือ บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ (Barthélemy van Eyck) ผู้ทำงานอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศสก็เข้าใจว่าจะเป็นญาติกัน.

ฉากประดับแท่นบูชาและยัน ฟัน ไอก์ · ภาพเหมือนผู้อุทิศและยัน ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ฉากประดับแท่นบูชาและศิลปะคริสเตียน · ภาพเหมือนผู้อุทิศและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ฮือโค ฟัน เดอร์คุส

ือโค ฟัน เดอร์คุส (Hugo van der Goes; ราว ค.ศ. 1440 - ราว ค.ศ. 1482) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (เรอแนซ็องส์) ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและบานพับภาพ ฮือโค ฟัน เดอร์คุสเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1440 ที่เมืองเกนต์ เสียชีวิตที่ใกล้เมืองบรัสเซลส์เมื่อราว ค.ศ. 1482 ฮือโคเป็นสมาชิกของสมาคมช่างเขียนแห่งเกนต์ในฐานะมาสเตอร์ในปี ค.ศ. 1467 ในปี ค.ศ. 1468 ฮือโคก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกแต่งเมืองบรูชเพื่อเตรียมการฉลองการเสกสมรสระหว่างชาร์ลพระเศียรล้าน ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี (Charles the Bold) กับมาร์กาเรตแห่งยอร์ก (Margaret of York) และเป็นผู้ตกแต่งตราประจำพระองค์สำหรับขบวนการเสด็จเข้าเมืองเกนต์ของพระเจ้าชาร์ลในปี ค.ศ. 1469 และต่อมาในปี ค.ศ. 1472 ฮือโคก็ได้รับเลือกให้เป็นอธิการของสมาคมในปี ค.ศ. 1473 หรือปี ค.ศ. 1474 ในปี ค.ศ. 1475 หรือหลายปีต่อมา ฮือโคก็บวชเป็นพระที่สำนักสงฆ์โรดโกลสเตอร์ (Rood Klooster) ไม่ไกลจากบรัสเซลส์ที่เป็นของนิกายวินเดิสไฮม์ (Windesheim Congregation) และยังคงทำงานจิตรกรรมต่อจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1482 หรือในปี ค.ศ. 1483 ในปี ค.ศ. 1480 ฮือโคถูกเรียกตัวไปเมืองเลอเฟินเพื่อไปเขียน "Justice Scenes" ที่ดีร์ก เบาตส์ เขียนค้างไว้ก่อนที่จะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1475 หลังจากนั้นไม่นานขณะที่ฮือโคเดินทางกลับจากโคโลญกับพระในสำนักก็เกิดความรู้สึกอยากจะฆ่าตัวตายและประกาศตัวเองว่าเป็นผู้ที่ถูกแช่ง แต่เมื่อกลับมาถึงโรดโกลสเตอร์ ฮือโคก็หายและเสียชีวิตที่นั่น ระยะเวลาที่พำนักที่สำนักสงฆ์ถูกบันทึกโดยคัสปาร์ โอฟเฮยส์ (Gaspar Ofhuys) นักบวชอีกองค์หนึ่ง รายงานโดยแพทย์ชาวเยอรมันฮีเยโรนือมุส มึนเซอร์ (Hieronymus Münzer) ในปี ค.ศ. 1495 ทีกล่าวถึงจิตรกรชาวเกนต์ตกอยู่ในอารมณ์เศร้าเพราะความกดดันที่จะเขียนภาพให้ดีเท่าฉากแท่นบูชาเกนต์ อาจจะหมายถึงฮือโค งานเขียนชิ้นที่สำคัญที่สุดที่ยังเหลืออยู่คือฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์) ที่เป็นงานที่จ้างสำหรับวัดซานเอจีดีโอในโรงพยาบาลของวัดซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์ โดยตอมมาโซ ปอร์ตีนารี (Tommaso Portinari) ผู้จัดการสาขาบรูชของธนาคารเมดีชี ฉากแท่นบูชามาถึงฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1483 หลายปีหลังจากที่ฮือโคเขียนเสร็จ เป็นงานที่ชื่นชมกันในฟลอเรนซ์ จอร์โจ วาซารีในหนังสือ "ชีวิตศิลปิน" ของปี ค.ศ. 1550 เรียกฮือโคว่า "Ugo d'Anversa" (ฮือโคแห่งแอนต์เวิร์ป) ซึ่งเป็นหลักฐานเดียวที่ยืนยันว่าฮือโคเป็นผู้เขียนภาพ งานชิ้นอื่นใช้การวิจัยลักษณะการเขียนโดยการเปรียบเทียบกับฉากแท่นบูชานี้ในการบ่งว่าฮือโคเป็นผู้วาด ดูเหมือนว่าฮือโคจะทิ้งงานร่างไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะใช้โดยผู้นิยมในการสร้างงานเขียนที่ฮือโคไม่ได้วาดด้วยตนเอง ร่างภาพ "เจค็อบและเรเชล" อยู่ที่ไครสต์เชิร์ช เชื่อเป็นงานที่ลงชื่อในจำนวนไม่กี่ชิ้นที่เหลืออยู.

ฉากประดับแท่นบูชาและฮือโค ฟัน เดอร์คุส · ภาพเหมือนผู้อุทิศและฮือโค ฟัน เดอร์คุส · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (Portinari-triptiek; Trittico Portinari; Portinari Altarpiece) เป็นบานพับภาพที่เขียนโดยฮือโค ฟัน เดอร์คุส จิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวดัตช์ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ฟัน เดอร์คุสเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี" ราวปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพการชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ เป็นงานที่ได้รับจ้างสำหรับวัดโรงพยาบาลซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์โดยนายธนาคารชาวอิตาลี ตอมมาโซ ปอร์ตีนารี ที่พำนักอยู่ที่เมืองบรูชเป็นเวลากว่าสี่สิบปีในฐานะผู้แทนของธนาคารเมดีชีของตระกูลเมดีชี ปอร์ตีนารีเองปรากฏในแผงซ้ายของฉากแท่นบูชากับลูกชายสองคน คือ อันโตนีโอและปีเจลโล ส่วนมารีอา ดี ฟรันเชสโก บารอนเชลลี (ภรรยา) กับมาร์การีตา (ลูกสาว) อยู่บนแผงขวา ทุกคนในภาพมีนักบุญผู้พิทักษ์ของแต่ละคน (ยกเว้นปีเจลโล) กล่าวคือ บนแผงซ้ายเป็นนักบุญทอมัสอัครสาวกถือหอกและนักบุญแอนโทนีอธิการถือกระดิ่ง บนแผงซ้ายนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาถือผอบน้ำมันหอม และนักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออกถือหนังสือและมีมังกรที่เท้า แผงกลางประกอบด้วยคนเลี้ยงแกะสามคนคุกเข่าทำความเคารพพระบุตร ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากบ้าน ๆ อย่างเป็นจริงเป็นจังและได้บรรยากาศ นอกจากนั้นในภาพก็มีเทวดาที่ลอยอยู่เหนือและที่คุกเข่ารอบพระแม่มารีและพระบุตรผู้ที่มิได้นอนในกองฟางแต่นอนอยู่กลางลานโดยมีรัศมีรอบ การเขียนที่มีลักษณะแปลกเช่นนี้อาจจะเขียนตามทิพยทัศน์ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดนก่อนที่จะเสียชีวิตที่บรรยายถึงการเห็นแสงสว่างส่องออกมาจากร่างของพระบุตร แจกันดอกไม้ ในฉากหลัง ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก กล่าวคือ บนแผงซ้ายฉากหลังเป็นภาพนักบุญโจเซฟพาพระแม่มารีผู้ทรงครรภ์เดินทางหนีไปอียิปต์; แผงกลางทางด้านขวาเป็นภาพเทวดาที่ประกาศข่าวการกำเนิดของพระเยซูแก่คนเลี้ยงแกะ และแผงขวาเป็นภาพการเดินทางของแมไจสามคนมายังเบทเลเฮม ด้านหน้าของภาพเป็นภาพนิ่งขนาดเล็กของแจกันดอกไม้สองแจกันและข้าวสาลีกำมือหนึ่ง (ซึ่งหมายถึงเบทเลเฮม "เมืองแห่งขนมปัง") ที่อาจจะเป็นนัยถึงศีลมหาสนิทหรือทุกขกิริยาของพระเยซู กำข้าวสาลีอาจจะหมายถึงพระกระยาหารมื้อสุดท้าย ที่พระเยซูแบ่งขนมปังกับอัครสาวก ดอกลิลลีสีส้มในแจกันเป็นสัญลักษณ์ของทุกขกิริยาของพระเยซูที่จะมาถึง ดอกไอริสสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ขณะที่ดอกไอริสสีม่วงและก้านดอกแอควิลีเจีย (Aquilegia caerulea) เป็นสัญลักษณ์ของความเศร้าเจ็ดอย่างของพระแม่มารี (Seven sorrows of the Virgin) ฉะนั้นภาพการกำเนิดนี้จึงเป็นภาพที่เป็นเหตุการณ์ที่จะนำมาซึ่งความตายของพระเยซูในที่สุด เมื่องานชิ้นนี้ไปถึงฟลอเรนซ์ในปี..

ฉากประดับแท่นบูชาและฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี · ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารีและภาพเหมือนผู้อุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเกนต์

วิวเมื่อเปิดบานพับภาพ วิวเมื่อปิดบานพับภาพ ฉากประดับแท่นบูชาเกนต์ (Gents altaarstuk; Ghent Altarpiece) หรือ ลูกแกะของพระเจ้า (Het Lam Gods; Adoration of the Mystic Lamb) เป็นบานพับภาพเขียนเสร็จเมื่อ..

ฉากประดับแท่นบูชาและฉากแท่นบูชาเกนต์ · ฉากแท่นบูชาเกนต์และภาพเหมือนผู้อุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย "โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย" "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง.

ฉากประดับแท่นบูชาและฉากแท่นบูชาเมรอด · ฉากแท่นบูชาเมรอดและภาพเหมือนผู้อุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต กัมปิน

แผ่นภาพ "Flemalle" ส่วนหนึ่ง งานที่มักจะสันนิษฐานว่าเขียนโดยกัมปิน บานภาพนี้เป็นบานทางขวาของบานพับภาพเวิร์ล (Werl triptych) ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1438 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานปราโด ประเทศสเปน โรเบิร์ต กัมปิน (Robert Campin; ราว ค.ศ. 1375 - 26 เมษายน ค.ศ. 1444) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมแผงและบานพับภาพ สันนิษฐานกันว่าโรเบิร์ต กัมปิน เป็นคนคนเดียวกับจิตรกรที่เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" (Master of Flémalle) ประวัติของกัมปินมีเนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับชีวิตของคนในยุคนั้น แต่ไม่มีงานชิ้นใดที่กล่าวได้แน่นอนว่าเป็นของกัมปิน ขณะที่งานส่วนใหญ่กล่าวกันว่าเป็นงานของผู้เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกตามภาพเขียน.

ฉากประดับแท่นบูชาและโรเบิร์ต กัมปิน · ภาพเหมือนผู้อุทิศและโรเบิร์ต กัมปิน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฉากประดับแท่นบูชาและภาพเหมือนผู้อุทิศ

ฉากประดับแท่นบูชา มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาพเหมือนผู้อุทิศ มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 11.27% = 8 / (26 + 45)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฉากประดับแท่นบูชาและภาพเหมือนผู้อุทิศ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: