โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส

ดัชนี พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส (Charles X de France, ชาร์ลดิสเดอฟร็องส์; 9 ตุลาคม พ.ศ. 2300 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2379), ได้รับพระสมัญญานามว่า ผู้ทรงเป็นที่รัก (le Bien-Aimé; เลอเบียงแนเม), ทรงดำรงตำแหน่งเคานต์แห่งอาร์ตัวก่อนจะขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ตั้งแต่ 16 กันยายน พ.ศ. 2367 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2373 เป็นพระปิตุลา (ลุง) ในเยาวกษัตริย์ผู้ทรงไม่ได้บรมราชาภิเษก พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 และพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งหลังทรงถูกเนรเทศก็สนับสนุนพระอนุชาจนได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงครองราชสมบัติเป็นระยะเวลาเกือบ 6 ปี และสิ้นสุดลงด้วยการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ต้องทรงสละราชสมบัติแก่หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงถูกเนรเทศและสวรรคตที่กอริเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรี.

80 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2300พ.ศ. 2367พ.ศ. 2373พ.ศ. 2379พระราชวังช็องบอร์พระราชวังฮอลีรูดพระราชวังแวร์ซายพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์กฎหมายแซลิกการทลายคุกบัสตีย์การแต่งงานต่างฐานันดรการเสด็จสู่วาแรนมารี อ็องตัวแน็ตมาร์แซย์มีแชล แนรอยัลไฮเนสระบบสองสภารัชทายาทที่ได้รับสมมุติรัฐผู้คัดเลือกเทรียร์ราชวงศ์บูร์บงราชวงศ์ออร์เลอ็องราชอาณาจักรฝรั่งเศสรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศสลัทธิคลาสสิกใหม่วัณโรควุฒิสภาฝรั่งเศสสภากงว็องซียงแห่งชาติสมัยร้อยวันสิทธิของบุตรหัวปีสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสสงครามปฏิวัติอเมริกาสงครามเจ็ดปีหลุยส์ อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลมอหิวาตกโรคอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันอาดอลฟ์ ตีแยร์อ็องรี ดาร์ตัวจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งออสเตรียจักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จังหวัดว็องเด...ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงดอร์เซตตูรินซาวอยซ่องโสเภณีประเทศสโลวีเนียประเทศอียิปต์ประเทศแอลจีเรียปรัสเซียปรากปราสาทปรากปาแล-รัวยาลนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรแม่น้ำแซนโรมันคาทอลิกโรคฝีดาษโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสเยลกาวาเวโรนาเอดินบะระเจ้าชายสืบสายพระโลหิตเจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1729–1765)เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเทรียร์เนื้อตายเน่า16 กันยายน2 สิงหาคม6 พฤศจิกายน9 ตุลาคม ขยายดัชนี (30 มากกว่า) »

พ.ศ. 2300

ทธศักราช 2300 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพ.ศ. 2300 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2367

ทธศักราช 2367 ตรงกับคริสต์ศักราช 1824 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพ.ศ. 2367 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2373

ทธศักราช 2373 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1830 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพ.ศ. 2373 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2379

ทธศักราช 2379 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1836 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพ.ศ. 2379 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังช็องบอร์

ระราชวังช็องบอร์ (Château de Chambord) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในช็องบอร์ในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังช็องบอร์เป็นวังที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดวังหนึ่งในโลกจากลักษณะสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะผสานระหว่างการก่อสร้างแบบยุคกลางของฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมคลาสสิกของอิตาลี พระราชวังช็องบอร์สร้างโดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสสำหรับเป็นที่ประทับที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากโกลด โรอ็อง พระสนมเคาน์เทสส์แห่งตูรี ภรรยาของฌูว์เลียง เคานต์แห่งแกลร์มง ซึ่งเป็นตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ที่พำนักอยู่ที่วังมุยด์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ตราอาร์มของโคลดใช้ตกแต่งพระราชวัง ช็องบอร์เป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวังต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำลัวร์ แต่เดิมเป็นเพียงตำหนักล่าสัตว์ของพระเจ้าฟร็องซัว ผู้ทรงมีที่ประทับอยู่ที่พระราชวังบลัวและพระราชวังอ็องบวซ กล่าวกันว่าช็องบอร์เดิมออกแบบโดยโดเมนีโก ดา กอร์โตนา ผู้ที่มีจำลองไม้ที่มีอายุยืนพอที่จะให้อ็องเดร เฟลีเบียงวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้มีส่วนสำคัญในการออกแบบคือสถาปนิกยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวฝรั่งเศสฟีลีแบร์ เดอลอร์ม ในระยะยี่สิบปีของการก่อสร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระราชวังช็องบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังฮอลีรูด

ระราชวังฮอลีรูด (Holyrood Palace หรือ Palace of Holyroodhouse) ชื่อ "Holyrood" เป็นคำที่แปลงเป็นภาษาอังกฤษจากคำว่า "Haly Ruid" ของภาษาสกอตที่แปลว่า "กางเขนศักดิ์สิทธิ์" (Holy Cross) พระราชวังฮอลีรูดเป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เอดินบะระในสกอตแลนด์ในสหราชอาณาจักร ฮอลีรูดเป็นพระราชวังที่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์อังกฤษที่ยังทรงใช้ในสถานที่ประทับหลักในสกอตแลนด์ ฮอลีรูดเดิมเป็นสำนักสงฆ์ที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าเดวิดที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 1128 ต่อมามาใช้เป็นที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์และพระราชินีของสกอตแลนด์มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ตัวพระราชวังตั้งอยู่ทางใต้ของรอยัลไมล์ (Royal Mile) ในเอดินบะระ ตรงกันข้ามกับปราสาทเอดินบะระทางอีกด้านหนึ่งของรอยัลไมล์ ในปัจจุบันเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการในสกอตแลนด์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ผู้ทรงประทับเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ในต้นฤดูร้อนของทุกปีและทรงเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงในสวนและการเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการต่าง ๆ เมื่อประทับอยู่ที่นั่น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระราชวังฮอลีรูด · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังแวร์ซาย

ระราชวังแวร์ซาย (Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระราชวังแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (Louis-Philippe Ier; Louis-Philippe of France) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2316 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2393) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส (King of the French) ตั้งแต่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2373 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 รวม 18 ปี ต่อจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักของประชาชนในนาม "พระมหากษัตริย์แห่งเดือนกรกฎาคม" โดยพระองค์ก็ถูกบังคับให้สละราชสมบัติในปีค.ศ. 1830 และเสด็จไปลี้ภัยที่ประเทศอังกฤษจนสิ้นพระชนม์ชีพ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งฝรั่งเศส (ถ้าไม่นับรวมจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งอยู่ในฐานะจักรพรรดิ).

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (Louis XV de France; ''หลุยส์แก็งซ์เดอฟร็องส์''.) (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2253 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317) หรือ ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง (ฝรั่งเศส: le Bien-Aimé; เลอเบียง-เนเม) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2258 (ค.ศ. 1715) จนกระทั่งสวรรคต ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์ การบริหารราชการในระยะแรกอยู่ในความรับผิดชอบของอ็องเดร แอร์กูล เดอเฟลอรี เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นก็ทรงเอาพระทัยในการบริหารประเทศ แต่ทรงพยายามรักษาความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสไว้เช่นสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านหลายครั้งแต่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก ภายหลังทรงเริ่มละทิ้งราชการไปสนพระทัยในวิทยาศาสตร์และสนทนากับปัญญาชน รวมถึงทรงมีสัมพันธ์กับสตรีสูงศักดิ์หลายคน ถือว่าสถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสเริ่มเสื่อมความนิยมและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น การบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ในรัชกาลต่อม.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVI de France, หลุยส์แซซเดอฟร็องส์; 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส

เจ้าชาย หลุยส์-ชาร์ล แห่งฝรั่งเศส (Louis-Charles de France) หรือที่กลุ่มกษัตริย์นิยมในฝรั่งเศสนับถือเป็น พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVII de France) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งนาวาร์ (Louis IV de Navarre) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์บูร์บง ประสูติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2328 ณ เมืองแวร์ซายส์ โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี มารี อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย เมื่อแรกประสูตินั้น พระองค์มีพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งนอร์ม็องดี ต่อมาจึงได้ทรงดำรงพระยศเป็นโดแฟ็งแห่งเวียนนัวส์ (Dauphin de Viennois) ซึ่งเป็นตำแหน่งของรัชทายาทฝรั่งเศส และ "ปรินซ์รอแยลออฟฟรานซ์" (Prince Royal of France) ในปี พ.ศ. 2332 และ พ.ศ. 2334 ตามลำดับ พระองค์ได้ทรงรับสืบทอดพระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หลังจากที่พระราชบิดาทรงถูกคณะปฏิวัติสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียรในวันนั้น ซึ่งพระองค์เองก็ทรงถูกคณะปฏิวัติคุมขังตราบจนเสด็จสวรรคตในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2338 โดยที่ไม่มีโอกาสจะได้ขึ้นครองราชสมบัติเยี่ยงกษัตริย์พระองค์อื่นแต่อย่างใด สิริรวมพระชนมายุได้ 10 พรรษาโดยโรควัณโรค แต่หลักฐานก็ยังไม่แน่ชัดเพราะว่า บางคน เล่ากันว่าพระองค์ได้มีสหายคนสนิทได้ลักลอบพาตัวพระองค์ออกนอกประเทศและไม่เปิดเผยนามที่แท้จริงของพระองค์โดยสมัยนั้นมีถึง 30 คนที่ปลอมตนเองว่าเป็นพระองค์ หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตขณะทรงพระเยาว์.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVIII de France; หลุยส์ดีซุยต์เดอฟร็องส์; หลุยส์ สตานิสลาส กซาวีเย, 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 - 16 กันยายน ค.ศ. 1824) ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักว่า "ผู้ปรารถนา" (le Désiré) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงผู้ครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและนาวาร์ตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (George III of the United Kingdom) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 – 29 มกราคม ค.ศ. 1820) เป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายแซลิก

ระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงแถลงกฎหมายแซลิก ท่ามกลางแม่ทัพนายกองของพระองค์ กฎหมายแซลิก (Lex Salica; Salic law) หรือ ประชุมกฎหมายอนารยชน (Code of the Barbaric Laws) เป็นกลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับชนชาติแฟรงค์แซเลียน (Salian Franks) เมื่อต้นยุคกลางระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดยสันนิษฐานกันว่ากฎหมายแซลิกรวบรวมขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 507 ถึงปี ค.ศ. 511.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและกฎหมายแซลิก · ดูเพิ่มเติม »

การทลายคุกบัสตีย์

การทลายคุกบัสตีย์ (Prise de la Bastille; Fall of the Bastille) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและการทลายคุกบัสตีย์ · ดูเพิ่มเติม »

การแต่งงานต่างฐานันดร

อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์และโซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์กสมรสกันแบบมอร์แกนเนติคซึ่งทำให้พระโอรสของทั้งสองพระองค์ไม่มีสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์และจะไม่มีสิทธิ์อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ออสเตรีย การแต่งงานต่างฐานันดร (ภาษาอังกฤษ: Morganatic marriage) เป็นการแต่งงานลักษณะหนึ่งที่ใช้เป็นสัญญาการแต่งงานได้ในบางประเทศ มักจะเป็นการแต่งงานระหว่างบุคคลสองคนที่มีฐานะทางสังคมไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งจำกัดมิให้ตำแหน่งของสามีหรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นของสามีผ่านไปสู่ภรรยาหรือบุตรธิดาที่เกิดจากการสมรสลักษณะนี้ บางครั้งก็เรียกว่า “การแต่งงานมือซ้าย” (left-handed marriage) เพราะเจ้าบ่าวจะกุมมือขวาเจ้าสาวไว้ด้วยมือซ้ายแทนที่จะกุมด้วยมือขวา การแต่งงานลักษณะนี้มักจะเป็นการแต่งงานของชายที่มียศศักดิ์โดยเฉพาะในรัฐต่างๆ ของเยอรมนีกับสตรีที่มิได้เป็นเจ้านายหรือมีแคว้นหรือดินแดนปกครองที่เป็นของตนเอง หรือสตรีที่ถือกันว่ามีฐานะต่ำต้อยกว่าในสังคม ทั้งภรรยาและบุตรธิดาที่เกิดจากการแต่งงานไม่มีสิทธิในตำแหน่ง สิทธิ หรืออสังหาริมทรัพย์ของสามี แต่บุตรธิดาถือว่าเป็นบุตรธิดาในสมรส และการแต่งงานเช่นนี้อยู่ภายใต้กฎห้ามการแต่งงานซ้ำซ้อน (Polygamy) การแต่งงานลักษณะนี้ก็เช่นเดียวกันกับสตรีที่มียศศักดิ์สูงกว่าชาย แต่จะเกิดน้อยครั้งและโดยเฉพาะเมื่อสตรีส่วนใหญ่มักจะไม่มีตำแหน่งให้สืบทอดและมักจะมิได้เลือกสามีด้วยตนเอง ยกเว้นแต่ในกรณีของมารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งพาร์มา (เมื่อแรกเกิดเป็นอาร์ชดัชเชสแห่งราชวงศ์แฮบสเบิร์ก) และเมื่อแต่งงานครั้งแรกกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ก็ได้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส หลังจากนโปเลียนเสด็จสวรรคต ก็แต่งงานครั้งที่สองแบบมอร์แกนเนติคกับเคานท์ อีกกรณีหนึ่งคือมาเรีย คริสตีนาแห่งบูร์บง-ทูซิชิลีส์ พระราชินีแห่งสเปน (Maria Christina of Bourbon-Two Sicilies) ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระราชธิดาพระราชินีนาถอิสซาเบลลาที่ 2 แห่งสเปนหลังจากที่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 แห่งสเปนเสด็จสวรรคต ก็ทรงแต่งงานกับทหารรักษาพระองค์คนหนึ่งแบบมอร์แกนเนติคอย่างลั.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและการแต่งงานต่างฐานันดร · ดูเพิ่มเติม »

การเสด็จสู่วาแรน

ระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส, พระชายา และพระราชโอรส-ธิดา ขณะฉลองพระองค์ปลอมเป็นกระฎุมพี ถูกจับกุม ณ เมืองวาแรน การเสด็จสู่วาแรน (Fuite à Varennes; เกิดขึ้นในคืนวันที่ 20 ย่างเช้าวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1791) คือเหตุการณ์สำคัญในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นเหตุการณ์ซึ่งพระเจ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส, พระราชินีมารี อ็องตัวแน็ต และพระบรมวงศานุวงศ์ใกล้ชิด ทรงล้มเหลวในความพยายามเสด็จหนีออกจากปารีสเพื่อที่จะทรงริเริ่มการปฏิวัติต่อต้าน จุดหมายปลายทางคือออสเตรียที่ซึ่งพระนางมารี อ็องตัวแน็ตประสูติและเจริญพระชันษามา อีกทั้งยังทรงตระหนักดีว่าจะทรงปลอดภัยจากข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศสและออสเตรียที่เพิ่งค้นพบใหม่ แต่ก็ทรงล้มเหลวเมื่อเสด็จไปได้ไกลเพียงเมืองวาแรน เหตุการณ์นี้นับเป็นจุดพลิกผันของการปฏิวัติเนื่องจากทำให้การต่อต้านระบอบกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในฐานะสถาบันและการต่อต้านองค์กษัตริย์และพระราชินีในฐานะปัจเจกบุคคลมีความเด่นชัดเพิ่มมากขึ้น ความพยายามครั้งนี้ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกตั้งข้อกล่าวหาการกบฏจนในท้ายที่สุดนำไปสู่การสำเร็จโทษในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและการเสด็จสู่วาแรน · ดูเพิ่มเติม »

มารี อ็องตัวแน็ต

มารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) หรือนามประสูติคือ อาร์ชดัชเชสมาเรีย อันโทเนีย โยเซฟา โยอันนา (Maria Antonia Josepha Johanna) เป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้อภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์ฝรั่งเศสและขึ้นเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ (แคว้นบาสก์ในปัจจุบัน) พระนางถูกประหารด้วยกิโยตีนระหว่างการปฏิวัติฝรั่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและมารี อ็องตัวแน็ต · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซย์

มาร์แซย์ (Marseille) หรือ มาร์เซยอ (Marselha) เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,516,340 คน (ปี 2542) เมืองมาร์แซย์เป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ ตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและมาร์แซย์ · ดูเพิ่มเติม »

มีแชล แน

มีแชล แน (Michel Ney,; 10 มกราคม ค.ศ. 1769 - 7 ธันวาคม ค.ศ. 1815) เป็นทหารและผู้บัญชาการทหารระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน เขาเป็นหนึ่งใน 18 จอมพลฝรั่งเศสดั้งเดิมที่นโปเลียนทรงสถาปนา ได้รับสมญานามว่า จอมสุรโยธิน (the bravest of the brave) เขาเป็นจอมพลแห่งฝรั่งเศสเพียงคนเดียวที่ถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาทรราชหลังการฟื้นฟูราชาธิปไตยในฝรั่งเศสครั้งที่สอง ท่ามกลางเสียงคัดค้านของชาวฝรั่งเศสทั่วไป.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและมีแชล แน · ดูเพิ่มเติม »

รอยัลไฮเนส

รอยัลไฮเนส (Royal Highness) หรือ รอยัลไฮนิส (/ˈhʌɪnɪs/) เป็นฐานันดรศักดิ์ของสมาชิกราชวงศ์บางชั้นในทวีปยุโรป มักใช้นำพระนามเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่เป็นพระราชบุตรในสมเด็จพระราชาธิบดีหรือสมเด็จพระราชินีนาถ ฐานันดรศักดิ์รอยัลไฮเนสมีศักดิ์ต่ำกว่า "อิมพีเรียลไฮเนส" แต่สูงกว่า "แกรนด์ดิวคัลไฮเนส", "ไฮเนส" และ "เซอรีนไฮเนส" เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและรอยัลไฮเนส · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสองสภา

ระบบสองสภา (อังกฤษ: bicameralism -bi + Latin camera หรือ chamber) เป็นระบบการปกครองที่มีองค์นิติบัญญัติสององค์หรือมีรัฐสภาสองสภา ดังนั้น ระบบสองสภา หรือ สององค์นิติบัญญัติจึงประกอบด้วย 2 องค์ประชุมคือสภาสูงและสภาล่าง ระบบสองสภานับเป็นหัวใจสำคัญของรูปแบบคลาสสิกของรัฐบาลผสม องค์นิติบัญญัติแบบสองสภาจึงจำเป็นต้องมีเสียงข้างมากในการผ่านกฎหม.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและระบบสองสภา · ดูเพิ่มเติม »

รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ

มส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต รัชทายาทที่ได้รับสมมุติแห่งอังกฤษและสกอตแลนด์ ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ (pretender) คือ ผู้อ้างการมีสิทธิ์ในตำแหน่งเกียรติหรือยศที่ไม่มีอยู่แล้ว ใช้กับอดีตพระมหากษัตริย์ หรือผู้สืบเชื้อสายอดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งราชบัลลังก์มีผู้ครองแล้วหรือมีคู่แข่งอ้าง หรือถูกเลิกไปแล้วมากที่สุด ภาษาอังกฤษคำว่า “Pretend” มาจากภาษาฝรั่งเศส “prétendre” ที่แปลว่า ยื่นเสนอ เสนอ หรืออ้าง นอกจากนั้นคำว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ” ยังใช้กับกลุ่มผู้ที่พยายามอ้างสิทธิในนามของผู้อื่นไม่ว่าผู้นั้นจะทราบหรือทำการอ้างเองหรือไม่ และเป็นคำที่ใช้ได้ทั้งสำหรับผู้อ้างที่มีสิทธิที่แท้จริงในราชบัลลังก์ เช่น กรณีผู้อ้างหลายคนระหว่างสงครามดอกกุหลาบ หรือผู้ประดิษฐ์ข้ออ้างขึ้นเองในกรณีของแลมเบิร์ต ซิมเนล (Lambert Simnel) ผู้อ้างว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ บุคคลในกลุ่มหลังนี้มักจะอ้างใช้ชื่อของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือพระญาติพระวงศ์ที่หายสาบสูญไป ซึ่งบางที่ก็จะเรียกว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติเท็จ” (false pretender) รัชทายาทที่ได้รับสมมุติของพระสันตะปาปา เรียก “พระสันตะปาปาเท็จ” (antipope).

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและรัชทายาทที่ได้รับสมมุติ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์

รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์ (Kurfürstentum Trier, Electorate of Trier) เดิมเป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ต่อมาเป็นราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และประมุขได้เป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก จนถึงต้นปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและรัฐผู้คัดเลือกเทรียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์บูร์บง

ราชวงศ์บูร์บง (ฝรั่งเศส: Maison de Bourbon; สเปน: Casa de Borbón; อังกฤษ: House of Bourbon) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาชิกในราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ เกาะซิซิลี และเมืองปาร์มาในประเทศอิตาลีด้วย ในปัจจุบันประเทศที่ยังคงมีสมาชิกในราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่คือราชอาณาจักรสเปนและราชรัฐลักเซมเบิร์ก กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงที่ได้ปกครองประเทศสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ได้มีการโค่นล้ม แก่งแย่ง และฟื้นฟูใหม่อยู่ตลอดเวลา จนมาถึงปัจจุบันซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนทรงเป็นประมุขแห่งประเทศสเปนอยู่ ส่วนทางประเทศลักเซมเบิร์กนั้น ได้มีการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ จึงนับได้ว่าทางฝ่ายราชสำนักลักเซมเบิร์กนั้นก็มีเชื้อสายราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและราชวงศ์บูร์บง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ออร์เลอ็อง

ตระกูลออร์เลอ็อง (House of Orléans) “ออร์เลอ็อง” เป็นชื่อที่ใช้เรียกสาขาของราชวงศ์ฝรั่งเศสหลายสาขาที่สืบเชื้อสายมาจากอูก กาเปต์ผู้ก่อตั้ง ระหว่างสมัย “การปกครองระบบโบราณในฝรั่งเศส” ก็จะมีการประเพณีมอบบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งออร์เลอ็องใหนแก่พระราชโอรสองค์รองของพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นสาขาของตระกูลออร์เลอ็องจึงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมากที่สุดเพราะสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรส และบางครั้งก็เป็นผู้ได้ขึ้นครองพระราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเองถ้าพระราชโอรสองค์โตมาสิ้นพระชนม์เสียก่อน สาขาสุดท้ายของตระกูลออร์เลอ็องที่มีบรรดาศักดิ์เป็นดยุกสืบเชื้อสายมาจากอองรีเดอบูร์บอง ดยุกแห่งแวงโดม (พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส) ผู้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและราชวงศ์ออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและราชอาณาจักรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส

ระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (Monarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคลาสสิกใหม่

"แจกันเมดีชี" แจกันกระเบื้อง ตกแต่งด้วยสีปอมเปอีดำและแดง, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ราว ค.ศ. 1830 ลัทธิคลาสสิกใหม่ (neoclassicism, neo-classicism) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับขบวนการทางวัฒนธรรมของศิลปะการตกแต่ง ทัศนศิลป์ วรรณคดี การละคร ดนตรี และสถาปัตยกรรมที่มาจากศิลปะคลาสสิกและวัฒนธรรมซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรีกโบราณหรือโรมันโบราณ) ขบวนการเหล่านี้มีความนิยมระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและลัทธิคลาสสิกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาฝรั่งเศส

วุฒิสภาฝรั่งเศส (Sénat français) เป็นสภาสูงในรัฐสภาฝรั่งเศส มีประธานวุฒิสภา (président) เป็นผู้ดำเนินการประชุม วุฒสิภามีความสำคัญน้อยกว่าสภาผู้แทนราษฎร เช่นเดียวกับการอภิปรายในวุฒิสภาที่มีความตึงเครียดน้อยกว่า ฉะนั้น วุฒิสภาจึงได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนน้อ.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและวุฒิสภาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สภากงว็องซียงแห่งชาติ

สภากงว็องซียงแห่งชาติ (Convention nationale) คือคณะการปกครองประเทศฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเริ่มทำการปกครองตั้งแต่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 1795 โดยทำหน้าที่บริหารประเทศและควบคุมอำนาจบริหารในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 โดยสมาชิกที่มีชื่อเสียงจากสมัชชาแห่งนี้ได้แก่ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์, ฌ็อง-ปอล มารา, ฌอร์ฌ ด็องตง เป็นต้น โดยในภายหลังทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม หมวดหมู่:การปฏิวัติฝรั่งเศส.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและสภากงว็องซียงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยร้อยวัน

มัยร้อยวัน (les Cent-Jours, Hundred Days) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สงครามประสานมิตรครั้งที่เจ็ด (War of the Seventh Coalition) เป็นช่วงเวลาที่เริ่มตั้งแต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 หนีจากเกาะเอลบาขึ้นสู่แผ่นดินยุโรป เมื่อวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและสมัยร้อยวัน · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิของบุตรหัวปี

ทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) เป็นสิทธิทางคอมมอนลอว์ ของบุตรคนแรก (firstborn) ในการได้รับทรัพย์สินทั้งหมดเป็นมรดก โดยละเว้นสิทธิของบุตรคนรองอื่น ๆ ทั้งหมด สิทธินี้นำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยนอร์มันในปี ค.ศ. 1066 ตามธรรมเนียมของนอร์มันบุตรชายคนแรกจะได้รับดินแดน ทรัพย์สิน และตำแหน่งที่เป็นของบิดาทั้งหมด ในกรณีที่ไม่มีลูก ทรัพย์สินก็จะผ่านต่อไปยังญาติตามลำดับความเหมาะสมตามอาวุโส สิทธิของบุตรคนแรกก็มีการประยุกต์กันไปหลายอย่าง เช่นการยกเลิกการให้อภิสิทธิ์นี้เฉพาะแต่ผู้เป็นชาย เช่นในเดนมาร์กในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและสิทธิของบุตรหัวปี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

งครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติอเมริกา

งครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของแพทริอัต (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777 ความปราชัยของบริเตนที่ซาราโทกา (Saratoga) มีผลใหญ่หลวง ฝรั่งเศสและสเปนได้จัดหาอาวุธ เครื่องกระสุนและกำลังบำรุงอื่นให้ชาวอาณานิคมอย่างลับ ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 1776 บัดนี้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเป็นทางการในปี 1778 โดยลงนามพันธมิตรทางทหารซึ่งรับรองเอกราชของสหรัฐ บริเตนตัดสินใจยอมเสียอาณานิคมทางเหนือ และกู้อดีตอาณานิคมทางใต้ กำลังบริเตนโดยมีชาลส์ คอร์นวอลลิส (Charles Cornwallis) เป็นผู้บังคับบัญชายึดจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ยึดกองทัพอเมริกาได้ที่ชาลส์ตัน เซาท์แคโรไลนา ยุทธศาสตร์นี้อาศัยการก่อการกำเริบของลอยัลลิสต์ (Loyalist) ติดอาวุธจำนวนมาก แต่มีผู้มาเข้าร่วมน้อยเกินไป ในปี 1779 สเปนเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาตระกูล (Pacte de Famille) โดยเจตนายึดยิบรอลตาร์และอาณานิคมบริติชในแคริบเบียน บริเตนประกาศสงครามต่อสาธารณรัฐดัตช์ในปี 1780 ในปี 1781 หลังปราชัยอย่างเด็ดขาดสองครั้งที่คิงส์เมาน์เทนและคาวเพนส์ คอร์นวอลลิสถอยไปเวอร์จิเนียโดยตั้งใจอพยพ ชัยทางเรืออย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในเดือนกันยายนตัดทางหนีของบริเตน กองทัพร่วมฝรั่งเศส-อเมริกาโดยมีเคาต์รอช็องโบ (Count Rochambeau) และวอชิงตันเป็นผู้นำล้อมกองทัพบริติชที่ยอร์กทาวน์ เมื่อเห็นว่าไม่มีการช่วยเหลือและสถานการณ์ป้องกันไม่อยู่ คอร์นวอลลิสยอมจำนนในเดือนตุลาคม และทหารถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 คน วิกในบริเตนคัดค้านฝ่ายข้างมากทอรีนิยมสงครามในรัฐสภาอย่างยาวนาน ทว่า ความปราชัยที่ยอร์กทาวน์ทำให้วิกเป็นฝ่ายเหนือกว่า ต้นปี 1782 พวกเขาลงมติยุติปฏิบัติการบุกทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่สงครามกับฝรั่งเศสและสเปนยังดำเนินต่อ โดยบริเตนชนะทั้งสองประเทศระหว่างการล้อมใหญ่ยิบรอลตาร์ นอกเหนือจากนี้ พวกเขาชนะฝรั่งเศสทางเรือหลายครั้งทโดยที่เด็ดขาดที่สุด คือ ยุทธนาวีที่ซานต์ (Battle of the Saintes) ในแคริบเบียนปีเดียวกัน วันที่ 3 กันยายน 1783 คู่สงครามลงนามสนธิสัญญากรุงปารีสซึ่งยุติสงคราม บริเตนตกลงรับรองเอกราชของสหรัฐเหนือดินแดนโดยมีขอบเขตคร่าว ๆ อยู่ที่แคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก แม้การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสมีผลชี้ขาดต่อสาเหตุของเอกราชอเมริกา แต่ได้ดินแดนเพียงเล็กน้อย และมีปัญหาหนี้สินมหาศาล สเปนได้อาณานิคมฟลอริดาของบริเตนและเกาะมินอร์กา แต่ไม่สามารถชิงยิบรอลตาร์คืนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ฝ่ายดัตช์มีแต่เสีย โดยถูกบังคับให้ยกดินแดนบางส่วนให้บริต.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและสงครามปฏิวัติอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเจ็ดปี

ำหรับสงครามเจ็ดปีในความหมายอื่น อ่าน สงครามเจ็ดปี (แก้ความกำกวม) สงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หรือ สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 (Third Silesian War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและสงครามเจ็ดปี · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม

หลุยส์ อองตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม (Louis Antoine, Duke of Angoulême) หรือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 แห่งฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าชาร์ลที่ 10 บางครั้งพระองค์ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่ถูกต้องตามกฎหมาย (พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์) หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงลงพระปรมาภิไธยสละราชสมบัติ และ 20 นาทีถัดมา พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยสละราชสมบัติเช่นเดียวกัน ทำให้พระองค์กลายเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:เจ้าชายฝรั่งเศส.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและหลุยส์ อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน

อมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นนายธงในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทของข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803 เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

อาดอลฟ์ ตีแยร์

มารี โฌแซ็ฟ หลุยส์ อาดอลฟ์ ตีแยร์ (Marie Joseph Louis Adolphe Thiers, 16 เมษายน พ.ศ. 2340 - 3 กันยายน พ.ศ. 2420) เป็นนักการเมืองและนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งและเป็นนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 17 และ 20 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระราชาธิบดีหลุยส์-ฟีลิปแห่งฝรั่งเศส เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2414 เมื่อมีอายุได้ 74 ปี และสิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2416 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2420 รวมอายุได้ 80 ปี หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลจากมาร์แซย์.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและอาดอลฟ์ ตีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี ดาร์ตัว

อ็องรี ดาร์ตัว (Henri d'Artois) หรือ พระเจ้าอ็องรีที่ 5 แห่งฝรั่งเศส หรือ พระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งฝรั่งเศส ตามการออกเสียงแบบอังกฤษ เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์ต่อจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 19 โดยพวกนิยมกษัตริย์ ตั้งแต่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2373 ถึง 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามการครองราชย์ของพระองค์ยังเป็นที่เลื่อนลอย เนื่องจากพระองค์ทรงยอมรับการปฏิวัติและรัฐฝรั่งเศสก็มิได้ระบุไว้แต่อย่างใด หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:เจ้าชายฝรั่งเศส.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและอ็องรี ดาร์ตัว · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ฟรันซ์ โยเซฟ คาร์ล (Franz Joseph Karl) ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2335 - พ.ศ. 2349 ภายหลังจากที่พระองค์ถูกรุกรานโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 อันนำไปสู่สงครามประสานมิตรครั้งที่สาม ทำให้พระองค์ต้องยุบจักรวรรดิ และเปลี่ยนจักรวรรดิรวมทั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยระหว่างปีพ.ศ. 2347 - พ.ศ. 2349 พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ 2 จักรวรรดิเลยทีเดียว โดยหลังจากเปลี่ยนจักรวรรดิแล้ว พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระนามว่า จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงนำกองทัพออสเตรีย ไปชำระแค้นกับจักรวรรดิฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน แต่ก็ยังปราชัยอยู่ดี พระองค์จึงส่งพระราชธิดาองค์โต อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน เพื่อเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการ และเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิฝรั่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งออสเตรีย

ักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งออสเตรีย (พระนามเต็ม: แฟร์ดีนันด์ คาร์ล เลโอโปลด์ โยเซฟ ฟรันซ์ มาร์เซอลิน, ภาษาอังกฤษ: Ferdinand Karl Leopold Joseph Franz Marcelin von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรียองค์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิออสเตรีย ต่อจากจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1ผู้เป็นพระราชบิดา และทรงเป็นกษัตริย์แห่งฮังการีอีกด้วย พระองค์ทรงสละราชสมบัติให้กับจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ ผู้เป็นพระราชนัดดา หลังจากมีการประท้วงการครองราชย์ที่ไร้ประสิทธิภาพของพระอง.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างปี 1765 ถึง 1790 และทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดินฮับบูร์ก ระหว่างปี 1780 ถึง 1790 พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา กับ จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 และเป็นพระเชษฐาในพระนางมารี อ็องตัวแน็ต อัครมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองดินแดนประเทศราชของออสเตรียพระองค์แรก ที่มีเชื้อสายมาจากฮับส์บูร์กผ่านทางพระราชมารดา ในช่วงรัชกาลของพระองค์ ทรงใช้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ตัวพระองค์ถูกเปรียบว่าเทียบได้กับ พระนางแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย และ พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย เป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ผู้รุ่งโรจน์แห่งยุค พระองค์เสร็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาท ดังนั้นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อคือพระอนุชาของพระองค์ แกรนด์ดยุกปีเตอร์ เลโอโปล.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและจักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดว็องเด

ว็องเด (Vendée) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดว็องเดตั้งตามชื่อแม่น้ำว็องเด ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ โดยมีลาร็อชซูว์รียงเป็นเมืองหลวง.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและจังหวัดว็องเด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง

้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ “รัชทายาท” แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง (Heir apparent) คือทายาทผู้ (นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง) ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก เป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (heir presumptive) ผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิแต่อาจจะมาแทนได้เมื่อใดก็ได้ กรณีที่หมายถึงทายาทตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลโดยเฉพาะในกรณีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่ารัชทายาท (heir to the throne) และใช้เป็นอุปลักษณ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ผ่านพิธีในการยอมรับในตำแหน่งเช่นว่าอย่างเป็นทางการ (“anointed”) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ไม่ปรากฏบ่อยนักและถ้าใช้ในภาษาอังกฤษก็มักจะใช้ในรูป “Heir Apparent” สถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีตำแหน่งเป็นทางการสำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเช่น “มกุฎราชกุมาร” หรือมีตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะเช่น “เจ้าชายแห่งออเรนจ์” (Prince of Orange) ในเนเธอร์แลนด์ “เจ้าชายแห่งเวลส์” ในสหราชอาณาจักร หรือ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในสเปน ดยุกแห่งบราบันต์ ใน เบลเยียม.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและดอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ตูริน

ตูริน (Turin) หรือ โตรีโน (Torino) เป็นเมืองหลักของแคว้นปีเยมอนเตในประเทศอิตาลี เป็นทั้งเมืองศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมและธุรกิจของภาคเหนือของอิตาลี ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโป มีประชากร 908,000 คน (ค.ศ. 2004) และ 2.2 ล้านคนเมื่อรวมปริมณฑล (สถิติองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) บริษัทผลิตรถยนต์เฟียตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นี่และบริษัทรถยนต์บางบริษัทก็เริ่มกิจการที่เมืองนี้ ฉะนั้นตูรินจึงมีชื่อเล่นว่าเป็นเมืองหลวงของการผลิตรถยนต์ในประเทศอิตาลี นอกจากนั้นตูรินยังเป็นเมืองหลวงเมืองแรกของสหรัฐอิตาลี.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและตูริน · ดูเพิ่มเติม »

ซาวอย

งของซาวอย ซึ่งเป็นธงเดียวกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างค.ศ. 1200 ถึง ค.ศ. 1350 ซาวอย (Savoy), ซาวัว (Savoie) หรือ ซาวอยา (Savoia) คือภูมิภาคในยุโรปที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอลป์ที่เกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของราชอาณาจักรเบอร์กันดีของแฟรงค์ ดินแดนในอดีตของซาวอยเป็นของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลีในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

ซ่องโสเภณี

ซ่องโสเภณีแห่งหนึ่งในอัมสเตอร์ดัม ซ่องโสเภณี หรือ ซ่อง brotel คือสถานประกอบการที่ให้บริการการค้าประเวณี โดยผู้ซื้อบริการสามารถมีเพศสัมพันธ์กับผู้ให้บริการ การค้าประเวณีในซ่องนับว่าปลอดภัยกว่าเป็นโสเภนีข้างถนน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและซ่องโสเภณี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวีเนีย

ประเทศสโลวีเนีย (Slovenia; Slovenija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene:, abbr.: RS) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาและเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวีเนียเป็นภูเขาและมีลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีปหลัก ยกเว้นภูมิภาคชายฝั่งจะมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเทือกเขาแอลป์ นอกจากนี้ไดนาริกแอลป์และที่ราบพันโนเนียก็พอได้ในสโลวีเนียเช่นกัน สโลวีเนียเป็นหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในพื้นที่ ๆ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์มากในยุโรป ทั้งแม่น้ำจำนวนมาก ชั้นหินอุ้มน้ำและแหล่งธารน้ำใต้ดิน สโลวีเรียมีป่าปกคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ส่วนการตั้งถิ่นฐานของประชากรก็จะกระจักกระจายกันไป ประวัติศาสตร์สโลวีเนียได้รับทั้งวัฒนธรรมและภาษาจากสลาวิกตะวันตก สลาวิกใต้ เจอร์แมนิก โรมานซ์และฮังกาเรียน ถึงแม้ประชากรในประเทศจะไม่ได้เป็นเอกพันธุ์เดียวกันแต่ส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีน ภาษาสโลวีเนียซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาราชการของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไม่นับถือศาสนาอย่างแท้จริง แต่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศได้รับอิทธิพลจากโรมันคาทอลิกและลูเทอแรน เศรษฐกิจของประเทศสโลเวเนียเป็นแบบเปิดขนาดเล็กและเป็นอุตสาหกรรมมุ่งการส่งออก ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปที่เริ่มช่วงปลายยุค 2000 เศรษฐกิจหลักคืออุตสาหกรรมบริการตามด้วยอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในอดีตพื้นที่ของสโลเวเนียเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่แตกต่างกันหลายแห่งทั้งจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค สาธารณรัฐเวนิส จังหวัดอิลลิเรียของนโปเลียนที่ 1ที่ปกครองโดยฝรั่งเศส จักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและประเทศสโลวีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลจีเรีย

แอลจีเรีย (Algeria; الجزائر) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (People's Democratic Republic of Algeria; الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشّعبية) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ และเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 1ในทวีปแอฟริกา หลังจากประเทศซูดานใต้ แยกออกจากประเทศซูดานมีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศตูนิเซีย ทางตะวันออกจรดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศไนเจอร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศมาลีและประเทศมอริเตเนีย และทางตะวันตกจรดประเทศโมร็อกโก รวมถึงหลายกิโลเมตรของพื้นที่ที่ยึดครองมาได้บางส่วน คือ เวสเทิร์นสะฮารา ประเทศแอลจีเรียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ ได้นิยามไว้ว่าแอลจีเรียเป็นประเทศ อิสลาม อาหรับ และอะมาซิก (เบอร์เบอร์) ชื่อประเทศแอลจีเรีย (Algeria) มาจากชื่อเมืองหลวงแอลเจียร์ ซึ่งมาจากคำภาษาอาหรับว่า อัลญะซาอิร (al-jazā’ir) ซึ่งแปลว่า "หมู่เกาะ" หมายถึงเกาะ 4 เกาะ ที่อยู่นอกชายฝั่งของเมือง ก่อนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2068.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและประเทศแอลจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปราก

รรยากาศภายในกรุงปราก ปราก (Prague) หรือ ปราฮา (Praha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเช็กเกีย มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อ ค.ศ. 1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและปราก · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทปราก

ทางเข้าปราสาทปราก ปราสาทปราก (Pražský hrad) เป็นปราสาทในกรุงปราก ประเทศเช็กเกีย เคยเป็นปราสาทของกษัตริย์แห่งเช็กในอดีต ปราสาทแห่งนี้ได้รับการรับรองจากกินเนสส์บุ๊กว่า เป็นปราสาทโบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีความยาวประมาณ 570 เมตร และความกว้างประมาณ 130 เมตร หมวดหมู่:ปราสาทในประเทศเช็กเกีย หมวดหมู่:ทำเนียบประธานาธิบดี.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและปราสาทปราก · ดูเพิ่มเติม »

ปาแล-รัวยาล

ปาแล-รัวยาล (Palais-Royal) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เดิมชื่อ “วังคาร์ดินัล” (Palais-Cardinal) ปาแล-รัวยาลและสวนอยู่หน้า “จตุรัสปาแล-รัวยาล” ตรงกันข้ามกับปีกเหนือของพระราชวังลูฟวร์ และ ลานเกียรติยศ (cour d'honneur) อันมีชื่อเสียง ด้านหน้ารายด้วยคอลัมน์ และ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและปาแล-รัวยาล · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแซน

แม่น้ำแซน (Seine) เป็นแม่น้ำสายหลักทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงปารีสอีกด้วย ซแซน หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและแม่น้ำแซน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรคฝีดาษ

ฝีดาษตามลำตัวของผู้ป่วย การระบาดของฝีดาษในยุโรป การติดเชื้อฝีดาษของชาวอเมริกันอินเดียนจากชาวยุโรป ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว (Smallpox) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก small poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและโรคฝีดาษ · ดูเพิ่มเติม »

โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส

แฟ็งแห่งฝรั่งเศส (Dauphin de France) หรือ โดแฟ็งแห่งเวียนัว (Dauphin de Viennois) คืออิสริยยศที่มีไว้สำหรับทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ผู้ซึ่งจะขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ในประวัติศาสตร์มีผู้ดำรงอิสริยยศนี้ในช่วงปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เยลกาวา

ลกาวา (Jelgava) เป็นเมืองในประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองรีการาว 41 กม.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเยลกาวา · ดูเพิ่มเติม »

เวโรนา

วโรนา (Verona) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเวโรนา แคว้นเวเนโตในประเทศอิตาลี เวโรนาเป็นหนึ่งในเจ็ดเมืองหลวงของทางตอนเหนือของอิตาลี เวโรนาเป็นสถานที่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยเหตุที่มีความสำคัญทางศิลปะและวัฒนธรรมที่เห็นได้งานนิทรรศการประจำปีหลายงาน โรงละคร และอุปรากรในโรงละครกลางแจ้งที่สร้างโดยโรมัน เวโรนาเป็นเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ตรงโค้งของแม่น้ำอดิเจ (Adige River) ไม่ไกลจากทะเลสาบการ์ดา ที่ตั้งนี้ทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นหลายครั้งจนกระทั่ง..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเวโรนา · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายสืบสายพระโลหิต

หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ เจ้าชายสืบสายพระโลหิต (Prince du Sang หรือ Prince of the Blood) คือผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยตรงจากประมุขของประเทศ ในฝรั่งเศสตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในราชสำนักรองจากพระราชนิกุลที่ใกล้ชิดที่สุดของพระมหากษัตริย์ในสมัย “อองเซียง เรฌีม” และในสมัยราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” หรือ “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” เป็นตำแหน่งที่ใช้กับสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของประมุขที่กำลังครองราชย์ ในยุโรปบางประเทศโดยเฉพาะในราชอาณาจักรฝรั่งเศสบรรดาศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัวและใช้อย่างจำกัดกว่าบรรดาศักดิ์อื่น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเจ้าชายสืบสายพระโลหิต · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1729–1765)

้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (Louis Ferdinand de France; 4 กันยายน ค.ศ. 1729 - 20 ธันวาคม ค.ศ. 1765) ทรงเป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงแห่งราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1729 - ค.ศ. 1765 โดยพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และพระราชินีมารี เลชชินสกา โดยพระองค์ทรงเสกสมรสถึงสองครั้ง ครั้งแรกกับเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา ราเฟลาแห่งสเปน มีพระะธิดาร่วมกัน 1 พระองค์ ต่อมาเสกสมรสครั้งที่สองกับเจ้าหญิงมาเรีย โจเซฟาแห่งแซกโซนี มีพระโอรสและธิดาร่วมกัน 6 พระองค์ ซึ่งพระโอรสของพระองค์ล้วนแล้วได้รับการเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ได้แก.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1729–1765) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

ระมหากษัตริย์โบฮีเมีย เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก (Princeps Elector, Kurfürst, Prince-elector หรือ Electors) คือสมาชิกของคณะผู้คัดเลือก (electoral college) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีหน้าที่ในการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันพระองค์ใดพระองค์หนึ่งให้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเรียกว่าเจ้าผู้คัดเลือก (electoral prince) เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกถือเป็นผู้มีเกียรติรองจากพระมหากษัตริย์และพระจักรพรรดิ ตามทฤษฎีแล้วจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเลือกตั้งก็มักจะเป็นเพียงการทำเพียงพิธี โดยมีพระจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรีย ที่ตำแหน่งมักจะเป็นของพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิผู้เสด็จสวรรคต แต่กระนั้นตำแหน่งมิได้เป็นตำแหน่งสืบทอดในตระกูลเดียวกัน และทายาทไม่สามารถเรียกตนเองว่า "จักรพรรดิ" โดยมิได้รับเลือก การเลือกตั้งเป็นการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน ผู้ได้รับเลือกในเยอรมนีและจะได้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เมื่อได้รับทำพิธีบรมราชาภิเษกโดยพระสันตะปาปา จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิที่ได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ ผู้เป็นจักรพรรดิต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิโดยการเลือกตั้งเท่านั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก · ดูเพิ่มเติม »

เทรียร์

กลางตลาดเมืองเทรียร์ เทรียร์ (Trier; Augusta Treverorum) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโมแซลในประเทศเยอรมนี เทรียร์ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเยอรมนีก่อตั้งขึ้นเมื่อก่อนปี 16 ก่อนคริสต์ศักราช บันทึกเจสตา เทรเวโรรุมกล่าวว่าเทรียร์เป็นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นโดยเทรบีทา พระราชโอรสพระเจ้าไนนัสแห่งอัสซีเรียกับพระชายาองค์ก่อนที่จะมเสกสมรสกับพระราชินีเซมิรามิส เซมิรามิสทรงเกลียดชังเทรบีทา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของไนนัสแล้ว ไนนัสก็ออกจากอัสซีเรียไปยังยุโรป หลังจากที่เร่ร่อนอยู่พักหนึ่งแล้วไนนัสก็นำผู้คนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเทรียร์ราว 2000 ก่อนคริสต์ศักราชที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี เมื่อเสียชีวิตร่างของไนนัสก็ได้รับการเผาบนเพทริสแบร์กโดยประชากรชาวเทรียร์ เทรียร์ตั้งอยู่ในหุบเขาเตี้ย ๆ ที่ปกคลุมไปด้วยไร่องุ่นของดินที่เป็นหินทรายทางตะวันตกของรัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ไม่ไกลจากพรมแดนที่ติดกับประเทศลักเซมเบิร์กและเป็นเมืองสำคัญในภูมิภาคที่มีชื่อในการทำไร่องุ่นที่ใช้ในการผลิตไวน์โมเซิล เทรียร์เป็นที่ตั้งของมุขมณฑลที่เก่าแก่ที่สุดทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ในยุคกลางอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์เป็นตำแหน่งเจ้าชายมุขนายกที่มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่พรมแดนประเทศฝรั่งเศสไปจนถึงแม่น้ำไรน์ นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในเจ็ดเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การที่มีประชากรประมาณ 100,000 ทำให้เทรียร์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่สี่เท่ากับไคเซอร์สเลาเทิร์น มาจนถึงปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเทรียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเน่า

เนื้อตายเน่า (Gangrene) คือภาวะซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายตายไปเป็นปริมาณมาก จนเป็นภาวะซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ หรือพบในผู้ป่วยเรื้อรังจากโรคที่ส่งต่อการไหลเวียนเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ ทำให้เซลล์ตาย โรคเบาหวานและการสูบบุหรี่เป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้อตายเน่าได้ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและเนื้อตายเน่า · ดูเพิ่มเติม »

16 กันยายน

วันที่ 16 กันยายน เป็นวันที่ 259 ของปี (วันที่ 260 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 106 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและ16 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

2 สิงหาคม

วันที่ 2 สิงหาคม เป็นวันที่ 214 ของปี (วันที่ 215 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 151 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและ2 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

6 พฤศจิกายน

วันที่ 6 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 310 ของปี (วันที่ 311 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 55 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและ6 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

9 ตุลาคม

วันที่ 9 ตุลาคม เป็นวันที่ 282 ของปี (วันที่ 283 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 83 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสและ9 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »