เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามปฏิวัติอเมริกา

ดัชนี สงครามปฏิวัติอเมริกา

งครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของแพทริอัต (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777 ความปราชัยของบริเตนที่ซาราโทกา (Saratoga) มีผลใหญ่หลวง ฝรั่งเศสและสเปนได้จัดหาอาวุธ เครื่องกระสุนและกำลังบำรุงอื่นให้ชาวอาณานิคมอย่างลับ ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 1776 บัดนี้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเป็นทางการในปี 1778 โดยลงนามพันธมิตรทางทหารซึ่งรับรองเอกราชของสหรัฐ บริเตนตัดสินใจยอมเสียอาณานิคมทางเหนือ และกู้อดีตอาณานิคมทางใต้ กำลังบริเตนโดยมีชาลส์ คอร์นวอลลิส (Charles Cornwallis) เป็นผู้บังคับบัญชายึดจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ยึดกองทัพอเมริกาได้ที่ชาลส์ตัน เซาท์แคโรไลนา ยุทธศาสตร์นี้อาศัยการก่อการกำเริบของลอยัลลิสต์ (Loyalist) ติดอาวุธจำนวนมาก แต่มีผู้มาเข้าร่วมน้อยเกินไป ในปี 1779 สเปนเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาตระกูล (Pacte de Famille) โดยเจตนายึดยิบรอลตาร์และอาณานิคมบริติชในแคริบเบียน บริเตนประกาศสงครามต่อสาธารณรัฐดัตช์ในปี 1780 ในปี 1781 หลังปราชัยอย่างเด็ดขาดสองครั้งที่คิงส์เมาน์เทนและคาวเพนส์ คอร์นวอลลิสถอยไปเวอร์จิเนียโดยตั้งใจอพยพ ชัยทางเรืออย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในเดือนกันยายนตัดทางหนีของบริเตน กองทัพร่วมฝรั่งเศส-อเมริกาโดยมีเคาต์รอช็องโบ (Count Rochambeau) และวอชิงตันเป็นผู้นำล้อมกองทัพบริติชที่ยอร์กทาวน์ เมื่อเห็นว่าไม่มีการช่วยเหลือและสถานการณ์ป้องกันไม่อยู่ คอร์นวอลลิสยอมจำนนในเดือนตุลาคม และทหารถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 คน วิกในบริเตนคัดค้านฝ่ายข้างมากทอรีนิยมสงครามในรัฐสภาอย่างยาวนาน ทว่า ความปราชัยที่ยอร์กทาวน์ทำให้วิกเป็นฝ่ายเหนือกว่า ต้นปี 1782 พวกเขาลงมติยุติปฏิบัติการบุกทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่สงครามกับฝรั่งเศสและสเปนยังดำเนินต่อ โดยบริเตนชนะทั้งสองประเทศระหว่างการล้อมใหญ่ยิบรอลตาร์ นอกเหนือจากนี้ พวกเขาชนะฝรั่งเศสทางเรือหลายครั้งทโดยที่เด็ดขาดที่สุด คือ ยุทธนาวีที่ซานต์ (Battle of the Saintes) ในแคริบเบียนปีเดียวกัน วันที่ 3 กันยายน 1783 คู่สงครามลงนามสนธิสัญญากรุงปารีสซึ่งยุติสงคราม บริเตนตกลงรับรองเอกราชของสหรัฐเหนือดินแดนโดยมีขอบเขตคร่าว ๆ อยู่ที่แคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก แม้การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสมีผลชี้ขาดต่อสาเหตุของเอกราชอเมริกา แต่ได้ดินแดนเพียงเล็กน้อย และมีปัญหาหนี้สินมหาศาล สเปนได้อาณานิคมฟลอริดาของบริเตนและเกาะมินอร์กา แต่ไม่สามารถชิงยิบรอลตาร์คืนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ฝ่ายดัตช์มีแต่เสีย โดยถูกบังคับให้ยกดินแดนบางส่วนให้บริต.

สารบัญ

  1. 24 ความสัมพันธ์: บริเตนใหญ่ชอคทอว์ชิคาซอว์กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐมาฮิแคนมินอร์การาชรัฐอันส์บัคราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ราชอาณาจักรฝรั่งเศสสหรัฐสาธารณรัฐดัตช์สิบสามอาณานิคมฮาเนาจอร์จ วอชิงตันจักรวรรดิสเปนทวีปอเมริกาเหนือทะเลแคริบเบียนดัชชีเบราน์ชไวค์คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกางานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตันประเทศเซเนกัลแม่น้ำมิสซิสซิปปีเชอโรคีเกรตเลกส์

  2. ความขัดแย้งในระดับโลก
  3. สงครามประกาศอิสรภาพ

บริเตนใหญ่

ริเตนใหญ่ (Great Britain) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริติช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป มีเกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันตก เกาะบริเตนใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กนับร้อยเกาะ บริเตนใหญ่เนื้อที่ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ บริเตนใหญ่เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากเกาะชวาและเกาะฮนชู คำว่าบริเตนใหญ่บางครั้งใช้ในความหมายของสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของอังกฤษและสกอตแลนด์ในช่วงพ.ศ.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและบริเตนใหญ่

ชอคทอว์

อคทอว์ (Choctaw) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้สหรัฐอเมริกาในรัฐโอคลาโฮมา, แคลิฟอร์เนีย, มิสซิสซิปปี, ลุยเซียนา, เทกซัส และ แอละแบมา ชอคทอว์จัดอยู่ในกลุ่มภาษามัสคีกิน (Muskogean languages) คำว่า “Choctaw” (หรือสะกด: “Chahta” “Chactas” “Chato” “Tchakta” and “Chocktaw”) แผลงมาจากคำในภาษาคาสตีลว่า “Chato” ที่แปลว่า “ราบ” แต่นักโบราณคดีจอห์น สวอนทันให้ความเห็นว่าเป็นคำที่มาจากชื่อผู้นำของชอคทอว์เอง ส่วนนักประวัติศาสตร์เฮนรี ฮาลเบิร์ตให้ความเห็นว่าเป็นคำที่มาจากวลีชอคทอว์ “Hacha hatak” (ชนแห่งลุ่มน้ำ) ชอคทอว์เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมิสซิสซิปปี ที่มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปี ที่นักสำรวจชาวสเปนได้มีโอกาสได้พบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชอคทอว์ก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า” (Five Civilized Tribes) เพราะชอคทอว์ยอมรับและผสานวัฒนธรรมและความก้าวหน้าของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาณานิคมชาวอเมริกันยุโรป ชาติชอคทอว์แห่งโอคลาโฮมา และ กลุ่มชอคทอว์แห่งมิสซิสซิปปี (Mississippi Band of Choctaw Indians) เป็นกลุ่มองค์กรหลักสองกลุ่มของชอคทอว์ แต่ก็ยังมีกลุ่มอย่อยอื่นที่กระจัดกระจายอยู่ในลุยเซียนา, เทกซัส และ แอละแบม.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและชอคทอว์

ชิคาซอว์

ซอว์ (Chickasaw) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ชิคาซอว์พูดภาษาชิคาซอว์ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามัสคีกิน (Muskogean languages) ชิคาซอว์เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมิสซิสซิปปีที่มีถิ่นฐานอยู่ทั่วไปในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปี ก่อนที่จะได้พบกับชาวยุโรปเป็นครั้งแรกชิคาซอว์ย้ายไปทางตะวันออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชอคทอว์ก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า” (Five Civilized Tribes) ผู้ถูกบังคับให้ขายดินแดนบ้านเกิดของตนเองแก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและชิคาซอว์

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา (Native Americans in the United States) เป็นวลีที่หมายถึงชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาจากทวีปอเมริกาเหนือที่รวมแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของอะแลสกาและฮาวาย ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่มที่เป็นชนเผ่าอินเดียน (Indian tribe) แต่เป็นคำที่ถือว่าไม่สุภาพต่อคนหลายคนที่รวมทั้งรัสเซลล์ มีนส์นักปฏิกิริยาของขบวนการอเมริกันอินเดียน (American Indian Movement) ตามความเห็นของมีนส์ “ในการสัมนานานาชาติของอินเดียนจากทวีปอเมริกาที่กรุงเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ที่สหประชาชาติ ใน..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ

มาฮิแคน

แผนที่แสดงถิ่นฐานของมาฮิแคนในปัจจุบัน มาฮิแคน (Mahican) หรือ โมฮิแคน (Mohican) เป็นชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันที่มีถิ่นฐานอยู่แถบหุบเขาแม่น้ำฮัดสัน (ปัจจุบันคือ ออลบานี รัฐนิวยอร์ก) ชนพื้นเมืองเผ่านี้ บางส่วนย้ายไปอยู่ที่สต็อกบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์เมื่อราว..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและมาฮิแคน

มินอร์กา

มินอร์กา (Minorca), มานอร์กา (Menorca) หรือ เมนอร์กา (Menorca) เป็นเกาะในประเทศสเปน เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 2 ของหมู่เกาะแบลีแอริก ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชื่อในภาษาละตินคือ Insula Minor (หรือต่อมาคือ Minorica "เกาะน้อย") เพราะเล็กกว่าเกาะข้างคือคือ เกาะมายอร์กา มินอร์กามีประชากรราว 94,383 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและมินอร์กา

ราชรัฐอันส์บัค

Principality of Brandenburg-Ansbach (1791). ราชรัฐอันส์บัค (Fürstentum Ansbach) หรือ บรันเดินบวร์ค-อันส์บัค (Brandenburg-Ansbach) เป็นราชรัฐที่ได้รับราชรัฏฐาภิสิทธิ์ที่ในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอันส์บัคในบาวาเรีย ราชรัฐอันส์บัคปกครองโดยราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นในดินแดนที่เรียกว่ามากราฟ.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและราชรัฐอันส์บัค

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและราชอาณาจักรฝรั่งเศส

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและสหรัฐ

สาธารณรัฐดัตช์

รณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: ชื่อเต็ม Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในส่วนรัฐทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน โดยเป็นกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และทำให้เกิดสงคราม 80 ปีจนสงบศึกในปี ค.ศ.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและสาธารณรัฐดัตช์

สิบสามอาณานิคม

มอาณานิคม (Thirteen Colonies) เป็นอาณานิคมของอังกฤษฝั่งแอตแลนติกในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมบริติชอเมริกา ก่อตั้งระหว่าง..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและสิบสามอาณานิคม

ฮาเนา

นา (Hanau) เป็นเมืองในรัฐเฮสส์ ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ห่างจากเมืองฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ไปทางทิศตะวันออก 25 กม.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและฮาเนา

จอร์จ วอชิงตัน

อร์จ วอชิงตัน (George Washington, 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 Engber, Daniel (2006).. (Both Franklin's and Washington's confusing birth dates are clearly explained.) Retrieved on June 17, 2009.วันเกิดและวันถึงแก่กรรมของจอร์จ วอชิงตันในที่นี้เป็นระบบปฏิทินเกรกอเรียน อย่างไรก็ดี ขณะที่เขาเกิด สหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคมทั้งหมดยังใช้ปฏิทินจูเลียนอยู่ ดังนั้นในบันทึกร่วมสมัยนั้นจึงระบุวันเกิดของเขาเป็นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและจอร์จ วอชิงตัน

จักรวรรดิสเปน

ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและจักรวรรดิสเปน

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและทวีปอเมริกาเหนือ

ทะเลแคริบเบียน

แผนทีภูมิภาคอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนมองจากอวกาศ (ด้านบนซ้าย) ทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea, หรือ; Mar Caribe) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนเป็นหนึ่งในทะเลที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตารางไมล์) จุดที่ลึกที่สุดของทะเลนี้คือ Cayman Trough อยู่ระหว่างคิวบากับจาเมกา ที่ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริบเบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวเนซุเอลา อ่าวดาริเอน อ่าวโมสกิโตส และอ่าวฮอนดูรั.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและทะเลแคริบเบียน

ดัชชีเบราน์ชไวค์

ัชชีเบราน์ชไวค์ (Duchy of Brunswick; Herzogtum Braunschweig) เป็นอดีตอาณาจักรของเยอรมนี เดิมดินแดนเบราน์ชไวค์-โวลเฟนบึทเทิลเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มาก่อตั้งเป็นดัชชีอิสระตามข้อตกลงในการประชุมแห่งเวียนนาในปี..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและดัชชีเบราน์ชไวค์

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา

วาดคณะกรรมการร่างคำประกาศอิสรภาพยื่นร่างให้กับรัฐสภาอเมริกา โดยภาพนี้พบได้ในธนบัตรสองดอลลาร์ด้วย คำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐ (United States Declaration of Independence) เป็นแถลงการณ์ซึ่งสภาภาคพื้นทวีปลงมติยอมรับเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา

งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน

งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน (Boston Tea Party) เป็นการประท้วงทางการเมืองของกลุ่มซันส์ออฟลิเบอร์ตี (Sons of Liberty) ในบอสตันเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน

ประเทศเซเนกัล

ซเนกัล (Sénégal) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเซเนกัล (République du Sénégal) เป็นประเทศที่อยู่ในแอฟริกาตะวันตก มีพรมแดนทางตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทางเหนือจรดมอริเตเนีย ทางตะวันออกจรดมาลี และทางใต้จรดกินีและกินี-บิสเซา โดยล้อมแกมเบียซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศไว้เกือบทั้งหมด และมีหมู่เกาะกาบูเวร์ดีตั้งอยู่ห่างจากชายแดนตะวันตกไปราว 560 กิโลเมตร.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและประเทศเซเนกัล

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำมิสซิสซิปปี ภาพถ่ายจากสวนสาธารณะในรัฐมินนิโซตา แม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River) อยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นเครือข่ายสาขาแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ(เครือข่ายแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี) มีความยาวทั้งสิ้น 3,334 กม.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและแม่น้ำมิสซิสซิปปี

เชอโรคี

งของชาติเชอโรคี กลุ่มสหคีทูวาห์แห่งชาวเชอโรคีอินเดียน กลุ่มเชอโรคีอินเดียนตะวันออก เชอโรคี (ᏣᎳᎩ, Cherokee) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ในรัฐจอร์เจีย, นอร์ทแคโรไลนา, เซาท์แคโรไลนา และทางตะวันออกของเทนเนสซี ภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษาอิโรควอย (Iroquoian languages) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตามประวัติศาสตร์ที่บอกกล่าวกันมากล่าวว่าเชอโรคีย้ายถิ่นฐานมาจากทางตอนใต้ของบริเวณเกรตเลคส์ในสมัยโบราณ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เชอโรคีก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า” (Five Civilized Tribes) เพราะเป็นกลุ่มชาวอเมริกันอินเดียนที่ยอมรับและผสานวัฒนธรรมและความก้าวหน้าของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาณานิคมชาวอเมริกันยุโรป ตามบันทึกสถติของสำนักงานสถิติแห่งสหรัฐอเมริกาของปี..

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและเชอโรคี

เกรตเลกส์

วเทียมบริเวณเกรตเลกส์ แผนที่ เกรตเลกส์ ทะเลสาบทั้ง 5 แห่ง เกรตเลกส์ (อังกฤษ: Great Lakes) เป็นชื่อเรียกทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ สุพีเรีย มิชิแกน ฮูรอน อิรี และออนแทรีโอ เป็นกลุ่มของทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก บางครั้งชาวอเมริกันให้ฉายาว่าเป็น "ชายหาดที่สาม" เนื่องจากอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ลักษณะระบบนิเวศ ชายหาดและพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทะเลในแผ่นดิน" เพราะปริมาณน้ำจืดในทะเลสาบทั้ง 5 คิดเป็น 20 % ของปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่บนโลก ในทางภูมิศาสตร์เส้นแบ่งประเทศของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาลากผ่านกลุ่มทะเลสาบเหล่านี้ มีเพียงทะเลสาบเดียวที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาคือทะเลสาบมิชิแกน บริเวณนี้เป็นแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทะเลสาบซุพีเรี.

ดู สงครามปฏิวัติอเมริกาและเกรตเลกส์

ดูเพิ่มเติม

ความขัดแย้งในระดับโลก

สงครามประกาศอิสรภาพ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ สงครามการปฏิวัติอเมริกาสงครามปฏิวัติสหรัฐอเมริกาสงครามปฏิวัติอเมริกันสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกันสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกาสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาสงครามประกาศเอกราชสหรัฐอเมริกา