สารบัญ
29 ความสัมพันธ์: พระรามพระรามราชนิเวศน์พระรามลงสรงกรุงเทพมหานครรามเกียรติ์วัดวัดพระรามวังสะพานสะพานพระราม 3สะพานพระราม 4สะพานพระราม 5สะพานพระราม 6สะพานพระราม 7สะพานพระราม 8สะพานพระราม 9อาวุธอาหารจังหวัดนนทบุรีจังหวัดเพชรบุรีถนนถนนพระราม 9ถนนพระรามที่ 1ถนนพระรามที่ 2ถนนพระรามที่ 3ถนนพระรามที่ 4ถนนพระรามที่ 5ถนนพระรามที่ 6แม่น้ำเจ้าพระยา
พระราม
ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และพระราม
พระรามราชนิเวศน์
ระรามราชนิเวศน์ หรือ วังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นประทับแปรพระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมนีเป็นผู้เขียนแบบ, ดร.ไบเยอร์ ชาวเยอรมนี เป็นนายช่างก่อสร้าง, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการก่อสร้าง, และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมด้านการไฟฟ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และพระรามราชนิเวศน์
พระรามลงสรง
ระรามลงสรง (Swimming Rama) หรือมีชื่อในภาษาแต้จิ๋วว่า ซาแต๊ปึ่ง (三茶反) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ซาแต๊ (三茶) เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารจีนตอนใต้ ประกอบด้วยข้าวสวย ผักบุ้งลวก และเนื้อหมู ราดด้วยน้ำราดข้นคล้ายน้ำสะเต๊ะ เป็นอาหารที่นิยมในหมู่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน ปัจจุบันหารับประทานได้ยากในไท.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และพระรามลงสรง
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และกรุงเทพมหานคร
รามเกียรติ์
ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และรามเกียรติ์
วัด
วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และวัด
วัดพระราม
วัดพระราม เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเขต พระราชวัง ทางด้านทิศตะวันออก ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา (กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร วัดพระราม คาดว่าสร้างขึ้นในปี..
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และวัดพระราม
วัง
้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และวัง
สะพาน
น Akashi-Kaikyō ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจากท่อนซุง เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามหุบเขา แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว555.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพาน
สะพานพระราม 3
นพระราม 3 (Rama III Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ (เดิมมีชื่อเรียกกันติดปากว่า สะพานกรุงเทพ 2) เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ นอกจากนี้ สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานแบบอสมมาตรที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย และเหตุที่สะพานมีระดับสูงและช่วงทางลงยาวมาก ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และล่าสุดมีรถชนกันต่อเป็นทอด ๆ ถึง 21 คัน ก่อนหน้านั้นเคยมีรถพ่วงเบรกแตกและชนต่อ ๆ กันแบบนี้มาแล้วด้วย นอกจากนั้นในทางลงด้านถนนเจริญกรุงก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นทางลาดชัน จึงเกิดเหตุรถพุ่งเข้าชนบ้านที่อยู่ตรงทางลง ทำให้ต้องมีการสร้างแผงปูนขึ้นกั้นบริเวณบ้านที่อยู่ทางลงด้านนี้.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพานพระราม 3
สะพานพระราม 4
นพระราม 4 (Rama IV Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตำบลบางตะไนย์กับตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ทางตอนเหนือของจังหวัดนนทบุรี โดยสร้างเป็นส่วนต่อจากสะพานลอยรถข้ามห้าแยกปากเกร็ดตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ ยกระดับเหนือถนนแจ้งวัฒนะย่านกลางเมืองปากเกร็ด ข้ามแม่น้ำตรงด้านเหนือของเกาะเกร็ด แล้วเชื่อมต่อกับถนนชัยพฤกษ์ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ (ก่อนที่จะไปบรรจบถนนราชพฤกษ์) สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพานพระราม 4
สะพานพระราม 5
นพระราม 5 (Rama V Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 14 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชื่อมระหว่างตำบลสวนใหญ่ (ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ) กับตำบลบางไผ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ) อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเป็นส่วนหนึ่งของถนนนครอินทร.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพานพระราม 5
สะพานพระราม 6
นขนานสะพานพระราม 6 สะพานพระราม 6 (Rama VI Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพานพระราม 6
สะพานพระราม 7
นพระราม 7 (Rama VII Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร สะพานพระราม 7 เป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 29.10 เมตร และมีความยาว 934 เมตร สร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพานพระราม 7
สะพานพระราม 8
นพระราม 8 (Rama VIII Bridge) เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพานพระราม 8
สะพานพระราม 9
นพระราม 9 จากแสตมป์ไทยชุดสะพาน สะพานพระราม 9 (Rama IX Bridge) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม สะพานขึง เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อสะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ปี พ.ศ.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และสะพานพระราม 9
อาวุธ
อาวุธ คือเครื่องมือที่ใช้ระหว่างการรบเพื่อสังหารหรือทำลายทรัพย์สินและทรัพยากร จนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ อาจใช้ในการโจมตี การป้องกัน อาธิ เล่น ดิวโและการข่มขู่ ถูกแบ่งไว้2ประเภทคือ (1) อาวุธที่เป็นอาวุธโดยลักษณะเช่น ดาบ หอก กระบี่ สนับมือ ปืน เครื่องระเบิด เป็นต้น (2) อาวุธที่มิใช่อาวุธโดยลักษณะแต่ใช้ได้เสมือนดัง อาวุธ มีบันทึกการใช้อาวุธปรากฏในภาพเขียนบนผนังถ้ำ การศึกษากระบวนการในการต่อสู้ ทำให้เกิดทั้งศิลปะการต่อสู้และหลักยุทธศาสตร์ โดยอุปมา ทุกสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (แม้ทางจิตวิทยา) สามารถจัดให้เป็นอาวุธได้ อาจเป็นอาวุธอย่างง่ายจำพวกกระบองไปจนถึงที่ซับซ้อนอย่างขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) หมวดหมู่:อาวุธ หมวดหมู่:การรักษาความปลอดภัย.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และอาวุธ
อาหาร
อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และอาหาร
จังหวัดนนทบุรี
ังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และจังหวัดนนทบุรี
จังหวัดเพชรบุรี
ังหวัดเพชรบุรี (/เพ็ดชะบุรี/; เดิมสะกดว่า เพ็ชร์บุรี) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก (บ้างก็จัดอยู่ในภาคกลางตอนล่าง ด้านของการพยากรณ์อากาศจัดอยู่ภาคใต้ตอนบน) มีภูมิประเทศทั้งเป็นที่สูงติดเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า เมืองเพชร เดิมเรียก พริบพรี และจากหลักฐานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปรากฏชื่อว่า ศรีชัยวัชรปุระ จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ปัจจุบันมีวัดเก่าแก่และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคำพูดติดปากว่า นักเลงเมืองเพชร ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองด่านสำคัญระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ หาดปึกเตียน หาดเจ้าสำราญ แหลมหลวง แหลมเหลว และเขื่อนแก่งกระจาน.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และจังหวัดเพชรบุรี
ถนน
นน เป็นทางสัญจรทางบกระหว่างสถานที่สองแห่ง ที่ได้รับการปูพื้นผิว หรือได้รับการปรับปรุงเพื่อให้การเดินทางทางเท้าหรือยานพาหนะต่าง ๆ รวมถึงม้า เกวียน จักรยาน และยานยนต์ ถนนประกอบด้วยหนึ่งหรือสองช่องทาง ได้แก่ ทิศเดียวกัน กับทิศสวนทางกัน โดยแต่ละฝั่งมีช่องจราจรตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไป และบางครั้งอาจมีทางเท้า ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อส่วนรวมอาจเรียกว่าถนนสาธาณะ หรือทางหลวง.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนน
ถนนพระราม 9
นนพระราม 9 ในเขตสวนหลวง ถนนพระราม 9 (Thanon Rama IX) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงในพื้นที่เขตดินแดง มุ่งหน้าไปทางตะวันออก เข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ผ่านแยกถนนวัฒนธรรม ผ่านจุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม และตัดกับถนนรามคำแหงในพื้นที่เขตบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ในพื้นที่เขตสวนหลวง โดยมีถนนมอเตอร์เวย์เป็นเส้นทางต่อเนื่อง ซึ่งถนนพระราม 9 ช่วงตั้งแต่ทางแยกรามคำแหงถึงทางแยกต่างระดับถนนศรีนครินทร์ เคยมีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เหตุที่ถนนพระราม 9 ไม่มีคำว่า "ที่" ต่อท้ายนั้น ปรากฏชัดเจนจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 19 กันยายน..
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนนพระราม 9
ถนนพระรามที่ 1
นนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ ถนนพระรามที่ 1 (Thanon Rama I) เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม (สี่แยกกษัตริย์ศึก) ซึ่งต่อเนื่องมาจากถนนบำรุงเมือง บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก (ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และทางรถไฟสายเหนือ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 และทางพิเศษศรีรัช (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองอรชร (สะพานเฉลิมเผ่า 52) และตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) ไปสิ้นสุดที่แยกตัดถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์ ต่อเนื่องไปยังถนนเพลินจิต) อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนนพระรามที่ 1
ถนนพระรามที่ 2
นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนนพระรามที่ 2
ถนนพระรามที่ 3
ถนนพระรามที่ 3 ช่วงวัดคลองภูมิ ถนนพระรามที่ 3 (Thanon Rama III) เป็นถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่สะพานกรุงเทพในพื้นที่แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเจริญกรุง (แยกถนนตก) ข้ามคลองวัดจันทร์ในเข้าสู่พื้นที่แขวงบางโคล่ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเจริญราษฎร์ (แยกเจริญราษฎร์) ข้ามคลองบางมะนาว ตัดกับถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสาธุประดิษฐ์ (แยกสาธุประดิษฐ์) โค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองใหม่เข้าสู่พื้นที่แขวงช่องนนทรี ไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนยานนาวา (แยกพระรามที่ 3-ยานนาวา) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (แยกพระรามที่ 3-สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส หรือแยกช่องนนทรี) และถนนนางลิ้นจี่ (แยกนางลิ้นจี่) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรีเข้าสู่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และไปสิ้นสุดที่แยก ณ ระนอง (จุดตัดกับถนนสุนทรโกษาและถนน ณ ระนอง) ถนนพระรามที่ 3 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลในสมัยนั้นได้วางแผนให้ถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แทนที่ถนนสีลม ซึ่งประสบปัญหาแออัดและการจราจรติดขัดมาก ในช่วงนั้นเจ้าของธุรกิจหลายๆที่ จึงมองว่าเป็นทำเลทองแห่งใหม่ บางธนาคารและบริษัทย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพระรามที่ 3 แห่งนี้ รัฐบาลได้วางนโยบายพร้อมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค พร้อมขยายถนนจาก 4 ช่องทางจราจรไปและกลับ เป็นถนน 8 ช่องจราจรไปและกลับ พร้อมกับถมคลองที่ขนานกับถนน ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อว่าถนนพระรามที่ 3 ถนนพระรามที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นชื่อถนนที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก เป็นชื่อถนนในโครงการตัดถนนใหม่ของถนนวงแหวนรอบใน นอกจากนี้ ถนนพระรามที่ 3 (ช่วงตั้งแต่แยกถนนสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยก นางลิ้นจี่) มีมาแต่เดิมแล้วโดยมีชื่อเป็นทางการว่าถนนนางลิ้นจี่ตอนปลาย หรือประชาชนจะนิยมเรียกว่า ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีโครงการทำถนนวงแหวนรอบใน จึงมีการตัดถนนเพิ่มเติม(แยกสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยกถนนตก) ใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก เมื่อมีโครงการสร้างถนนเศรษฐกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จึงถือโอกาสเปลี่ยนชื่อถนนใหม่เป็น ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านการค้าตั้งแต่ยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตมีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าล่องในลำน้ำช่วงนี้มาจอดเป็นแถวตั้งแต่ถนนตกจนถึงหน้าพระบรมมหาราชวัง และแม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงป็นที่จอดเรือสินค้าและเป็นที่ขนถ่ายสินค้า จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนพระรามที่ 3" ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะสมเพราะวางแผนให้ถนนแห่งนี้เป็นถนนเศรษฐกิจการค้า หมวดหมู่:ถนนในเขตยานนาวา หมวดหมู่:ถนนในเขตบางคอแหลม หมวดหมู่:ถนนในเขตคลองเตย หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนนพระรามที่ 3
ถนนพระรามที่ 4
นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนนพระรามที่ 4
ถนนพระรามที่ 5
นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนนพระรามที่ 5
ถนนพระรามที่ 6
นนพระรามที่ 6 (Thanon Rama VI) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใกล้วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกอุรุพงษ์) และทางรถไฟสายตะวันออก เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนราชวิถี (สี่แยกตึกชัย) ข้ามคลองสามเสน และเริ่มเลียบคลองประปาในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท ตัดกับถนนนครไชยศรี (สามแยกโรงกรองน้ำ) ตัดกับซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 และซอยพระรามที่ 6 ซอย 37 (สี่แยกพิบูลวัฒนา) ตัดกับถนนประดิพัทธ์ (สี่แยกประดิพัทธ์) จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนกำแพงเพชร ทางรถไฟสายเหนือ และถนนเทอดดำริ เข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง) ถนนพระรามที่ 6 เดิมชื่อ "ถนนประทัดทอง" สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "ประทัดทอง" นั้นจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประทัดทองตลอดทั้งสายเป็น "ถนนพระรามที่ 6" เพราะเป็นถนนที่โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสน และต่อไปยังสะพานพระราม 6.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และถนนพระรามที่ 6
แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.
ดู พระราม (แก้ความกำกวม)และแม่น้ำเจ้าพระยา