โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รามเกียรติ์

ดัชนี รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

36 ความสัมพันธ์: ชมพูพานชามพูวราชพญาทูษณ์พระพรตพระยาขรพระรามพระลักษมณ์พระสัตรุดพาลีพิเภกกุมภกรรณมัจฉานุมังกรกัณฐ์มารีศรามายณะรามาวตารรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์สหัสเดชะสุครีพหนุมานอินทรชิตองคตทศกัณฐ์ท้าวลัสเตียนท้าวจักรวรรดิตรีเศียรนางมณโฑนางสำมนักขานางสุพรรณมัจฉานางสีดานางเบญกายนิลพัทโขนไมยราพเรียมเกร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชมพูพาน

มพูพาน (जाम्‍बवान) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นลิงกายสีหงส์ชาด (สีแดง) เป็นลูกเลี้ยงของพญาพาลีแห่งเมืองขีดขิน ถือกำเนิดมาจากเหงื่อไคลพระอิศวร มีความรู้ในเรื่องยา สุครีพจึงพาไปถวายตัวต่อพระราม จึงมีหน้าที่เป็นแพทย์ประจำกองทัพพระราม เคยติดตามหนุมานและองคต ในตอนหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดา ที่กรุงลงกา เมื่อครั้งศึกทศพิน ชมพูพานก็ได้รับมอบหมายให้เป็นทูตถือพระราชสารประกาศสงคราม เมื่อสิ้นศึกกรุงลงกา พระรามทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้ไปเป็นเจ้ากรุงปางตาล.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และชมพูพาน · ดูเพิ่มเติม »

ชามพูวราช

ตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดารามตอน อินทรชิตทำพิธีชุบศรแต่ถูกชามพูวราชที่แปลงเป็นหมีมาทำลายพิธี ชามพูวราช หรือ นิลเกษร เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นพญาวานรในกองทัพพระราม เกิดจากไม้ไผ่ที่พระอิศวรนำมาทำธนูแต่พอลองโก่งยิงธนูก็หัก เกิดเป็นชามพูวราชออกมา มีบทบาทสำคัญตอนศึกลงกา เป็นผู้เสนอให้พระรามจองถนนไปกรุงลงกาเพื่อเป็นพระเกียรติยศ และตอนแปลงร่างเป็นหมีใหญ่กัดต้นโรทันเพื่อทำลายพิธีชุบศรนาคบาศของอินทรชิต หลังจากเสร็จศึกลงกา ชามพูวราชได้เป็นอุปราชเมืองปางตาล.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และชามพูวราช · ดูเพิ่มเติม »

พญาทูษณ์

ญาทูษณ์ หรือ พญาทูต (ทูษณ์ หรือ ทูต - พญายักษ์ (อสุรพงศ์)) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นโอรสองค์ที่ ๕ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์เป็นกษัตริย์เมืองจารึกองค์ที่ ๑ มีบทบาทแค่ตอนที่ นางสำมนักขา ผู้เป็นน้องสาว แค้น พระรามและได้มาขอความช่วยเหลือ ให้ไปฆ่าพระราม และสามารถหักศรพระรามได้ แต่พระรามก็ได้เอา คันธนูที่ รามสูร ให้ไว้ สุดท้าย พระยาทูษณ์ ก็โดนพระรามแผลงศร ตายในที.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพญาทูษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระพรต

ระพรต เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง (คือจักรแก้วของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาพร้อมกับพระราม) เป็นโอรสของท้าวทศรถกับพระนางไกยเกษี คำว่า "พรต" มีความหมายว่า "พระ" (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งเมืองอโยธยา).

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพระพรต · ดูเพิ่มเติม »

พระยาขร

ระยาขร (ขร - พญายักษ์ (อสุรพงศ์)) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ มีรูปลักษณ์สีเขียว ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฎจี.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพระยาขร · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมณ์

ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพระลักษมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสัตรุด

ระสัตรุดคือคทาของพระนารายณ์อวตารลงมาพร้อมกับพระองค์ พระสัตรุดเป็นโอรสของท้าวทศรถ บิดาของพระราม กับพระนางสมุทรชา เป็นพระอนุชาฝาแฝดของพระลักษมณ์ เป็นจอมทัพร่วมกับพระพรตผู้เป็นพระเชษฐา ตอนศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2และศึกเมืองมลิวัน ภายหลังได้เป็นเจ้าอุปราชแห่งเมืองไกยเกษ แม้พระสัตรุดจะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดากับพระลักษมณ์ คือ นางสมุทรชา แต่ทั้งในรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ก็มักกล่าวถึงพระสัตรุดคู่ไปกับพระพรต และกล่าวถึงพระรามคู่กับพระลักษมณ์ ในรามเกียรติ์ตอนต้นจนถึงตอนกลางเรื่อง พระสัตรุดมีบทบาทน้อย แต่มีบทบาทมากขึ้นในตอนท้ายเรื่อง พระนามพระสัตรุดในรามเกียรติ์เขียน สัตรุด แต่ในรามายณะ เขียน ศตฺรุฆฺน (อ่านว่า สะ -ตฺรุ-คฺนะ) แปลว่า ผู้สังหารศัตรู.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพระสัตรุด · ดูเพิ่มเติม »

พาลี

ลี หรือ พญาพาลี เป็นลิงที่เป็นตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเจ้าเมืองขีดขิน ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตัวหนึ่ง มีกายสีเขียว เป็นโอรสของพระอินทร์ กับ นางกาลอัจนา เดิมชื่อ กากาศ ตอนเด็กโดนฤๅษีโคดมสาปให้กลายเป็นลิงเช่นเดียวกันกับสุครีพ ซึ่งเป็นน้องชาย เพราะรู้ว่าทั้ง 2 เป็นลูกชู้ ต่อมาพระอินทร์ผู้เป็นบิดา ได้สร้างเมืองชื่อ ขีดขินให้พาลีปกครอง และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พระยากากาศ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น พาลี เคยต่อสู้กับ ทรพี ควายที่ฆ่า ทรพา พ่อของตนเอง ที่มีเทวดาอารักขาขาทั้งสี่ข้างและสองเขา ซึ่งพาลีจะต้องเข้าไปสู้ในถ้ำสุรกานต์ ก่อนไปได้สั่งเสียสุครีพไว้ว่า ถ้าผ่านไปเจ็ดวันแล้ว ถ้าตนไม่กลับมา ให้ไปดูรอยเลือด ถ้าเลือดข้นนั้นคือ เลือดทรพี ถ้าเลือดใสนั้นคือเลือดตน ตอนที่พระอิศวรฝากนางดารามากับพาลีเพื่อให้กับสุครีพผู้เป็นน้อง พาลีได้ยึดนางดาราไว้เป็นภรรยาเสียเอง พาลีเคยแย่งนางมณโฑกับทศกัณฐ์เมื่อตอนที่เหาะผ่านเมืองขีดขินด้วย และมีบุตรกับนางมณโฑ คือ องคต สุดท้ายพาลีสิ้นชีวิตจากศรของพระราม ขณะที่พระรามแผลงศรใส่พาลี พาลีจับศรไว้ได้ พาลีจึงได้เห็นร่างที่แท้จริงของพระราม ว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร จึงได้สำนึกผิด และเรียกสุครีพมาสั่งสอน ซึ่งเรียกว่า "พาลีสอนน้อง" และฝากฝังเมืองขีดขินไว้ จากนั้นก็ปล่อยให้ศรปักอกตาย หลังจากที่พาลีตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรพาลีบนสวรรค์ ได้มีบทบาทตอนไปทำลายพิธีชุบหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ ในศาสนาฮินดูพาลีไม่ได้ยึดนางดาราภรรยาของสุครีพ และเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม เขาตายเนื่องจากพระรามลอบสังหารเขาในขณะต่อกรกับสุครีพ ในชาติต่อไปเขาไปเกิดเป็นนายพรานจาราและสังหารพระกฤษณะซึ่งเป็นพระรามในชาติก่อน.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพาลี · ดูเพิ่มเติม »

พิเภก

ก เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้ากลม เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ".

ใหม่!!: รามเกียรติ์และพิเภก · ดูเพิ่มเติม »

กุมภกรรณ

กุมภกรรณ (สันสกฤต: कुम्भकर्ण กุมฺภกรฺณ) เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องแท้ ๆ ของทศกัณฐ์ มีหน้าและกายสีเขียว ชายาชื่อนางจันทวดี เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ ที่จริงแล้วเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในธรรม แต่ต้องออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับสุครีพ โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่พระลักษมณ์จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับพระราม แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้ กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และกุมภกรรณ · ดูเพิ่มเติม »

มัจฉานุ

มัจฉานุ เป็นลูกของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา เนื่องจากเป็นลูกของหนุมาน จึงมีร่างกายเป็นลิง แต่มีหางเป็นปลาเช่นเดียวกับนางสุพรรณมัจฉา แต่เมื่อนางสุพรรณมัจฉาได้คลอดมัจฉานุด้วยการสำรอกออกมาแล้ว เกรงว่าทศกัณฐ์จะรู้ว่าเป็นลูกตน จึงได้นำมัจฉานุไปทิ้งไว้ที่หาดริมทะเล หลังจากนั้น ไมยราพณ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบาดาล ได้เดินทางมาพบและเก็บไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งภายหลัง หนุมานที่ได้ติดตามไมยราพณ์ ซึ่งลักพาตัวพระรามมาไว้ที่เมืองบาดาล จึงได้พบกับมัจฉานุ ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าด่านสระบัวอยู่ ทั้งสองจึงได้ต่อสู้กัน แต่ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถเอาชนะกันได้เสียที จึงได้ถามมัจฉานุว่าเป็นลูกใครพ่อแม่ชื่ออะไร เมื่อได้ยินคำตอบของมัจฉานุ หนุมานก็ดีใจมากเมื่อได้พบลูกของตน เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2 และศึกกรุงมลิวัน จึงได้รับแต่งตั้งเป็น พญาหนุราช ครองกรุงมลิวันแทนท้าวจักรวรรดิ และได้นางรัตนามาลี ธิดาท้าวจักรวรรดิเป็นมเหสี หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์ หมวดหมู่:ตัวละครที่เป็นลิง.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และมัจฉานุ · ดูเพิ่มเติม »

มังกรกัณฐ์

มังกรกัณฐ์ เป็นตัวละครจากรามเกียรติ์ อดีตชาติคือทรพีมาเกิดเป็นลูกของพญาขรตามคำสาปของพระอิศวร ร่วมทำศึกกับอินทรชิต ให้อินทรชิตไปทำพิธีชุบศรนาคบาศ ส่วนตนออกไปสู้เพื่อขัดตาทัพไว้ ผลสุดท้ายตายด้วยศรของพระราม ลักษณะของมังกรกัณฐ์ เป็นยักษ์ ตาจระเข้ ปากหุบ มีหนึ่งพักตร์ สองกร กายสีเขียว ทรงมงกุฎยอดนาค มีศรเป็นอาวุธ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และมังกรกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

มารีศ

มารีศ หรือ ม้ารีดบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และมารีศ · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

รามาวตาร

รามาวตาร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และรามาวตาร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

สหัสเดชะ

ทวารบาลสหัสเดชะ ที่วัดพระแก้ว สหัสเดชะ (แปลว่า มีกำลังนับพัน) เป็นรากษสกายสีขาว เจ้าเมืองปางตาล มี 1000 หน้า 2000 มือ ร่างกายสูงใหญ่ดั่งเขาอัศกรรม มีกระบองวิเศษที่พระพรหมประทานให้มีฤทธิ์คือต้นชี้ตายปลายชี้เป็นและได้รับพรเมื่อข้าศึกหรือศัตรูเห็นจงหนีหายไปด้วยความกลัว เมื่อพญามูลพลัมรู้ว่าทศกัณฐ์เพื่อนของตนกำลังรบกับพระรามอยู่จึงคิดจะช่วยโดยชวนสหัสเดชะพี่ชายของตนไปออกรบด้วยกัน ภายหลังด้วยความชะล่าใจของตนจึงถูกหนุมานใช้กลอุบายแปลงเป็นลิงน้อยหลอกเอากระบองวิเศษมาหักทิ้ง และฆ่าสหัสเดชะตายในที่สุด สหัสเดชะ เป็นหนึ่งในยักษ์ทวารบาลสองตน ที่ยืนเฝ้าประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามคู่กับทศกัณฐ์ เพราะถือว่าเป็น ยักษ์ที่มีฤทธิ์มากดุจเดียวกับทศกัณ.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และสหัสเดชะ · ดูเพิ่มเติม »

สุครีพ

สุครีพ เป็นพญาวานรในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง เป็นลูกชายของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา เป็นทหารเอกของพระราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระรามให้เป็นผู้จัดการกองทัพ ออกรบสู้กับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ ครั้งเสร็จศึกกรุงลงกา ได้รับแต่งตั้งเป็น พญาไวยวงศามหาสุรเดช ครองกรุงขีดขิน เมื่อตอนที่พระฤๅษีโคดมสามีของนางกาจอัจนา รู้ความจริงจากนางสวาหะว่าสุครีพไม่ใช่ลูกของตนแต่เป็นลูกชู้ จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลีผู้เป็นพี่ชายซึ่งเป็นลูกชู้กับพระอินทร์ แล้วไล่ให้เข้าป่าไป ต่อมาจึงได้พบกับพระราม สุครีพมีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน ไฟล์:OPR050103Sukreep-DS.jpg ‎ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และสุครีพ · ดูเพิ่มเติม »

หนุมาน

1.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และหนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

อินทรชิต

อินทรชิต (สันสกฤต: इन्‍द्र जीत, Indrajit อินฺทฺร ชีต) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีสีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้วจึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อมหาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรนาคบาศและพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรพรหมาสตร์และพรไม่ให้ตายบนพื้นดินหากตายก็ให้ตายบนอากาศหากเศียรขาดตกลงพื้นก็ให้เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาลต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปานัม เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้วจึงเกิดความหึกเหิมบุกสวรรค์และท้าพระอินทร์รบ และชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์เมื่อทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมากจึงเปลื่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรชิต หมายถึง "ชนะพระอินทร์" แต่ด้วยไม่ตั้งตนอยู่ในธรรมและการประพฤติชั่วของตน ภายหลังถูกศรของพระลักษมณ์สิ้นใจต.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และอินทรชิต · ดูเพิ่มเติม »

องคต

องคต (Angada จากअङ्गद องฺคท) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นลูกของพญาพาลี กับนางมณโฑ เป็นทหารเอกของพระรามมีอาวุธเป็นธนู ที่แม้แต่ใครก็ตามที่มาสู้กับองคตก็ต้องตายหมด องคตเกิดมาจาก เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์ ทศกัณฐ์จึงไปฟ้องฤๅษีอังคัตผู้เป็นอาจารย์ของพาลีให้มาว่ากล่าวพาลี จนพาลียอมคืนนางมณโฑให้แต่ขอลูกเอาไว้ ฤๅษีอังคัตจึงทำพิธีเอาลูกออกจากท้องนางมณโฑไปใส่ในท้องแพะ เมื่อครบกำหนดคลอดพระฤๅษีก็ทำพิธีให้ออกจากท้องแพะให้ชื่อว่า องคต ทศกัณฐ์ยังผูกใจเจ็บ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์ คอยอยู่ก้นแม่น้ำเพื่อที่จะฆ่าองคตขณะทำพิธีลงสรง แต่ถูกพาลีจับได้ แล้วเอามาผูกไว้ให้ลูกลากเล่นอยู่เจ็ดวันจึงปล่อยไป เมื่อสุครีพขอให้พระรามมาช่วยปราบพาลี ก่อนที่พาลีจะสิ้นใจตาย ได้สำนึกว่าตนทำผิดต่อสุครีพ ทั้งไม่รักษาคำสัตย์สาบาน จึงได้ทูลฝากฝังสุครีพและองคตไว้กับพระราม องคตได้ช่วยทำศึกกับกองทัพของทศกัณฐ์อย่างเต็มความสามารถ พระรามเคยส่งองคตเป็นทูตไปเจรจากับทศกัณฐ์ เพื่อทวงนางสีดาคืนกลับมา แม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญ ให้ประจักษ์แก่ตาของทศกัณฐ์ องคตเป็นผู้ที่มีสัมมาวาจา สามารถพูดจาให้คนหลงเชื่อได้ ดังจะเห็นได้จากตอนที่พระรามให้องคตแปลงกายเป็นยักษ์พิจิตรไพรีไปทูลขอแว่นแก้วสุรกานต์จากพระพรหม.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และองคต · ดูเพิ่มเติม »

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และทศกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวลัสเตียน

ท้าวลัสเตียน (อสุรพงศ์) เป็นบุตรของท้าวจตุรพักตร์กษัตริย์ผู้ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๑ และนางมลิกา ท้าวลัสเตียนเป็นกษัตริย์ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๒ มีมเหสี ๕ พระองค์ มีโอรสและธิดาทั้งหมด ๑๑ อง.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และท้าวลัสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวจักรวรรดิ

ท้าวจักรวรรดิ (ซ้าย) และท้าวอัศกรรมมาลา (ขวา) ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท้าวจักรวรรดิ ยักษ์ตนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงมลิวัน สหายของทศกัณฐ์ ได้ร่วมมือกับ ไพนาสุริยวงศ์(โอรสทศกัณฐ์) เข้ากอบกู้กรุงลงกา โดยยกทัพไปทำศึก และจับพิเภก ก่อนที่จะจัดพิธี มอบราชสมบัติกรุงลงกาคืน แก่ไพนาสุริยวงศ์ และให้นามใหม่ว่า ท้าวทศพิน ต่อมา พระพรตจึงได้ยกทัพมาปราบ และยืดเยื้อมาถึงเมืองมลิวัน เกิดการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง หลายครั้งหลายคราว แต่ก็ยังไม่สามารถ กำราบท้าวจักรวรรดิลงได้ กระทั่งพระพรต แผลงศรไปปักอก ส่วนแขน และขานั้นขาดสะบั้น ท้าวจักรวรรดิ จึงได้สำนึกผิด และขออโหสิกรรม ท้าวจักรวรรดิ เป็นหนึ่งในทวารบาลในพระบรมมหาราชวังคู่กับท้าวอัศกรรมมาลา right.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และท้าวจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเศียร

ตรีเศียร เป็นโอรสองค์ที่ ๖ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ และพี่ชายของนางสำมนักขา พญาตรีเศียรเป็นกษัตริย์เมืองมัชวารีองค์ที่ ๑.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และตรีเศียร · ดูเพิ่มเติม »

นางมณโฑ

นางมณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มนโททรี (मंदोदरी มํโททรี) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสี.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และนางมณโฑ · ดูเพิ่มเติม »

นางสำมนักขา

นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และนางสำมนักขา · ดูเพิ่มเติม »

นางสุพรรณมัจฉา

นางสุพรรณมัจฉา (ความหมาย: "ปลาทอง") เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อันเป็นธิดาของทศกัณฑ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน ทหารเอกของพระราม อันเป็นตัวเอกของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว นางปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อครั้งที่พระรามให้หนุมานถมมหาสมุทรข้ามไปยังกรุงลงกา ทศกัณฑ์จึงให้นางสุพรรณมัจฉาและบริวารที่เป็นปลาลอบขนหินถมทะเลดังกล่าวไปทิ้ง หนุมานสงสัยจึงดำลงไปใต้ท้องทะเลจึงพบนางสุพรรณมัจฉา ภายหลังทั้งสองได้ร่วมรักกันและมีบุตรคือ มัจฉานุ ที่ตัวเป็นลิงมีหางเป็นปลา เช่นเดียวกับนางสีดา ที่มีบิดาเป็นยักษ์ แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงามที่ปรากฏตามจิตรกรรมฝาผนัง จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ในรามายณะของภูมิภาคอุษาคเนย์บางประเทศเท่านั้น.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และนางสุพรรณมัจฉา · ดูเพิ่มเติม »

นางสีดา

นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช. '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14318: วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 นางสีดา (Sita) เป็นตัวละครเอกจากเรื่องรามเกียรติ์ โดยเป็นบุตรสาวของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ และเป็นอัครมเหสีของพระราม แต่ในรามายณะของอินเดียหลายฉบับบอกว่านางสีดาเป็นธิดาของพระภูมิเทวีหรือพระแม่ธรณี.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และนางสีดา · ดูเพิ่มเติม »

นางเบญกาย

นางเบญกาย เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นธิดาของพิเภก และเป็นหลานของทศกัณฐ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน (ตอนนี้ไม่ปรากฏในรามายณะ) นางปรากฏตัวในตอนนางลอย ที่ทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงได้สั่งให้เธอแปลงกายนางสีดาแสร้งเป็นศพลอยน้ำไปยังค่ายของพระราม หวังที่จะทำให้พระรามหมดกำลังใจและถอนทัพกลับ แต่หนุมานได้เห็นพิรุธบางประการจึงทูลพระรามก่อนนำไปสู่การเปิดเผ.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และนางเบญกาย · ดูเพิ่มเติม »

นิลพัท

นิลพัท (Nila, สันสกฤต: नील) เป็นบุตรพระกาฬ พระกาฬมอบให้พระอิศวร พระอิศวรมอบให้เป็นบุตรบุญธรรมของท้าวมหาชมพู เจ้าเมืองชมพู มีฤทธิ์มากเทียบเท่ากับหนุมาน ไม่ถูกกับหนุมาน จึงกลั่นแกล้งหนุมานตอนพระรามสั่งให้กองทัพลิงไปขนหินถมถนนไปสู่กรุงลงกา หนุมานกับนิลพัทเลยต่อสู้กัน พระรามจึงมาสงบศึกและตัดสิน เมื่อทราบความว่านิลพัทเป็นฝ่ายหาเรื่องก่อน พระรามกริ้วนิลพัทมาก เนรเทศให้ไปอยู่เมืองขีดขินสั่งให้คอยส่งเสบียงอาหารให้แก่กองทัพ เมื่อเสร็จศึกลงกาพระรามแต่งตั้งให้เป็นอุปราชเมืองชมพูมีนามใหม่ว่า พระยาอภัยพัทวงค์ นิลพัทมีลักษณะเหมือนหนุมานทุกอย่าง เพียงแต่มีกายสีดำ มีกุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้ว สี่หน้า แปดกร ในทางวิชาการละคร อาจกล่าวได้ว่า ตัวละคร เช่น นิลพัทเป็นด้านที่อยู่ตรงข้ามกับหนุมานก็ว่าได้ (Split personality).

ใหม่!!: รามเกียรติ์และนิลพัท · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และโขน · ดูเพิ่มเติม »

ไมยราพ

มยราพ เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พญายักษ์เจ้าแห่งเมืองบาดาล กายสีม่วงอ่อน มงกุฏยอดกระหนก ปากขบ นัยน์ตาจระเข้ มีเวทมนตร์สะกดทัพ และเครื่องสรรพยาเป่ากล้องล่องหนเป็นอาวุธ ในต้นฉบับภาษาสันสกฤตชื่อว่า อหิรภัณ อหิรภณะ ไมยราพเป็นยักษ์ที่มีนิสัยดุร้ายเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และไมยราพ · ดูเพิ่มเติม »

เรียมเกร์

เรียมเกร์ (រាមកេរ្តិ៍ รามเกรฺติ์, ถอดเป็นอักษรโรมัน Ramakerti) หรือ รามเกียรติ์ฉบับภาษาเขมร มีเค้าเดิมจากมหากาพย์รามายณะของอินเดียซึ่งจะไม่เหมือนกับรามเกียรติ์ของไทยตรงที่เรียมเกร์จะมีเงาะป่าร่วมในศึกสงครามด้วย รเรียมเกร์.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และเรียมเกร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: รามเกียรติ์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รามเกียรติบทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 6

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »