โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพาน

ดัชนี สะพาน

น Akashi-Kaikyō ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจากท่อนซุง เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามหุบเขา แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว555.

76 ความสัมพันธ์: บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ช่องโค้งพ.ศ. 2556พ.ศ. 2558กลางคืนการปฏิวัติอุตสาหกรรมรายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกลอนดอนสหรัฐสะพานบรูคลินสะพานชักสะพานพระพุทธยอดฟ้าสะพานพระราม 3สะพานพระราม 6สะพานพระราม 8สะพานพระราม 9สะพานพระปกเกล้าสะพานกรุงธนสะพานกรุงเทพสะพานกาญจนาภิเษกสะพานภูมิพลสะพานมิลเลนเนียม (ลอนดอน)สะพานมีโยสะพานยื่นสะพานรัษฎาภิเศกสะพานรุสสกีสะพานลอยน้ำสะพานลอนดอนสะพานลังกาวีสกายสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสะพานสารสินสะพานอะกะชิไคเกียวสะพานขึงสะพานคิงฟะฮัดสะพานติณสูลานนท์สะพานตงไห่สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์สะพานปรีดี-ธำรงสะพานปีนังสะพานนวรัฐสะพานนเรศวรสะพานแบบคานสะพานแบบโครงสะพานแบบโค้งสะพานแขวนสะพานโกลเดนเกตสะพานโค้งคอนกรีตเสริมเหล็กสะพานเทพสุดา...สะพานเดชาติวงศ์สะพานเปี่ยมพงษ์สานต์อิฐจักรวรรดิอินคาจักรวรรดิโรมันจังหวัดแม่ฮ่องสอนถนนถนนพระรามที่ 2ทวีปอเมริกาใต้ทาวเวอร์บริดจ์ทางพิเศษบูรพาวิถีทางรถไฟคริสต์ศตวรรษที่ 15ซานฟรานซิสโกซีเมนต์ประเทศบาห์เรนประเทศฝรั่งเศสประเทศมาเลเซียนครนิวยอร์กแม่น้ำแม่น้ำเทมส์โคเบะเกาะลังกาวีเกาะอะวะจิเหล็กเทือกเขาแอนดีส ขยายดัชนี (26 มากกว่า) »

บันทึกสถิติโลกกินเนสส์

หน้าปกกินเนสส์บุ๊ก ฉบับปี ค.ศ. 2008 หนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ หรือ กินเนสส์บุ๊ค (Guinness Book of World Records) เป็นหนังสือที่บันทึกที่สุดในโลกด้านต่างๆ โดยออกเป็นรูปแบบหนังสือรายปี.

ใหม่!!: สะพานและบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องโค้ง

วาดสามมิติของช่องโค้งทั่วไป ช่องโค้ง (arch) คือโครงสร้างลักษณะโค้งที่ใช้รองรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างด้านบนเหนือตัวมันเอง เทคนิคการสร้างอาร์ชถูกพัฒนาขึ้นในเมโสโปเตเมีย อัสซีเรีย อียิปต์ และอีทรูเรีย แต่ถูกปรับปรุงและใช้อย่างแพร่หลายในโรมันโบราณ หลังจากนั้นอาร์ชกลายเป็นโครงสร้างสำคัญของอาคารโบสถ์ในศาสนาคริสต์ และในปัจจุบันยังมีการใช้อาร์ชในส่วนของโครงสร้างสะพาน ประโยชน์ของอาร์ชคือใช้เป็นโครงสร้างในการเชื่อมต่อบริเวณช่องของส่วนโครงสร้างอื่น ออกแบบเพื่อรับแรงอัดในแนวดิ่ง โดยการเปลี่ยนแรงอัดในแนวดิ่งเป็นแรงอัดในแนวระนาบของอาร์ชและถ่ายแรงลงสู่ฐานทั้งสองข้างของอาร์ช ไฟล์:Treledsbåge.png|อาร์ชสามเหลี่ยม ไฟล์:Rundbåge.png|อาร์ชกลม หรือ อาร์ชครึ่งวงกลม ไฟล์:Segmentbåge.png|Segmental arch ไฟล์:Stigande båge.png|Unequal round arch or Rampant round arch ไฟล์:Lansettbåge.png|Lancet arch ไฟล์:Spetsbåge.png|Equilateral pointed arch ไฟล์:Skulderbåge.png|Shouldered flat arch ไฟล์:Trepassbåge.png|Three-foiled cusped arch ไฟล์:Hästskobåge.png|Horseshoe arch ไฟล์:Korgbåge.png|Three-centred arch ไฟล์:Ellipsbåge.png|Elliptical arch ไฟล์:Draperibåge.png|Inflexed arch ไฟล์:Kölbåge.png|Ogee arch ไฟล์:Karnisbåge.png|Reverse ogee arch ไฟล์:Tudorbåge.png|Tudor arch ไฟล์:Parabelbåge.png|Catenary or Parabolic arch.

ใหม่!!: สะพานและช่องโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2556

ทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สะพานและพ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: สะพานและพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

ใหม่!!: สะพานและกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: สะพานและการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก

นอะกะชิไคเกียว ญี่ปุ่น มีช่วงกลางของสะพานยาวที่สุดในทุกๆ รูปแบบของสะพานแขวน สะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก แสดงรายชื่อตามความยาวของช่วงกลาง (main span) ของสะพานเป็นหลัก (เช่น ความยาวของถนนระหว่างหอคอยของสะพาน) ความยาวของช่วงกลางหลักคือวิธีการทั่วไปส่วนใหญ่ในการเปรียบเทียบขนาดของสะพานแขวน ซึ่งมีความสัมพันธ์บ่อยครั้งกับความสูงของหอคอยและความซับซ้อนทางวิศวกรรม โดยเกี่ยวข้องกับการออกแบบและการก่อสร้างสะพานนั้น.

ใหม่!!: สะพานและรายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: สะพานและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สะพานและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานบรูคลิน

นบรูคลิน (อังกฤษ: Brooklyn Bridge) สร้างเสร็จเมื่อปี..

ใหม่!!: สะพานและสะพานบรูคลิน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานชัก

นชัก (drawbridge) คือสะพานประเภทหนึ่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งปกติจะใช้งานร่วมกับทางเข้าของปราสาทที่ล้อมรอบด้วยคูเมือง ในภาษาอังกฤษของบางท้องถิ่นซึ่งรวมถึงภาษาอังกฤษอเมริกัน คำว่า "drawbridge" จะหมายถึงสะพานทุกรูปแบบที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สะพานหก (bascule) สะพานยกแนวตั้ง (vertical-lift) สะพานหมุน (swing) เป็นต้น แต่ในหน้านี้จะกล่าวถึงสะพานดังกล่าวตามความหมายดั้งเดิม.

ใหม่!!: สะพานและสะพานชัก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: สะพานและสะพานพระพุทธยอดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 3

นพระราม 3 (Rama III Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ (เดิมมีชื่อเรียกกันติดปากว่า สะพานกรุงเทพ 2) เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ นอกจากนี้ สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานแบบอสมมาตรที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย และเหตุที่สะพานมีระดับสูงและช่วงทางลงยาวมาก ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และล่าสุดมีรถชนกันต่อเป็นทอด ๆ ถึง 21 คัน ก่อนหน้านั้นเคยมีรถพ่วงเบรกแตกและชนต่อ ๆ กันแบบนี้มาแล้วด้วย นอกจากนั้นในทางลงด้านถนนเจริญกรุงก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นทางลาดชัน จึงเกิดเหตุรถพุ่งเข้าชนบ้านที่อยู่ตรงทางลง ทำให้ต้องมีการสร้างแผงปูนขึ้นกั้นบริเวณบ้านที่อยู่ทางลงด้านนี้.

ใหม่!!: สะพานและสะพานพระราม 3 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 6

นขนานสะพานพระราม 6 สะพานพระราม 6 (Rama VI Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สะพานและสะพานพระราม 6 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 8

นพระราม 8 (Rama VIII Bridge) เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สะพานและสะพานพระราม 8 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 9

นพระราม 9 จากแสตมป์ไทยชุดสะพาน สะพานพระราม 9 (Rama IX Bridge) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม สะพานขึง เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อสะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ปี พ.ศ. 2530 สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอน ลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 85,000 คน และในเวลาค่ำ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำประชาชนจุดเทียนชัยถวายพระพรพร้อมกับร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการแสดงพลุดอกไม้ไฟอย่างตระการต.

ใหม่!!: สะพานและสะพานพระราม 9 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระปกเกล้า

นพระปกเกล้า (Phra Pok Klao Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมระหว่างถนนจักรเพชร ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างเคียงข้างขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เนื่องจากการจราจรบริเวณนั้นถึงจุดวิกฤต รัฐบาลจึงเห็นว่าควรมีสะพานอีกแห่งหนึ่งเพื่อช่วยระบายการจราจร โดยได้เว้นที่ช่วงกลางสะพานไว้สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลินด้วย ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: สะพานและสะพานพระปกเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานกรุงธน

นกรุงธน (Krung Thon Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า สะพานซังฮี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: สะพานและสะพานกรุงธน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานกรุงเทพ

นกรุงเทพ (Krung Thep Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 3 ต่อจากสะพานพระราม 6 และสะพานพระพุทธยอดฟ้า ถือเป็นสะพานโยกเพียงแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังเปิด-ปิดได้อยู่ เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโลในพื้นที่เขตธนบุรีทางฝั่งธนบุรี ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและปิด-เปิด ให้เรือเข้าออก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีการอิสระซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย มีช่องทางจราจร 4 ช่อง ความยาวสะพาน 350.80 เมตร ช่วงกลางน้ำยาว 226 เมตร เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ปัจจุบัน สะพานยังเปิด-ปิดเพื่อให้เรือสินค้าที่แล่นเข้าออกเป็นประจำผ่าน แต่เมื่อมีการเปิด-ปิดสะพาน ก็ต้องมีการปิดการจราจร ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นอันมาก อีกทั้งเป็นสะพานที่อายุกว่า 50 ปี ทำให้มีปัญหาด้านกลไกเปิด-ปิดสะพานอยู่บ่อยครั้ง รัฐบาลจึงทุ่มงบสร้างสะพานที่สูงพอให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร สะพานนั้นคือ สะพานพระราม 3.

ใหม่!!: สะพานและสะพานกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานกาญจนาภิเษก

นกาญจนาภิเษก (Kanchanaphisek Bridge) เป็นสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ช่วงทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์) ลักษณะการก่อสร้างเป็นสะพานขึงระนาบคู่ขนาด 6 ช่องจราจร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างท้องที่ตำบลบางจาก (เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง) กับตำบลบางหัวเสือ (เขตเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 52 เมตร เพื่อให้เรือสินค้าสามารถเข้าออกได้ ตัวสะพานมีความยาวช่วงกลางแม่น้ำ 500 เมตร ซึ่งถือว่าเป็น "สะพานขึง" ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศไทย และถือว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สะพานและสะพานกาญจนาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานภูมิพล

นภูมิพล (Bhumibol Bridge) หรือเดิม สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนกาญจนาภิเษก ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องจราจร ทางด้านเหนือหรือ "สะพานภูมิพล 1" เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ "สะพานภูมิพล 2" เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนหน้านั้นได้เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ในวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สะพานและสะพานภูมิพล · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิลเลนเนียม (ลอนดอน)

นมิลเลนเนียม (Millennium Bridge) หรือเป็นรู้จักในสะพานทางเท้ามิลเลนเนียมลอนดอน คือ สะพานแขวนโครงสร้างเหล็กสำหรับคนเดินที่สร้างข้ามแม่น้ำเทมส์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เชื่อมต่อเขต Bankside กับเขตตัวเมืองลอนดอน มันตั้งอยู่ระหว่างสะพาน Southwark Bridge และสะพานรถไฟ Blackfriars สะพานมิลเลนเนียมถูกสร้างขึ้นใน..

ใหม่!!: สะพานและสะพานมิลเลนเนียม (ลอนดอน) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมีโย

นมีโย (Viaduc de Millau; Viaducte de Milhau) เป็นสะพานเคเบิลที่เชื่อมหุบเขาแม่น้ำทาร์นไม่ไกลจากเมืองมีโยทางตอนใต้ของฝรั่งเศส สะพานมีโยที่ออกแบบโดยสถาปนิกด้านวิศวกรรมโครงสร้างชาวฝรั่งเศสมีแชล วีร์ลอเฌอ และสถาปนิกชาวอังกฤษนอร์มัน ฟอสเตอร์เป็นสะพานที่สูงที่สุดในโลกที่เสาที่สูงที่สุดสูง — ที่สูงกว่าหอไอเฟลเพียงเล็กน้อย และเตี้ยกว่าตึกเอ็มไพร์สเตตเพียง สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวง A75 - ทางหลวง A71 ที่เชื่อมระหว่างปารีสกับมงเปอลีเย ค่าก่อสร้างสะพานทั้งหมดตกประมาณ 400 ล้านยูโร สะพานเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2004 อีกสองวันหลังจากนั้นก็เปิดใช้ในการจราจร ในปี ค.ศ. 2006 สะพานมีโยได้รับรางวัลโครงสร้างดีเด่นจากสมาคมสะพานและวิศวกรรมโครงสร้างนานาชาติ (IABSE).

ใหม่!!: สะพานและสะพานมีโย · ดูเพิ่มเติม »

สะพานยื่น

น Pierre Pflimlin ข้ามแม่น้ำไรน์ ระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศส สะพานยื่น (cantilever bridge) คือ สะพานรูปแบบหนึ่งที่ใช้คานยื่น และใช้โครงสร้างแนวนอนในการยึดเสาค้ำหรือคานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับน้ำหนักของสะพาน สะพานยื่นอาจเป็นรูปแบบที่เรียบง่ายสำหรับสะพานลอย แต่สะพานยื่นขนาดใหญ่ที่มีการออกแบบสำหรับถนนหรือทางรถไฟจะใช้เสาค้ำซึ่งสร้างจากเหล็ก หรือคานขนาดใหญ่ซึ่งสร้างจากคอนกรีตอัดแรง สะพานยื่นเหล็กคือการพัฒนาและการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางวิศวกรรม เพราะสะพานรูปแบบนี้สามารถยืดขยายระยะทางกว่า 1,500 ฟุต (460 เมตร) และสามารถสร้างอย่างง่าย ๆ ด้วยคุณสมบัติของสะพานที่มีความผิดพลาดเล็กน้อยหรือไม่ผิดพลาดเล.

ใหม่!!: สะพานและสะพานยื่น · ดูเพิ่มเติม »

สะพานรัษฎาภิเศก

นรัษฎาภิเศก สะพานรัษฎาภิเศก (50px) หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่ทางเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี..

ใหม่!!: สะพานและสะพานรัษฎาภิเศก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานรุสสกี

นรุสสกี (Русский мост, Russky Bridge) คือสะพานที่สร้างข้ามช่องแคบบอสฟอรัสตะวันออก สำหรับใช้ในงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ซึ่งจัดงานขึ้นที่เมืองวลาดีวอสตอก (Vladivostok) เมืองท่าของรัสเซียใน..

ใหม่!!: สะพานและสะพานรุสสกี · ดูเพิ่มเติม »

สะพานลอยน้ำ

นในพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน สะพานลอยน้ำ (pontoon bridge) หรือสะพานเรือ คือสะพานรูปแบบหนึ่งซึ่งลอยอยู่บนน้ำ โดยมีเรือท้องแบนหรือเรือลักษณะเดียวกันพยุงพื้นสะพานเอาไว้และรับน้ำหนักถ่วงของสะพาน สะพานลอยน้ำปกติจะเป็นโครงสร้างชั่วคราว บางสะพานนั้นอาจถูกใช้เป็นเวลายาวนาน ส่วนสะพานลอยน้ำแบบถาวรเป็นประโยชน์สำหรับการข้ามน้ำที่มีที่กำบัง ซึ่งพิจารณาถึงความไม่เหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจที่จะสร้างสะพานเป็นท่าเรือถาวร สะพานเหล่านี้อาจสร้างส่วนหนึ่งซึ่งสามารถถูกยกขึ้นหรือเคลื่อนย้ายสะพานเพื่อที่จะให้เรือผ่านได้ สะพานลอยน้ำเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะใช้ในการข้ามแม่น้ำในช่วงสงคราม โดยปกติจะสร้างเป็นสะพานชั่วคราว และบางครั้งถูกทำลายหลังจากการข้าม (เพื่อที่จะไม่ให้ศัตรูใช้สะพาน) หรือยุบและขนย้าย (ถ้ามีการเดินทางที่ยาวไกล) สะพานถูกใช้ด้วยข้อดีมากมายในหลาย ๆ การสู้รบตลอดจนการรักษาเวลา ได้แก่ การสู้รบ Garigliano การสู้รบ Oudenarde สงครามอาหรับ-อิสราเอล..

ใหม่!!: สะพานและสะพานลอยน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานลอนดอน

นลอนดอน (London Bridge) เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างนครหลวงลอนดอนและซัทเธิร์คในลอนดอนข้ามแม่น้ำเทมส์ ตั้งอยู่ระหว่างสะพานรถไฟแคนนอนสตรีท และ สะพานทาวเออร์ ทางด้านใต้ของสะพานเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซัทเธิร์คและสถานีสะพานลอนดอน ทางด้านเหนือเป็นอนุสาวรีย์เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอนและสถานีแบ้งค์และมอนิวเมนท์ สะพานลอนดอนเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเทมส์สะพานเดียวทางตอนใต้ของคิงสทันอัพพอนเทมส์จนกระทั่งเมื่อสะพานพัทนีมาเปิดขึ้นในปี ค.ศ. 1729 สะพานปัจจุบันเปิดใช้เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1973 และเป็นสะพานล่าสุดของสะพานหลายสะพานที่สร้างขึ้นตรงจุดเดียวกันนี้ก่อนหน้านั้น สะพานเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวง A3 ที่บำรุงรักษาโดยสำนักงานนครลอนดอนและปริมณฑล (Greater London Authority) แต่ตัวสะพานเองเป็นของ Bridge House Estates ซึ่งเป็นองค์การกุศลอิสระภายใต้การบริหารของบริษัทนครหลวงลอนดอน (City of London Corporation) บริเวณระหว่างสะพานลอนดอนและสะพานทาวเออร์ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำเทมส์เป็นเขตปรับปรุงธุรกิจ (business improvement district (BID)) ที่บริหารโดย Team London Bridge สะพานทาวเออร์มักจะเข้าใจผิดและเรียกกันว่า “สะพานลอนดอน”.

ใหม่!!: สะพานและสะพานลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานลังกาวีสกาย

thumb สะพานลังกาวีสกาย (อังกฤษ: Langkawi Sky Bridge) ตั้งอยู่ที่ เกาะลังกาวี รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2548 สะพานจะอยู่ในตำแหน่งสูงที่สุดของยอดเขาภูเลา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,000 ฟุต ความยาว 125 เมตร สามารถเข้าถึงได้โดยบริการรถกระเช้าเคเบิลคาร์ มีทิวทัศน์งดงามมาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเกาะลังกาวี หมวดหมู่:สะพานในประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: สะพานและสะพานลังกาวีสกาย · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

มุมมองแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล.

ใหม่!!: สะพานและสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างข้ามแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขนาบข้างสะพานปรีดี-ธำรง โดยเชื่อมระหว่างถนนโรจนะ(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3053)และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 กรมทางหลวงได้ตั้งชื่อสะพานนี้ว่า สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติ และเกียรติคุณของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพให้ชาวสยามจากหงสาวดี ให้ปรากฏแก่อนุชนรุ่นหลัง คณะรัฐมนตรียกร่างการตั้งชื่อตามระเบียบของกรมทางหลวง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: สะพานและสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่รู้จักในนาม สะพานสาทร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสาทร (เขตสาทรและเขตบางรัก) กับถนนกรุงธนบุรี (เขตคลองสาน) เป็นสะพานคู่แยกขาเข้า-ขาออก และเว้นเนื้อที่ระหว่างสะพานไว้เผื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนอื่น โดยปัจจุบัน พื้นที่ระหว่างสะพานเป็นรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม และพื้นที่ในฝั่งพระนครยังเป็นที่ตั้งของสถานีสะพานตากสินอีกด้วย สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นที่รู้กันของชาวกรุงเทพฯ ว่าประสบปัญหาการจราจรอย่างหนัก โดยเฉพาะขาเข้าฝั่งพระนคร เนื่องจากปริมาณรถมาก และเชิงสะพานฝั่งพระนครมีสัญญาณไฟจราจร จึงเป็นการปิดกั้นกระแสรถจากฝั่งธนบุรีซึ่งมีปริมาณมากให้ไหลไปได้ช้า โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนที่มีปริมาณรถมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนตั้งอยู่ปลายสะพานทางฝั่งพระนครซึ่งในช่วงเวลาเช้าจะมีผู้ปกครองจอดรถเพื่อส่งเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก และใช้เวลานานมาก ซึ่งเป็นที่มาส่วนหนึ่งของการจราจรที่ติดขัดเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: สะพานและสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสารสิน

รือประมงและสะพานสารสิน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สะพานสารสิน เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดภูเก็ต เป็นสะพานแรกที่มีการสร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปภูเก็ต เชื่อมต่อระหว่างบ้านท่าฉัตรไชยและบ้านท่านุ่นของจังหวัดพังงา โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร เปิดใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สะพานแห่งนี้ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เริ่มสร้างครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 โดยเปิดให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างในระยะเริ่มต้นมีปัญหาเพราะความไม่ชำนาญการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้างอีกครั้งโดยบริษัท Cristiani & Nelson (Thailand) Ltd.

ใหม่!!: สะพานและสะพานสารสิน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานอะกะชิไคเกียว

นอะกะชิไคเกียว หรือสะพานไข่มุก เป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก โดยมีความยาวทั้งสิ้น 3,991 เมตร ความยาวช่วงกลางสะพาน 1,991 เมตร ตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี..

ใหม่!!: สะพานและสะพานอะกะชิไคเกียว · ดูเพิ่มเติม »

สะพานขึง

นรุสสกี (The Russky Bridge) สะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลกในรัสเซีย สะพานพระราม 9 สะพานขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย สะพานพระราม 8 สะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดียวที่ยาวที่สุดในโลก สะพานขึง (cable-stayed bridge) คือ สะพานรูปแบบหนึ่งที่มีหนึ่งหอคอยหรือมากกว่า ซึ่งมีสายเคเบิลในการพยุงพื้นสะพาน รูปแบบของสะพานนี้มีสองแบบหลัก ๆ ได้แก่ ฮาร์ป (harp) และแฟน (fan) ในส่วนของฮาร์ปหรือการออกแบบแนวขนาน สายเคเบิลเกือบจะขนานกันเพื่อที่จะให้ความสูงและการเชื่อมต่อของหอคอยได้สัดส่วน ในส่วนของแฟน สายเคเบิลทั้งหมดเชื่อมต่อหรือผ่านส่วนบนสุดของหอคอย การออกแบบของแฟนเหนือกว่าในด้านโครงสร้าง เพราะสายเคเบิลจบใกล้กับส่วนบนสุดของหอคอย แต่มีช่องว่างของแต่ละสายอย่างเพียงพอ ซึ่งปรับปรุงด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการเข้าถึงสายเคเบิลแต่ละสายได้อย่างดีในการดูแลรักษา สะพานขึงเหมาะสมสำหรับช่วงกลางที่ยาวกว่าสะพานยื่น (cantilever bridge) และสั้นกว่าสะพานแขวน (suspension bridge) เพราะสะพานยืนจะหนักขึ้นอย่างรวดเร็วหากมีการสร้างช่วงกลางที่ยาวขึ้น และสะพานแขวนจะไม่ประหยัดมากขึ้นหากมีการสร้างช่วงกลางที่สั้นลง เพราะฉะนั้นสะพานขึงจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับสะพานที่ไม่สั้นหรือยาวมากเกินไป.

ใหม่!!: สะพานและสะพานขึง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานคิงฟะฮัด

นคิงฟะฮัด (King Fahd Causeway) เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเมืองอัลเคาะบัร ประเทศซาอุดีอาระเบีย กับประเทศบาห์เรน มีขนาด 4 เลน กว้าง 23 เมตร ยาว 28 กิโลเมตร.

ใหม่!!: สะพานและสะพานคิงฟะฮัด · ดูเพิ่มเติม »

สะพานติณสูลานนท์

นติณสูลานนท์ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิงหนคร ความยาวของสะพาน 2 ช่วงแรก 940 เมตร และ 1,700 เมตร ตามลำดับ รวมเป็น 2,640 เมตร ก่อสร้างขึ้นในสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จุดประสงค์ของการสร้างสะพานแห่งนี้ คือ การรองรับการคมนาคมทางรถยนต์ โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การเดินทางต้องใช้เวลานาน ทั้งเมื่อข้ามฝั่งมาแล้วก็ยังทำให้การจราจรติดขัดในตัวเมืองอีกด้วย ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลจึงมีนโยบายจะพัฒนาจังหวัดสงขลา และอำเภอหาดใหญ่ให้เป็นเมืองหลัก โดยกรมทางหลวงเป็นเจ้าของโครงการ และบริษัทจากประเทศไต้หวันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เปิดให้ใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2527 สะพานติณสูลานนท์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 414 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 (สงขลา-หาดใหญ่) ชาวจังหวัดสงขลานิยมเรียกสะพานนี้ติดปากว่า "สะพานป๋าเปรม" "สะพานติณ" หรือ "สะพานเปรม" และถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวั.

ใหม่!!: สะพานและสะพานติณสูลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานตงไห่

นตงไห่ ตั้งอยู่ในประเทศจีน เคยเป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก จนกระทั่งสะพานข้ามอ่าวหางโจว เปิดใช้งาน ในวันที่ 1 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สะพานและสะพานตงไห่ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์

ซิดนีย์โอเปร่า สะพานฮาร์เบอร์ (Harbour Bridge) มีโครงสร้างผิวจราจรพาดผ่านโครงเหล็กถักรูปโค้ง (แบบ Trussed Through Arch) ตั้งอยู่บนอ่าวซิดนีย์ กลางเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นสะพานระนาบเดี่ยว ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ 1930 เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวัง เปิดใช้ในปี..

ใหม่!!: สะพานและสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานปรีดี-ธำรง

นปรีดี-ธำรง เป็นสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำป่าสักเข้าเกาะเมืองอยุธยา แห่งแรก เชื่อมการคมนาคมทางบกมาสู่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: สะพานและสะพานปรีดี-ธำรง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานปีนัง

นปีนัง (Jambatan Pulau Pinang;; பினாங்கு பாலம்) หรือทางด่วนหมายเลข 36 เป็นสะพานทางด่วนระยะทาง 13.5 กิโลเมตร ในรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อเมืองไปรบนฝั่งแผ่นดินใหญ่ของรัฐ ข้ามช่องแคบปีนัง เชื่อมต่อกับเกลูโกร์บนฝั่งเกาะปีนัง เป็นหนึ่งในสองสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างมาเลเซียตะวันตกกับเกาะ และยังเป็นสะพานที่ยาวที่สุดอันดับสองในประเทศมาเลเซียและอันดับห้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความยาวเหนือน้ำถึง 8.4 กิโลเมตร มีพิธีเปิดสะพานนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน..

ใหม่!!: สะพานและสะพานปีนัง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานนวรัฐ

นนวรัฐในเวลาค่ำคืน สะพานนวรัฐ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกที่ทำด้วยไม้สัก ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2433 ปัจจุบันได้รับการสร้างใหม่ให้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2510จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน และจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: สะพานและสะพานนวรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานนเรศวร

นนเรศวร เป็นสะพานที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ระหว่างฝั่งศาลากลาง.

ใหม่!!: สะพานและสะพานนเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

สะพานแบบคาน

นคานแผ่นเหล็กที่วางบนเสาคอนกรีต สะพานแบบคาน (beam bridge) คือสะพานรูปหนึ่งที่มีโครงสร้างเรียบง่ายที่สุด ซึ่งพื้นสะพานถูกหนุนโดยเครื่องค้ำและเสาสะพานในแต่ละด้าน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้ำตลอดสะพานนี้ ดังนั้นรูปแบบโครงสร้างจึงรู้จักในการค้ำสะพานที่เรียบง่าย สะพานแบบคานที่เรียบง่ายที่สุดอาจเป็นแผ่นหินหนาหรือแผ่นกระดานไม้วางข้ามลำธาร สะพานที่ออกแบบสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ จะถูกสร้างโดยใช้เหล็กหรือคอนกรีตเสริมแรง หรือรวมทั้งสองอย่าง องค์ประกอบของคอนกรีตอาจเป็นคอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตอัดแรง.

ใหม่!!: สะพานและสะพานแบบคาน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานแบบโครง

นแบบโครงสำหรับทางรถไฟเดี่ยว ถูกเปลี่ยนเป็นทางเดินเท้าและท่อส่งน้ำ สะพานแบบโครง (truss bridge) เป็นสะพานรูปแบบหนึ่งที่พยุงน้ำหนักโครงสร้างส่วนบน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีการประกอบเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมเชื่อมต่อกัน โดยโครงสร้างเหล่านี้อาจจะถูกกดจากความตึง การบีบอัด หรืออาจทั้งสองอย่างในการตอบสนองการรับน้ำหนัก สะพานแบบโครงคือหนึ่งในรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของสะพานยุคใหม่ รูปแบบที่เรียบง่ายของสะพานนี้แสดงการออกแบบอย่างง่ายๆ โดยวิศวกรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตอนต้น สะพานรูปแบบนี้ยังประหยัดในการก่อสร้างเพราะใช้วัสดุได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: สะพานและสะพานแบบโครง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานแบบโค้ง

นหินโค้งในญี่ปุ่น สะพานแบบโค้ง (arch bridge) คือ สะพานรูปแบบหนึ่งที่มีการรับน้ำหนักในแต่ละด้านในการก่อสร้างเป็นรูปโค้ง สะพานแบบโค้งใช้การโอนน้ำหนักของสะพานและน้ำหนักถ่วงบางส่วนในการผลักตามแนวนอนโดยเครื่องรับน้ำหนักที่ด้านใดด้านหนึ่ง สะพานหนึ่งอาจจะสร้างจากรูปโค้งที่ต่อเนื่องกัน แต่ในปัจจุบันมีสะพานหลายรูปแบบที่ใช้โครงสร้างที่ประหยัดมากกว่าสะพานแบบโค้ง.

ใหม่!!: สะพานและสะพานแบบโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานแขวน

นอะกะชิไคเกียวในญี่ปุ่น เป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจอร์จ วอชิงตัน เชื่อมระหว่างนครนิวยอร์กและรัฐนิวเจอร์ซีคือ สะพานแขวนที่มีการจราจรมากที่สุดในโลก ด้วยปริมาณรถ 102 ล้านคันต่อปี สะพานแขวน (Suspension bridge) คือ รูปแบบของสะพานแบบหนึ่ง ซึ่งพื้นสะพานถูกแขวนด้วยสายเคเบิลในแนวตั้ง ตัวอย่างสะพานแขวนแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในทิเบตและภูฏานในคริสศตวรรษที่ 15 ในรูปแบบที่เรียบง่าย ซึ่งกลายเป็นรูปแบบของสะพานแขวนในศตวรรษที่ 19 สะพานที่ไม่มีสายแขวนในแนวตั้งมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในเขตภูเขาหลายๆ แห่งทั่วโลก สะพานแขวนมีสายเคเบิลแขวนระหว่างเสาหรือหอคอย และมีสายแขวนในแนวตั้ง ซึ่งถือน้ำหนักของพื้นสะพานด้านล่างและมีการจราจรอยู่ด้านบน โดยการก่อสร้างสะพานรูปแบบนี้ไม่ค่อยมีงานก่อสร้างที่ผิดพลาด สายเคเบิลหลักต้องถูกยึดติดที่แต่ละด้านและปลายสุดของสะพาน น้ำหนักถ่วงของสะพานจะเปลี่ยนเป็นความตึงของสายเคเบิลหลักๆ สายเคเบิลจะดึงหอคอยทั้งสองด้านไปจนถึงการรับน้ำหนักบนพื้นด้านล่าง ในบางครั้งหอคอยอาจจะตั้งอยู่บนขอบตลิ่งกว้างหรือหุบเขาที่ถนนสามารถเข้าถึงได้โดยตรง หรืออาจจะใช้สะพานที่มีเสาค้ำ (Truss bridge) ในการเชื่อมต่อกับสะพานแขวน perrow.

ใหม่!!: สะพานและสะพานแขวน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานโกลเดนเกต

นโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ทอดยาวข้ามอ่าวตอนเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สร้างในสมัยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ เมื่อปี ค.ศ. 1933 เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1937 ตอนกลางสะพานยาว 1,280 เมตร กว้าง 27 เมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล 67 เมตร มีทางรถยนต์ 6 ทาง รถบรรทุก 3 ทาง รถไฟ 2 ทาง ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สะพานโกลเดนเกตกลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ สะพานกลายเป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาไปโดยปริยาย ปัจจุบันนี้เองผู้คนทั่วโลกเองก็ยังคงรู้จักสะพานโกลเดนเกตและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา และจากผลการสำรวจสถานที่ที่น่าประทับใจของสถาบันสถาปนิกอเมริกัน พบว่าอยู่ในอันดับที่ 5 ของสถานที่ต่างๆ ในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: สะพานและสะพานโกลเดนเกต · ดูเพิ่มเติม »

สะพานโค้งคอนกรีตเสริมเหล็ก

นโค้งคอนกรีตเสริมเหล็ก (tied-arch bridge) คือสะพานโค้งแบบหนึ่งซึ่งที่มีแรงผลักตามแนวนอนของช่องโค้งไปยังด้านนอกโดยตรง สะพานถูกพยุงโดยความตึงมากกว่าฐานสะพานบนพื้นดิน ในหลายกรณีรูปแบบภายนอกนั้นไม่เหมาะหรือไม่สามารถใช้งานได้แต่สะพานสามารถถูกแทนที่โดยสายเคเบิลของช่องโค้งนั้น ๆ เป็นการสร้างโค้งที่ใช้สายเคเบิลพยุงสะพานเอาไว้.

ใหม่!!: สะพานและสะพานโค้งคอนกรีตเสริมเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเทพสุดา

นเทพสุดา เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ช่องจราจร ข้ามเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ จากบริเวณแหลมโนนวิเศษ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ ถึงบริเวณเกาะมหาราช ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรีเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 498,850,000 บาท ความยาว 2,040 เมตร ถนนต่อเชื่อมโครงการผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร ภายใต้การกำกับดูแลของกรมทางหลวงชนบท สร้างเสร็จในเดือนธันวาคม 2553 ถือเป็นสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สะพานเทพสุดา แห่งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 สะพานเทพสุดา ซึ่งหมายถึงสะพานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเทพสุดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณเชิงสะพานเทพสุดา อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งทอดพระเนตรนิทรรศการสะพานเทพสุดา สะพานเทพสุดา เป็นโครงข่ายเชื่อมเส้นทางคมนาคมขนส่งจาก จังหวัดหนองคาย อุดรธานี ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปยังจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นประตูสู่อินโดจีนหรืออีสต์เวสต์อีโคโนมิก คอริดอร์ จะช่วยร่นระยะทางได้กว่า 100 กิโลเมตร รวมถึงการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรทางฝั่งตะวันตก อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ฝั่งตะวันออก อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จ อำเภอกุฉินารายณ์ และตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ จะร่นระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร นอกจากนี้ บนสะพานเทพสุดายังสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำลำปาวได้อย่างชัดเจน สนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกาฬสินธุ์ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ทำให้ ประชาชนมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับ อำเภอสหัสขันธ์ มีพิพิธภัณฑ์สิรินธร (ภูกุ้มข้าว) ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ได้ออกแบบประติมากรรมรูปหล่อไดโนเสาร์ ติดตั้งบริเวณราวสะพานทั้ง 2 ข้าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ อีกด้ว.

ใหม่!!: สะพานและสะพานเทพสุดา · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเดชาติวงศ์

link.

ใหม่!!: สะพานและสะพานเดชาติวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเปี่ยมพงษ์สานต์

นเปี่ยมพงษ์สานต์ เป็นสะพานคอนกรีตทันสมัยที่สุดในสมัยก่อน เป็นสะพานที่สร้างข้ามแม่น้ำระยองใกล้ ๆ กับสะพานไม้ รถยนต์สามารถแล่นไปมาได้ ทำให้การคมนาคมระหว่างตัวจังหวัด และหมู่บ้านปากน้ำระยองสะดวกขึ้น สะพานนี้เริ่มสร้างประมาณ..

ใหม่!!: สะพานและสะพานเปี่ยมพงษ์สานต์ · ดูเพิ่มเติม »

อิฐ

การผลิตอิฐโดยทั่วไป จะผสม ดินเหนียว แกลบ ทราย และน้ำ นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว กดใส่ลงในแบบพิมพ์ แล้วนำเข้าเตาเผาสำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุเพิ่ม เช่น หินเกร็ด สำหรับอิฐประดับ เป็นต้น นอกจากนี้อิฐพิเศษบางประเภทอาจใช้กรรมวิธีการอัดเข้าแม่พิมพ์ด้วยแรงกดสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการป้องกันความร้อน และทนความชื้นได้สูง อิฐโปร่ง หรืออิฐกลวง เป็นวัสดุก่อที่มีส่วนผสมในการผลิต เช่นเดียวกับอิฐสามัญ แต่ภายในจะเจาะรู หรือทำช่องภายในให้กลวง เพื่อให้มีน้ำหนักเบา กำแพงก่อด้วยอิฐมอญ อิฐ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วไป อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน.

ใหม่!!: สะพานและอิฐ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอินคา

ักรวรรดิอินคา (Inca Empire; Imperio Incar) (ค.ศ. 1438-1533) เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส จักรวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ช่วงปี..

ใหม่!!: สะพานและจักรวรรดิอินคา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: สะพานและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ังหวัดแม่ฮ่องสอน (60px; 80px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก) แม่ฮ่องสอนได้รบการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี..

ใหม่!!: สะพานและจังหวัดแม่ฮ่องสอน · ดูเพิ่มเติม »

ถนน

นน เป็นทางสัญจรทางบกระหว่างสถานที่สองแห่ง ที่ได้รับการปูพื้นผิว หรือได้รับการปรับปรุงเพื่อให้การเดินทางทางเท้าหรือยานพาหนะต่าง ๆ รวมถึงม้า เกวียน จักรยาน และยานยนต์ ถนนประกอบด้วยหนึ่งหรือสองช่องทาง ได้แก่ ทิศเดียวกัน กับทิศสวนทางกัน โดยแต่ละฝั่งมีช่องจราจรตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไป และบางครั้งอาจมีทางเท้า ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อส่วนรวมอาจเรียกว่าถนนสาธาณะ หรือทางหลวง.

ใหม่!!: สะพานและถนน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 2

นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.

ใหม่!!: สะพานและถนนพระรามที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: สะพานและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทาวเวอร์บริดจ์

วิดีโอทาวเวอร์บริดจ์ ภาพถ่ายทางอากาศ ทาวเวอร์บริดจ์ ทาวเวอร์บริดจ์ในช่วงจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2012 ทาวเวอร์บริดจ์ (Tower Bridge) คือ สะพานที่มีรูปแบบของสะพานยกและสะพานแขวนอยู่รวมกัน ตั้งอยู่ใจกลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สร้างขึ้นในระหว่าง..

ใหม่!!: สะพานและทาวเวอร์บริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษบูรพาวิถี

ทางพิเศษบูรพาวิถี หรือ ทางด่วน 4 เป็นทางพิเศษที่ดำเนินการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เมษายน..

ใหม่!!: สะพานและทางพิเศษบูรพาวิถี · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟ

ทางรถไฟในไซตามะ ทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรถไฟเป็นยานพาหนะ รางรถไฟนั้นประกอบด้วยรางสองราง ซึ่งปกติทำมาจากเหล็กกล้า วางบนวัตถุที่ตั้งฉากกับตัวราง โดยสร้างจากไม้หรือคอนกรีต วัตถุนี้เป็นตัวกำหนดระยะระหว่างของรางเรียกว่า "เกจ" (gauge).

ใหม่!!: สะพานและทางรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1401 ถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: สะพานและคริสต์ศตวรรษที่ 15 · ดูเพิ่มเติม »

ซานฟรานซิสโก

ซานฟรานซิสโก หรือ แซนแฟรนซิสโก (San Francisco) คือเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีประชากร ประมาณ 808,976 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองซานฟรานซิสโกตั้งอยู่บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากในซานฟรานซิสโกคือชาวสเปน โดยในปี ค.ศ. 1776 เมืองมีชื่อว่า เซนต์ฟรานซิส (St. Francis) ในภายหลังจากช่วงยุคตื่นทองในปี ค.ศ. 1848 ทำให้ประชากรในซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมืองเติบโตอย่างมาก ถึงแม้ว่าซานฟรานซิสโกจะประสบปัญหา แผ่นดินไหวและไฟไหม้ขนาดใหญ่ในช่วงปี..

ใหม่!!: สะพานและซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

ซีเมนต์

ซีเมนต์ ซีเมนต์ หรือ ปูนซีเมนต์ (cement) เป็นวัสดุผสานสำหรับผลิตคอนกรีต มีส่วนผสมหลักคือ หินปูนและดินเหนียว และมีผสมอื่นเช่น ซิลิก้า อลูมิน่า สินแร่เหล็ก ยิปซั่ม และสารเพิ่มพิเศษอื่น ๆ ปูนซีเมนต์ มีการค้นพบว่ามีการใช้งานในสมัยมาซิโดเนียและโรมัน และได้หายไปจนกระทั่งในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการคิดค้นขึ้นมาจากหลายคน จนกระทั่งผลงานของแอสป์ดินได้มีการจดสิทธิบัตรของซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เกิดจากการค้นคว้า ของ โยเซฟ แอสป์ดิน ชาวอังกฤษ ช่วงเวลากว่า 13 ปี พ.ศ. 2354 ถึง พ.ศ. 2367 โดยทดลองเอาหินปูนผสมกับดินเหนียวแล้วไปเผาก่อนนำมาบด เมื่อจะใช้งานก็นำมาผสมทราย กรวดและน้ำ โดยเขาตั้งชื่อว่า ปอตแลนด์ซีเมนต์ เพราะว่าสีเหมือนกับหินที่เกาะปอร์ตแลนด์ ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: สะพานและซีเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบาห์เรน

ห์เรน (Bahrain; البحرين) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain; مملكة البحرين) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค..1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สะพานและประเทศบาห์เรน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สะพานและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: สะพานและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: สะพานและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: สะพานและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเทมส์

วิวทิวทัศน์แม่น้ำเทมส์มองจากลอนดอน แผนที่แม่น้ำเทมส์ในอังกฤษ แม่น้ำเทมส์ (River Thames - ออกเสียง: tɛmz) เป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น หุบเขาเทมส์ ส่วนหนึ่งของอังกฤษ อยู่ตรงกลางแม่น้ำระหว่างออกซ์ฟอร์ด และ ลอนดอนตะวันตก ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำแห่งนี้.

ใหม่!!: สะพานและแม่น้ำเทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

โคเบะ

() เป็นเมืองเอกของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะฮนชู ห่างจากเมืองโอซะกะไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนและเป็นส่วนหนึ่งของมหานครเคฮันชิง โคเบะปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชะกิที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ..

ใหม่!!: สะพานและโคเบะ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลังกาวี

ัตุรัสอินทรี ที่สร้างตามที่มาของชื่อเกาะคือ ''ฮลัง'' ลังกาวี (Langkawi) หรือ ลังกาวี อัญมณีแห่งไทรบุรี (Langkawi Permata Kedah; ลังกาวีเปอร์มาตาเกอดะฮ์) ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ขึ้นกับรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ลังกาวีห่างจากเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูลของประเทศไทยเพียง 4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองกัวลาปะลิสประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเกอดะฮ์ 51 กิโลเมตร ประกอบด้วยกลุ่มเกาะเมืองร้อนจำนวน 99 เกาะ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและมาเลเซียจากตำนานของมะห์สุหรี สตรีผู้ถูกประหารด้วยความอยุติธรรม โดยนางได้สาปแช่งเกาะลังกาวีไว้ก่อนสิ้นใจ และการนำทายาทรุ่นที่ 7 ของเธอมาถอนคำสาป.

ใหม่!!: สะพานและเกาะลังกาวี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะอะวะจิ

กาะอะวะจิ เป็นเกาะในจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น ทางทิศตะวันออกของทะเลเซะโตะใน อยู่ระหว่างเกาะฮนชูและเกาะชิโกกุ มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 592.17 ตารางกิโลเมตร "อะวะจิ" มีความหมายว่า "เส้นทางสู่อะวะ" หรือชื่อมณฑลเก่าบนเกาะชิโกะก.

ใหม่!!: สะพานและเกาะอะวะจิ · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: สะพานและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอนดีส

ทือกเขาแอนดีสระหว่างชิลีและอาร์เจนตินา right เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาที่วางตัวขนานกับด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก พาดผ่าน 7 ประเทศตั้งแต่ เวเนซุเอลา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา และชิลี เทือกเขาเกิดจากแนวรอยปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นปะทะกันเป็นเวลานานหลายล้านปี โดยแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้กดทับแผ่นเปลือกโลกนาซกา โดยแนวเทือกเขาแอนดิสจะมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีและมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาอากอนกากัว เทือกเขาแอนดิสบริเวณประเทศโบลิเวียมีที่ราบสูงที่ชาวโบลีเวียเรียกว่า อัลติพลาโน (altiplano) หรือที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศโบลิเวียชื่อลาปาซซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก และบริเวณที่ราบสูงโบลิเวียนี้ก็เป็นที่ตั้งของทะเลสาบติติกากาซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่างประเทศเปรูกับประเทศโบลิเวีย และได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกด้วย แนวเขาในเขตประเทศเปรูเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำอเมซอนที่ความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาแอนดิสเป็นที่ราบเชิงเขาอยู่เขตรอยต่อระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศชิลี และเรียกบริเวณนั้นว่าที่ราบสูงปาตาโกเนีย บริเวณเทือกเขาแอนดีนั้นเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรอินคา และเป็นแหล่งกำเนิดของตัวลาม.

ใหม่!!: สะพานและเทือกเขาแอนดีส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตะพาน🌉

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »