โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปริตร

ดัชนี ปริตร

ปริตร (ปะ-หริด) หรือในภาษาบาลี ปริตฺต (ปะ-ริด-ตะ) แปลว่า ความต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา เครื่องต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา รวมหมายถึงเครื่องราง ของขลัง ของที่ช่วยบรรเทา วิธีป้องกันรักษา ในพุทธศาสนา "ปริตร" หมายถึงพระพุทธมนต์ คือบทสวดที่เป็นภาษาบาลี เช่นพระสูตรบางพระสูตรในเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ซึ่งถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองรักษา ป้องกันอันตรายต่างๆ และกำจัดทุกข์ ภัย โรคได้ เรียกเต็มว่า "พระปริตร" นอกจากนี้ยังใช้เรียกของมงคลที่ผ่านการสวดพระพุทธมนต์มาแล้ว เช่น ด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า ด้ายพระปริตร น้ำพระพุทธมนต์ เรียกว่า น้ำพระปริตร.

17 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระสุตตันตปิฎกกรณียเมตตสูตรภาษาบาลีภาณวารมงคลสูตรรัตนสูตรราชบัณฑิตวัดราชโอรสารามราชวรวิหารสายสิญจน์ธชัคคปริตรทุกข์ขันธปริตรตำนานฉัททันตปริตรโมรปริตรเครื่องราง

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: ปริตรและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: ปริตรและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

กรณียเมตตสูตร

กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตสูตร เป็นพระสูตรในขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่การบรรลุมรรคผลในท้ายที่สุด พระสูตรนี้มีลักษณะเป็นคาถาจำนวน 10 บท โดยมีฉันทลักษณ์เป็นแบบคีติโบราณ (Old Giti) อันเป็นฉันทลักษณ์แบบเก่าแก่ที่สุเดแบบหนึ่งในฉันทลักษณ์ภาษาบาลี ทั้งนี้ กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: ปริตรและกรณียเมตตสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ปริตรและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาณวาร

ณวาร หรือ จตุภารณวารปาฬี (Catubhanavarapali) เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธใช้กันในไทยและในศรีลังกา แต่ที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในศรีลังกา พระภิกษุสงฆ์มักใช้สวดทั้งเล่มแบ่งออกเป็น 4 ช่วง หรือ ภารณวาร มักใช้เวลาสวดทั้งวันทั้งคืน เนื่องพระสูตรและบทสวด หรือ ปาฐะ ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มีความยาวพอสมควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระปริตร หรือมหาปริตร อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: ปริตรและภาณวาร · ดูเพิ่มเติม »

มงคลสูตร

''ภาพ:หนังสือมงคลัตถทีปนี จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรเปรียญธรรม ๔ ประโยค คัมภีร์ชั้นฎีกาอธิบายความในมงคลสูตร'' มงคลสูตร()เป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคลหรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้ว ก็ได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: ปริตรและมงคลสูตร · ดูเพิ่มเติม »

รัตนสูตร

รัตนสูตร เป็นพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ และยังปรากฏในหมวดสุตตนิบาต เป็นพระคาถาจำนวน 17 บท แต่ปรากฏในพากย์ภาษาสันสกฤตจำนวน 19 บท ดังที่มีอยู่ในคัมภีร์มหาวัสตุอวทานของนิกายโลโกตตรวาท และนิกายมหาสังฆิกะ พระสูตรนี้พรรณนาคุณของพระรัตนตรัย และป่าวประกาศความยิ่งใหญ่ และคุณลักษณะของพระอริยะเจ้า มีพระโสดาบัน เป็นอาทิ จุดประสงค์ของการประกาศพระสูตรนี้ก็เพื่อโปรดชาวเมืองเวสาลีให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลวงทั้งปวงที่กำลังรุมเร้าเมืองแห่งนี้ และเพื่อยังให้ชาวเมืองทั้งหลายได้มีดวงตาเห็นธรรม รัตนสูตร หรือรัตนปริตร จัดเป็นหนึ่งในพระปริตร หรือพระคาถาพรรณนาอานุภาพของพระรัตนตรัย โดยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในพระคาถาหลักของคัมภีร์จตุภาณะวารปาลี หรือตำรารวบรวมพระปริตรที่เป็นที่นิยมสวดสาธยายกันในศรีลังกา รวบรวมขึ้นในช่วงยุคกลางของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หรือในยุคที่พระพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองในลังกา นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอธิบายพระปริตรนี้ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรกถาขุททกนิกาย เสาอโศกในเมืองเวสาลี.

ใหม่!!: ปริตรและรัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: ปริตรและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: ปริตรและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สายสิญจน์

300px สายสิญจน์ เป็นคำใช้เรียกเส้นด้ายสีขาวยาวๆ ที่พระถือขณะประนมมือเจริญพระพุทธมนต์หรือที่วงรอบบ้านเรือนเพื่อให้เป็นสิริมงคลเวลาทำบุญที่บ้าน ในเวลาทำบุญที่บ้านนิยมใช้สายสิญจน์วงรอบบ้านโดยเวียนขวา คือวนให้อยู่ทางขวามือแล้วโยงมาวนขวาที่ฐานพระพุทธรูปอีกรอบหนึ่งหรือ 3 รอบ แล้วคลี่มาวางไว้บนพานอยู่ด้านขวามือของภิกษุรูปที่ประธานเจริญพระพุทธมนต์ ด้ายสายสิญจน์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ด้ายปริตร คือด้ายศักดิ์สิทธ์ที่เกิดจากพระพุทธมนต์ที่พระท่านสวดสาธยายหรือเสกเป่าไว้ ถือกันว่าสามารถป้องกันอันตรายเช่นภูติผีปีศาจได้ และถือว่าเป็นด้ายมงคล เช่น ด้ายที่จับเป็นวงกลมสองวงสำหรับสวมศีรษะคู่บ่าวสาวซึ่งเรียกว่า มงคลแฝ.

ใหม่!!: ปริตรและสายสิญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ธชัคคปริตร

ัคคปริตร หรือธชัคคสูตร หรือบางตำราเรียกว่า ธชัคคสุตตปาฐะ (บทว่าด้วยธชัคคสูตร) เป็นพระสูตรที่นิยมใช้สวดสาธยาย เพื่อป้องกันภัย รวมอยู่ในพระปริตร หรือบทสวดเจ็ดตำนาน และบทสวดสิบสองตำนาน พระสูตรนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวอุปมาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณว่า เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอันเลิศ เปรียบดั่งชายธงของพระอินทร์ในเรื่องเทวาสุรสงคราม ยามที่เทวดาทั้งหลายกระทำสงครามกับเหล่าอสูร เมื่อมองไปที่ชายธงของพระอินทร์ ทำให้เกิดความมั่นใจฉันใด การระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ทำให้เกิดความมั่นใจหายกลัวฉันนั้น.

ใหม่!!: ปริตรและธชัคคปริตร · ดูเพิ่มเติม »

ทุกข์

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (ทุกฺข) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: ปริตรและทุกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ขันธปริตร

ันธปริตรเป็นหนึ่งพระปริตร และบทสวด 7 ตำนาน และ 12 ตำนาน รวมถึงภาณวาร ชาวพุทธนิยมสวดเพื่อป้องกันภยันตรายจากอสรพิษและสัตว์เลื่อยคลาน เนื่องจากมีเนื้อหากล่าวถึงการแผ่นเมตตาให้สรพิษประเภทต่างๆ แล้วขอให้สัตว์มีพิษเหล่านี้อย่าได้เบียดเบียนกัน พร้อมกับยกคุณอันประมาณมิได้ของพระรัตนตรัยขึ้นมาประกาศว่า แม้แต่สัตว์มีพิษต้องยอม.

ใหม่!!: ปริตรและขันธปริตร · ดูเพิ่มเติม »

ตำนาน

ตำนาน (legend; legenda, แปลว่า "สิ่งที่จะต้องอ่าน") คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" ไว้ว่า ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 74 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" และการใช้ประโยชน์จากตำนานในการศึกษาทางวิชาการไว้ว.

ใหม่!!: ปริตรและตำนาน · ดูเพิ่มเติม »

ฉัททันตปริตร

ฉัททันปริตต์ เป็นพระปริตต์ในลำดับตำนานที่สี่ ในตำนานกล่าวถึงความคุ้มครองของช้างโพธิสัตว์ที่มอบให้แก่นายพราน และความคุ้มครองแก่วัตถุประสงค์แห่งการตรัสรู้ ด้วยการกระทำสัจจะกถา พระตำนานที่สี่นั้นเป็นตำนานที่มีด้วยกันสองพระปริตต์ คือ ขันธปริตต์ ๑ และ ฉัททันปริตต์ ๑ ซึ่งเป็นคาถาภาคหนึ่งในการสวดแบบสิบสองตำนาน ---- หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ.

ใหม่!!: ปริตรและฉัททันตปริตร · ดูเพิ่มเติม »

โมรปริตร

มรปริตร หรือ โมรปริตตปาฐะ เป็นบทสวดมนต์เรียบเรียงไว้เป็นส่วนหนึ่งในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง รวมถึงในบทสวดมนต์เจ็ดสองตำนาน และสิบสองตำนาน โมรปริตรนี้ เป็นบทสวดเพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆมาจากเรื่องราวขอ งพระโพธิสัตว์ หรือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะทรงตรัสรู้ เมื่อครั้งที่ทรงเสวยพระชาติเป็นนกยูง.

ใหม่!!: ปริตรและโมรปริตร · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราง

รื่องราง หมายถึง ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตระกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องรางถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง ของขลัง คือของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีพลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไป หรืออาจบันดาลสิ่งที่ต้องประสงค์สำเร็จได้ สองคำนี้มักนิยมใช้คู่กันเป็น เครื่องรางของขลัง เครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของศาสนาพุทธ ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนัน้มาจากพุทธคุณ.

ใหม่!!: ปริตรและเครื่องราง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระปริตพระปริตต์ปริต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »