โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปริตร

ดัชนี ปริตร

ปริตร (ปะ-หริด) หรือในภาษาบาลี ปริตฺต (ปะ-ริด-ตะ) แปลว่า ความต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา เครื่องต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา รวมหมายถึงเครื่องราง ของขลัง ของที่ช่วยบรรเทา วิธีป้องกันรักษา ในพุทธศาสนา "ปริตร" หมายถึงพระพุทธมนต์ คือบทสวดที่เป็นภาษาบาลี เช่นพระสูตรบางพระสูตรในเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ซึ่งถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองรักษา ป้องกันอันตรายต่างๆ และกำจัดทุกข์ ภัย โรคได้ เรียกเต็มว่า "พระปริตร" นอกจากนี้ยังใช้เรียกของมงคลที่ผ่านการสวดพระพุทธมนต์มาแล้ว เช่น ด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า ด้ายพระปริตร น้ำพระพุทธมนต์ เรียกว่า น้ำพระปริตร.

11 ความสัมพันธ์: กรณียเมตตสูตรภาณวารรัตนสูตรวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารสายสิญจน์สุริยปริตตปาฐะอหิราชสูตรจันทปริตตปาฐะธชัคคปริตรขันธปริตรน้ำมนต์

กรณียเมตตสูตร

กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตสูตร เป็นพระสูตรในขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่การบรรลุมรรคผลในท้ายที่สุด พระสูตรนี้มีลักษณะเป็นคาถาจำนวน 10 บท โดยมีฉันทลักษณ์เป็นแบบคีติโบราณ (Old Giti) อันเป็นฉันทลักษณ์แบบเก่าแก่ที่สุเดแบบหนึ่งในฉันทลักษณ์ภาษาบาลี ทั้งนี้ กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: ปริตรและกรณียเมตตสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ภาณวาร

ณวาร หรือ จตุภารณวารปาฬี (Catubhanavarapali) เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธใช้กันในไทยและในศรีลังกา แต่ที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในศรีลังกา พระภิกษุสงฆ์มักใช้สวดทั้งเล่มแบ่งออกเป็น 4 ช่วง หรือ ภารณวาร มักใช้เวลาสวดทั้งวันทั้งคืน เนื่องพระสูตรและบทสวด หรือ ปาฐะ ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มีความยาวพอสมควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระปริตร หรือมหาปริตร อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: ปริตรและภาณวาร · ดูเพิ่มเติม »

รัตนสูตร

รัตนสูตร เป็นพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ และยังปรากฏในหมวดสุตตนิบาต เป็นพระคาถาจำนวน 17 บท แต่ปรากฏในพากย์ภาษาสันสกฤตจำนวน 19 บท ดังที่มีอยู่ในคัมภีร์มหาวัสตุอวทานของนิกายโลโกตตรวาท และนิกายมหาสังฆิกะ พระสูตรนี้พรรณนาคุณของพระรัตนตรัย และป่าวประกาศความยิ่งใหญ่ และคุณลักษณะของพระอริยะเจ้า มีพระโสดาบัน เป็นอาทิ จุดประสงค์ของการประกาศพระสูตรนี้ก็เพื่อโปรดชาวเมืองเวสาลีให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลวงทั้งปวงที่กำลังรุมเร้าเมืองแห่งนี้ และเพื่อยังให้ชาวเมืองทั้งหลายได้มีดวงตาเห็นธรรม รัตนสูตร หรือรัตนปริตร จัดเป็นหนึ่งในพระปริตร หรือพระคาถาพรรณนาอานุภาพของพระรัตนตรัย โดยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในพระคาถาหลักของคัมภีร์จตุภาณะวารปาลี หรือตำรารวบรวมพระปริตรที่เป็นที่นิยมสวดสาธยายกันในศรีลังกา รวบรวมขึ้นในช่วงยุคกลางของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หรือในยุคที่พระพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองในลังกา นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอธิบายพระปริตรนี้ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรกถาขุททกนิกาย เสาอโศกในเมืองเวสาลี.

ใหม่!!: ปริตรและรัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: ปริตรและวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สายสิญจน์

300px สายสิญจน์ เป็นคำใช้เรียกเส้นด้ายสีขาวยาวๆ ที่พระถือขณะประนมมือเจริญพระพุทธมนต์หรือที่วงรอบบ้านเรือนเพื่อให้เป็นสิริมงคลเวลาทำบุญที่บ้าน ในเวลาทำบุญที่บ้านนิยมใช้สายสิญจน์วงรอบบ้านโดยเวียนขวา คือวนให้อยู่ทางขวามือแล้วโยงมาวนขวาที่ฐานพระพุทธรูปอีกรอบหนึ่งหรือ 3 รอบ แล้วคลี่มาวางไว้บนพานอยู่ด้านขวามือของภิกษุรูปที่ประธานเจริญพระพุทธมนต์ ด้ายสายสิญจน์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ด้ายปริตร คือด้ายศักดิ์สิทธ์ที่เกิดจากพระพุทธมนต์ที่พระท่านสวดสาธยายหรือเสกเป่าไว้ ถือกันว่าสามารถป้องกันอันตรายเช่นภูติผีปีศาจได้ และถือว่าเป็นด้ายมงคล เช่น ด้ายที่จับเป็นวงกลมสองวงสำหรับสวมศีรษะคู่บ่าวสาวซึ่งเรียกว่า มงคลแฝ.

ใหม่!!: ปริตรและสายสิญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

สุริยปริตตปาฐะ

ริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร เป็นบทสวดหนึ่งที่รวบรวมไว้ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง อย่างไรก็ตาม สุริยปริตรนี้มิได้รวมไว้เป็นหนึ่งในพระปริตรที่นิยมสวดสาธยายกันในบทสวดมนต์ "เจ็ดตำนาน" หรือ "สิบสองตำนาน" พบว่า มีเฉพาะในภาณวารเท่านั้น เนื้อหาเกี่ยวกับอานิสงส์ของการประกาศให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง เมื่อมีพระองค์เป็นที่พึ่งแล้ว ผู้คิดปองร้ายจะปลาศไป.

ใหม่!!: ปริตรและสุริยปริตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

อหิราชสูตร

อหิราชสูตร หรืออหิสูตร เป็นพระสูตรในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก ของพระไตรปิฎก ตัวพระสูตรนี้มักไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง แต่คาถาที่ต่อท้ายพระสูตรได้รับการยกแยกมาเป็นพระปริตรต่างหาก เรียกว่าขันธปริตร อันเป็นพระปริตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมุ่งหมายเพื่อแผ่เมตตาให้กับบรรดาอสรพิษตระกูลต่างๆ เพื่อมิให้อสรพิษเหล่านั้นกระทำอันตรายได้ ทั้งนี้ อหิราชสูตรเป็นส่วนหนึ่งของภาณวาร หรือบทสวดมนต์หลวง.

ใหม่!!: ปริตรและอหิราชสูตร · ดูเพิ่มเติม »

จันทปริตตปาฐะ

ันทปริตตปาฐะ หรือจันทปริตร เป็นบทสวดหนึ่งที่รวบรวมไว้ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง จันทปริตรนี้มิได้รวมไว้เป็นหนึ่งในพระปริตรที่นิยมสวดสาธยายกันในบทสวดมนต์เจ็ดตำนาน หรือสิบสองตำนาน พบว่า มีเฉพาะในภาณวารเท่านั้น เนื้อหาเป็นการประกาศขอให้พระพุทธองค์ทรงเป็นที่พึ่ง แล้วบรรยายว่า ผู้ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งนั้นจะรอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง และผู้ปองร้ายจะพบกับภัยพิบัต.

ใหม่!!: ปริตรและจันทปริตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

ธชัคคปริตร

ัคคปริตร หรือธชัคคสูตร หรือบางตำราเรียกว่า ธชัคคสุตตปาฐะ (บทว่าด้วยธชัคคสูตร) เป็นพระสูตรที่นิยมใช้สวดสาธยาย เพื่อป้องกันภัย รวมอยู่ในพระปริตร หรือบทสวดเจ็ดตำนาน และบทสวดสิบสองตำนาน พระสูตรนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวอุปมาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณว่า เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอันเลิศ เปรียบดั่งชายธงของพระอินทร์ในเรื่องเทวาสุรสงคราม ยามที่เทวดาทั้งหลายกระทำสงครามกับเหล่าอสูร เมื่อมองไปที่ชายธงของพระอินทร์ ทำให้เกิดความมั่นใจฉันใด การระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ทำให้เกิดความมั่นใจหายกลัวฉันนั้น.

ใหม่!!: ปริตรและธชัคคปริตร · ดูเพิ่มเติม »

ขันธปริตร

ันธปริตรเป็นหนึ่งพระปริตร และบทสวด 7 ตำนาน และ 12 ตำนาน รวมถึงภาณวาร ชาวพุทธนิยมสวดเพื่อป้องกันภยันตรายจากอสรพิษและสัตว์เลื่อยคลาน เนื่องจากมีเนื้อหากล่าวถึงการแผ่นเมตตาให้สรพิษประเภทต่างๆ แล้วขอให้สัตว์มีพิษเหล่านี้อย่าได้เบียดเบียนกัน พร้อมกับยกคุณอันประมาณมิได้ของพระรัตนตรัยขึ้นมาประกาศว่า แม้แต่สัตว์มีพิษต้องยอม.

ใหม่!!: ปริตรและขันธปริตร · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมนต์

น้ำมนต์ หรือ น้ำมนตร์ หมายถึง นํ้าที่เสกเพื่อใช้อาบ กิน หรือประพรม เป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล การทำน้ำมนต์พบเห็นได้ทั่วไปในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู เป็นต้น.

ใหม่!!: ปริตรและน้ำมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระปริตพระปริตต์ปริต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »