โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาณวาร

ดัชนี ภาณวาร

ณวาร หรือ จตุภารณวารปาฬี (Catubhanavarapali) เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธใช้กันในไทยและในศรีลังกา แต่ที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในศรีลังกา พระภิกษุสงฆ์มักใช้สวดทั้งเล่มแบ่งออกเป็น 4 ช่วง หรือ ภารณวาร มักใช้เวลาสวดทั้งวันทั้งคืน เนื่องพระสูตรและบทสวด หรือ ปาฐะ ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มีความยาวพอสมควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระปริตร หรือมหาปริตร อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

26 ความสัมพันธ์: บทสวดมนต์ในศาสนาพุทธพระสุตตันตปิฎกพระไตรปิฎกกรณียเมตตสูตรการสวดภาณยักษ์มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะมหาสมัยสูตรมหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะมหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะมงคลสูตรรัตนสูตรสัจจวิภังคสูตรสามเณรปัญหาสุริยปริตตปาฐะอหิราชสูตรอิสิคิลิสูตรจันทปริตตปาฐะธชัคคปริตรธัมมจักกัปปวัตนสูตรทศศีลขันธปริตรปราภวสูตรปริตรโมรปริตรเมตตานิสังสสุตตปาฐะเมตตานิสังสคาถาปาฐะ

บทสวดมนต์ในศาสนาพุทธ

ทสวดมนต์ ในศาสนาพุทธนิกายเถรวาทนิยมใช้ภาษาบาลี ซึ่งหากแปลความหมายออกมาก็จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นคำสวดบูชาเพื่อรำลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แทบทั้งสิ้น จึงเป็นอุบายในการเจริญสติอย่างหนึ่ง ที่เรียก พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ นั่นเอง การสวดมนต์ทุกครั้ง จึงเริ่มด้วยคำบูชาพระบรมศาสดาว่า "นโม ตสฺสะ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส" แปลโดยรวมว่า "ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น".

ใหม่!!: ภาณวารและบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: ภาณวารและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ภาณวารและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

กรณียเมตตสูตร

กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตสูตร เป็นพระสูตรในขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่การบรรลุมรรคผลในท้ายที่สุด พระสูตรนี้มีลักษณะเป็นคาถาจำนวน 10 บท โดยมีฉันทลักษณ์เป็นแบบคีติโบราณ (Old Giti) อันเป็นฉันทลักษณ์แบบเก่าแก่ที่สุเดแบบหนึ่งในฉันทลักษณ์ภาษาบาลี ทั้งนี้ กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: ภาณวารและกรณียเมตตสูตร · ดูเพิ่มเติม »

การสวดภาณยักษ์

การสวดภาณยักษ์ เป็นพิธีที่ความเชื่อกันว่า เป็นพิธีที่สามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และปกป้องคุ้มครองผู้สวดและผู้สดับให้อยู่สุขสวัสดี เนื้อความที่นำมาสวดนั้นมาจากอาฏานาฏิยสูตร ซึ่งมีเนื้อหาว่า ด้วยรักษาในอาฏานาฏานคร บรรยายถึงเหตุการณ์การณ์เข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และผู้ดูแลปกครองยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และน.

ใหม่!!: ภาณวารและการสวดภาณยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ

มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นบทสวดหนึ่งในบทสวดว่าด้วยโพชฌงค์ 7 หรือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ มีท้งหมดรวม 3 บทได้แก่ มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ ทั้งหมดรวมอยู่ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง.

ใหม่!!: ภาณวารและมหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมัยสูตร

มหาสมัยสูตร เป็นพระสูตรขนาดยาวจัดอยู่ในมหาวรรค หมวดมีฆนิกาย ในพระสุตันตปิฎก เนื้อหาว่าด้วยการชุมนุมใหญ่ของเทพยดาทั้งปวง โดยครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป ครั้งนั้น เทพชั้นสุทธาวาส 4 ตน คิดว่า เทวดาจาก 10 โลกธาตุประชุมกันเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ น่าที่พวกตนจะไปเฝ้า และกล่าวคาถากันคนละบท โดยใจความพรรณนาความประสงค์ที่มา ความประพฤติชอบของพระสงฆ์ และพรรณนาว่า ผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะย่อมไม่ไปสู่อบาย ต่อจากนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ตรัสเล่าว่า เทวดามาประชุมครั้งใหญ่ แล้วตรัสประกาศชื่อของเทวดาเหล่านั้นโดยละเอียด มหาสมัยสูตร นี้นิยมนำมาสวดในงานมงคลสำคัญ โดยจัดอยู่ในภาณวาร หรือบทสวดมนต์หลวง นอกจากนี้ ยังสวดกันเป็นประจำที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยเริ่มสวดกันมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ระหว่างการสวดจะมีการทำพิธีปลุกเสกน้ำมนต์มหาสมัยสูตร คาดว่าการปลุกเสกน้ำมนต์มหาสมัยสูตรนี้เริ่มมาแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ภาณวารและมหาสมัยสูตร · ดูเพิ่มเติม »

มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ

มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นบทสวดหนึ่งในบทสวดว่าด้วยโพชฌงค์ 7 หรือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ มีทั้งหมดรวม 3 บทได้แก่ มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ และมหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ ทั้งหมดรวมอยู่ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะนี้มีความแตกต่างจากปาฐะที่ว่าด้วยโพชฌงค์ 7 ทั้ง 2 บทก่อนหน้านี้ เนื่องจากทั้ง 2 บทก่อนหน้านี้คือ มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ และมหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นการแสดงโพชฌงค์ 7 โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่พระพุทธสาวกคือ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะตามลำดับ แต่มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นปาฐะที่พระมหาจุนทะ หรือพระจุนทเถระได้พรรณนา เป็นการกล่าวตอบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้.

ใหม่!!: ภาณวารและมหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ

มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นบทสวดหนึ่งในบทสวดว่าด้วยโพชฌงค์ 7 หรือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ มีท้งหมดรวม 3 บทได้แก่ มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ, และมหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ ทั้งหมดรวมอยู่ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง โดยมหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ นี้ว่าด้วยการเจ็บป่วยและการเยียวยาอาการเจ็บป่วยด้วยพระธรรมของพระมหาโมคคัลลานะ มีเนื้อหาเกือบคล้ายคลึงกับมหากัสสปโพชฌังคสุตตป.

ใหม่!!: ภาณวารและมหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

มงคลสูตร

''ภาพ:หนังสือมงคลัตถทีปนี จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรเปรียญธรรม ๔ ประโยค คัมภีร์ชั้นฎีกาอธิบายความในมงคลสูตร'' มงคลสูตร()เป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคลหรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้ว ก็ได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: ภาณวารและมงคลสูตร · ดูเพิ่มเติม »

รัตนสูตร

รัตนสูตร เป็นพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ และยังปรากฏในหมวดสุตตนิบาต เป็นพระคาถาจำนวน 17 บท แต่ปรากฏในพากย์ภาษาสันสกฤตจำนวน 19 บท ดังที่มีอยู่ในคัมภีร์มหาวัสตุอวทานของนิกายโลโกตตรวาท และนิกายมหาสังฆิกะ พระสูตรนี้พรรณนาคุณของพระรัตนตรัย และป่าวประกาศความยิ่งใหญ่ และคุณลักษณะของพระอริยะเจ้า มีพระโสดาบัน เป็นอาทิ จุดประสงค์ของการประกาศพระสูตรนี้ก็เพื่อโปรดชาวเมืองเวสาลีให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลวงทั้งปวงที่กำลังรุมเร้าเมืองแห่งนี้ และเพื่อยังให้ชาวเมืองทั้งหลายได้มีดวงตาเห็นธรรม รัตนสูตร หรือรัตนปริตร จัดเป็นหนึ่งในพระปริตร หรือพระคาถาพรรณนาอานุภาพของพระรัตนตรัย โดยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในพระคาถาหลักของคัมภีร์จตุภาณะวารปาลี หรือตำรารวบรวมพระปริตรที่เป็นที่นิยมสวดสาธยายกันในศรีลังกา รวบรวมขึ้นในช่วงยุคกลางของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หรือในยุคที่พระพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองในลังกา นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอธิบายพระปริตรนี้ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรกถาขุททกนิกาย เสาอโศกในเมืองเวสาลี.

ใหม่!!: ภาณวารและรัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สัจจวิภังคสูตร

ัจจวิภังคสูตร เป็นพระสูตร ในอุปริปัณณาสก์ หมวดมัชฌิมนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก ชื่อพระสูตรมีความหมายว่า "การแจกแจงสัจธรรม" ซึ่งสัจธรรมนี้ ก็คือ อริยสัจ 4 โดยเป็นการแจกแจง และอธิบายอย่างละเอียดว่า อริยสัจ 4 นี้ประกอบด้วยอะไร และในข้อนั้นๆ มีองค์ประกอบเช่นไร และด้วยการเข้าถึงสัจธรรมทั้ง 4 ประการนี้ จะสามารถหลุดพ้นได้อย่างไร ทั้งนี้ เนื้อหาของสัจจวิภังคสูตร มีความคล้ายคลึงกับวิภังคสูตร ว่าด้วยอริยมรรค 8 ในมหาวารวรรค สังยุตตนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก ซึ่งว่าด้วยการแจกแจงสัจธรรมของพุทธศาสนาเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย เช่นสถานที่ปรารภพระสูตร และความต่างตรงที่สัจจวิภังคสูตร อธิบายตั้งแต่ต้นอริยสัจ 4 จนถึงอริยมรรค 8 ขณะที่วิภังคสูตรเน้นอธิบายอริยมรรค 8 เป็นหลัก เป็นต้น ทั้งนี้ สัจจวิภังคสูตรยังรวมอยู่ในภาณวาร หรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง สำหรับสวดเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานพระราชพิธี และงานพิธีต่างๆ อีกด้วย แต่นอกจากจะใช้สวดสาธยายแล้ว พระสูตรนี้ยังมีคุณค่ามหาศาล ในการทำความเข้าใจหัวใจของพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นการแจกแจง แยกย่อยให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น เหมาะแก่การกระทำมนสิการ พิจารณาอย่างแยบคาย และปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การพ้นทุกข์ต่อไป.

ใหม่!!: ภาณวารและสัจจวิภังคสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สามเณรปัญหา

มเณรปัญหา หรือสามเณรปัญหาปาฐะ เป็นหนึ่งในบทสวดสำคัญที่รวบรวมอยู่ในภาณวาร เรียกอีกชื่อว่า กุมารปัญหา อยู่ในขุททกปาฐะ ของขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นการถามตอบระหว่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับท่านโสปากะ ผู้บรรพชาเป็นสามเณร และต่อมา สำเร็จพระอรหันต์ เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เป็นคำตอบและคำถามจำนาน 10 ข้อ ไล่ไปตามจำนวน 1 - 10 โดยจำนวนนั้นๆ แสดงข้อธรรมต่างๆ อย่างเฉียบคม ถือเป็นหลักจดจำ และนำไปปฏิบัติตามได้อย่างดียิ่ง จึงรวมไว้ในบทสวดมนต์หลวง หรือภาณวาร สำหรับพุทธบริษัทได้สวดสาธยาย เพื่อจดจำนำไปปฏิบัติเพื่อความหลุกพ้นต่อไป.

ใหม่!!: ภาณวารและสามเณรปัญหา · ดูเพิ่มเติม »

สุริยปริตตปาฐะ

ริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร เป็นบทสวดหนึ่งที่รวบรวมไว้ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง อย่างไรก็ตาม สุริยปริตรนี้มิได้รวมไว้เป็นหนึ่งในพระปริตรที่นิยมสวดสาธยายกันในบทสวดมนต์ "เจ็ดตำนาน" หรือ "สิบสองตำนาน" พบว่า มีเฉพาะในภาณวารเท่านั้น เนื้อหาเกี่ยวกับอานิสงส์ของการประกาศให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง เมื่อมีพระองค์เป็นที่พึ่งแล้ว ผู้คิดปองร้ายจะปลาศไป.

ใหม่!!: ภาณวารและสุริยปริตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

อหิราชสูตร

อหิราชสูตร หรืออหิสูตร เป็นพระสูตรในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก ของพระไตรปิฎก ตัวพระสูตรนี้มักไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง แต่คาถาที่ต่อท้ายพระสูตรได้รับการยกแยกมาเป็นพระปริตรต่างหาก เรียกว่าขันธปริตร อันเป็นพระปริตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมุ่งหมายเพื่อแผ่เมตตาให้กับบรรดาอสรพิษตระกูลต่างๆ เพื่อมิให้อสรพิษเหล่านั้นกระทำอันตรายได้ ทั้งนี้ อหิราชสูตรเป็นส่วนหนึ่งของภาณวาร หรือบทสวดมนต์หลวง.

ใหม่!!: ภาณวารและอหิราชสูตร · ดูเพิ่มเติม »

อิสิคิลิสูตร

อิสิคิลิสูตรเป็นพระสูตรซึ่งว่าด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า และว่าด้วยเรื่องที่มาที่ไปของภูเขาอิสิคิลิ ในเขตพระนครราชคฤห์ ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ และด้วยความที่เนื้อหาพระสูตรมีการเอ่ยถึงพระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นจำนวนมาก รวมถึงคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงถือกันว่าเป็นพระสูตรอันมรมงคล มีความศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมารวบรวมไว้ในภาณวารหรือบทสวดมนต์หลวง โดยจัดอยู่ในภาณวารที่ 3 ร่วมกับคิริมานันทสุตตปาฐะ หรือคิริมานนทสูตร.

ใหม่!!: ภาณวารและอิสิคิลิสูตร · ดูเพิ่มเติม »

จันทปริตตปาฐะ

ันทปริตตปาฐะ หรือจันทปริตร เป็นบทสวดหนึ่งที่รวบรวมไว้ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง จันทปริตรนี้มิได้รวมไว้เป็นหนึ่งในพระปริตรที่นิยมสวดสาธยายกันในบทสวดมนต์เจ็ดตำนาน หรือสิบสองตำนาน พบว่า มีเฉพาะในภาณวารเท่านั้น เนื้อหาเป็นการประกาศขอให้พระพุทธองค์ทรงเป็นที่พึ่ง แล้วบรรยายว่า ผู้ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งนั้นจะรอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง และผู้ปองร้ายจะพบกับภัยพิบัต.

ใหม่!!: ภาณวารและจันทปริตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

ธชัคคปริตร

ัคคปริตร หรือธชัคคสูตร หรือบางตำราเรียกว่า ธชัคคสุตตปาฐะ (บทว่าด้วยธชัคคสูตร) เป็นพระสูตรที่นิยมใช้สวดสาธยาย เพื่อป้องกันภัย รวมอยู่ในพระปริตร หรือบทสวดเจ็ดตำนาน และบทสวดสิบสองตำนาน พระสูตรนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวอุปมาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณว่า เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอันเลิศ เปรียบดั่งชายธงของพระอินทร์ในเรื่องเทวาสุรสงคราม ยามที่เทวดาทั้งหลายกระทำสงครามกับเหล่าอสูร เมื่อมองไปที่ชายธงของพระอินทร์ ทำให้เกิดความมั่นใจฉันใด การระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ทำให้เกิดความมั่นใจหายกลัวฉันนั้น.

ใหม่!!: ภาณวารและธชัคคปริตร · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: ภาณวารและธัมมจักกัปปวัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ทศศีล

ีล 10 หรือ ทศศีล สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล 8 แต่แยกข้อ 7 เป็น 2 ข้อ เลื่อนข้อ 8 เป็น 9 และเติมข้อ 10 คือ.

ใหม่!!: ภาณวารและทศศีล · ดูเพิ่มเติม »

ขันธปริตร

ันธปริตรเป็นหนึ่งพระปริตร และบทสวด 7 ตำนาน และ 12 ตำนาน รวมถึงภาณวาร ชาวพุทธนิยมสวดเพื่อป้องกันภยันตรายจากอสรพิษและสัตว์เลื่อยคลาน เนื่องจากมีเนื้อหากล่าวถึงการแผ่นเมตตาให้สรพิษประเภทต่างๆ แล้วขอให้สัตว์มีพิษเหล่านี้อย่าได้เบียดเบียนกัน พร้อมกับยกคุณอันประมาณมิได้ของพระรัตนตรัยขึ้นมาประกาศว่า แม้แต่สัตว์มีพิษต้องยอม.

ใหม่!!: ภาณวารและขันธปริตร · ดูเพิ่มเติม »

ปราภวสูตร

ปราภวสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งที่ปรากฏใน ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หมวดขุททกนิกาย แห่ง พระสุตตันตปิฎก มีเนื้อหาว่าด้วยมูลเหตุแห่งความเสื่อม หรือหนทางที่จะทำให้คนผู้หนึ่งตกต่ำได้ โดยพระสูตรนี้อาจนับเป็นส่วนต่อขยายจากมงคลสูตร ซึ่งว่าด้วยสิ่งอันเป็นมงคล หรือเหตุที่ทำให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม ปราภวสูตรนี้เป็นการย้ำเตือนว่า นอกจากจะต้องปฏิบัติในสิ่งอันเป็นมงคลดังที่ปรากฏในมงคลสูตร ยังต้องหลีกเลี่ยงความเสื่อมดังที่ปรากฏในปราภวสูตรอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาณวารและปราภวสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ปริตร

ปริตร (ปะ-หริด) หรือในภาษาบาลี ปริตฺต (ปะ-ริด-ตะ) แปลว่า ความต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา เครื่องต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา รวมหมายถึงเครื่องราง ของขลัง ของที่ช่วยบรรเทา วิธีป้องกันรักษา ในพุทธศาสนา "ปริตร" หมายถึงพระพุทธมนต์ คือบทสวดที่เป็นภาษาบาลี เช่นพระสูตรบางพระสูตรในเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ซึ่งถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองรักษา ป้องกันอันตรายต่างๆ และกำจัดทุกข์ ภัย โรคได้ เรียกเต็มว่า "พระปริตร" นอกจากนี้ยังใช้เรียกของมงคลที่ผ่านการสวดพระพุทธมนต์มาแล้ว เช่น ด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า ด้ายพระปริตร น้ำพระพุทธมนต์ เรียกว่า น้ำพระปริตร.

ใหม่!!: ภาณวารและปริตร · ดูเพิ่มเติม »

โมรปริตร

มรปริตร หรือ โมรปริตตปาฐะ เป็นบทสวดมนต์เรียบเรียงไว้เป็นส่วนหนึ่งในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง รวมถึงในบทสวดมนต์เจ็ดสองตำนาน และสิบสองตำนาน โมรปริตรนี้ เป็นบทสวดเพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆมาจากเรื่องราวขอ งพระโพธิสัตว์ หรือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะทรงตรัสรู้ เมื่อครั้งที่ทรงเสวยพระชาติเป็นนกยูง.

ใหม่!!: ภาณวารและโมรปริตร · ดูเพิ่มเติม »

เมตตานิสังสสุตตปาฐะ

มตตานิสังสสุตตปาฐะ หรือ เมตตานิสังสสุตตปาโฐ เป็นพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยอานิสงส์ของการเจริญเมตตา ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ในพระสุตตันตปิฎก และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ ที่ชาวพุทธนิยมสวดสาธยาย ได้รับการรวบรวมไว้ในภาณวาร หรือหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง.

ใหม่!!: ภาณวารและเมตตานิสังสสุตตปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

เมตตานิสังสคาถาปาฐะ

มตตานิสังสคาถาปาฐะ เป็นคาถา หรือบทกวีที่กล่าวถึงอานิสงส์ของเมตตาหรือไมตรีจิต โดยคุณ หรืออานิสงส์ของเมตตานี้ มีปรากฎในตพระไตรปิฎกหลายบท แต่ใน เมตตานิสังสคาถาปาฐะเน้นอานิสงส์ของการไม่ประทุษร้ายมิตร และผลอันเลิศซึ่งจะได้จากการไม่ประทุษร้ายนั้น ทั้งนี้ เมตตานิสังสคาถาปาฐะได้รับการรวบรวมเป็นหนึ่งในบทสวดมนต์สำคัญ ปรากฎในภาณวาร หรือหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง มักมีการจำสับสนกับเมตตานิสังสสุตตป.

ใหม่!!: ภาณวารและเมตตานิสังสคาถาปาฐะ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »