โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขันธปริตร

ดัชนี ขันธปริตร

ันธปริตรเป็นหนึ่งพระปริตร และบทสวด 7 ตำนาน และ 12 ตำนาน รวมถึงภาณวาร ชาวพุทธนิยมสวดเพื่อป้องกันภยันตรายจากอสรพิษและสัตว์เลื่อยคลาน เนื่องจากมีเนื้อหากล่าวถึงการแผ่นเมตตาให้สรพิษประเภทต่างๆ แล้วขอให้สัตว์มีพิษเหล่านี้อย่าได้เบียดเบียนกัน พร้อมกับยกคุณอันประมาณมิได้ของพระรัตนตรัยขึ้นมาประกาศว่า แม้แต่สัตว์มีพิษต้องยอม.

3 ความสัมพันธ์: ภาณวารอหิราชสูตรปริตร

ภาณวาร

ณวาร หรือ จตุภารณวารปาฬี (Catubhanavarapali) เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธใช้กันในไทยและในศรีลังกา แต่ที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในศรีลังกา พระภิกษุสงฆ์มักใช้สวดทั้งเล่มแบ่งออกเป็น 4 ช่วง หรือ ภารณวาร มักใช้เวลาสวดทั้งวันทั้งคืน เนื่องพระสูตรและบทสวด หรือ ปาฐะ ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มีความยาวพอสมควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระปริตร หรือมหาปริตร อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: ขันธปริตรและภาณวาร · ดูเพิ่มเติม »

อหิราชสูตร

อหิราชสูตร หรืออหิสูตร เป็นพระสูตรในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก ของพระไตรปิฎก ตัวพระสูตรนี้มักไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง แต่คาถาที่ต่อท้ายพระสูตรได้รับการยกแยกมาเป็นพระปริตรต่างหาก เรียกว่าขันธปริตร อันเป็นพระปริตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมุ่งหมายเพื่อแผ่เมตตาให้กับบรรดาอสรพิษตระกูลต่างๆ เพื่อมิให้อสรพิษเหล่านั้นกระทำอันตรายได้ ทั้งนี้ อหิราชสูตรเป็นส่วนหนึ่งของภาณวาร หรือบทสวดมนต์หลวง.

ใหม่!!: ขันธปริตรและอหิราชสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ปริตร

ปริตร (ปะ-หริด) หรือในภาษาบาลี ปริตฺต (ปะ-ริด-ตะ) แปลว่า ความต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา เครื่องต้านทาน เครื่องป้องกันรักษา รวมหมายถึงเครื่องราง ของขลัง ของที่ช่วยบรรเทา วิธีป้องกันรักษา ในพุทธศาสนา "ปริตร" หมายถึงพระพุทธมนต์ คือบทสวดที่เป็นภาษาบาลี เช่นพระสูตรบางพระสูตรในเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ซึ่งถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองรักษา ป้องกันอันตรายต่างๆ และกำจัดทุกข์ ภัย โรคได้ เรียกเต็มว่า "พระปริตร" นอกจากนี้ยังใช้เรียกของมงคลที่ผ่านการสวดพระพุทธมนต์มาแล้ว เช่น ด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า ด้ายพระปริตร น้ำพระพุทธมนต์ เรียกว่า น้ำพระปริตร.

ใหม่!!: ขันธปริตรและปริตร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »