โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตำนาน

ดัชนี ตำนาน

ตำนาน (legend; legenda, แปลว่า "สิ่งที่จะต้องอ่าน") คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" ไว้ว่า ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 74 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" และการใช้ประโยชน์จากตำนานในการศึกษาทางวิชาการไว้ว.

17 ความสัมพันธ์: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554พงศาวดารกรมสามัญศึกษากษัตริย์อาเธอร์วิชาศาสนาสังข์ศิลป์ชัยขุนศึกตระกูลหยางความเชื่อคำนามตำนานน้ำท่วมโลกตำนานเก็นจิประวัติศาสตร์ประเพณีนิทานโรบินฮูดเทพนิยาย

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

หน้าปกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ตำนานและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

พงศาวดาร

งศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับเถื่อน ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น.

ใหม่!!: ตำนานและพงศาวดาร · ดูเพิ่มเติม »

กรมสามัญศึกษา

กรมสามัญศึกษา (อังกฤษ: Department of General Education) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2459 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่จัดการศึกษาสามัญ ปัจจุบันถูกยุบรวมเข้ากับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) เป็น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ใหม่!!: ตำนานและกรมสามัญศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์อาเธอร์

รูปปั้นกษัตริย์อาเธอร์ ที่โบสถ์ Hofkirche, Innsbruck, ออสเตรีย ออกแบบโดย Albrecht Dürer และสร้างโดย Peter Vischer ผู้พ่อ ในคริสต์ทศวรรษ 1520Barber, Richard (2004), ''The Holy Grail: Imagination and Belief'', London: Allen Lane, ISBN 978-0713992069. กษัตริย์อาเธอร์ (King Arthur) เป็นกษัตริย์อังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนานเล่าขานในฐานะวีรบุรุษในยุคกลาง ซึ่งได้ปกป้องเกาะบริเตนจากการรุกรานของชาวแซกซันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 รายละเอียดส่วนใหญ่เกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าขาน ตำนานพื้นบ้าน และวรรณกรรมที่แต่งขึ้น นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ากษัตริย์อาเธอร์มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่Higham, N. J. (2002), King Arthur, Myth-Making and History, ลอนดอน: Routledge, ISBN 978-0415213059.

ใหม่!!: ตำนานและกษัตริย์อาเธอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิชา

วิชา มาจากภาษาบาลี วิชฺช หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนหรือฝึกฝน บางครั้งอาจหมายถึง ความรู้ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราจะพบเห็นวิชาได้บ่อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา โดยใช้วิชาเป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างเรื่องที่สอน เช่น วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น อนึ่ง คำว่า วิทยา, พิทยา มาจากภาษาสันสกฤต วิทฺย, พิทฺย ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก วิชฺช เช่นกัน แต่ปัจจุบันได้ใช้ในความหมายว่า ความรู้ความสามารถที่ถูกต้องตรงตามแบบแผน ดังที่เคยมีบุคคลหนึ่งได้ทดลองและพิสูจน์มาแล้ว เหมือนแนวคิดของวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในทางพระพุทธศาสนา วิชชา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ เหตุและหนทางแห่งความดับทุกข์ ตรงข้ามกับคำว่า อวิชชา ซึ่งหมายถึงความไม่รู้แจ้ง วิชชา มี 3 ประการ คือ.

ใหม่!!: ตำนานและวิชา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ตำนานและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

สังข์ศิลป์ชัย

ประติมากรรมรูปสังข์ศิลป์ชัย บนเสาไฟฟ้าริมถนนในเทศบาลนครขอนแก่น สังศิลป์ชัย หรือ สังข์ศิลป์ไชย เป็นวรรณคดีชิ้นเอกเรื่องหนึ่งในไทยและลาว (ล้านช้างหรือลาวในปัจจุบันเรียก สินไซ) ประพันธ์ขึ้นโดยเจ้าปางคำแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู ในราว พ.ศ. 2192 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ แม้ว่าในบทที่แสดงความโกรธแค้นก็ใช้ถ้อยคำสุภาพไม่หยาบคาย และผู้รจนาหนังสือเล่นนี้ยังเป็นปราชญ์ที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแตกฉานในภาษาบาลี มีความรู้ภาษาสันสกฤตและราชประเพณีเป็นอย่างดี.

ใหม่!!: ตำนานและสังข์ศิลป์ชัย · ดูเพิ่มเติม »

ขุนศึกตระกูลหยาง

นศึกตระกูลหยาง เป็นเรื่องเล่าที่เป็นเสมือนตำนานในประวัติศาสตร์จีน ในยุคของราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวขุนศึกตระกูลหยางเขียนขึ้น โดย ถัวถัว นักเขียนชาวมองโกล ในยุคราชวงศ์หยวน โดยอ้างอิงมาจากหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซ่งที่ชื่อ History of Song เป็นเรื่องราวของครอบครัวแซ่หยาง (楊) ที่รับราชการทหารมาตลอดทั้งตระกูลถึง 3 ชั่วอายุคน มีความจงรักภักดีและพร้อมตายในสนามรบได้อย่างสมศักดิ์ศรี อีกทั้งเมื่อเหล่าผู้ชายตายหมดแล้ว ผู้หญิงซึ่งเป็นภรรยาม่ายหรือลูกหลานในตระกูลก็รับหน้าที่ต่อแทน เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นที่ ในรัชสมัย ซ่งไท่จงฮ่องเต้ อันเป็นฮ่องเต้รัชกาลที่ 2 ของราชวงศ์ซ่งเหนือ เสด็จยกทัพไปปราบปราม เล่ากึน แห่งราชวงศ์โฮ่วฮั่น หยางเย่ หรือ เอียเลงก๋ง (楊業) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองซัวอ๋าวยกกองทัพมาช่วยเล่ากึน สงครามจึงสงบกันไปคราวหนึ่ง เมื่อฮ่องเต้ซ่งไท่จู่สวรรคต เจ้ากวงอี้ พระอนุชาได้ขึ้นครองราชย์แทน เถลิงพระนามว่า ซ่งไท่จงฮ่องเต้ ต่อมา ซ่งไท่จูเสด็จยกกองทัพหลวงไปตีเมืองปักหั้นอีก คราวนี้เกลี้ยกล่อม หยางเย่ กับบุตรชายทั้ง 7 คนมาเข้ากับตนไว้ได้ หลังจากนั้นได้ยกทัพไปปราบเมืองไซเหลียวต่อไป เมื่อซ่งไท่จูฮ่องเต้ถูกล้อมอยู่ในระหว่างศึก หยางเย่กับบุตรก็ช่วยกันแก้ไขเอาออกมาได้ แต่ต้องสู้กับข้าศึกจน หยางต้าหลาง, หยางเอ้อหลาง, หยางซันหลาง ซึ่งเป็นบุตรชายคนโต, คนที่ 2 และ 3 ต้องตายกลางสนามรบ ส่วน หยางอู่หลาง บุตรชายคนที่ 5 ได้หนีไปบวชจึงรอด ส่วน หยางซื่อหลาง บุตรชายคนที่ 4 ถูกชาวฮวนจับเอาไป เหลือแต่ตัวของหยางเย่ยและหยางลิ่วหลาง เท่านั้นที่รอดกลับมาได้ ฮ่องเต้ซ่งไท่จูจึงโปรดให้สร้างบ้านและมอบเครื่องแสดงเกียรติยศต่าง ๆ ให้ ภายหลังหยางเย่กับหยางซื่อหลางถูก พานเหรินเหม่ย ซึ่งเป็นขุนนางที่เป็นเสมือนคู่ปรับของตระกูลหยางกำจัด คงเหลือแต่หยางลิ่วหลาง บุตรชายคนที่ 6 เพียงคนเดียว ฮ่องเต้ซ่งไท่จู อยู่ในราชสมบัติได้ 22 ปีก็เสด็จสวรรคต ต่อมาในรัชกาล ซ่งไท่จงฮ่องเต้ โปรดให้หยางลิ่วหลางเป็นแม่ทัพไปปราบปรามเมืองไซเหลียวและเมืองไซฮวนได้มาเป็นเมืองขึ้น เมื่อหยางลิ่วหลางตาย เมืองไซฮวนกลับกำเริบขึ้นอีก ครั้งนี้เป็น หยางจงเป่า ซึ่งเป็นบุตรชายของหยางลิ่วหลางพร้อมกับพวกหญิงม่าย ผู้ซึ่งเคยเป็นภรรยาของพี่น้องตระกูลหยางที่สิ้นชีพไปแล้วทั้งหมด รวมทั้ง ภรรยาของหยางจงเป่า คือ มู่กุ้ยอิง นำทัพปราบปรามเอง ซึ่งภายหลังเมืองไซฮวนก็ได้สยบมอบต่อราชวงศ์ซ่ง บ้านเมืองถึงยุคสงบสุข ไร้ซึ่งเสี้ยนหนามแผ่นดิน บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองหลวงก็ล้วนแต่ซื่อสัตย์ มีความจงรักภักดี ฝ่ายพลเรือนมี โขวจุ้น เป็นขุนนางใหญ่ ฝ่ายกลาโหมมี หยางจงเป่า ได้บังคับบัญชาการงานทั้งปวงโดยสิทธิ์ขาดทั้งหมด เรื่องราวของขุนศึกตระกูลหยางได้รับการถ่ายทอดในลักษณะบอกเล่าเป็นนิทานและเป็นการแสดงในการละเล่นอุปรากรของจีนต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มีการต่อเติมเรื่องราวให้มีสีสันจากเดิม เช่น การเพิ่มบทของความรักระหว่าง หยางซื่อหลาง บุตรชายคนที่ 4 ของตระกูลกับเจ้าหญิงเมืองไซเหลียว ซึ่งเป็นข้าศึก หรือการที่มี เปาบุ้นจิ้น หรือ อ๋องแปด ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มีตัวตนจริงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นต้น เนื่องจากเป็นบุคคลร่วมสมัยกัน ในวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์หรือซีรีส์ชุดต่าง ๆ มากมาย อาทิ The 14 Amazons ในปี ค.ศ. 1972, The Yang's Saga ของ TVB ในปี ค.ศ. 1985 นำแสดงโดยนักแสดงที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ หลิว เต๋อหัว, หวง เย่อหัว, เหมียว เฉียวเหว่ย, เหลียง เฉาเหว่ย ร่วมด้วย โจว เหวินฟะ และทัง เจิ้นเย่, Heroic Legend of the Yang's Family ของ ATV ในปี ค.ศ. 1994 นำแสดงโดย ฉี เส้าเฉียน, Warriors of The Yang Clan ในปี ค.ศ. 2004 นำแสดงโดย ตี้หลุง และภาพยนตร์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2012 เรื่อง Saving General Yang นำแสดงโดย เจิ้ง อี้เจี้ยน และเจิ้ง เส้าชิว เป็นต้น.

ใหม่!!: ตำนานและขุนศึกตระกูลหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: ตำนานและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

คำนาม

ำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในวจีวิภาคแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท หมวดหมู่คำศัพท์ (วจีวิภาค) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี.

ใหม่!!: ตำนานและคำนาม · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานน้ำท่วมโลก

''The Deluge'' (น้ำท่วมใหญ่) โดย กุสตาฟว์ ดอเร ตำนาน น้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ที่ทำให้เกิดโดยพระเจ้าหรือเทพเจ้า เพื่อทำลายล้างอารยธรรม โดยเป็นการลงโทษความบาปของมนุษย์ เพื่อเริ่มต้นอารยธรรมใหม่ ๆ ที่ส่งผลมายังปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่แพร่หลายในตำนานของวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น.

ใหม่!!: ตำนานและตำนานน้ำท่วมโลก · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานเก็นจิ

มุราซากิ ชิคิบุ ตำนานเก็นจิ (源氏物語; Genji Monogatari) เป็นงานเขียนของ มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน หรือ เฮอันเคียว ซึ่งมีชิวิตอยู่ราวต้นศตวรรษที่ 11 ว่ากันว่า นี่คือนวนิยายที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก และมีการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1000 ปี ในปี 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากเนิ้อความใน มุราซากิ ชิคิบุ นิกกิ (Murasaki Shikibu Nikki บันทึกของมุราซากิ ชิคิบุ) ซึ่งเธอได้เขียนบันทึกนั้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน.1008 ว่า ฟุจิวะระ โนะ คินโตะ (Fujiwara no Kinto) นักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นแนวหน้าในยุคนั้น ชื่นชมในงานเขียนของเธอเป็นอันมาก และบันทึกนี้ยืนยันกับเราให้ทราบว่า เธอเขียน บท วะกะมุราซากิ จบในเวลานั้นเอง (1 พฤศจิกายน ค ศ.1008) บางข้อมูลอ้างว่า มุราซากิ ชิคิบุ เริ่มเขียน ตำนานเก็นจิที่วัดอิชิยะมะเดระ ในคืนวันจันทร์เต็มดวงของวันที่ 15 เดือนสิงหาคม ปี.

ใหม่!!: ตำนานและตำนานเก็นจิ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: ตำนานและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเพณี

ประเพณี (Tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเท.

ใหม่!!: ตำนานและประเพณี · ดูเพิ่มเติม »

นิทาน

นิทาน (นิทาน, Fable) ในภาษาไทย มีใช้อย่างน้อย ๒ ความหมาย คือ.

ใหม่!!: ตำนานและนิทาน · ดูเพิ่มเติม »

โรบินฮูด

รูปปั้นโรบินฮูด ในนอตทิงแฮม โรบินฮูด เป็นวีรบุรุษนอกกฎหมายในคติชนอังกฤษ มีความเชี่ยวชาญสูงในการยิงธนู และนักดาบ แม้ส่วนหนึ่งของตัวละครไม่ใช่ต้นฉบับของเขา ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 19 เขาได้กลายเป็นที่รู้จักกันใน "ปล้นจากคนรวยและให้กับคนยากจน" โดยอาศัยความช่วยเหลือกลุ่มโจรที่รู้จักกันเป็นเพื่อนของเขา "เมอร์รี เมน""Merry-man" has referred to the follower of an outlaw since at least the late 14th century.

ใหม่!!: ตำนานและโรบินฮูด · ดูเพิ่มเติม »

เทพนิยาย

วาดของกุสตาฟ ดอเร เกี่ยวกับเทพนิยายเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยาย (Fairy tale) หมายถึงงานประพันธ์ที่มีตัวละครจากความเชื่อพื้นบ้าน (เช่น ภูต ยักษ์ คนแคระ แม่มด สัตว์พูดได้) กับเรื่องของเวทมนตร์ และเหตุการณ์ที่ดำเนินไปเกินคาดคิด ในยุคสมัยใหม่มักใช้คำนี้ในความหมายถึงเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์กับความสุขอย่างพิเศษ เช่นในคำว่า "จบแบบเทพนิยาย" (หมายถึง "จบอย่างมีความสุข") แม้ว่าในความจริงแล้ว เทพนิยายไม่ได้จบอย่างมีความสุขเสมอไปทุกเรื่อง นอกจากนี้ คำว่า "เทพนิยาย" ยังอาจใช้ในความหมายว่า เรื่องเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ ในวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าปีศาจกับเหล่าแม่มดมีตัวตนจริง ผู้เล่าเรื่องจะเอ่ยถึงเรื่องราวเหมือนกับว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว บางครั้ง เทพนิยาย ก็หมายรวมถึง ตำนาน ด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนที่ไม่เหมือน ตำนาน หรือ มหากาพย์ ก็คือ เทพนิยายจะไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่มีจริงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถานที่ บุคคล หรือเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์ในเทพนิยายเกิดขึ้นเมื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" ที่ไม่สามารถระบุเวลาอย่างแน่ชัดได้ เป็นการยากที่จะสืบหาประวัติความเป็นมาของเทพนิยาย เพราะสิ่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีแต่เพียงงานเขียนที่เป็นเอกสารเท่านั้น แต่นักเล่านิทานได้สืบทอดเรื่องราวกันมานานหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งเทพนิยายอาจเกิดขึ้นมานานพอๆ กัน แม้ในช่วงนั้นยังไม่สามารถแยกประเภทได้ชัดเจน คำว่า "เทพนิยาย" บัญญัติขึ้นใช้สำหรับวรรณกรรมประเภทนี้เป็นครั้งแรกโดยมาดามดัลนอย (Madame d'Aulnoy) ปัจจุบันยังคงมีการประพันธ์เทพนิยายและเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเทพนิยายอยู่เสมอ เทพนิยายในยุคก่อนประพันธ์ขึ้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่พอๆ กับเด็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประพันธ์แบบ précieuses ในวรรณกรรมฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลกริมม์เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น นิทานสำหรับเด็กและครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไป เทพนิยายก็มีความเกี่ยวพันกับเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิทานพื้นบ้าน มีการแบ่งประเภทเทพนิยายหลายวิธี ระบบที่น่าสนใจได้แก่ระบบการจัดประเภทของอาร์นี-ทอมป์สัน (Aarne-Thompson) และการวิเคราะห์ของ วลาดิเมียร์ พร็อพพ์ การศึกษาเทพนิยายในแบบอื่นนิยมการแปลความหมายของจุดสำคัญในนิยาย แต่ไม่มีโรงเรียนแห่งไหนตีความเทพนิยายแบบนั้น.

ใหม่!!: ตำนานและเทพนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »