โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นายกรัฐมนตรีไทย

ดัชนี นายกรัฐมนตรีไทย

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สภาที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง) ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี.

58 ความสัมพันธ์: ชวลิต ยงใจยุทธชวน หลีกภัยชาวอิตาลีบ้านพิษณุโลกพ.ศ. 2475พรรคการเมืองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ไทยพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475กรุงเทพมหานครการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557การอภิปรายไม่ไว้วางใจการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475มารีโอ ตามัญโญยิ่งลักษณ์ ชินวัตรระบบรัฐสภารัฐบาลไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทยรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายนามรองนายกรัฐมนตรีไทยรายนามนายกรัฐมนตรีไทยวิษณุ เครืองามสภาผู้แทนราษฎรสภาผู้แทนราษฎรไทยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557สมชาย วงศ์สวัสดิ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมคิด จาตุศรีพิทักษ์สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)สุรยุทธ์ จุลานนท์สุจินดา คราประยูรหัวหน้ารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอานันท์ ปันยารชุนธานินทร์ กรัยวิเชียรถนนพิษณุโลกทักษิณ ชินวัตรทำเนียบรัฐบาลไทยคณะรักษาความสงบแห่งชาติคณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีไทยฉัตรชัย สาริกัลยะประชาธิปไตย...ประยุทธ์ จันทร์โอชาประวิตร วงษ์สุวรรณประจิน จั่นตองประเทศไทยนายกรัฐมนตรีเขตดุสิตเปรม ติณสูลานนท์10 ธันวาคม ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

ชวลิต ยงใจยุทธ

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 —) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีดรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต..หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนม สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "จิ๋วหวานเจี๊ยบ" จากการมีบุคลิกพูดจาอ่อนนิ่ม นุ่มนวล.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและชวลิต ยงใจยุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ชวน หลีกภัย

วน หลีกภัย (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 —) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 ดำรงตำแหน่งสองสมัย ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัต.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและชวน หลีกภัย · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอิตาลี

วอิตาลี (italiani, Italians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี เพราะการอพยพหลายครั้งออกจากอิตาลีที่เป็นชนพลัดถิ่น มีชาวอิตาลีสัญชาติอิตาลีที่อาศัยอยู่นอกอิตาลี 4 ล้านคน และมีมากกว่า 70 ล้านคนที่มีเชื้อสายเต็มหรือบางส่วน โดยมากแล้วอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และส่วนอื่นของยุโรป.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและชาวอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

บ้านพิษณุโลก

้านบรรทมสินธุ์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2489 บ้านพิษณุโลก เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยและเคยใช้เป็นที่ทำการของคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นบ้านแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี (พ.ศ. 2443-2468) มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน เดิมชื่อ “บ้านบรรทมสินธุ์”.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและบ้านพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2475

ทธศักราช 2475 ตรงกั.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและพ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์ไทย

ระมหากษัตริย์ไทย เป็นประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ "ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์ พระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นประมุขราชวงศ์จักรี มีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยทรงรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและพระมหากษัตริย์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)

มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

ระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย ร่างขึ้นโดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร โดยในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับพระนคร และในวันเดียวกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาสมาชิกคณะราษฎร นอกจากนี้คณะราษฎรยังถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามด้วย แต่พระองค์ทรงขอตรวจร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุ่งขึ้น โดยทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า "ชั่วคราว" สืบเนื่องมาจากพระองค์ทรงเห็นว่าหลักการประชาธิปไตยของผู้ก่อการฯ ไม่พ้องกันกับพระประสงค์ของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย เดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โดยมากเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน) กระทำเมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่พอใจ ในกรณีนี้สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล วิธีอื่นนอกจากนี้ ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน การถอดถอนจากตำแหน่ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุดด้วย การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นไปตามหลักการที่ว่า "ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ" ดังนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่ารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นต้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและการอภิปรายไม่ไว้วางใจ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

มารีโอ ตามัญโญ

มารีโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno) (เกิด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2420 - พ.ศ. 2484) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี เกิดที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เข้ารับราชการในกระทรวงโยธาธิการแห่งประเทศสยามเมื่อปี พ.ศ. 2443 โดยมีสัญญาว่าจ้างเป็นเวลา 25 ปี นายมารีโอ ตามัญโญ มีผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่สำคัญหลายแห่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้ง สะพานมัฆวานรังสรรค์, พระที่นั่งอนันตสมาคม, วังปารุสกวัน, ท้องพระโรงวังสวนกุหลาบ, สถานีรถไฟกรุงเทพ, บ้านพิษณุโลก (ชื่อเดิมคือ บ้านบรรทมสินธุ์), พระตำหนักเมขลารุจี ภายในพระราชวังพญาไท, ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล (ชื่อเดิมคือ ตึกไกรสร), ห้องสมุดนีลเซนเฮส์ เป็นต้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและมารีโอ ตามัญโญ · ดูเพิ่มเติม »

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

งลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 21 มิถุนายน..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลไทย

รัฐบาลไทย เป็นรัฐบาลของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นรัฐบาลเดี่ยว รัฐบาลไทยมีบทบาทขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐชาติอันสถานปนาขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายหลังทรงผนวกดินแดนและอาณาจักรภายใต้ปกครองของอาณาจักรสยามขึ้นเป็นสยามประเทศ รัฐบาลไทยผ่านการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันรัฐบาลไทยแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในอดีตก่อนปี 2557 รัฐบาลพลเรือนของไทยมีรูปแบบตามระบบเวสต์มินสเตอร์ของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหาร เรียกว.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐบาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย

ัญชีดังต่อไปนี่แสดงรายพระนาม รายนาม เสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย

รายพระนาม รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ไปด้วย ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล ซึ่งเสนอโดยขุนบุรัสการกิตติคดี (เหมือน บุรัสการ) ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลให้บทเฉพาะกาลซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี แก่นแท้ของการเสนอยึดบทเฉพาะกาลก็คือ การคงอยู่ต่อไปอีกของสมาชิกประเภทที่ 2 อันมาจากการแต่งตั้ง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้สามารถขยายเวลาอยู่ในตำแหน่งผู้แทนราษฎรออกไปอีกคราวละ 2 ปี.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหม.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 19 จัดร่างโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายนามรองนายกรัฐมนตรีไทย

รองนายกรัฐมนตรี หมวดหมู่:รายนามบุคคล.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรายนามรองนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนายกรัฐมนตรีไทย

้านล่างนี้ คือ รายนามนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและรายนามนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิษณุ เครืองาม

ตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม (15 กันยายน พ.ศ. 2494 -) ราชบัณฑิตและรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลปัจจุบัน หัวหน้าคณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ,กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง, นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์,กรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประธานกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559 ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนว่าเป็นผู้ที่สามารถอธิบายกฎหมายได้เข้าใจที่สุด จากการได้รับการยอมรับจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง เขาเป็นผู้มีผลงานทางกฎหมายจำนวนมาก คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์มติชน คอลัมน์ "เดินดินกินข้าวแกง" และหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ "จันทร์สนุกศุกร์สนาน" และคอลัมน์พิเศษเต็มหน้า 4 ทุกวันอังคาร ตลอดจนจัดรายการโทรทัศน์ "อาทิตย์สโมสร" ทางสถานีโทรทัศน์ทีเอ็นเอ็น 24.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและวิษณุ เครืองาม · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎร

ผู้แทนราษฎร เป็นหน่วยหนึ่งในกระบวนการนิติบัญญัติ โดยทั่วไปมักเป็นสภาล่างในระบบสภาคู.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสภาผู้แทนราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎรไทย

ผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร จนถึงวันก่อนวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557

นิติบัญญัติแห่งชาต..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

สมชาย วงศ์สวัสดิ์

มชาย วงศ์สวัสดิ์ (31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 —) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตผู้พิพากษา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ในขณะที่สมชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเขาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยึดพื้นที่ไว้ตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยใช้สนามบินดอนเมืองเป็นที่ทำการแทน.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

มาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

รองศาสตราจารย์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย และยังเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)

ำนักนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ไม่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและการวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การปฏิบัติภารกิจพิเศษและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉ.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

สุรยุทธ์ จุลานนท์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) องคมนตรี นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรี ในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลาออกจากตำแหน่ง พล.อ.สุรยุทธ์ ได้เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนายอารีย์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย 8 เมษายน พ.ศ. 2551 พล.อ.สุรยุทธ์ ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้กลับดำรงตำแหน่ง องคมนตรี เป็นครั้งที่สอง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีฉายาว่า "บิ๊กแอ้ด" วันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสุรยุทธ์ จุลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

สุจินดา คราประยูร

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุจินดา คราประยูร (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูง.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและสุจินดา คราประยูร · ดูเพิ่มเติม »

หัวหน้ารัฐบาล

หัวหน้ารัฐบาล (head of government) เป็นคำทั่วไป ใช้กับข้าราชการสูงสุดหรือสูงสุดอันดับสองในฝ่ายบริหารของรัฐเอกราช รัฐสหพันธ์ หรืออาณานิคมปกครองตนเองหนึ่ง ผู้ซึ่งมักเป็นประธานคณะรัฐมนตรี คำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" มักใช้แยกกับคำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" เช่น ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 และรายการพิธีสารสหประชาชาติ อำนาจของหัวหน้ารัฐบาล และความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งนั้นกับสถาบันอื่นของรัฐ (เช่น ประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญัติ) แตกต่างกันได้มากตามแต่ละรัฐ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตัวแบบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่เลือก.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและหัวหน้ารัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือชื่อเกิดว่า มาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ละติน: Mark Abhisit Vejjajiva) เกิด 3 สิงหาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ · ดูเพิ่มเติม »

อานันท์ ปันยารชุน

อานันท์ ปันยารชุน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 —) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18 และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และพฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและอานันท์ ปันยารชุน · ดูเพิ่มเติม »

ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร (5 เมษายน พ.ศ. 2470 —) อดีตองคมนตรี อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 14 ของไท.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและธานินทร์ กรัยวิเชียร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพิษณุโลก

นนพิษณุโลก (Thanon Phitsanulok) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางตั้งแต่ถนนสามเสน ใต้ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนนครราชสีมา (แยกวังแดง) วังปารุสกวัน และสวนมิสกวัน ตัดกับถนนราชดำเนินนอก (แยกสวนมิสกวัน) และถนนพระรามที่ 5 (แยกพาณิชยการ) เข้าสู่แขวงสวนจิตรลดา จากนั้นตัดกับถนนนครสวรรค์ที่แยกนางเลิ้ง (แยกสนามม้า) และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงสวนจิตรลดากับแขวงสี่แยกมหานาคไปจนสุดถนนที่ทางรถไฟสายนครราชสีมา (ทางรถไฟสายเหนือก็เรียก) ณ แยกยมราชซึ่งเป็นหัวถนนเพชรบุรี ถนนพิษณุโลกนี้มีนามเดิมว่า "ถนนคอเสื้อ" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพิษณุโลกเนื่องจากผ่านวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นที่ประทับในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ชื่อถนนคอเสื้อได้มาจากการเขียนลายรูปค้างคาวต่อ ๆ กันในที่แคบ จึงกลายเป็นลายกระจังหรือที่เรียกว่า "คอเสื้อ" หมายถึง ฮก (ความสุข) ซึ่งเป็นหนึ่งลักษณะมงคลของจีนสามประการ ("ฮก ลก ซิ่ว" - ความสุข ลาภยศ อายุยืนนาน).

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและถนนพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติThe Star,, 2 April 2006The Nation,, 23 March 2006 องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คม.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและทักษิณ ชินวัตร · ดูเพิ่มเติม »

ทำเนียบรัฐบาลไทย

ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, สถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำต่างประเทศ ซึ่งมาเยือนประเทศไทย และยังใช้เป็นสถานที่จัดรัฐพิธี เช่น งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 2 ไร่ 3 งาน 44 ตารางว.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและทำเนียบรัฐบาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ณะรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ. (National Council for Peace and Order (NCPO) เดิมใช้ชื่อ National Peace and Order Maintaining Council (NPOMC)) เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรี

ณะรัฐมนตรี (council of ministers หรือ cabinet) มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและคณะรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย

ณะรัฐมนตรีไทยเป็นคณะบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีเป็นกลุ่มบุคคลหลักที่ขับเคลื่อนส่วนราชการต่างๆของรัฐบาลไทย สมาชิกของคณะรัฐมนตรีนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรีและได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการโดยพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งประกอบไปด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ คณะรัฐมนตรีไทยนั้นมีขึ้นครั้งแรกหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิบไตยตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่าคณะกรรมการราษฎร และหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช พ.ศ. 2475 จึงเปลี่ยนมาเรียกว่าคณะรัฐมนตรี และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน จำนวนรัฐมนตรีในคณะนั้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ขณะนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 35 คน, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ปัจจุบันคณะรัฐมนตรี คณะที่ 61เป็นคณะรัฐมนตรีชุดล่าสุดจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและคณะรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตรชัย สาริกัลยะ

ลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประธานกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรมประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรมประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า ประธานกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ อดีตประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก อดีตเจ้ากรมการทหารสื่อสาร และอดีตผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและฉัตรชัย สาริกัลยะ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนายทหารเกษียณอายุราชการชาวไทย ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 ตั้งแต่ปีนั้น ประยุทธ์เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้น และในวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและประยุทธ์ จันทร์โอชา · ดูเพิ่มเติม »

ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488) เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ปี 2557 รองหัวหน้าและประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตผู้บัญชาการทหารบก.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและประวิตร วงษ์สุวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ประจิน จั่นตอง

ลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง (7 มีนาคม พ.ศ. 2497 —) เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา อดีตรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อดีต ผู้บัญชาการทหารอากาศ ลำดับที่ 22 โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหาร ณ วันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและประจิน จั่นตอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล เป็นตำแหน่งสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ บางประเทศยังต้องเลือกประธานาธิบดีแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือบางประเทศอาจจะให้กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ แต่ในระบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เป็นต้น รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

เปรม ติณสูลานนท์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี..

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและเปรม ติณสูลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

10 ธันวาคม

วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันที่ 344 ของปี (วันที่ 345 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 21 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นายกรัฐมนตรีไทยและ10 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยรองนายกรัฐมนตรีไทยรักษาการนายกรัฐมนตรีประธานคณะกรรมการราษฎรนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยนายกรัฐมนตรีของไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »