สารบัญ
34 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2351พระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระศรีศากยมุนีกรมศิลปากรกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)มหาวิทยาลัยศิลปากรรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครลัทธิคลาสสิกใหม่วัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวังท่าพระสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์หลังคาทรงปั้นหยาห้องแถวจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสุโขทัยถนนหน้าพระลานท่าราชวรดิฐท่าวังหลังและท่าพรานนกท่าน้ำนนทบุรีท่าเตียนท้องสนามหลวงคลองบางกอกน้อยคลองมอญแม่น้ำเจ้าพระยาเกาะเกร็ดเรือด่วนเจ้าพระยาเทศบาลตำบลบางใหญ่เขตพระนคร
พ.ศ. 2351
ทธศักราช 2351 ใกล้เคียงกั.
พระบรมมหาราชวัง
ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและพระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระศรีศากยมุนี
พระศรีศากยมุนี เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ นับเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในยุคก่อน 25 พุทธศตวรรษ เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ให้อัญเชิญมายังกรุงเทพ ฯ ได้มีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิงที่อยุธยา โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้วให้ประทับท่าสมโภช 7 วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระในรัชสมัยของพระองค์ ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้ ตัววิหารลงมือสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตรงใต้ฐานที่ผ้าทิพย์บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ส่วนด้านหลังบัลลังก์พระพุทธรูปมีแผ่นศิลาสลัก เป็นศิลปะแบบทวารวดี เป็นรูปสลักปิดทอง ปางยมกปาฏิหาริย์ และ ปางประทานเทศนาในสวรรค์ เป็นของเก่าและหาดูได้ยาก เข้าใจว่าจะมีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก หมวดหมู่:พระพุทธรูปสำคัญในประเทศไทย หมวดหมู่:พระพุทธรูป หมวดหมู่:พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย.
ดู ท่าช้างวังหลวงและพระศรีศากยมุนี
กรมศิลปากร
กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.
ดู ท่าช้างวังหลวงและกรมศิลปากร
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.
ดู ท่าช้างวังหลวงและกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University; ชื่อย่อ: มศก. – SU) เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม..
ดู ท่าช้างวังหลวงและมหาวิทยาลัยศิลปากร
รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร
รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร
รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร
ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.
ดู ท่าช้างวังหลวงและรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร
ลัทธิคลาสสิกใหม่
"แจกันเมดีชี" แจกันกระเบื้อง ตกแต่งด้วยสีปอมเปอีดำและแดง, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ราว ค.ศ. 1830 ลัทธิคลาสสิกใหม่ (neoclassicism, neo-classicism) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับขบวนการทางวัฒนธรรมของศิลปะการตกแต่ง ทัศนศิลป์ วรรณคดี การละคร ดนตรี และสถาปัตยกรรมที่มาจากศิลปะคลาสสิกและวัฒนธรรมซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรีกโบราณหรือโรมันโบราณ) ขบวนการเหล่านี้มีความนิยมระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19.
ดู ท่าช้างวังหลวงและลัทธิคลาสสิกใหม่
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก.
ดู ท่าช้างวังหลวงและวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.
ดู ท่าช้างวังหลวงและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วังท่าพระ
วังท่าพระ หรือ วังล่าง ตั้งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวัง ริมถนนหน้าพระลานทางด้านทิศตะวันตก ใกล้ท่าช้างวังหลวง แต่เดิมวังท่าพระนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อพระพุทธรูปมาถึงประตูท่าช้าง ปรากฏว่าอัญเชิญเข้ามาไม่ได้เนื่องจากองค์พระนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำผ่านเข้ามาได้ จึงจำเป็นต้องรื้อทั้งประตูถอนทั้งกำแพงออก จึงได้เรียกขานอดีตท่าเรือนี้แทนว่าท่าพระ วังที่อยู่ใกล้กันนั้นจึงเรียกตามว่า "วังท่าพระ".
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณร.
ดู ท่าช้างวังหลวงและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
หลังคาทรงปั้นหยา
บังกะโลในชิคาโก มีรูปแบบหลังคาทรงปั้นหยา หลังคาทรงปั้นหยา เป็นประเภทของหลังคาที่ทุกด้านลาดไหลลงสู่ผนัง โดยมักมีความชันไหลเอียงเท่ากัน หลังคาทรงปั้นหยาของบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะมีสามเหลี่ยม 2 ด้าน และมีสี่เหลี่ยมคางหมู 2 ด้าน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะต้องมีความลาดเอียงเดียวกัน เพื่อให้สมดุลกัน หลังคาทรงปั้นหยาสามารถมีรางใต้รอบทุกด้านได้ นอกจากนี้หลังคาทรงปั้นหยายังสามารถมีหน้าต่างยื่นออกมาจากหลังคาในด้านที่ลาดเอียงได้ หมวดหมู่:หลังคา.
ดู ท่าช้างวังหลวงและหลังคาทรงปั้นหยา
ห้องแถว
ตึกแถว ย่านบางรัก ห้องแถว หรือ ตึกแถว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาคารพาณิชย์ (shophouse) เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทหนึ่งของทั้งคนพื้นเมืองและคนเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกลักษณ์ผสมผสานที่สื่อให้เห็นที่ศูนย์กลางประวัติศาสตร์ของเมืองส่วนมากและเมืองในท้องถิ่นนั้น ห้องแถวเป็นที่อยู่อาศัยและทำการค้า ประกอบธุรกิจขนาดย่อม ที่เป็นการขายปลีกเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในชุมชนที่หนาแน่น ในแหล่งธุรกิจกลางเมืองและชุมชนรอบเมือง โดยชั้นล่างจะแบ่งเป็นร้านค้าย่อย ชั้นสองเป็นที่อยู่อาศัย ในกรณีสูงกว่านั้นอาจทำเป็นที่เก็บสินค้าชั่วคราว มักมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิวัฒนาการมาจากห้องแถวไม้และห้องแถวก่ออิฐถือปูน ในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4 (พ.ศ.
จังหวัดสิงห์บุรี
ังหวัดสิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไท.
ดู ท่าช้างวังหลวงและจังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุโขทัย
ทัย (ᩈᩩᨠᩮ᩠ᨡᩣᨴᩱ᩠ᨿ, เดิมสะกดว่า ศุโขไทย) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ).
ดู ท่าช้างวังหลวงและจังหวัดสุโขทัย
ถนนหน้าพระลาน
ถนนหน้าพระลาน(ช่วงที่ผ่านมหาวิทยาลัยศิลปากร) ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระลาน (Thanon Na Phra Lan) เป็นถนนในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งต้นจากปลายถนนราชดำเนินในต่อถนนสนามไชยที่มุมป้อมเผด็จดัสกร ไปตามกำแพงพระบรมมหาราชวัง ตัดกับถนนมหาราช ไปสุดที่ท่าช้างวังหลวง ถนนหน้าพระลานเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยขยายจากถนนเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่เป็นถนนนูนดินสูง เหตุที่ชื่อถนนหน้าพระลานเพราะเป็นถนนที่อยู่หน้าพระลานพระบรมมหาราชวัง ỒỒ หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตพระนคร.
ดู ท่าช้างวังหลวงและถนนหน้าพระลาน
ท่าราชวรดิฐ
250px ท่าราชวรดิฐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ท่าราชวรดิฐเป็นท่าเทียบเรือพระทีนั่ง ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง เดิมเป็นที่ตั้งของพระตำหนักน้ำซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นตำหนักปักเสาลงในน้ำ ทอดคานเหมือนเรือนแพ มีหลังคามุงกระเบื้อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักของเดิมเสีย แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นดิน และสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่งเป็นพลับพลาสูงตรงกลางองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งชลังคพิมานต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย มีพระที่นั่งข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือเป็นที่พักฝ่ายใน พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ ส่วนตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่งก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้านมีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานนามว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์ ป้อมข้างใต้ตรงชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศร และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่า ท่าอันประเสริฐของพระราชา ข้างเหนือขึ้นไปทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่าหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นท่าเรือรับส่งข้าราชการทหารเรือและประชาชนทั่วไปข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครไปยังฝั่งธนบุรีขึ้นตรงท่าของกรมอู่ทหารเรือ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งในบริเวณท่าราชวรดิฐชำรุดจึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมรักษาพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยไว้ นอกนั้นให้รื้อเสีย ปัจจุบันท่าราชวรดิฐยังเป็นที่เสด็จประทับในการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมาร.
ดู ท่าช้างวังหลวงและท่าราชวรดิฐ
ท่าวังหลังและท่าพรานนก
ท่าวังหลัง ท่าศิริราช ที่อยู่ใกล้เคียง ท่าวังหลัง หรือ ท่าพรานนก หรือ ท่าศิริราช เป็นท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกหรือฝั่งธนบุรี บริเวณปลายถนนวังหลัง ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก โดยแบ่งการให้บริการออกเป็นท่าเรือหลายท่าเรียงรายอยู่ในบริเวณเดียวกัน.
ดู ท่าช้างวังหลวงและท่าวังหลังและท่าพรานนก
ท่าน้ำนนทบุรี
ท่าน้ำนนทบุรี หรือ ท่าน้ำนนท์ หรือ ท่าน้ำพิบูลสงคราม 3 เป็นท่าน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาหลายท่าใกล้เคียงกัน ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่าและหอนาฬิกาจังหวัดนนทบุรี ถนนประชาราษฎร์ เขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยาและท่าเรือข้ามฟาก.
ดู ท่าช้างวังหลวงและท่าน้ำนนทบุรี
ท่าเตียน
ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวลงเรือด่วนเจ้าพระยา ร้านค้าและอาคารพาณิชย์ทางเข้าตลาดท่าเตียน หลังการปรับปรุง ท่าเตียน เป็นท่าเรือและตลาดแห่งหนึ่ง ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนมหาราช ด้านตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเตียน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยที่ชื่อ "ท่าเตียน" มีที่มาต่าง ๆ กันไป บ้างก็ว่าเกิดจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่แถบนี้เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนราบเรียบเหี้ยนเตียน หรือเชื่อว่ามาจาก "ฮาเตียน" เมืองท่าแห่งหนึ่งในตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเกียนซาง ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินแดนของไทย ในชื่อ บันทายมาศ หรือ พุทไธมาศ) เนื่องจากแถบนี้ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนอพยพหนีภัยสงครามจากเว้ ตั้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวญวนเหล่านี้ได้เรียกชื่อถิ่นฐานนี้ว่าฮาเตียน เนื่องจากมีภูมิทัศน์คล้ายกับฮาเตียนเพื่อคลายความคิดถึงถิ่นฐานตนเอง และได้เรียกเพี้ยนมาเป็นท่าเตียนในที่สุด แต่ทั้งนี้ท่าเตียนปรากฏมาตั้งแต่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานเป็นนิราศของหม่อมพิมเสนเรียกว่า "บางจีน" สันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวจีนด้วย และยังมีตำนานเมืองที่โด่งดังมาก คือ เรื่องของยักษ์เฝ้าประตูวัดสองฟากต่อสู้กัน คือ ยักษ์วัดแจ้ง จากฝั่งธนบุรี ต่อสู้กับ ยักษ์วัดโพธิ์ แห่งฝั่งพระนคร เนื่องจากผิดใจกันเรื่องการขอยืมเงินกัน จนในที่สุดที่บริเวณนี้เหี้ยนเตียนราบเรียบไปหมด ซึ่งในบางตำนานก็มีการเสริมเติมแต่งเข้าไปอีกว่า ที่ยักษ์ทั้งสองตนนั้นหยุดสู้กันเพราะมีโยคีหรือฤๅษีมาห้าม บ้างก็ว่าเป็นยักษ์วัดพระแก้วเข้ามาห้าม ปัจจุบัน ท่าเตียนเป็นทั้งตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม มีร้านอาหารและร้านกาแฟเป็นจำนวนมาก ในส่วนของตลาด เป็นตลาดที่นับว่าใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นตลาดที่มีสินค้าหลากหลายประเภทขายทั้งสินค้าทางการเกษตรหรือข้าวของเครื่องใช้ เนื่องจากเป็นท่าจอดเรือที่มีชัยภูมิเหมาะสม โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชื่อเรียกว่า "ตลาดท้ายวัง" หรือ "ตลาดท้ายสนม" กินอาณาบริเวณตั้งแต่ถนนท้ายวังจนถึงตลาดท่าเตียนในปัจจุบัน เป็นตลาดที่บรรดานางในหรือนางสนมจะออกจากกำแพงพระบรมมหาราชวังมาจับจ่ายซื้อข้าวของต่าง ๆ โดยสินค้าที่นิยมมากที่สุด คือ ดอกไม้ ต่อมาได้รวมเป็นตลาดเดียวกับตลาดท่าเตียน จนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีการสร้างอาคารขึ้นมาอย่างเป็นรูปร่าง โดยวางแนวเป็นรูปตัวยู ด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก และมีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น และกลายมาเป็นแหล่งค้าส่งแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัสดุก่อสร้าง, เครื่องตัดหญ้า, อะไหล่รถยนต์, ผักและผลไม้, น้ำตาล, ลูกอมหรือท็อฟฟี่ รวมถึงอาหารทะเลแห้ง เป็นต้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ท่าเตียนมีสถานะเป็นตำบลชื่อ "ตำบลท่าเตียน" ขึ้นอยู่กับอำเภอพระราชวัง (เขตพระนครในปัจจุบัน) ปัจจุบันอาคารพาณิชย์ตลอดจนบ้านเรือนต่าง ๆ ได้รับการบูรณะปรับปรุงโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี..
ท้องสนามหลวง
ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..
ดู ท่าช้างวังหลวงและท้องสนามหลวง
คลองบางกอกน้อย
ลองบางกอกน้อยช่วงที่ไหลผ่านวัดศรีสุดาราม มองไปทางด้านทิศตะวันตก คลองบางกอกน้อยเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางไปเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ คลองบางกอกน้อย ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและคลองบางกอกน้อย
คลองมอญ
ลองมอญ คลองมอญ เป็นคลองธรรมชาติคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่คลองบางน้อยและคลองบางเชือกหนังไหลมาบรรจบกัน ในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน คลองมอญมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีศาสนสถานและวัดสำคัญ ๆ มากมาย เช่น วัดเครือวัลย์ วัดนาคกลาง วัดพระยาทำ วัดครุฑ วัดโพธิ์เรียง วัดบางเสาธง วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดเกาะ คลองมอญจึงมีความสำคัญต่อการระบายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเป็นอย่างมาก ชื่ออื่นๆ ของคลองมอญที่นิยมเรียกกัน ก็คือคลองบางเสาธง ซึ่งเรียกกันในช่วงที่มารวมกับคลองบางน้อย และบางเชือกหนัง หรือบางครั้งก็ถือว่าคลองช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของคลองบางน้อ.
แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.
ดู ท่าช้างวังหลวงและแม่น้ำเจ้าพระยา
เกาะเกร็ด
กาะเกร็ด เป็นเกาะแม่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,625 ไร่ เป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นส่วนใหญ่ เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ.
เรือด่วนเจ้าพระยา
รือด่วนเจ้าพระยา เป็นเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บริการในเส้นทางอำเภอปากเกร็ด-ท่าน้ำนนทบุรี-สาทร-วัดราชสิงขร-ราษฎร์บูรณะ โดยบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกั.
ดู ท่าช้างวังหลวงและเรือด่วนเจ้าพระยา
เทศบาลตำบลบางใหญ่
ทศบาลตำบลบางใหญ่ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในเขตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และเป็นเทศบาลหนึ่งในห้าแห่งของอำเภอ ตั้งอยู่บริเวณสองฝั่งคลองบางใหญ่ ทางทิศตะวันตกของจังหวัด สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นชนบทอยู่ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเขตเทศบาลตำบลบางใหญ่คือบริเวณบางใหญ่ซิตี้ (ชุมชนเมืองรอยต่อระหว่างอำเภอบางใหญ่กับอำเภอบางบัวทอง) แต่ที่จริงแล้วบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ของเทศบาลตำบลเสาธงหินและองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒน.
ดู ท่าช้างวังหลวงและเทศบาลตำบลบางใหญ่
เขตพระนคร
ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ท่าช้างแยกท่าช้าง