สารบัญ
38 ความสัมพันธ์: ชมพูพานชาวอารยันพญาทูษณ์พระยาขรพระรามพระลักษมณ์พระศิวะพระนารายณ์พาลีพิเภกกุมภกรรณมัจฉานุมูลพลัมยักษ์รัชฎารามายณะรามเกียรติ์ราวณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามสหัสเดชะสุครีพสีเขียวหนุมานอวตารอสูรอินทรชิตองคตทศคีรีวัน ทศคีรีธรทองคำท้าวลัสเตียนตรีเศียรนางกาลอัคคีนาคราชนางมณโฑนางสำมนักขานางสุพรรณมัจฉานางสีดาไมยราพเวตาล
ชมพูพาน
มพูพาน (जाम्बवान) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นลิงกายสีหงส์ชาด (สีแดง) เป็นลูกเลี้ยงของพญาพาลีแห่งเมืองขีดขิน ถือกำเนิดมาจากเหงื่อไคลพระอิศวร มีความรู้ในเรื่องยา สุครีพจึงพาไปถวายตัวต่อพระราม จึงมีหน้าที่เป็นแพทย์ประจำกองทัพพระราม เคยติดตามหนุมานและองคต ในตอนหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดา ที่กรุงลงกา เมื่อครั้งศึกทศพิน ชมพูพานก็ได้รับมอบหมายให้เป็นทูตถือพระราชสารประกาศสงคราม เมื่อสิ้นศึกกรุงลงกา พระรามทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้ไปเป็นเจ้ากรุงปางตาล.
ชาวอารยัน
วอารยัน หรืออินโดอารยัน เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพวกอินโดยูโรเปียน ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย หมายถึง อิหร่าน สันนิษฐานว่ามีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเซีย บริเวณรอบๆ ทะเลแคสเปียน ภายหลังได้เดินทางเข้าสู่อินเดียโดยฝ่ายเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และช่องเขาไคเบอร์ เข้ามาประมาณ 1,500 B.C.
พญาทูษณ์
ญาทูษณ์ หรือ พญาทูต (ทูษณ์ หรือ ทูต - พญายักษ์ (อสุรพงศ์)) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นโอรสองค์ที่ ๕ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์เป็นกษัตริย์เมืองจารึกองค์ที่ ๑ มีบทบาทแค่ตอนที่ นางสำมนักขา ผู้เป็นน้องสาว แค้น พระรามและได้มาขอความช่วยเหลือ ให้ไปฆ่าพระราม และสามารถหักศรพระรามได้ แต่พระรามก็ได้เอา คันธนูที่ รามสูร ให้ไว้ สุดท้าย พระยาทูษณ์ ก็โดนพระรามแผลงศร ตายในที.
พระยาขร
ระยาขร (ขร - พญายักษ์ (อสุรพงศ์)) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ มีรูปลักษณ์สีเขียว ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฎจี.
พระราม
ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.
พระลักษมณ์
ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.
พระศิวะ
ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย.
พระนารายณ์
ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.
พาลี
ลี หรือ พญาพาลี เป็นลิงที่เป็นตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเจ้าเมืองขีดขิน ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตัวหนึ่ง มีกายสีเขียว เป็นโอรสของพระอินทร์ กับ นางกาลอัจนา เดิมชื่อ กากาศ ตอนเด็กโดนฤๅษีโคดมสาปให้กลายเป็นลิงเช่นเดียวกันกับสุครีพ ซึ่งเป็นน้องชาย เพราะรู้ว่าทั้ง 2 เป็นลูกชู้ ต่อมาพระอินทร์ผู้เป็นบิดา ได้สร้างเมืองชื่อ ขีดขินให้พาลีปกครอง และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พระยากากาศ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น พาลี เคยต่อสู้กับ ทรพี ควายที่ฆ่า ทรพา พ่อของตนเอง ที่มีเทวดาอารักขาขาทั้งสี่ข้างและสองเขา ซึ่งพาลีจะต้องเข้าไปสู้ในถ้ำสุรกานต์ ก่อนไปได้สั่งเสียสุครีพไว้ว่า ถ้าผ่านไปเจ็ดวันแล้ว ถ้าตนไม่กลับมา ให้ไปดูรอยเลือด ถ้าเลือดข้นนั้นคือ เลือดทรพี ถ้าเลือดใสนั้นคือเลือดตน ตอนที่พระอิศวรฝากนางดารามากับพาลีเพื่อให้กับสุครีพผู้เป็นน้อง พาลีได้ยึดนางดาราไว้เป็นภรรยาเสียเอง พาลีเคยแย่งนางมณโฑกับทศกัณฐ์เมื่อตอนที่เหาะผ่านเมืองขีดขินด้วย และมีบุตรกับนางมณโฑ คือ องคต สุดท้ายพาลีสิ้นชีวิตจากศรของพระราม ขณะที่พระรามแผลงศรใส่พาลี พาลีจับศรไว้ได้ พาลีจึงได้เห็นร่างที่แท้จริงของพระราม ว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร จึงได้สำนึกผิด และเรียกสุครีพมาสั่งสอน ซึ่งเรียกว่า "พาลีสอนน้อง" และฝากฝังเมืองขีดขินไว้ จากนั้นก็ปล่อยให้ศรปักอกตาย หลังจากที่พาลีตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรพาลีบนสวรรค์ ได้มีบทบาทตอนไปทำลายพิธีชุบหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ ในศาสนาฮินดูพาลีไม่ได้ยึดนางดาราภรรยาของสุครีพ และเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม เขาตายเนื่องจากพระรามลอบสังหารเขาในขณะต่อกรกับสุครีพ ในชาติต่อไปเขาไปเกิดเป็นนายพรานจาราและสังหารพระกฤษณะซึ่งเป็นพระรามในชาติก่อน.
พิเภก
ก เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้ากลม เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ".
กุมภกรรณ
กุมภกรรณ (สันสกฤต: कुम्भकर्ण กุมฺภกรฺณ) เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องแท้ ๆ ของทศกัณฐ์ มีหน้าและกายสีเขียว ชายาชื่อนางจันทวดี เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ ที่จริงแล้วเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในธรรม แต่ต้องออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับสุครีพ โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่พระลักษมณ์จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับพระราม แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้ กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้.
มัจฉานุ
มัจฉานุ เป็นลูกของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา เนื่องจากเป็นลูกของหนุมาน จึงมีร่างกายเป็นลิง แต่มีหางเป็นปลาเช่นเดียวกับนางสุพรรณมัจฉา แต่เมื่อนางสุพรรณมัจฉาได้คลอดมัจฉานุด้วยการสำรอกออกมาแล้ว เกรงว่าทศกัณฐ์จะรู้ว่าเป็นลูกตน จึงได้นำมัจฉานุไปทิ้งไว้ที่หาดริมทะเล หลังจากนั้น ไมยราพณ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบาดาล ได้เดินทางมาพบและเก็บไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งภายหลัง หนุมานที่ได้ติดตามไมยราพณ์ ซึ่งลักพาตัวพระรามมาไว้ที่เมืองบาดาล จึงได้พบกับมัจฉานุ ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าด่านสระบัวอยู่ ทั้งสองจึงได้ต่อสู้กัน แต่ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถเอาชนะกันได้เสียที จึงได้ถามมัจฉานุว่าเป็นลูกใครพ่อแม่ชื่ออะไร เมื่อได้ยินคำตอบของมัจฉานุ หนุมานก็ดีใจมากเมื่อได้พบลูกของตน เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2 และศึกกรุงมลิวัน จึงได้รับแต่งตั้งเป็น พญาหนุราช ครองกรุงมลิวันแทนท้าวจักรวรรดิ และได้นางรัตนามาลี ธิดาท้าวจักรวรรดิเป็นมเหสี หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์ หมวดหมู่:ตัวละครที่เป็นลิง.
มูลพลัม
หัวโขนมูลพลัม มูลพลัม เป็นอสูรพันธมิตรของทศกัณฐ์ เป็นอุปราชเมืองปางตาล เป็นน้องชายของสหัสเดชะพญารากษส กษัตริย์กรุงปางตาล เป็นหนึ่งในบรรดายักษ์ที่ออกทัพไปรบกับพระรามเพื่อช่วยทศกัณฐ์ ท้ายสุดตายด้วยศรของพระลักษมณ.
ยักษ์
รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.
รัชฎา
นางรัชฎา เป็นตัวละครในรามเกียรติ์ เธอเป็นมเหสีองค์ที่ 5 ของท้าวลัสเตียน กษัตริย์ครองกรุงลงกาองค์ที่ 2.
รามายณะ
พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.
รามเกียรติ์
ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.
ราวณะ
ราวณะ หรือ ราพณ์ (रावण Rāvaṇa) เป็นตัวละครหลักฝ่ายร้ายในมหากาพย์เรื่อง รามายณะ ของศาสนาฮินดู โดยเป็นราชารากษสแห่งนครลงกา ซึ่งเชื่อกันว่า ตรงกับประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน ราวณะมักเป็นที่พรรณนาว่า มีศีรษะสิบศีรษะ เป็นสาวกของพระศิวะ เป็นมหาปราชญ์ ปกครองบ้านเมืองอย่างเปี่ยมสามารถ ชำนาญบรรเลงวีณา (वीणा vīṇā) และมุ่งหมายจะเป็นใหญ่เหนือทวยเทพ ศีรษะทั้งสิบของเขายังเป็นเครื่องสำแดงถึงศาสตร์ทั้งหกและเวททั้งสี่ นอกจากนี้ ตามความใน รามายณะ ราวณะลักพาสีดา ภริยาของพระราม เพื่อล้างแค้นที่พระรามและพระลักษณ์อนุชาตัดจมูกศูรปณขา กนิษฐาของราวณะ ชาวฮินดูในหลายส่วนของประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย เคารพบูชาราวณะ และถือเป็นสาวกพระศิวะที่ได้รับความเคารพยำเกรงที่สุด เทวสถานพระศิวะหลายแห่งยังตั้งรูปราวณะคู่กับรูปพระศิวะด้ว.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ.
ดู ทศกัณฐ์และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สหัสเดชะ
ทวารบาลสหัสเดชะ ที่วัดพระแก้ว สหัสเดชะ (แปลว่า มีกำลังนับพัน) เป็นรากษสกายสีขาว เจ้าเมืองปางตาล มี 1000 หน้า 2000 มือ ร่างกายสูงใหญ่ดั่งเขาอัศกรรม มีกระบองวิเศษที่พระพรหมประทานให้มีฤทธิ์คือต้นชี้ตายปลายชี้เป็นและได้รับพรเมื่อข้าศึกหรือศัตรูเห็นจงหนีหายไปด้วยความกลัว เมื่อพญามูลพลัมรู้ว่าทศกัณฐ์เพื่อนของตนกำลังรบกับพระรามอยู่จึงคิดจะช่วยโดยชวนสหัสเดชะพี่ชายของตนไปออกรบด้วยกัน ภายหลังด้วยความชะล่าใจของตนจึงถูกหนุมานใช้กลอุบายแปลงเป็นลิงน้อยหลอกเอากระบองวิเศษมาหักทิ้ง และฆ่าสหัสเดชะตายในที่สุด สหัสเดชะ เป็นหนึ่งในยักษ์ทวารบาลสองตน ที่ยืนเฝ้าประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามคู่กับทศกัณฐ์ เพราะถือว่าเป็น ยักษ์ที่มีฤทธิ์มากดุจเดียวกับทศกัณ.
สุครีพ
สุครีพ เป็นพญาวานรในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง เป็นลูกชายของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา เป็นทหารเอกของพระราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระรามให้เป็นผู้จัดการกองทัพ ออกรบสู้กับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ ครั้งเสร็จศึกกรุงลงกา ได้รับแต่งตั้งเป็น พญาไวยวงศามหาสุรเดช ครองกรุงขีดขิน เมื่อตอนที่พระฤๅษีโคดมสามีของนางกาจอัจนา รู้ความจริงจากนางสวาหะว่าสุครีพไม่ใช่ลูกของตนแต่เป็นลูกชู้ จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลีผู้เป็นพี่ชายซึ่งเป็นลูกชู้กับพระอินทร์ แล้วไล่ให้เข้าป่าไป ต่อมาจึงได้พบกับพระราม สุครีพมีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน ไฟล์:OPR050103Sukreep-DS.jpg หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.
สีเขียว
ีเขียว เป็นสีสีหนึ่งบนคลื่นที่ตามองเห็น ตั้งอยู่ระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลือง สีเขียวเกิดจากแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 495-570 นาโนเมตร สีเขียวในแม่สีเชิงลบที่ใช้สำหรับระบายสีและพิมพ์สีเกิดจากสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินอมเขียว ในระบบสี RGB ที่พบในโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ เป็นสีที่มาจากแม่สีเชิงบวก ร่วมกับสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งต่างก็ผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ ในภาษาอังกฤษใหม่ คำว่า green (สีเขียว) มาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า grene จากรากศัพท์ภาษาเยอรมันเดียวกันกับคำว่าคำว่า "grass" และ "grow" สีเขียวเป็นสีของการปลูกหญ้าและใบไม้ ด้วยเหตุนี้สีเขียวจึงเป็นสีของฤดูใบไม้ผลิ ความเจริญเติบโต และธรรมชาติEva Heller, Psychologie de la couleur- effets et symboliques.
หนุมาน
1.
อวตาร
กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.
อสูร
ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ อสูร (-saअसुर) คือเทวดาจำพวกหนึ่ง มีนิสัยดุร้าย เป็นปฏิปักษ์กับเทวดาพวกอื่นซึ่งอาศัยบนสวรรค์ อสูรเพศหญิงเรียกว่าอสุรี.
อินทรชิต
อินทรชิต (สันสกฤต: इन्द्र जीत, Indrajit อินฺทฺร ชีต) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีสีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้วจึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อมหาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรนาคบาศและพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรพรหมาสตร์และพรไม่ให้ตายบนพื้นดินหากตายก็ให้ตายบนอากาศหากเศียรขาดตกลงพื้นก็ให้เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาลต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปานัม เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้วจึงเกิดความหึกเหิมบุกสวรรค์และท้าพระอินทร์รบ และชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์เมื่อทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมากจึงเปลื่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรชิต หมายถึง "ชนะพระอินทร์" แต่ด้วยไม่ตั้งตนอยู่ในธรรมและการประพฤติชั่วของตน ภายหลังถูกศรของพระลักษมณ์สิ้นใจต.
องคต
องคต (Angada จากअङ्गद องฺคท) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นลูกของพญาพาลี กับนางมณโฑ เป็นทหารเอกของพระรามมีอาวุธเป็นธนู ที่แม้แต่ใครก็ตามที่มาสู้กับองคตก็ต้องตายหมด องคตเกิดมาจาก เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์ ทศกัณฐ์จึงไปฟ้องฤๅษีอังคัตผู้เป็นอาจารย์ของพาลีให้มาว่ากล่าวพาลี จนพาลียอมคืนนางมณโฑให้แต่ขอลูกเอาไว้ ฤๅษีอังคัตจึงทำพิธีเอาลูกออกจากท้องนางมณโฑไปใส่ในท้องแพะ เมื่อครบกำหนดคลอดพระฤๅษีก็ทำพิธีให้ออกจากท้องแพะให้ชื่อว่า องคต ทศกัณฐ์ยังผูกใจเจ็บ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์ คอยอยู่ก้นแม่น้ำเพื่อที่จะฆ่าองคตขณะทำพิธีลงสรง แต่ถูกพาลีจับได้ แล้วเอามาผูกไว้ให้ลูกลากเล่นอยู่เจ็ดวันจึงปล่อยไป เมื่อสุครีพขอให้พระรามมาช่วยปราบพาลี ก่อนที่พาลีจะสิ้นใจตาย ได้สำนึกว่าตนทำผิดต่อสุครีพ ทั้งไม่รักษาคำสัตย์สาบาน จึงได้ทูลฝากฝังสุครีพและองคตไว้กับพระราม องคตได้ช่วยทำศึกกับกองทัพของทศกัณฐ์อย่างเต็มความสามารถ พระรามเคยส่งองคตเป็นทูตไปเจรจากับทศกัณฐ์ เพื่อทวงนางสีดาคืนกลับมา แม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญ ให้ประจักษ์แก่ตาของทศกัณฐ์ องคตเป็นผู้ที่มีสัมมาวาจา สามารถพูดจาให้คนหลงเชื่อได้ ดังจะเห็นได้จากตอนที่พระรามให้องคตแปลงกายเป็นยักษ์พิจิตรไพรีไปทูลขอแว่นแก้วสุรกานต์จากพระพรหม.
ทศคีรีวัน ทศคีรีธร
ทศคีรีวันและทศคีรีธร เป็นยักษ์ฝาแฝดที่เกิดจากทศกัณฐ์กับนางช้างพัง ทศคีรีวันเป็นพี่ ทศคีรีธรเป็นน้อง ทศกัณฐ์ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ ท้าวอัศกรรมมาลา เจ้าเมืองดุรัม วันหนึ่งคิดถึงบิดาตนจึงไปหาและทราบเรื่องราวที่บิดาตนทำศึกกับพระรามจึงอาสาออกรบ เมื่อสองตนนี้ยกทัพมาถึง พระรามรับสั่งให้พระลักษมณ์เป็นทัพหน้า เข้าสู้กับกองทัพลงกาซึ่งทศกัณฐ์อยู่ตรงกลาง พระลักษมณ์แผลงศรพลายวาตถูกม้าศึกทั้งสองตายคาที่ สองยักษ์พี่น้องจึงกระโดดเข้าหักงอนรถพระลักษมณ์ พระลักษมณ์หวดด้วยคันศร ทั้งสองแผลงศรเป็นอาวุธเก้าอย่างถูกพลลิงตายมากมาย พระลักษมณ์จึงแผลงศรไปแก้เป็นลมพัด จนวานรฟื้นคืนหมดแล้วศรก็พุ่งไปเสียบอกยักษ์พี่น้องสองตนขาดใจต.
ดู ทศกัณฐ์และทศคีรีวัน ทศคีรีธร
ทองคำ
ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.
ท้าวลัสเตียน
ท้าวลัสเตียน (อสุรพงศ์) เป็นบุตรของท้าวจตุรพักตร์กษัตริย์ผู้ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๑ และนางมลิกา ท้าวลัสเตียนเป็นกษัตริย์ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๒ มีมเหสี ๕ พระองค์ มีโอรสและธิดาทั้งหมด ๑๑ อง.
ตรีเศียร
ตรีเศียร เป็นโอรสองค์ที่ ๖ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ และพี่ชายของนางสำมนักขา พญาตรีเศียรเป็นกษัตริย์เมืองมัชวารีองค์ที่ ๑.
นางกาลอัคคีนาคราช
นางกาลอัคคี (Kanavki) เป็นตัวละครใน มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทยและรามายณะต้นฉบับของอินเดียและศรีลังกา ในรามเกียรติ์ของไทยเป็นธิดาพญากาลนาคกับนางนาคประภา เป็นนาคกับพระมเหสีองค์แรกของทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกา มีบุตรชื่อบรรลัยกัลป์ ในรามายณะต้นฉบับ ปารากฎชื่อเป็น ธัญญามาลินี(Dhanyamalini) ส่วนในเรียมเกร์ของประเทศกัมพูชาและยามะซะตอของพม่าไม่ปารากฎ(เพราะเนื้อเรื่องของเนื้อหาสั้นกว่า มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทย).
ดู ทศกัณฐ์และนางกาลอัคคีนาคราช
นางมณโฑ
นางมณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มนโททรี (मंदोदरी มํโททรี) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสี.
นางสำมนักขา
นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.
นางสุพรรณมัจฉา
นางสุพรรณมัจฉา (ความหมาย: "ปลาทอง") เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อันเป็นธิดาของทศกัณฑ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน ทหารเอกของพระราม อันเป็นตัวเอกของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว นางปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อครั้งที่พระรามให้หนุมานถมมหาสมุทรข้ามไปยังกรุงลงกา ทศกัณฑ์จึงให้นางสุพรรณมัจฉาและบริวารที่เป็นปลาลอบขนหินถมทะเลดังกล่าวไปทิ้ง หนุมานสงสัยจึงดำลงไปใต้ท้องทะเลจึงพบนางสุพรรณมัจฉา ภายหลังทั้งสองได้ร่วมรักกันและมีบุตรคือ มัจฉานุ ที่ตัวเป็นลิงมีหางเป็นปลา เช่นเดียวกับนางสีดา ที่มีบิดาเป็นยักษ์ แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงามที่ปรากฏตามจิตรกรรมฝาผนัง จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ในรามายณะของภูมิภาคอุษาคเนย์บางประเทศเท่านั้น.
นางสีดา
นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช.
ไมยราพ
มยราพ เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พญายักษ์เจ้าแห่งเมืองบาดาล กายสีม่วงอ่อน มงกุฏยอดกระหนก ปากขบ นัยน์ตาจระเข้ มีเวทมนตร์สะกดทัพ และเครื่องสรรพยาเป่ากล้องล่องหนเป็นอาวุธ ในต้นฉบับภาษาสันสกฤตชื่อว่า อหิรภัณ อหิรภณะ ไมยราพเป็นยักษ์ที่มีนิสัยดุร้ายเป็นอย่างมาก.
เวตาล
วตาล (ภาพจากปกนิทานเวตาล ฉบับแปลโดย น.ม.ส.) เวตาล (สันสกฤต: वेताल) เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง คล้ายค้างคาวผี ในปรัมปราคติของฮินดู เวตาลอยู่ในจำพวกมรุตคณะ เป็นบุตรนางอทิติ เป็นผู้ตามพระรุทระเป็นเจ้าแลนางภัทรา ดำรงอยู่เป็นภูตที่อาศัยในซากศพผู้อื่นในตอนกลางวัน ศพเหล่านี้อาจใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการเดินทาง เพราะขณะที่เวตาลอาศัยอยู่นั้น ซากศพจะไม่เน่า แต่เวตาลอาจออกจากศพเพื่อหากินในตอนกลางคืน ไปตามหนอง ตามพุ่มไม้ ตามป่ารกแลป่าที่มืดอับ บางทีไปกับลมพายุแลฟ้ามัว เวลาเที่ยวจะเป็นเวลากลางคืนสงัดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ พญาทศกัณฐ์นนทุก