โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราวณะ

ดัชนี ราวณะ

ราวณะ หรือ ราพณ์ (रावण Rāvaṇa) เป็นตัวละครหลักฝ่ายร้ายในมหากาพย์เรื่อง รามายณะ ของศาสนาฮินดู โดยเป็นราชารากษสแห่งนครลงกา ซึ่งเชื่อกันว่า ตรงกับประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน ราวณะมักเป็นที่พรรณนาว่า มีศีรษะสิบศีรษะ เป็นสาวกของพระศิวะ เป็นมหาปราชญ์ ปกครองบ้านเมืองอย่างเปี่ยมสามารถ ชำนาญบรรเลงวีณา (वीणा vīṇā) และมุ่งหมายจะเป็นใหญ่เหนือทวยเทพ ศีรษะทั้งสิบของเขายังเป็นเครื่องสำแดงถึงศาสตร์ทั้งหกและเวททั้งสี่ นอกจากนี้ ตามความใน รามายณะ ราวณะลักพาสีดา ภริยาของพระราม เพื่อล้างแค้นที่พระรามและพระลักษณ์อนุชาตัดจมูกศูรปณขา กนิษฐาของราวณะ ชาวฮินดูในหลายส่วนของประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย เคารพบูชาราวณะ และถือเป็นสาวกพระศิวะที่ได้รับความเคารพยำเกรงที่สุด เทวสถานพระศิวะหลายแห่งยังตั้งรูปราวณะคู่กับรูปพระศิวะด้ว.

25 ความสัมพันธ์: พระพรหมพระรามพระลักษมณ์พระวิษณุพระศิวะยักษ์รัชฎารัฐอุตตรประเทศรัฐคุชราตรามายณะรามเกียรติ์ฤๅษีวาลมีกิศาสนาฮินดูศาสนาเชนอสูรอินทรชิตทศคีรีวัน ทศคีรีธรท้าวลัสเตียนประเทศกัมพูชาประเทศศรีลังกาประเทศอินเดียนางมณโฑนางสำมนักขานางสีดาเวท

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: ราวณะและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: ราวณะและพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมณ์

ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.

ใหม่!!: ราวณะและพระลักษมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: ราวณะและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: ราวณะและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

ยักษ์

รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.

ใหม่!!: ราวณะและยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัชฎา

นางรัชฎา เป็นตัวละครในรามเกียรติ์ เธอเป็นมเหสีองค์ที่ 5 ของท้าวลัสเตียน กษัตริย์ครองกรุงลงกาองค์ที่ 2.

ใหม่!!: ราวณะและรัชฎา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของประเทศโดยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาฮินดู เช่น เมืองพาราณสี อโยธยา (เมืองเกิดของพระราม) มธุรา (เมืองเกิดของพระกฤษณะ) และอัลลาลาบัดหรือเมืองโกสัมพีในสมัยพุทธกาล อุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐอุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2377.

ใหม่!!: ราวณะและรัฐอุตตรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐคุชราต

รัฐคุชราต คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศติดกับประเทศปากีสถานและทะเลอาหรับ รัฐคุชราต เป็นแหล่งอุตสาหกรรมแหล่งแรกๆในอินเดีย จนได้ชื่อว่าแมนเชสเตอร์ตะวันออก เป็นบ้านเกิดของมหาตมะ คานธี เป็นรัฐที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชากรมากกว่า 80% ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เมืองสุรัตเป็นศูนย์กลางการเจียระไนเพชรระดับโลก คุช หมวดหมู่:รัฐคุชราต หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503.

ใหม่!!: ราวณะและรัฐคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: ราวณะและรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: ราวณะและรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษีวาลมีกิ

ๅษีวาลมีกิ ฤๅษีวาลมีกิ (वाल्मीकि มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักบวชฮินดู นักประพันธ์วรรณกรรมภาษาสันสกฤต ซึ่งที่โด่งดังที่สุดคือรามายณะ เดิมทีฤๅษีวาลมีกิอยู่ในวรรณะพราหมณ์ แต่ชอบคบหาสมาคมกับโจรป่า จากนั้นก็แต่งงานกับโจรป่า จึงทำให้กลายเป็นโจรป่าไปด้วย และได้ปล้นสดมฆ่าคนมามากมาย จนครั้งหนึ่งได้ไปพบกับ สัปตะฤๅษี (ฤๅษี ทั้ง 7) สัปตะฤๅษีก็ได้บอกล่าวถึงบาปบุญคุณโทษให้ฤๅษีวาลมีกิฟัง แล้วเกิดการสำนึกผิดขึ้นมา อยากออกบวช สัปตะฤๅษีจึงบอกวิธีแก้ไขให้ คือ ต้องภาวนามันตราศักดิ์สิทธิ์ว่า "เฮ ราม" จากนั้นสัปตะฤๅษีก็จากไป ฤๅษีวาลมีกิท่องมันตราศักดิ์สิทธิ์จนครบ 1,000 ปี จนเกิดจอมปลวกห่อคลุมร่าง แล้วสัปตะฤๅษีก็มาปรากฏให้เห็นอีกครั้ง แล้วบอกฤๅษีวาลมีกิว่า "เจ้าภาวนาสำเร็จแล้ว" จากนั้นพระพรหม ก็ปรากฏพระวรกายให้ฤๅษีวาลมีกิเห็นและประทานโองการว่า "วาลมีกิ ถ้าเจ้าอยากลบล้างบาป ที่เจ้าเคยเป็นโจรป่าแล้วฆ่าคนมามากมาย เจ้าต้องบันทึกเรื่องราวของ พระราม โดยการตั้งชื่อ รามายณะ ส่วนเรื่องราว ฤๅษีนารทมุนี จะเป็นคนเล่าเรื่องให้เจ้าฟัง แล้วให้เจ้าเป็นผู้บันทึกเอง" จากนั้นฤๅษีวาลมีกิก็ เริ่มบันทึกเรื่องราวของพระราม โดยมาจากวาทะของฤๅษีนารทมุนี และ นิทานพระราม จนเป็นคัมภีร์รามายณะ จนถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: ราวณะและฤๅษีวาลมีกิ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ราวณะและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเชน

ระมหาวีระ ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (Jainism) เป็นศาสนาแบบอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเป็นเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ราวณะและศาสนาเชน · ดูเพิ่มเติม »

อสูร

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ อสูร (-saअसुर) คือเทวดาจำพวกหนึ่ง มีนิสัยดุร้าย เป็นปฏิปักษ์กับเทวดาพวกอื่นซึ่งอาศัยบนสวรรค์ อสูรเพศหญิงเรียกว่าอสุรี.

ใหม่!!: ราวณะและอสูร · ดูเพิ่มเติม »

อินทรชิต

อินทรชิต (สันสกฤต: इन्‍द्र जीत, Indrajit อินฺทฺร ชีต) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีสีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้วจึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อมหาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรนาคบาศและพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรพรหมาสตร์และพรไม่ให้ตายบนพื้นดินหากตายก็ให้ตายบนอากาศหากเศียรขาดตกลงพื้นก็ให้เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาลต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปานัม เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้วจึงเกิดความหึกเหิมบุกสวรรค์และท้าพระอินทร์รบ และชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์เมื่อทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมากจึงเปลื่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรชิต หมายถึง "ชนะพระอินทร์" แต่ด้วยไม่ตั้งตนอยู่ในธรรมและการประพฤติชั่วของตน ภายหลังถูกศรของพระลักษมณ์สิ้นใจต.

ใหม่!!: ราวณะและอินทรชิต · ดูเพิ่มเติม »

ทศคีรีวัน ทศคีรีธร

ทศคีรีวันและทศคีรีธร เป็นยักษ์ฝาแฝดที่เกิดจากทศกัณฐ์กับนางช้างพัง ทศคีรีวันเป็นพี่ ทศคีรีธรเป็นน้อง ทศกัณฐ์ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ ท้าวอัศกรรมมาลา เจ้าเมืองดุรัม วันหนึ่งคิดถึงบิดาตนจึงไปหาและทราบเรื่องราวที่บิดาตนทำศึกกับพระรามจึงอาสาออกรบ เมื่อสองตนนี้ยกทัพมาถึง พระรามรับสั่งให้พระลักษมณ์เป็นทัพหน้า เข้าสู้กับกองทัพลงกาซึ่งทศกัณฐ์อยู่ตรงกลาง พระลักษมณ์แผลงศรพลายวาตถูกม้าศึกทั้งสองตายคาที่ สองยักษ์พี่น้องจึงกระโดดเข้าหักงอนรถพระลักษมณ์ พระลักษมณ์หวดด้วยคันศร ทั้งสองแผลงศรเป็นอาวุธเก้าอย่างถูกพลลิงตายมากมาย พระลักษมณ์จึงแผลงศรไปแก้เป็นลมพัด จนวานรฟื้นคืนหมดแล้วศรก็พุ่งไปเสียบอกยักษ์พี่น้องสองตนขาดใจต.

ใหม่!!: ราวณะและทศคีรีวัน ทศคีรีธร · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวลัสเตียน

ท้าวลัสเตียน (อสุรพงศ์) เป็นบุตรของท้าวจตุรพักตร์กษัตริย์ผู้ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๑ และนางมลิกา ท้าวลัสเตียนเป็นกษัตริย์ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๒ มีมเหสี ๕ พระองค์ มีโอรสและธิดาทั้งหมด ๑๑ อง.

ใหม่!!: ราวณะและท้าวลัสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: ราวณะและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ราวณะและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ราวณะและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

นางมณโฑ

นางมณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มนโททรี (मंदोदरी มํโททรี) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสี.

ใหม่!!: ราวณะและนางมณโฑ · ดูเพิ่มเติม »

นางสำมนักขา

นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.

ใหม่!!: ราวณะและนางสำมนักขา · ดูเพิ่มเติม »

นางสีดา

นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช. '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14318: วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 นางสีดา (Sita) เป็นตัวละครเอกจากเรื่องรามเกียรติ์ โดยเป็นบุตรสาวของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ และเป็นอัครมเหสีของพระราม แต่ในรามายณะของอินเดียหลายฉบับบอกว่านางสีดาเป็นธิดาของพระภูมิเทวีหรือพระแม่ธรณี.

ใหม่!!: ราวณะและนางสีดา · ดูเพิ่มเติม »

เวท

วท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ราวณะและเวท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ravanaราพณาสูรราพณ์ท้าวราพณ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »