โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยักษ์

ดัชนี ยักษ์

รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.

26 ความสัมพันธ์: พระพุทธเจ้าพระอภัยมณีรามเกียรติ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามศาสนาพุทธศาสนาฮินดูสลากภัตสังข์ทองสุวรรณหงส์อมนุษย์ผานกู่จาตุมหาราชิกาทศชาติชาดกทศกัณฐ์ท้าวกุเวรนางสำมนักขานางสิบสองนางอากาศตะไลโกเลมโอนิโอเกอร์โทรลไซคลอปส์เทพปกรณัมกรีกเทพปกรณัมนอร์สเขานางพันธุรัต

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: ยักษ์และพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระอภัยมณี

ระอภัยมณี เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเรื่องหนึ่งของไทย ผลงานชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์ขึ้นเป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวมากถึง 94 เล่มสมุดไทย เมื่อพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ จะมีความยาวกว่าหนึ่งพันสองร้อยหน้า ระยะเวลาในการประพันธ์ไม่มีการระบุไว้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าสุนทรภู่เริ่มประพันธ์ราวปี..

ใหม่!!: ยักษ์และพระอภัยมณี · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: ยักษ์และรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาว.

ใหม่!!: ยักษ์และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ยักษ์และศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ยักษ์และศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สลากภัต

การถวายโดยอุทิศให้แก่สงฆ์ โดยอุทิศให้เป็นเผดียงสงฆ์ (ไม่ระบุเฉพาะว่าจะถวายรูปไหน) เช่นการถวายสลากภัต แม้พระจะได้รับของที่ถวายแค่รูปเดียว แต่ถือได้ว่าพระสงฆ์ที่มารับถวายเป็นพระที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน สลากภัต (สลากภตฺต) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก เป็นชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยการจับสลากเพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธาถวาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุจำกัดและไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้ โดยสลากภัตนับเนื่องในสังฆทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะถือว่าแม้จะตั้งสลากถวายกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่จับสลากได้ ย่อมเท่ากับถวายกับพระสงฆ์ทั้งหมด เพราะสลากที่จับนั้นพระสงฆ์ทุกรูปในอารามนั้นมีสิทธิ์ได้ นอกจากนั้นสลากภัตยังเป็นหลักการในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเท่าเทียมกันและสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันแก่คณะสงฆ์ ในประเทศไทย มีประเพณีสลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง ๆ โดยจัดในช่วงเดือน 6 จนถึงเดือน 8 ซึ่งเป็นช่วงผลไม้อุดมสมบูรณ์ โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และสำรับคาวหวานไปตั้งเป็นสลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ โดยในแต่ละภูมิภาคมีรายละเอียดการจัดประเพณีแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ยักษ์และสลากภัต · ดูเพิ่มเติม »

สังข์ทอง

สังข์ทอง เดิมทีนั้นเป็นบทเล่นอุทัยเทวี (2560) หมวดหมู่:วรรณคดีไทย หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน หมวดหมู่:พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 หมวดหมู่:บทละคร หมวดหมู่:ละครโทรทัศน์ไทยที่ออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561 โครงวรรณกรรม.

ใหม่!!: ยักษ์และสังข์ทอง · ดูเพิ่มเติม »

สุวรรณหงส์

หมวดหมู่:วรรณคดีไท.

ใหม่!!: ยักษ์และสุวรรณหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

อมนุษย์

อมนุษย์ เป็นศัพท์ในบาลี-สันสกฤษ 1.

ใหม่!!: ยักษ์และอมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ผานกู่

วาดผานกู่ ผานกู่ (Pangu;; หมายถึง "แผ่นโลกโบราณ") คือสิ่งมีชีวิตชนิดแรกสุดของโลก เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ตามความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน ลองพิจารณาดู ทฤษฎีสัมพันธภาพ บางส่วนช่างสอดคล้อง กำเนิดจักรวาลของจีนเมื่อหลายพันปีก่อน โลกเป็นเปลือกไข่ (โลกกลม) ในเปลือกไข่มีเทพเจ้าผานกู่ โลกกับฟ้าขยายด้วออกไปจากโลกอย่างช้าๆ (ฟ้า คือบรรยากาศโลก) ต่อมาเทพเจ้าผานกู่ ดึงฟ้าไม่ให้เคลื่อนจากโลก เป็นเวลา 1.8 หมื่นปี (แรงดึงดูดของโลก/แรงดึงดูดของเทพเจ้าผานกู่) เมื่อเทพเจ้าผานกู่ตายไป ส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำ ไขสันหลัง กลายเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนพเคราะห์ พืช ฯลฯ (ทางช้างเผือก) นั่นคือโลก และจักรวาล มีจุดกำเนิด เป็นทรงกลมคล้ายเปลือกไข่ (ตามกฎแห่งอี้จิ้ง สรรพสิ่งย่อมมีคู่ต่าง) ฟ้าเคลื่อนออก-เทพเจ้าผานกู่ดึงเข้า แข็ง(ดินสู่พื้น/น้ำลงต่ำกว่าพื้น)-อ่อน(บรรยากาศก้อนเมฆลอยสู่ฟ้า) ส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำ ไขสันหลัง กลายเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนพเคราะห์ พืช ฯลฯ (ทางช้างเผือก) โลกกับฟ้าขยายด้วออกไปจากโลกอย่างช้าๆ นั่นคือ ฟ้าและส่วนต่างๆของร่างกายของเทพเจ้าผานกู่ กำลังขยายตัว เป็นไปตามทฤษฎีสัมพันธภาพๆ อาจจะได้แรงบันดาลใจจากการมาเยือนจีน,ญี่ปุ่นของไอน์สไตน์ นี่คือข้อสันนิษฐาน ซึ่งอาจจริงหรือไม่จริงก็ได้.

ใหม่!!: ยักษ์และผานกู่ · ดูเพิ่มเติม »

จาตุมหาราชิกา

วาดจตุโลกบาลหรือจตุมหาราชทั้ง 4 ศิลปะพม่า (จากซ้าย) ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ จาตุมหาราชิกา (Cātummahārājika, จาตุมฺมหาราชิก; Cāturmahārājikakāyika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาพจร (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช หรือ สี่ปวงผี ปกครองอยู่องค์ละทิศ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี) โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีของโลกมนุษย์ คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ 90,000 ปีโลกมนุษย์).

ใหม่!!: ยักษ์และจาตุมหาราชิกา · ดูเพิ่มเติม »

ทศชาติชาดก

มหานิบาตชาดก ทศชาติชาดก หรือ พระเจ้าสิบชาติ เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีใน 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระโคตมพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง เพื่อให้จำง่าย มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว.

ใหม่!!: ยักษ์และทศชาติชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ใหม่!!: ยักษ์และทศกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวกุเวร

ท้าวกุเวรทรงมนุษย์เป็นพาหนะ ท้าวกุเวร (कुबेर กุเพร, कुवेर กุเวร, குபேரன் กุเปรัน) เป็นหนึ่งในสี่จาตุมหาราช ผู้ปกครองเหล่ายักษ์ เป็นชื่อของเทพแห่งความมั่งคั่ง ตามคติในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู นับถือกันว่าพระองค์เป็นทิกบาลหรือเทพประจำทิศเหนือ และเป็นเทพผู้คุ้มครองโลก (โลกบาล) บางตำราเรียกท้าวกุเวรว่า "ท้าวเวสสุวรรณ" (वैश्रवण ไวศฺรวณ, वेस्सवण. เวสฺสวณ) ตามนามโคตรของท้าวกุเวรในศาสนาฮินดู ส่วนในศาสนาเชนจะเรียกเทพองค์นี้ว่า ศารวนุภูติ (Sarvanubhuti).

ใหม่!!: ยักษ์และท้าวกุเวร · ดูเพิ่มเติม »

นางสำมนักขา

นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.

ใหม่!!: ยักษ์และนางสำมนักขา · ดูเพิ่มเติม »

นางสิบสอง

นางสิบสอง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ยักษ์และนางสิบสอง · ดูเพิ่มเติม »

นางอากาศตะไล

อากาศตะไล หรือ นางสุรสา (Surasa) เป็นชื่อตัวละครในเรื่องรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ในเรื่องรามายณะของอินเดียเป็นเทวีซึ่งเป็นมารดาของเหล่านาคและดูแลมหาสมุทรก่อนถึงกรุงลงกาและเป็นสตรีหนึ่งในสามคนที่รักษากรุงลงกาได้แก่ นางสุรสา นางสิมหิกา และผีเสื้อสมุทร ในรามเกียรติ์ของไทย เป็นยักษิณีซึ่งเป็นเสื้อเมืองกรุงลงกา รักษาด่านทางอากาศ และเป็นหนึ่งในเจ็ดกองลาดตระเวนตรวจการกรุงลงกา เมื่อหนุมานมาถวายแหวนให้แก่นางสีดาที่สวนขวัญในกรุงลงกา อากาศตะไลได้รบกับหนุมาน และพ่ายแพ้ถูกหนุมานสังหารถึงแก่ความตาย (ชื่ออากาศตะไล เขียนตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๑, ชื่ออังกาศตะไล เขียนตามบทพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๒).

ใหม่!!: ยักษ์และนางอากาศตะไล · ดูเพิ่มเติม »

โกเลม

200px ในคติชาวบ้านยิว โกเลม (golem) เป็นสัตว์รูปอย่างมนุษย์ซึ่งประกอบขึ้นจากวัตถุไม่มีชีวิตแล้วเสกเป่าให้มีชีวิต (พยนต์) ทั้งนี้ ครั้งหนึ่ง คำ "โกเลม" ที่ใช้ในเพลงสวดสดุดีและลายลักษณ์อักษรสมัยมัชฌิมยุค เคยหมายถึง วัตถุใดอันหารูปพรรณสัณฐานมิได้ โกเลมจะเชื่อฟังคำสั่งของเจ้านาย ตามความเชื่อ ถ้าเราอยากจะให้โกเลมมีชีวิต เราจะต้องหาคนที่สร้างโกเลมเป็น แล้วเขียนคำว่า emeth ที่แปลว่า ศักดิ์สิทธิ์ ลงไปในปากของมัน page 296.

ใหม่!!: ยักษ์และโกเลม · ดูเพิ่มเติม »

โอนิ

อะนิในชุดผู้แสวงบุญ ยุคโทะกุงะวะ วาดด้วยหมึกและสีบนกระดาษ 59.2 x 22.1 ซม. โอะนิ (鬼 oni) คือ โยไกในความเชื่อของลัทธิชินโต ในประเทศญี่ปุ่น อาจเทียบได้กับโอเกอร์ในความเชื่อของตะวันตก คือ เป็นยักษ์สูงใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีบางส่วนในร่างกายที่ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดาทั่วไป เช่น มี 3 ตา มี 2 เขา มีเขี้ยวและเล็บคมกริบ มีผิวหนังสีแดงหรือสีส้ม มีนิ้วมือนิ้วเท้ามากกว่าข้างละ 5 นิ้ว นุ่งห่มหนังเสือ และในมือถือกระบองอันใหญ่ที่มีหนามที่เรียกว่า คะนะบุ(金棒) เป็นอาวุธ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึง ความแข็งแกร่งที่ไม่อาจเอาชนะได้ เชื่อกันว่าโอะนิจะนำพามาซึ่งโรคร้าย โรคระบาด ความโชคร้าย และความหายนะ โอะนิสามารถเหาะเหินเดินในอากาศได้ และจะคอยจับเอาดวงวิญญาณของคนชั่วที่กำลังจะตาย โอะนิมักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ห่างไกลจากสังคม หรือหลบซ่อนตัวอยู่ตามภูเขาหรือป่าทึบ ความเชื่อเรื่อง โอะนิ ได้รับอิทธิพลมาจากจีนและผสมกับพุทธศาสนาในเรื่องของยักษ์และความเชื่อที่ว่าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เรียกว่า คิม่อน เป็นทิศของปีศาจ เป็นทิศทางที่ไม่เป็นมงคลเนื่องจากเป็นเส้นทางเดินของภูตผีปีศาจ ปัจจุบันในหมู่บ้านบางแห่งในประเทศญี่ปุ่น มีเทศกาลประจำปี คือ เซะสึบัง เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่โอะนิ เริ่มต้นในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ โดยชาวบ้านจะขว้างปาถั่วเหลืองออกนอกบ้าน พร้อมตะโกนขับไล่โอะนิ และกล่าววาจาเชื้อเชิญสิ่งที่เป็นมงคลเข้ามาในบ้าน นอกจากนี้แล้วยังเชื่อว่าลิงสามารถป้องกันโอะนิได้ เนื่องจากคำว่าลิงในภาษาปุ่นออกเสียงว่า "ซะรุ" (猿) ซึ่งยังสามารถแปลได้อีกหลายความหมาย จึงมีการปั้นรูปปั้นลิงไว้ตามหน้าบ้าน และยังเชื่อว่าต้นโฮลลี่ก็ยังช่วยป้องกันโอะนิได้ด้วย ในบางครั้งผู้คนมักสับสนโอนิกับฮันเนีย เนื่องจากหน้าตาที่มีความใกล้เคียงกัน ปัจจุบัน โอะนิได้ถูกแปรความเชื่อไป กลายเป็นสิ่งที่พิทักษ์ความดีและป้องกันความชั่ว มีการผลิตกระเบื้องหลังคาเป็นรูปโอะนิ ด้วยคติที่คล้ายคลึงกับการ์กอยล์ของตะวันตก.

ใหม่!!: ยักษ์และโอนิ · ดูเพิ่มเติม »

โอเกอร์

อเกอร์จับมนุษย์กิน โดย จีโอวานนี ลานฟรังโก ศิลปินชาวอิตาเลียน ในปี ค.ศ. 1624 โอเกอร์ (ogre (เพศชาย) หรือ ogress (เพศหญิง)) เป็นสัตว์ประหลาดรูปร่างอย่างมนุษย์ มีรูปลักษณ์หน้าเกลียดหน้ากลัว มีอุปนิสัยดุร้ายและอำมหิต และมีสัณฐานมหึมา ปรากฏในเทพปกรณัม คติชน และบันเทิงคดี โดยเฉพาะในเทพนิยาย และวรรณคดีคลาสสิก ซึ่งนิยมพรรณนาว่า โอเกอร์กินคนเป็นอาหาร ส่วนในศิลปะ มักสาธยายว่าโอเกอร์มีศีรษะใหญ่โต มีหนวดเคราและผมเผ้ารุงรัง มีร่างกายอันกำยำ และมีทีท่าตะกละตะกลามเสมอ คำว่า "โอเกอร์" ในภาษาอังกฤษ ใช้อุปมาถึงบุคคลที่แสวงหาประโยชน์ กระทำทารุณ หรือกินเลือดเนื้อเหยื่อของตน โอเกอร์ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในวัฒนธรรมร่วมสมัย ด้วยการเป็นตัวละครในวรรณกรรมเรื่อง Histoires ou contes du temps passé ในปี..

ใหม่!!: ยักษ์และโอเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรล

John Bauer โทรล (troll) เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติในเทพปกรณัมนอร์สและคติชาวบ้านสแกนดิเนเวีย แต่เดิม โทรลอาจเป็นไวพจน์ลบของโยตุน ในแหล่งข้อมูลนอร์สเก่า สิ่งที่อธิบายว่าโทรลอาศัยอยู่ตามหิน ภูเขาหรือถ้ำสันโดษ โดยอยู่กันเป็นหน่วยครอบครัวเล็ก ๆ และแทบไม่ช่วยมนุษย์ ต่อมา ในคติชาวบ้านสแกนดิเนเวีย โทรลเป็นสิ่งแยกต่างหาก ซึ่งอาศัยอยู่ไกลจากที่มนุษย์อาศัย และไม่เข้ารีตศาสนาคริสต์ และถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลักษณะของโทรลแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับภูมิภาคซึ่งนิยายนั้นกำเนิด อาจอัปลักษณ์และโง่หรือดูและประพฤติเหมือนมนุษย์ทุกประการ โดยไม่มีลักษณะวิลักษณ์เฉพาะเกี่ยวกับพวกมัน.

ใหม่!!: ยักษ์และโทรล · ดูเพิ่มเติม »

ไซคลอปส์

ไซคลอปส์ ไซคลอปส์ (กรีก: Κύκλωψ; ละติน: Cyclops หรือ Kyklops) หรือ อสูรตาเดียว เป็นสัตว์ประหลาดในตำนานกรีก ชื่อไซคลอปส์ถูกใช้ระบุถึงยักษ์ตาเดียวสองชนิด โดยชนิดแรกเป็นลูกของเจ้านภา อูรานอสและพระแม่ธรณี ไกอา ซึ่งไซครอปส์จำพวกนี้มีเด่นๆ 3 ตน คือ อาจีรอส บรอนทีส และสเตอร์โรพีท มักจะถือค้อนอันใหญ่ มีพลังแห่งสายฟ้า และมีฝีมือในด้านช่างเหล็ก ไซคลอปส์กลุ่มนี้ถูกยูเรนัสกักขังไว้ในทาทารัส จนกระทั่งซุสปลดปล่อยออกมาหลังจากที่โค่นโครนัสผู้เป็นบิดา ซึ่งไซคลอปส์ได้ตอบแทนโดยตีอาวุธต่างๆให้เหล่าเทพ ได้แก่ สายฟ้าให้แก่ ซุส สามง่าม ให้แก่ โพไซดอน หมวกล่องหน ให้แก่ ฮาเดส และเหล่าไซคลอปส์ได้เป็นลูกมือของเทพแห่งช่างเหล็กเฮฟเฟสตุสในเวลาต่อมา จนกระทั่งถูกอพอลโลสังหารเพื่อล้างแค้นให้แอสคิวลาปิอัสที่ถูกซุสใช้สายฟ้าฟาด ไซคลอปส์กลุ่มที่สองเป็นลูกหลานของโพไซดอนและพรายน้ำโทซา ไซคลอปส์กลุ่มนี้กินมนุษย์เป็นอาหาร โดยมีบทบาทในเรื่องโอดิสซีย์ ไซคลอปส์มีความนิยมมากเหมือนกัน เช่นไซคลอปส์ในการ์ตูน ไซคลอปส์ในเกม หรือในนวนิยาย หมวดหมู่:สัตว์ประหลาด.

ใหม่!!: ยักษ์และไซคลอปส์ · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ยักษ์และเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ใหม่!!: ยักษ์และเทพปกรณัมนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

เขานางพันธุรัต

นางพันธุรัต ตั้งอยู่ที่บ้านเขาไม้นวล ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.

ใหม่!!: ยักษ์และเขานางพันธุรัต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยักษี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »