โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดีวีนากอมเมเดีย

ดัชนี ดีวีนากอมเมเดีย

ีวีนากอมเมเดีย (Divina Commedia; Divine Comedy) หรือไตรภูมิดันเต เป็นวรรณกรรมอุปมานิทัศน์ที่ดันเต อาลีกีเอรี เขียนขึ้นระหว่างปี..

9 ความสัมพันธ์: ภาษาอิตาลีวันศุกร์ประเสริฐอุปมานิทัศน์อีสเตอร์ดันเต อาลีกีเอรีแดนชำระโรมันคาทอลิกโจวันนี บอกกัชโชเวอร์จิล

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

วันศุกร์ประเสริฐ

วันศุกร์ประเสริฐราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2 (Good Friday) หรือวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Friday) เป็นวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตรีวารปัสคา (ก่อนวันอีสเตอร์) ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อระลึกถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขน พระวรสารในสารบบระบุว่าพระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนในวันเตรียมวันสะบาโตซึ่งตรงกับวันศุกร์ และกลับคืนพระชนม์ในเช้าวันอาทิตย์หลังจากนั้น.

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและวันศุกร์ประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและอุปมานิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเตอร์

นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ (Easter; Ēostre หรือ date; Pascha ปัสคา; Πάσχα, Paskha; פַּסחא Pasḥa; มาจาก פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์ นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก.

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและอีสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดันเต อาลีกีเอรี

ูรันเต เดกลี อาลีกีเอรี หรือดันเต อาลีกีเอรี หรือเรียกสั้น ๆ ว่าดันเต (Durante degli Alighieri; Dante Alighieri) (ราวกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1265 - 14 กันยายน ค.ศ. 1321) ดันเต อาลีกีเอรีเป็นรัฐบุรุษ กวี และนักภาษาศาสตร์คนสำคัญของฟลอเรนซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในยุคกลาง งานชิ้นที่สำคัญที่สุดคือ “ดีวีนากอมเมเดีย” (Divina Commedia) ที่เดิมชื่อ “Commedia” แต่ต่อมาเรียก “Divina” โดยโจวันนี บอกกัชโช และในที่สุดก็กลายเป็น “Divina Commedia” ซึ่งถือว่าเป็นกวีนิพนธ์ชิ้นเอกของภาษาอิตาลีและของโลก ดันเตได้รับการขนานนามในอิตาลีว่า “il Sommo Poeta” หรือ “มหากวี” และได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งภาษาอิตาลี” ดานเต เปตราก และโจวันนี บอกกัชโช รู้จักรวมกันว่า “สามมงกุฏ” (the three fountains หรือ the three crowns) บอกกัชโชเป็นคนแรกที่เขียนชีวประวัติของดันเตใน “ศาสตรนิพนธ์ในการสรรเสริญดันเต” (Trattatello in laude di Dante).

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและดันเต อาลีกีเอรี · ดูเพิ่มเติม »

แดนชำระ

แดนชำระ (Purgatory) หรือไฟชำระ คือ สภาวะหรือขั้นตอนที่วิญญาณได้รับการชำระให้บริสุทธิ์หรือการลงโทษชั่วคราว เป็นที่เชื่อกันว่าดวงวิญญาณที่ตายขณะได้รับการปลดปล่อยจะได้ไปสวรรค์ นี่เป็นความคิดเชิงทฤษฎีที่มีพื้นฐานและได้รับการยอมรับในศาสนาคริสต์ยุคแรก ในขณะที่ในแนวคิดเชิงวรรณกรรม แดนชำระคือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ในความเชื่อและจินตนาการของคริสตชนสมัยกลาง แนวคิดเกี่ยวกับแดนชำระเชื่อมโยงกับคริสตจักรละตินในนิกายโรมันคาทอลิก (เป็นปรัชญาหลักในคริสตจักรที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือในทางพิธีกรรม ถึงแม้บ่อยครั้งจะไม่ได้ใช้ชื่อว่า "แดนชำระ" ก็ตาม) ชาวแองกลิคันแห่งแองโกลคาทอลิกมักถือตามนี้ จอห์น เวสลีย์ ผู้ก่อตั้งคณะเมทอดิสต์ เชื่อในสถานะกลางระหว่างความตายกับการพิพากษาครั้งสุดท้ายและเชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะมี "การเติบโตอย่างต่อเนื่องของพระคุณ" ณ ที่แห่งนั้น คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เชื่อในความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนสภาวะของดวงวิญญาณผู้ที่ตายไปแล้วผ่านทางผู้อธิษฐานและการสวดอ้อนวอนอันศักดิ์สิทธิ์ และชาวออร์โธด็อกซ์จำนวนมากโดยเฉพาะผู้บำเพ็ญตน หวังและภาวนาเพื่อฟื้นคืนความสัมพันธ์กับพระเจ้า อีกความเชื่อที่คล้ายกันคือเชื่อในโอกาสรอดครั้งสุดท้ายโดยชาวมอร์มอน ชาวยิวยังเชื่ออีกว่าเป็นไปได้ที่จะมีการชำระล้างหลังความตาย และยังใช้คำว่า "แดนชำระ" เพื่อสร้างความเข้าใจความหมายของคำว่า เกเฮนนา (ปลายทางของคนชั่วช้า-ในความหมายของชาวยิวและคริสเตียน) อย่างไรก็ตามความเชื่อเกี่ยวกับ "การชำระดวงวิญญาณ" อาจถูกปฏิเสธอย่างชัดเจนจากในประเพณีความเชื่ออื่น ๆ คำว่า purgatory ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาแอลโกล-นอร์แมน และภาษาฝรั่งเศสเก่า จากคำละตินว่า "purgatorium" ถูกใช้กันเป็นวงกว้างเพื่ออ้างถึงแนวคิดทางประวัติศาสตร์และแนวคิดสมัยใหม่ของ การทนทุกข์ทรมานสั้นๆ หลังความตายจากการสาปแช่งอันเป็นนิรันดร์ และถูกใช้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อหมายถึงสถานที่หรือสภาวะของความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวดที่ไม่ยืนยาว.

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและแดนชำระ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี บอกกัชโช

วันนี บอกกัชโช (Giovanni Boccaccio) (ค.ศ. 1313 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 1375) เป็นนักเขียน กวี และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลี ผู้เป็นนักประพันธ์งานสำคัญหลายชิ้นที่รวมทั้ง “ตำนานสิบราตรี” (Decameron) และ “On Famous Women” รายละเอียดเกี่ยวกับการกำเนิดของบอกกัชโชไม่เป็นที่ทราบกันเท่าใดนัก บางหลักฐานก็ว่าเกิดที่ปารีส จากแม่ที่เป็นชาวปารีสBartlett, Kenneth R. (1992).

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและโจวันนี บอกกัชโช · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์จิล

เวอร์จิล ปูบลิอุส แวร์กิลิอุส มาโร (Pvblivs Vergilivs Maro) หรือ เวอร์จิล (Virgil, Vergil; 15 ตุลาคม 70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 21 กันยายน 19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกวีชาวโรมโบราณ บทกวีที่เขาแต่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าและนิยายปรัมปรา งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ เอ็กคล็อกส์ (Eclogues), จอร์จิกส์ (Georgics) และมหากาพย์ อีนีอิด (Aeneid) หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน.

ใหม่!!: ดีวีนากอมเมเดียและเวอร์จิล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Divina CommediaDivine ComedyLa Divina CommediaThe Divine Comedyไตรภูมิดานเต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »