โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การตายเฉพาะส่วน

ดัชนี การตายเฉพาะส่วน

การตายของเนื้อเยื่อหลังจากเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง การตายเฉพาะส่วน (มาจากภาษา Nekros ตาย) เป็นการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตามมาอย่างมาก ได้แก่การบวมของเซลล์, การย่อยสลายโครมาติน, และการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ในระยะต่อมาจะเกิดการย่อยสลายดีเอ็นเอ, การเกิดช่องว่าง (vacuolation) ของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum), การสลายของออร์แกเนลล์, และเกิดการสลายเซลล์ หลังจากเยื่อหุ้มเซลล์แตกสลายจะมีการปล่อยองค์ประกอบภายในเซลล์ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ กระบวนการดังกล่าวแยกออกจากการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย (Postmortem change) และจากการคงสภาพเนื้อเยื่อโดยฟอร์มาลินมานะ ทวีวิศิษฎ์ (บรรณาธิการ), พยาธิวิทยาพื้นฐาน.

39 ความสัมพันธ์: บาดแผลฟอร์มาลดีไฮด์กล้องจุลทรรศน์การบาดเจ็บการอักเสบการขาดเลือดเฉพาะที่การตัดเนื้อออกตรวจการติดเชื้อการเปลี่ยนแปลงหลังการตายมะเร็งระบบภูมิคุ้มกันร่างแหเอนโดพลาซึมวัณโรคสมองหลอดเลือดหลอดเลือดแดงหนองออร์แกเนลล์อะพอพโทซิสดีเอ็นเอความตายงูพิษซิฟิลิสปอดบวมแมงมุมโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโครมาตินโปรตีนไลโซโซมเยื่อหุ้มเซลล์เลือดออกเอนไซม์เต้านมเซลล์ (ชีววิทยา)เซลล์กลืนกินเนื้อตายเหตุขาดเลือดเนื้อตายเน่าเนื้อเยื่อCoagulative necrosis

บาดแผล

แผล เป็นคำเรียกลักษณะของการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย (Disruption of the anatomical continuity of tissur) ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากของแข็ง (Mechanical Forces) หรืออาจเกิดจากของมีคม บาดแผลจึงกลายเป็นสิ่งที่ตามมาของการเกิดอาการบาดเจ็บ (Trauma) การเกิดบาดแผลภายในร่างกาย ถ้าบาดแผลได้รับจากการทำร้ายร่างกายหรือเกิดจากการกระทำของผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ถึงกับเสียชีวิต บาดแผลจะกลายเป็นหลักฐานในการชี้ชัดถึงสาเหตุการตาย และเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวผู้กระทำความผิดในคดีฆาตกรรม ในทางอาชญากรรม บาดแผลอาจเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนาของผู้กระทำความผิด ถ้าบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกายสาหัสและโหดเหี้ยมเพียงใด ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาในการกระทำภายในจิตใจของผู้กระทำความผิด เพราะฉะนั้นในการวินิจฉัยบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกาย ก็จะเป็นการวินิฉัยจิตใจของผู้กระทำความผิดด้วย ว่ามีเจตนา มุ่งร้ายหรือป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายอย่างไร.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและบาดแผล · ดูเพิ่มเติม »

ฟอร์มาลดีไฮด์

ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีสูตรเคมี CH2O หรือ HCHO มันเป็นอัลดีไฮด์รูปง่ายที่สุด และรู้จักในชื่อเป็นระบบว่า เมทานาล ชื่อสามัญของสารนี้ เช่น ฟอร์มาลิน ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ไร้สี และมีกลิ่นฉุนระคายเคืองเป็นลักษณะเฉพาะตัว มันเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญของสารและสารประกอบเคมีหลายชนิด ในปี 2539 ขีดความสามารถที่ติดตั้งของการผลิตฟอร์มาลดีไฮด์ประเมินไว้ที่ 8.7 ล้านตันต่อปีGünther Reuss, Walter Disteldorf, Armin Otto Gamer, Albrecht Hilt “Formaldehyde” in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, 2002, Wiley-VCH, Weinheim.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและฟอร์มาลดีไฮด์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ใช้เลนส์ประกอบ สร้างโดยจอห์น คัฟฟ์ (John Cuff) ค.ศ. 1750 กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่าเช่น วัตถุที่อยู่ไกล วัตถุที่อยู่สูง เป็นต้น ศาสตร์ที่มุ่งสำรวจวัตถุขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ เรียกว่า จุลทรรศนศาสตร์ (microscopy).

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและกล้องจุลทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บ (Injury) เป็นความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนา (เช่นการฆ่าตัวตาย ฆาตกรรม) หรือไม่ได้เจตนา (เช่นอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บจากกีฬา).

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและการบาดเจ็บ · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การขาดเลือดเฉพาะที่

ในทางการแพทย์ การขาดเลือดเฉพาะที.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและการขาดเลือดเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

การตัดเนื้อออกตรวจ

การตัดเนื้อสมองออกตรวจ การตัดเนื้อออกตรว.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและการตัดเนื้อออกตรวจ · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย

การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย (Postmortem Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาหลายอย่างภายในร่างกายของมนุษย์เมื่อเสียชีวิต ซึ่งแพทย์จะต้องนำสิ่งที่ตรวจพบในศพมาประเมินเพื่อหาสาเหตุและระยะเวลาของการตาย เพื่อประสานงานให้แก่พนักงานสอบสวนเพื่อใช้ในการติดตามค้นหาพยานหลักฐานในการจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษ การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย จะเกิดขึ้นเมื่อมีการตาย ซึ่งการตายนั้นอาจเกิดจากการฆ่าตัวตายหรือถูกบุคคลอื่นกระทำจนถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 ระบุไว้ว่า "สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก สิ้นสุดลงเมื่อตาย" และตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2499 ระบุไว้ว่า "คนตาย หมายความว่าคนสิ้นชีวิตเท่านั้น ลูกตายในท้อง หมายถึงลูกที่อยู่ในครรภ์มารดาเป็นเวลาเกินกว่า 28 สัปดาห์และคลอดออกมาโดยไม่มีชีวิต" ส่วนการตายตามหลักวิชาการแพทย์หมายถึง การหยุดทำงานของสมอง ระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

ร่างแหเอนโดพลาซึม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและร่างแหเอนโดพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดง

หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่มีชั้นกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงทุกเส้นขนส่งเลือดที่มีออกซิเจน ยกเว้นหลอดเลือดแดงสู่ปอด (pulmonary artery) และหลอดเลือดแดงอัมบิลิคัล (umbilical artery) ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต หน้าที่โดยทั่วไปของระบบนี้คือการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ รวมทั้งขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียออกจากเนื้อเยื่อ รักษา pH ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต รวมถึงการขนส่งสาร โปรตีนอาทิฮีโมโกลบิน และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุของการเสียชีวิต 2 อันดับแรกคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นผลมาจากความผิดปกติของการไหลของเลือดซึ่งเสื่อมสภาพไปตามอายุ (ดูเพิ่มที่ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง) หมวดหมู่:ระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและหลอดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

หนอง

หนอง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและหนอง · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกเนลล์

นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในชีววิทยาของเซลล์ ออร์แกเนลล์เป็นโครงสร้างย่อยๆ ภายในเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ และอยู่ภายในโครงสร้างปิดที่เป็นเยื่อลิพิดแบ่งออกเป็น1ชั้นและ2ชั้น คำว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มาจากแนวความคิดที่ว่า โครงสร้างเล็กๆ ในเซลล์นี้เปรียบเหมือนกับ อวัยวะ (organ) ของร่างกาย (โดยการเติมคำปัจจัย -elle: เป็นส่วนเล็กๆ) ออร์แกเนลล์มองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และแยกให้บริสุทธิ์ได้โดยวิธีการกระบวนการปั่นแยกเซลล์ (cell fractionation) ออร์แกเนลล์มีหลายชนิดโดยเฉพาะในเซลล์ยูแคริโอตของสัตว์ชั้นสูง เซลล์โปรแคริโอตในครั้งหนึ่งเคยคิดว่าไม่มีออร์แกเนลล์ แต่ว่ามีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการเกิดขึ้นกับวัวและควายด้ว.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและออร์แกเนลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อะพอพโทซิส

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

งูพิษ

วาดงูสมิงทะเลปากเหลือง (''Laticauda colubrina'') ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นเพียงชนิดเดียวที่เป็นงูทะเล งูพิษ คืองูที่มีพิษใช้สำหรับป้องกันตัวจากการถูกคุกคามหรือใช้ล่าเหยื่อ ซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรงแตกต่างออกไปตามชนิด, วงศ์ และสกุล ซึ่งร้ายแรงที่สุดสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่กว่าให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที พิษของงูจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำพิษ ในบริเวณฟันเขี้ยว ซึ่งใช้ผลิตน้ำพิษ ซึ่งลักษณะของต่อมน้ำพิษและโครงสร้างจะเกี่ยวข้องในการอนุกรมวิธานจำแนกชนิดของงู น้ำพิษของงูนั้นเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของโปรตีนและสารเคมีประเภทอื่น น้ำพิษในแต่ละชนิดเป็นสารประกอบต่างกันและมีน้ำหนักโมเลกุลต่างกันมาก และเป็นกรณีที่ไม่สามารถอธิบายวิวัฒนาการของน้ำพิษได้ชัดเจน รวมทั้งยากต่อการวินิจฉัยประเภทน้ำพิษและการรักษาเมื่อถูกกัด น้ำพิษของงูนั้นแตกต่างกันตั้งแต่เป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กของเพปไทด์ที่มีกรดอะมิโนไม่กี่ชนิดไปจนถึงสารประกอบประเภทเอนไซม์ที่เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน หรือเป็นสารประเภทโปรตีนที่ไม่ใช่เอนไซม์และมีน้ำหนักโมเลกุลมาก น้ำพิษของูจำแนกตามลักษณะโครงสร้างของเคมีและผลทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น เช่น Hemolysin และ Hemorrhagin ทำลายเนื้อเยื่อบุผนังของหลอดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดแดง Myotoxin ทำลายกล้ามเนื้อกระดูก Neurotoxin มีผลต่อจุดประสานของเซลล์ประสาทหรือตรงรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับแขนงประสาท เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วน้ำพิษของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีผลต่อประบบประสาทและน้ำพิษของงูในวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) มีผลต่อระบบไหลเวียนและเซลล์เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามน้ำพิษของงูทั้ง 2 วงศ์นี้อาจส่งผลต่อทั้ง 2 ระบบก็ได้ โดยทั่วไปแล้วความรุนแรงของพิษงูจะพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของพิษ ซึ่งดูจากค่า Lethal Dose 50 (LD50) ที่ได้จากการทดลอง ฉีดพิษงูในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เข้าไปในเส้นเลือดดำของหนูทดลอง จนถึงระดับที่ทำให้หนูทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง โดยค่า LD50 น้อย หมายถึง "พิษรุนแรง" ส่วนอีกปัจจัยคือ ปริมาณของพิษที่งูปล่อยออกมา นอกจากปริมาณพิษจะแตกต่างกันในงูแต่ละชนิดแล้ว ในการกัด งูก็ไม่ได้ปล่อยพิษออกมา เท่ากันทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างพิษใหม่ต้องใช้เวลา การปล่อยพิษพร่ำเพรื่อจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการล่าเหยื่อ หรือเสียท่าพลาดพลั้งให้ศัตรูได้ ในบางครั้งเมื่องูพิษกัดก็อาจจะไม่ได้มีการปล่อยพิษเลยก็ได้ และถึงแม้ว่างูจะถูกตัดคอเหลือแต่ส่วนหัวของงูยังมีชีวิตอยู่อีกเป็นชั่วโมงและสามารถกัดและพ่นพิษได้เช่นกัน สกุล ''Crotalus'' แสดงให้เห็นถึงฟันเขี้ยวขนาดใหญ.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและงูพิษ · ดูเพิ่มเติม »

ซิฟิลิส

ซิฟิลิส (syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายอย่างขึ้นกับระยะที่เป็น (ระยะแรก ระยะที่สอง ระยะแฝง และระยะที่สาม) ระยะแรกผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง ซึ่งจะไม่เจ็บ แต่อาจมีแผลเจ็บขึ้นต่างหากได้ ระยะที่สองมักมีผื่นขึ้นทั่วตัว มักพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า "ระยะออกดอก"สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 10 / เรื่องที่ 2 โรคติดต่อและโรคเขตร้อน / โรคติดต่อทางเพศสัมพัน.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและซิฟิลิส · ดูเพิ่มเติม »

ปอดบวม

รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและปอดบวม · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุม

แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและแมงมุม · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โครมาติน

'''Fig. 1:''' The major structures in DNA compaction; DNA, the nucleosome, the 10nm "beads-on-a-string" fibre, the 30nm fibre and the metaphase chromosome. โครมาติน เป็นโครงสร้างย่อยของนิวเคลียส โครโมโซม 1 แท่งประกอบด้วยโครมาตินหรือโครมาทิด (Chromatid) ที่เหมือนกันซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองขึ้นมาโดยโครมาตินหรือโครมาทิดทั้งสองจะติดกันตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)”เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ (DNA) พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียส เมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและโครมาติน · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไลโซโซม

ลโซโซม ทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีลักษณะเป็นถุง มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบในเซลล์สัตว์และพืชบางชนิด และเม็ดเลือดขาว เซลล์พืชบางชนิด เช่น กาบหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น N (ไนโตรเจน) จึงใช้ไลโซโซมในการย่อยแมลง.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและไลโซโซม · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เลือดออก

เลือดออกหรือการตกเลือด (bleeding, hemorrhage, haemorrhage) คือภาวะที่มีการเสียเลือดจากระบบไหลเวียน อาจเป็นการตกเลือดภายในหรือภายนอก ออกจากช่องเปิดตามธรรมชาติเช่นช่องคลอด ปาก จมูก หู ทวารหนัก หรือออกจากแผลเปิดที่ผิวหนังก็ได้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเลือดออก · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เต้านม

ต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้ เต้านมหรือหน้าอก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถแก้ไขตกแต่งลักษณะภายนอกของเต้านมให้มีลักษณะตามต้องการได้ เช่น การศัลยกรรมหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นหรือทำให้เล็กลง การเปลี่ยนรูปทรงให้สวยงามขึ้น การลดการหย่อนคล้อยลง ทั้งนี้การจะทำการศัลยกรรมหน้าอกนั้น จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์กลืนกิน

เซลล์กลืนกิน (phagocyte) เป็นเซลล์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายด้วยการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตราย รวมถึงแบคทีเรีย และเซลล์ในร่างกายที่ตายหรือหมดหน้าที่แล้ว หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเซลล์กลืนกิน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเหตุขาดเลือด

นื้อตายเหตุขาดเลือ.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเนื้อตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเน่า

เนื้อตายเน่า (Gangrene) คือภาวะซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายตายไปเป็นปริมาณมาก จนเป็นภาวะซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ หรือพบในผู้ป่วยเรื้อรังจากโรคที่ส่งต่อการไหลเวียนเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ ทำให้เซลล์ตาย โรคเบาหวานและการสูบบุหรี่เป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้อตายเน่าได้ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเนื้อตายเน่า · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

Coagulative necrosis

Coagulative Necrosis เป็นการตายของเซลล์ที่มักเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemia) หรือเนื้อตายเหตุขาดเลือด (infarction) ลักษณะของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงคือบริเวณเนื้อตายยังคงโครงสร้างเดิมไว้แต่นิวเคลียสหายหรือเสียรูปไป หากเนื้อเยื่อโดยรอบยังคงมีเซลล์ชนิดที่เรียกว่า labile cell อยู่ก็จะสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ตายได้.

ใหม่!!: การตายเฉพาะส่วนและCoagulative necrosis · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Necrosisการตายของเนื้อเยื่อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »