โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การอักเสบ

ดัชนี การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

18 ความสัมพันธ์: บาดแผลพลาสมาการสมานแผลการตายเฉพาะส่วนการติดเชื้อการแผ่รังสีภาวะภูมิไวเกินระบบภูมิคุ้มกันระบบไหลเวียนหลอดเลือดหนองอินเตอร์เฟียรอนจุลชีพก่อโรคแบคทีเรียแผลไหม้โรคหลอดเลือดแดงแข็งเม็ดเลือดขาวเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

บาดแผล

แผล เป็นคำเรียกลักษณะของการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย (Disruption of the anatomical continuity of tissur) ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากของแข็ง (Mechanical Forces) หรืออาจเกิดจากของมีคม บาดแผลจึงกลายเป็นสิ่งที่ตามมาของการเกิดอาการบาดเจ็บ (Trauma) การเกิดบาดแผลภายในร่างกาย ถ้าบาดแผลได้รับจากการทำร้ายร่างกายหรือเกิดจากการกระทำของผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ถึงกับเสียชีวิต บาดแผลจะกลายเป็นหลักฐานในการชี้ชัดถึงสาเหตุการตาย และเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวผู้กระทำความผิดในคดีฆาตกรรม ในทางอาชญากรรม บาดแผลอาจเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนาของผู้กระทำความผิด ถ้าบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกายสาหัสและโหดเหี้ยมเพียงใด ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาในการกระทำภายในจิตใจของผู้กระทำความผิด เพราะฉะนั้นในการวินิจฉัยบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกาย ก็จะเป็นการวินิฉัยจิตใจของผู้กระทำความผิดด้วย ว่ามีเจตนา มุ่งร้ายหรือป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายอย่างไร.

ใหม่!!: การอักเสบและบาดแผล · ดูเพิ่มเติม »

พลาสมา

ลาสมา คือ อะตอมของแก๊สมีตระกูล หรือ Noble Gases เช่น ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปตอน ซีนอน และเรดอน.

ใหม่!!: การอักเสบและพลาสมา · ดูเพิ่มเติม »

การสมานแผล

pages.

ใหม่!!: การอักเสบและการสมานแผล · ดูเพิ่มเติม »

การตายเฉพาะส่วน

การตายของเนื้อเยื่อหลังจากเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง การตายเฉพาะส่วน (มาจากภาษา Nekros ตาย) เป็นการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตามมาอย่างมาก ได้แก่การบวมของเซลล์, การย่อยสลายโครมาติน, และการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ในระยะต่อมาจะเกิดการย่อยสลายดีเอ็นเอ, การเกิดช่องว่าง (vacuolation) ของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum), การสลายของออร์แกเนลล์, และเกิดการสลายเซลล์ หลังจากเยื่อหุ้มเซลล์แตกสลายจะมีการปล่อยองค์ประกอบภายในเซลล์ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ กระบวนการดังกล่าวแยกออกจากการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย (Postmortem change) และจากการคงสภาพเนื้อเยื่อโดยฟอร์มาลินมานะ ทวีวิศิษฎ์ (บรรณาธิการ), พยาธิวิทยาพื้นฐาน.

ใหม่!!: การอักเสบและการตายเฉพาะส่วน · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: การอักเสบและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่รังสี

ในทางฟิสิกส์ การแผ่รังสี (อังกฤษ: radiation) หมายถึงกระบวนการที่อนุภาคพลังงานหรือคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหรืออวกาศ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ รังสีที่แตกตัวได้และรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุ อย่างไรก็ตาม คำว่า "รังสี" มักหมายถึงกัมมันตภาพรังสีเพียงอย่างเดียว (คือ รังสีที่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้อะตอมเปลี่ยนเป็นไอออน) แต่ความเป็นจริงแล้วก็สามารถหมายถึงรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุด้วยเช่นกัน (เช่น คลื่นวิทยุหรือแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รูปแบบเรขาคณิตของการแผ่รังสีออกจากตัวกลาร่รร่คียยเมวังนำไปสู่ระบบของหน่วยวัดและหน่วยทางฟิสิกส์ที่สามารถใช้ได้กับรังสีทุกประเภท รังสีทั้งสองประเภทล้วนสามารถเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ) การแผ่รังสี สามารถนำไปใช้งานในงานทางด้านความร้อนต่าง ๆ เช่น แผ่นรองหัวเตาแก๊สอินฟาเรด การถ่ายเทความร้อนในอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อน การแผ่รังสี หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: การอักเสบและการแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะภูมิไวเกิน

วะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) หมายถึงอาการอันไม่พึงปรารถนาซึ่งก่อให้เกิดขึ้นโดยระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิแพ้ หรือ ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง โดยอาการเหล่านี้อาจสร้างความไม่สบายตัว, การป่วยไข้ หรือในบางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ อาการเหล่านี้มักจะต้องถูกกระตุ้นไปยังระบบภูมิคุ้มกันก่อนเสมอ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามการจัดเรียงของ พี.เอ.จี.

ใหม่!!: การอักเสบและภาวะภูมิไวเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ใหม่!!: การอักเสบและระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ใหม่!!: การอักเสบและระบบไหลเวียน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: การอักเสบและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หนอง

หนอง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การอักเสบและหนอง · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์เฟียรอน

โครงสร้างโมเลกุลของอินเตอร์เฟียรอนชนิดอัลฟาในมนุษย์ อินเตอร์เฟียรอน (Interferon, IFNs) เป็นสารประเภทโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเมื่อพบการเจริญของไวรัส และ INFs ที่ถูกขับออกจากเซลล์หนึ่งจะสามารถไปชักนำให้เซลล์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงให้มีการสร้างสารโปรตีนกลุ่มหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในเซลล์นั้นๆได้ จาก การสร้างสาร INFs จากเซลล์สปีชีส์ใดจะมีผลในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในสปีชีส์นั้นเท่านั้น (Host-cell specific) หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส.

ใหม่!!: การอักเสบและอินเตอร์เฟียรอน · ดูเพิ่มเติม »

จุลชีพก่อโรค

เชื้อก่อโรค (pathogen) โดยทั่วไปหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พรีออน เชื้อรา หรือจุลชีพอื่นๆ แต่เดิมคำว่า pathogen หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดโรค อาจเป็นเชื้อหรือไม่ใช่เชื้อก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ในความหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า หมวดหมู่:โรคติดเชื้อ.

ใหม่!!: การอักเสบและจุลชีพก่อโรค · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: การอักเสบและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แผลไหม้

แผลไหม้ (burn) เป็นการบาดเจ็บต่อผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออื่นอย่างหนึ่ง มีสาเหตุจากความร้อน ไฟฟ้า สารเคมี แรงเสียดทาน หรือการแผ่รังสี แผลไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนจากของเหลว ของแข็งร้อน หรือไฟ แผลไหม้ที่กระทบเพียงผิวหนังชั้นบนสุดเรียก แผลไหม้ระดับหนึ่ง แผลดูแดงไม่มีตุ่มพอง และตรงแบบปวดกินเวลาประมาณสามวัน เมื่อการบาดเจ็บลึกถึงผิวหนังข้างใต้ เรียก แผลไหม้ระดับสอง มักมีตุ่มพองและมักเจ็บมาก การหายใช้เวลานานถึงแปดสัปดาห์และอาจมีแผลเป็น ในแผลไหม้ระดับสาม การบาดเจ็บลามไปถึงผิวหนังทุกชั้น มักไม่เจ็บและบริเวณแผลไหม้จะแข็ง แผลมักไม่หายเอง และแผลไหม้ระดับสี่จะเป็นบาดแผลถึงที่เนื้อเยื่อลึกลงไป เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือกระดูก แผลไหม้มักมีสีดำและมักนำสู่การเสียส่วนที่ถูกไหม้นั้น การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของแผลไหม้ แผลไหม้พื้นผิวอาจรักษาด้วยยาระงับปวดอย่างง่าย ขณะที่แผลขนาดใหญ่อาจต้องการการรักษาที่ศูนย์รักษาแผลไหม้ ซึ่งใช้เวลานาน การใช้น้ำเย็นจากก๊อกอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดความรุนแรงของแผลได้ แต่แผลไหม้ที่เป็นวงกว้างอาจทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน แผลไหม้ระดับสองอาจต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ และการทำแผล วิธีการรักษาแผลพุพองยังไม่แน่ชัด แต่การปล่อยแผลให้เป็นอย่างเดิมนั้นอาจสมเหตุสมผล แผลไหม้ระดับสามมักต้องการการผ่าตัด เช่นการตัดแต่งผิวหนัง แผลไหม้ขนาดใหญ่ต้องรักษาด้วยการฉีดของเหลวเข้าเส้นเลือด เพราะการตอบสนองต่อการอักเสบอาจทำให้ของเหลวในหลอดเลือดฝอยไหลออกมา และเกิดการบวมน้ำได้ แผลไหม้ในกรณีร้ายแรงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ขณะที่แผลไหม้ขนาดใหญ่อาจอันตรายถึงชีวิต แต่การรักษาในสมัยใหม่นับตั้งแต..

ใหม่!!: การอักเสบและแผลไหม้ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

รคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับหลอดเลือดแดง เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบเรื้อรังที่ผนังหลอดเลือดแดง ส่วนใหญ่เป็นจากการสะสมของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจและถูกกระตุ้นโดยไขมันแอลดีแอลโดยไม่มีการกำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกที่ดีพอจากการทำงานของแมคโครฟาจโดยไขมันเอชดีแอล.

ใหม่!!: การอักเสบและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: การอักเสบและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

ื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อจมูก ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาไวเกินกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ผู้ป่วยอาจมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก จาม ตาแดง คันตา น้ำตาไหล และตาบวม น้ำมูกของผู้ป่วยมักเป็นน้ำมูกใส อาการมักเริ่มกำเริบภายในไม่กี่นาทีหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการนอน การทำงาน และการเรียนได้ ผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรมักมีอาการในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายจะมีโรคอื่นๆ ในกลุ่มภูมิแพ้ร่วมด้วย ได้แก่ โรคหืด เยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ และผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักถูกกระตุ้นให้มีอาการเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์เลี้ยง ฝุ่น หรือเชื้อรา การเกิดภูมิแพ้เหล่านี้เป็นผลจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกันทำให้เกิดโรค ปัจจัยบางอย่างช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น การใช้ชีวิตวัยเด็กในฟาร์ม การมีพี่น้องหลายคน เป็นต้น กลไกของการเกิดโรคที่สำคัญอยู่ที่สารภูมิคุ้มกันชนิดไอจีอี ซึ่งสามารถจับกับสารก่อภูมิแพ้และกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสารการอักเสบหลายๆ อย่างออกมาภายในร่างกาย เช่นมีการปล่อยฮิสตามีนออกมาจากเม็ดเลือดขาวชนิดแมสท์เซลล์ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติผู้ป่วย ร่วมกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือตรวจเลือดหาไอจีอีที่จำเพาะต่อการก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ การทดสอบเหล่านี้บางครั้งอาจให้ผลบวกลวง (ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าเป็นโรค แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นโรค) ได้ อาการของเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะคล้ายคลึงกับโรคหวัด แต่ต่างกันตรงนี้ภูมิแพ้จะเป็นนานกว่าคือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ และมักจะไม่มีไข้ การได้มีโอกาสสัมผัสสัตว์ในวัยเด็กอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยโรคนี้ในตอนโตได้ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้มีหลายอย่าง เช่น สเตอรอยด์ ยาต้านฮิสตามีน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน โครโมลินโซเดียม และยาต้านลิวโคไทรอีน เช่น มอนทีลูคาสท์ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาแล้วลดอาการได้ไม่ดีนัก หรือใช้แล้วมีผลข้างเคียง การทำภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสารก่อภูมิแพ้เป็นวิธีหนึ่งที่อาจได้ผล ทำโดยค่อยๆ ให้สารก่อภูมิแพ้ในขนาดน้อยแก่ผู้ป่วย แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นไปตามแนวทางที่กำหนด อาจให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเป็นเม็ดอมใต้ลิ้นก็ได้ ผลการรักษามักคงอยู่ได้ 3-5 ปี และอาจมีประโยชน์อื่นคงอยู่นานกว่านั้น เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุด ในประเทศตะวันตกพบว่าปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยถึง 10-30% ในประชากร ส่วนในไทยพบ 23-30% พบบ่อยที่สุดในคนอายุ 20-40 ปี โรคนี้ถูกบรรยายไว้อย่างถูกต้องเป็นครั้งแรกเมื่อคริสตศตวรรษที่ 10 โดยแพทย์และปราชญ์ชาวเปอร์เซียชื่อมุฮัมหมัด อัล-รอสี ต่อม..

ใหม่!!: การอักเสบและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Inflammationอักเสบอาการอักเสบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »