โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

งูพิษ

ดัชนี งูพิษ

วาดงูสมิงทะเลปากเหลือง (''Laticauda colubrina'') ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นเพียงชนิดเดียวที่เป็นงูทะเล งูพิษ คืองูที่มีพิษใช้สำหรับป้องกันตัวจากการถูกคุกคามหรือใช้ล่าเหยื่อ ซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรงแตกต่างออกไปตามชนิด, วงศ์ และสกุล ซึ่งร้ายแรงที่สุดสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่กว่าให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที พิษของงูจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำพิษ ในบริเวณฟันเขี้ยว ซึ่งใช้ผลิตน้ำพิษ ซึ่งลักษณะของต่อมน้ำพิษและโครงสร้างจะเกี่ยวข้องในการอนุกรมวิธานจำแนกชนิดของงู น้ำพิษของงูนั้นเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของโปรตีนและสารเคมีประเภทอื่น น้ำพิษในแต่ละชนิดเป็นสารประกอบต่างกันและมีน้ำหนักโมเลกุลต่างกันมาก และเป็นกรณีที่ไม่สามารถอธิบายวิวัฒนาการของน้ำพิษได้ชัดเจน รวมทั้งยากต่อการวินิจฉัยประเภทน้ำพิษและการรักษาเมื่อถูกกัด น้ำพิษของงูนั้นแตกต่างกันตั้งแต่เป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กของเพปไทด์ที่มีกรดอะมิโนไม่กี่ชนิดไปจนถึงสารประกอบประเภทเอนไซม์ที่เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน หรือเป็นสารประเภทโปรตีนที่ไม่ใช่เอนไซม์และมีน้ำหนักโมเลกุลมาก น้ำพิษของูจำแนกตามลักษณะโครงสร้างของเคมีและผลทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น เช่น Hemolysin และ Hemorrhagin ทำลายเนื้อเยื่อบุผนังของหลอดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดแดง Myotoxin ทำลายกล้ามเนื้อกระดูก Neurotoxin มีผลต่อจุดประสานของเซลล์ประสาทหรือตรงรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับแขนงประสาท เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วน้ำพิษของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีผลต่อประบบประสาทและน้ำพิษของงูในวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) มีผลต่อระบบไหลเวียนและเซลล์เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามน้ำพิษของงูทั้ง 2 วงศ์นี้อาจส่งผลต่อทั้ง 2 ระบบก็ได้ โดยทั่วไปแล้วความรุนแรงของพิษงูจะพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของพิษ ซึ่งดูจากค่า Lethal Dose 50 (LD50) ที่ได้จากการทดลอง ฉีดพิษงูในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เข้าไปในเส้นเลือดดำของหนูทดลอง จนถึงระดับที่ทำให้หนูทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง โดยค่า LD50 น้อย หมายถึง "พิษรุนแรง" ส่วนอีกปัจจัยคือ ปริมาณของพิษที่งูปล่อยออกมา นอกจากปริมาณพิษจะแตกต่างกันในงูแต่ละชนิดแล้ว ในการกัด งูก็ไม่ได้ปล่อยพิษออกมา เท่ากันทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างพิษใหม่ต้องใช้เวลา การปล่อยพิษพร่ำเพรื่อจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการล่าเหยื่อ หรือเสียท่าพลาดพลั้งให้ศัตรูได้ ในบางครั้งเมื่องูพิษกัดก็อาจจะไม่ได้มีการปล่อยพิษเลยก็ได้ และถึงแม้ว่างูจะถูกตัดคอเหลือแต่ส่วนหัวของงูยังมีชีวิตอยู่อีกเป็นชั่วโมงและสามารถกัดและพ่นพิษได้เช่นกัน สกุล ''Crotalus'' แสดงให้เห็นถึงฟันเขี้ยวขนาดใหญ.

34 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยพิษกรดอะมิโนการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วิวัฒนาการวงศ์งูพิษเขี้ยวหลังวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้าวงศ์งูแมวเซาสกุล (ชีววิทยา)สารประกอบสารเคมีสิ่งมีชีวิตสปีชีส์อนุกรมวิธานทวีปแอฟริกาความตายงูงูสมิงทะเลปากเหลืองงูหางกระดิ่ง (สกุล)งูทะเลงูแมมบางูไทปันงูไทปันธรรมดางูไทปันโพ้นทะเลงูเห่างูเห่าพ่นพิษนาทีน้ำหนักแอลดี 50โพสต์ทูเดย์โมเลกุลโปรตีนเพปไทด์เอนไซม์

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: งูพิษและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

พิษ

พิษ ในบริบทชีววิทยา คือ สสารใด ๆ ที่ก่อการรบกวนแก่สิ่งมีชีวิต มักโดยปฏิกิริยาเคมีหรือกิจกรรมอย่างอื่นในระดับโมเลกุล เมื่อซึมซาบเข้าสู่สิ่งมีชีวิตนั้นในปริมาณที่เพียงพอ สาขาแพทยศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตวแพทยศาสตร์) และสัตววิทยา มักแยกพิษออกจากชีวพิษ (toxin) และจากพิษสัตว์ (venom) ชีวพิษเป็นพิษที่ผลิตโดยหน้าที่ทางชีวภาพบางอย่างในธรรมชาติ และพิษสัตว์มักนิยามเป็น ชีวพิษที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยการกัดหรือต่อยเพื่อก่อผลของมัน ขณะที่พิษอื่นโดยทั่วไปนิยามเป็นสสารที่ดูดซึมผ่านเยื่อบุผิว อาทิ ผิวหนังหรือลำไส้ หมวดหมู่:เครื่องประหารชีวิต.

ใหม่!!: งูพิษและพิษ · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: งูพิษและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: งูพิษและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: งูพิษและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง

วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubrid, Typical snake) เป็นวงศ์ของงูมีพิษวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colubridae นับเป็นวงศ์ของงูที่มีปริมาณสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ด้วยมีมากมายถึงเกือบ 300 สกุล และมีทั้งหมดในปัจจุบัน (ค.ศ. 2014) 1,938 ชนิด และจำแนกออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 12 วงศ์ (ดูในตาราง) โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Colubridae รูปร่างโดยรวมของงูในวงศ์นี้คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟันชนิดที่ต่างกันไป แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ aplyph, opisthoglyph, proteroglyph ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปิดข้างซ้ายหรือมีแต่ก็น้อยมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน โดยรวมแล้วพิษของงูในวงศ์นี้เมื่อเทียบกับงูพิษวงศ์อื่นแล้ว เช่น วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) หรือวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) นับว่ามีพิษร้ายแรงน้อยกว่ามาก หรือบางชนิดก็ไม่มีพิษเลย คำว่า "Colubridae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษาละตินว่า "coluber" แปลว่า "งู".

ใหม่!!: งูพิษและวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า

วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elapidae; Cobra, Sea snake, King cobra, Taipan, Mamba) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรง สามารถทำให้มนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่ต่าง ๆ ตายได้เมื่อถูกพิษเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งคำว่า Elapidae ที่ใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "éllops" หมายถึง งูทะเล มีลักษณะโดยทั่วไป คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนอยู่ทางด้านหน้า ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่ก็เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน เป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมาก กระจายไปอยู่ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา จึงแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 3 วงศ์ และแบ่งเป็นสกุลทั้งหมด 61 สกุล และแบ่งเป็นชนิดประมาณ 325 ชนิด เป็นวงศ์ของงูที่มีพิษร้ายแรง สมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ งูเห่า (Naja kaouthia), งูจงอาง (Ophiophagus hannah) ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยความยาวเต็มที่อาจยาวได้ถึง 5.5 เมตร รวมถึงงูทะเลด้วย ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae ซึ่งเป็นหนึ่งในวงศ์ย่อยของวงศ์นี้เลยทีเดียว โดยลักษณะแต่ละอย่างของวงศ์ย่อยต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็นดังนี้.

ใหม่!!: งูพิษและวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูแมวเซา

วงศ์งูแมวเซา หรือ วงศ์งูหางกระดิ่ง หรือ วงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viperidae, Viper, Rattlesnake) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรงมากวงศ์หนึ่ง ที่ทำอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ให้ตายได้ด้วยน้ำพิษ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวป้อมและมีหัวค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนคอมาก เกล็ดบนหัวมีขนาดเล็กยกเว้นสกุล Causus ที่เป็นแผ่นใหญ่ มีแอ่งรับรู้สึกคลื่นความร้อนอินฟราเรดอยู่ระหว่างช่องเปิดจมูกกับตาหรืออยู่ทางด้านล่างของเกล็ดที่ปกคลุมหัว กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาหมุนได้ และมีเขี้ยวพิษขนาดใหญ่เพียงซี่เดียวที่เป็นท่อกลวง เขี้ยวเคลื่อนไหวได้จากการปรับปรุงให้รอยต่อระหว่างกระดูกแมคซิลลากับกระดูกพรีฟรอนทัลขยับได้ ฟันเขี้ยวจะยกตั้งขึ้นเมื่ออ้าปากและเอนราบไปกับพื้นล่างของปากเมื่อหุบปาก ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัลหรือกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์ ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกประมาณ 221 ชนิด ประมาณ 32 สกุล และแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 4 วงศ์ แพร่กระจายไปทุกมุมโลก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลีย, บางส่วนในทวีปเอเชีย และทวีปแอนตาร์กติกา โดยสมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักดี คือ งูหางกระดิ่ง คือ งูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae ที่พบได้ในทะเลทรายในทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลาง สำหรับในทวีปเอเชีย ชนิด Azemiops feae พบได้ในพม่า, จีนตอนกลาง และเวียดนาม จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae สำหรับในประเทศไทยจัดว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง ได้แก่ งูกะปะ หรือ งูปะบุก (Calloselasma rhodostoma) ที่จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae และงูแมวเซา (Daboia russellii) ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Viperinae เป็นต้น.

ใหม่!!: งูพิษและวงศ์งูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: งูพิษและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ใหม่!!: งูพิษและสารประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สารเคมี

รเคมี (chemical substance) เป็นสสารวัสดุ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือได้จากกระบวนการเคมี อาท.

ใหม่!!: งูพิษและสารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: งูพิษและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: งูพิษและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: งูพิษและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: งูพิษและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: งูพิษและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: งูพิษและงู · ดูเพิ่มเติม »

งูสมิงทะเลปากเหลือง

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: งูพิษและงูสมิงทะเลปากเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่ง (สกุล)

งูหางกระดิ่ง (Rattlesnakes; Crótalo) เป็นสกุลของงูพิษที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) ใช้ชื่อสกุลว่า Crotalus (/โคร-ทา-ลัส/) โดยคำว่า Crotalus นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า krotalon หมายถึง "สั่น" หรือ "Castanet" มีลักษณะเด่น คือ เมื่อลอกคาบแล้ว เกล็ดบางส่วนที่ปลายหางจะไม่ลอกหลุดหมดไป เกล็ดเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ เป็นสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนซึ่งเมื่อสั่นเกล็ดส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ นอกจากนี้แล้วยังมีหัวมีลักษณะแบน ดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม รูม่านตาคล้ายรูม่านตาของแมว คือ เป็นรูปวงรีวางตัวในแนวตั้ง และจะมีความกว้างของหัวเป็นสองเท่าของลำคอ สามารถเห็นแอ่งรับรู้ความร้อนอินฟาเรดระหว่างตา และรูจมูกของแต่ละข้างของหัว ซึ่งเป็นบริเวณที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ทำให้งูสามารถรู้ตำแหน่งของเหยื่อได้แม้ในความมืด เนื่องจากเป็นงูที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินเหยื่อเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย หรือแพรรีด็อก เป็นต้น และหากินตามพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่จะฟักในตัวแม่งู ลูกงูจะออกมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ครั้งละ 5-12 ตัว ลูกงูที่ออกมามีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว (15-20 เซนติเมตร) ลูกงูจะมีปล้องเกล็ดที่หาง 1 ปล้อง สามารถผลิตพิษได้แต่จำนวนน้อย และพิษยังไม่รุนแรงมาก และจะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 3 ปี สีของลำตัวต่างกันไปตามชนิด และระยะของการลอกคราบ โดยมีสีสันที่หลากหลายได้แก่ สีน้ำตาล, สีเหลือง, สีเทา, สีดำ, สีคล้ายกับฝุ่นชอล์ก และสีเขียวมะกอก เป็นต้น Kardong, K. V. and Bels, V. L. (1998).

ใหม่!!: งูพิษและงูหางกระดิ่ง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

งูทะเล

งูทะเล เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู ที่อาศัยและดำรงชีวิตอยู่ในทะเลตลอดชีวิต ไม่เคยขึ้นมาบนบกเลย ยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ในบางชนิด งูทะเลเป็นงูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae และ Laticaudinae งูทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเลหรือปากแม่น้ำชายฝั่งหมด ยกเว้น ชนิด Hydrophis semperi และ Laticauda crokeri เท่านั้น ที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดในประเทศฟิลิปปิน.

ใหม่!!: งูพิษและงูทะเล · ดูเพิ่มเติม »

งูแมมบา

งูแมมบา (Mambas) เป็นงูพิษร้ายแรงมากสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Dendroaspis จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา งูในสกุลงูแมมบานั้น เป็นงูที่มีลำตัวเรียวยาว มีส่วนหัวขนาดเล็ก มีตากลมโต มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 4 เมตร และเป็นงูที่มีความว่องไวมาก สามารถเลื้อยคลานได้เร็วถึง 12-20 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนพื้นดิน จนถูกจัดให้เป็นงูที่เลื้อยไวที่สุดบนโลกมาแล้ว งูแมมบานั้น จะมีสีเดียวตลอดทั้งลำตัว โดยจะมีทั้งสีน้ำตาล, สีเขียว หรือเหลือบสีต่าง ๆ บนเกล็ด รวมถึงสีขาวอมเทาหรือเทาตุ่น ๆ ด้วย ในบางชนิด มีเกล็ดเรียบลื่น เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่ มุมปากยาว ดวงตามีขนาดกลมโต มีความแตกต่างกันมากระหว่างเพศ โดยงูตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย เป็นงูที่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ดำรงชีวิตทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ รวมทั้งงูด้วยกันเองด้วย งูแมมบานั้นได้ถูกอนุกรมวิธานออกเป็นชนิดได้ 4 ชนิด คือ.

ใหม่!!: งูพิษและงูแมมบา · ดูเพิ่มเติม »

งูไทปัน

งูไทปัน (Taipan) เป็นสกุลของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Oxyuranus เป็นงูที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นงูกลุ่มที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก มีลำตัวยาวโดยประมาณ 2-3.6 เมตร ลักษณะลำตัวมีสีน้ำตาลปนดำ มักอาศัยอยู่ตามซอกหินในทะเลทรายของประเทศออสเตรเลี.

ใหม่!!: งูพิษและงูไทปัน · ดูเพิ่มเติม »

งูไทปันธรรมดา

งูไทปันธรรมดา (Coastal taipan หรือ Common taipan) เป็นงูไทปันขนาดใหญ่ มีพิษร้ายแรงของวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า มันมีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ชายฝั่งของทางเหนือและทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และเกาะนิวกินี มีความยาวได้ถึง 3 เมตร จากการศึกษาแอลดี 50 มันเป็นงูบกที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับสามในโลก.

ใหม่!!: งูพิษและงูไทปันธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

งูไทปันโพ้นทะเล

งูไทปันโพ้นทะเล (Inland Taipan) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Small Scaled Snake และ Fierce Snake เป็นงูไทปันชนิดหนึ่ง ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย เป็นงูพิษที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จัดอันดับบนพื้นฐานปริมาณแอลดี 50ในหนู แม้ว่ามันจะมีพิษร้ายแรง แต่กลับเป็นสัตว์ขี้อายและสันโดษ และมักจะเลือกหลบหนีมากกว่า (ชื่อ "fierce (รุนแรง)" มาจากพิษที่รุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ของมัน).

ใหม่!!: งูพิษและงูไทปันโพ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่า

งูเห่า (Cobras) เป็นงูพิษขนาดกลางที่อยู่ในสกุล Naja ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) วงศ์ย่อย Elapinae ซึ่งเป็นสกุลของงูพิษที่อาจเรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: งูพิษและงูเห่า · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่าพ่นพิษ

งูเห่าพ่นพิษสีทอง (''Naja sumatrana'') เป็นงูเห่าพ่นพิษที่พบได้ในประเทศไทย งูเห่าพ่นพิษ (Spitting cobra) เป็นงูเห่ากลุ่มหนึ่ง ที่สามารถพ่นพิษออกจากต่อมพิษได้ แทนที่จะกัดเหมือนงูเห่าหรืองูทั่วไป งูเห่าพ่นพิษ สามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 2 เมตร โดยแรงบีบจากกล้ามเนื้อบีบต่อมพิษและบังคับออกผ่านไปยังข้างหน้าหลุมที่ซอกของเขี้ยว แต่เดิมเคยเชื่อว่า งูเห่าพ่นพิษออกมาจากการไล่ลมออกจากปอดเพื่อขับพิษไปข้างหน้า ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผิด พิษของงูเห่าพ่นพิษหากถูกผิวหนังจะไม่เกิดผลใด ๆ แต่ถ้าโดนเข้าตา จะทำให้ตาบอดได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและท่วงทันเวลา เพราะมีฤทธิ์ทำให้กระจกตาบวม ซึ่งงูก็จะเล็งที่ตาของศัตรูที่มาคุกคามด้วย ซึ่งพิษของงูเห่าพ่นพิษมีผลกระทบและทำให้เหยื่อมีอาการอัมพาตได้รุนแรงกว่างูเห่าทั่วไป งูเห่าพ่นพิษมีรูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายกับงูเห่าชนิดที่พ่นพิษไม่ได้ หากแก่การแยกแยะได้จากลักษณะภายนอก พบแพร่กระจายพันธุ์ได้ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา สำหรับในประเทศไทยมีงูเห่าพ่นพิษอยู่ 2 ชน.

ใหม่!!: งูพิษและงูเห่าพ่นพิษ · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: งูพิษและนาที · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: งูพิษและน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

แอลดี 50

แอลดี 50 (LD50) หรือ Median lethal dose เป็นศัพท์ทางพิษวิทยาใช้เรียกการออกแบบการทดลองเพื่อหาขนาดของยาหรือสารที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวน 50% ของจำนวนเริ่มต้น การทดลองนี้ออกแบบโดย J.W. Trevan เมื่อ..

ใหม่!!: งูพิษและแอลดี 50 · ดูเพิ่มเติม »

โพสต์ทูเดย์

ต์ทูเดย์ ก่อกำเนิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ในเครือบางกอกโพสต์ เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับภาษาไทย ที่ตีพิมพ์จำหน่ายในประเทศไทย ของบางกอกโพสต์ ที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ทั้งด้าน เศรษฐกิจ และลีลาชีวิต.

ใหม่!!: งูพิษและโพสต์ทูเดย์ · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: งูพิษและโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: งูพิษและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

เพปไทด์

ปไทด์ เพปไทด์ (peptide มาจากภาษากรีก πεπτίδια) คือสายพอลิเมอร์ของกรดอะมิโนที่มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ ปลายด้านที่มีหมู่อะมิโนเป็นอิสระเรียกว่าปลายเอ็น (N-terminal) ส่วนปลายที่มีหมู่คาร์บอกซิลเป็นอิสระเรียกว่าปลายซี (C-terminal) การเรียกชื่อเพปไทด์จะเรียกตามลำดับกรดอะมิโนจากปลายเอ็นไปหาปลายซี เพปไทด์ขนาดเล็กหลายชนิดมีความสำคัญในสิ่งมีชีวิต เช่น.

ใหม่!!: งูพิษและเพปไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: งูพิษและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »