โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บาดแผล

ดัชนี บาดแผล

แผล เป็นคำเรียกลักษณะของการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย (Disruption of the anatomical continuity of tissur) ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากของแข็ง (Mechanical Forces) หรืออาจเกิดจากของมีคม บาดแผลจึงกลายเป็นสิ่งที่ตามมาของการเกิดอาการบาดเจ็บ (Trauma) การเกิดบาดแผลภายในร่างกาย ถ้าบาดแผลได้รับจากการทำร้ายร่างกายหรือเกิดจากการกระทำของผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ถึงกับเสียชีวิต บาดแผลจะกลายเป็นหลักฐานในการชี้ชัดถึงสาเหตุการตาย และเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวผู้กระทำความผิดในคดีฆาตกรรม ในทางอาชญากรรม บาดแผลอาจเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนาของผู้กระทำความผิด ถ้าบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกายสาหัสและโหดเหี้ยมเพียงใด ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาในการกระทำภายในจิตใจของผู้กระทำความผิด เพราะฉะนั้นในการวินิจฉัยบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกาย ก็จะเป็นการวินิฉัยจิตใจของผู้กระทำความผิดด้วย ว่ามีเจตนา มุ่งร้ายหรือป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายอย่างไร.

13 ความสัมพันธ์: การฆ่าคนฝีมะเร็งหนองหนังกำพร้าอวัยวะผิวหนังนิติวิทยาศาสตร์น้ำเหลืองเลือดเวชศาสตร์ฉุกเฉินเนื้องอกเนื้อเยื่อ

การฆ่าคน

การฆ่าคน (murder) เป็นการกระทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ทางนิติศาสตร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ การทำให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักหรือเบาตามกฎหมายแล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: บาดแผลและการฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

ฝี

ฝี เป็นกลุ่มของหนองซึ่งเป็นซากเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophil) ที่ตายแล้วสะสมอยู่ภายในโพรงของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกระบวนการของการติดเชื้อ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่นๆ เช่น เศษวัสดุ กระสุน หรือเข็มทิ่ม ฝีเป็นกระบวนการตอบสนองของเนื้อเยื่อในร่างกายต่อเชื้อโรคเพื่อจำกัดการแพร่กระจายไม่ให้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จุลชีพก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายจะมีการทำลายเซลล์ที่ตำแหน่งนั้น ทำให้เกิดการหลั่งสารพิษ สารพิษจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบ ซึ่งทำให้มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเข้ามาในบริเวณที่เชื้อโรคบุกรุกและเกิดการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นมากขึ้น โครงสร้างของฝีภายนอกจะประกอบด้วยผนังหรือแคปซูลล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากเซลล์ปกติข้างเคียงมาล้อมเพื่อจำกัดไม่ให้หนองไปติดต่อยังส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามแคปซูลที่ล้อมรอบโพรงหนองนั้นอาจทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือจุลชีพก่อโรคในหนองนั้นได้ ฝีมีความแตกต่างจากหนองขัง (empyema) ในแง่ที่ว่าหนองขังเป็นกลุ่มของหนองในโพรงที่มีมาก่อนอยู่แล้ว แต่ฝีเป็นโพรงหนองที่สร้างขึ้นมาภายหลังการติดเชื้อ.

ใหม่!!: บาดแผลและฝี · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: บาดแผลและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

หนอง

หนอง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: บาดแผลและหนอง · ดูเพิ่มเติม »

หนังกำพร้า

ตัดขวางของผิวหนัง หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นบริเวณชั้นนอกสุดของผิวหนัง ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าหรือออกจากร่างกาย และห่อหุ้มร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวประเภทสแตรทิฟายด์ สแควมัส (stratified squamous epithelium) รองรับด้วยเบซัล ลามินา (basal lamina).

ใหม่!!: บาดแผลและหนังกำพร้า · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: บาดแผลและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: บาดแผลและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

นิติวิทยาศาสตร์

นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) เป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญา ปัจจุบันมีการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในต่างประเทศ เพื่อลดการโต้แย้งความหวาดระแวงระหว่างผู้ควบคุมกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องหลักการและเหตุผลที่เป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ โดยนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับนิติเวชศาสตร์หรือการชันสูตรศพ สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: บาดแผลและนิติวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเหลือง

น้ำเหลือง (Lymph) คือของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ในระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อสารน้ำแทรก (ของเหลวซึ่งมีอยู่ตามร่องของเนื้อเยื่อ) มารวมกันผ่านหลอดน้ำเหลืองฝอย แล้วถูกส่งต่อผ่านท่อน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลืองก่อนที่ในท้ายที่สุดจะถูกผสมรวมกับเลือดที่บริเวณหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายหรือขวา องค์ประกอบของน้ำเหลืองจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้เลือดและเซลล์ต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนองค์ประกอบกับสารน้ำแทรก (ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำเลือดเพียงแต่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว) ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ประกอบ น้ำเหลืองจะคืนโปรตีนและสารน้ำแทรกส่วนเกินไปยังกระแสเลือด น้ำเหลืองอาจจับพาแบคทีเรียไปยังต่อมน้ำเหลืองเพื่อกำจัด เซลล์มะเร็งเนื้อร้ายอาจถูกจับพาโดยน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ น้ำเหลืองอาจจับพาไขมันจากทางเดินอาหารอีกด้ว.

ใหม่!!: บาดแผลและน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: บาดแผลและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

วชศาสตร์ฉุกเฉิน (แพทยศาสตร์) หรือ การแพทย์ฉุกเฉิน (นิติศาสตร์) (emergency medicine) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นการวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกิดฉับพลันและต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน.

ใหม่!!: บาดแผลและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: บาดแผลและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: บาดแผลและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Woundแผลสด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »