โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกฮาเมต

ดัชนี กระดูกฮาเมต

กระดูกฮาเมต (hamate bone or unciform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายลิ่ม และทีส่วนยื่นของกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายตะขอออกมาจากพื้นผิวด้านฝ่ามือ กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวหลังที่วางตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านนิ้วก้อย) ซึ่งมีฐานอยู่ด้านล่างติดกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 และ 5 ส่วนยอดชี้ขึ้นด้านบนและไปทางด้านข้างลำตัว รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษาละติน hamus แปลว่า ตะขอ.

17 ความสัมพันธ์: กระดูกกระดูกพิสิฟอร์มกระดูกฝ่ามือกระดูกลูเนทกระดูกสแคฟฟอยด์กระดูกฮาเมตกระดูกทราพีซอยด์กระดูกทราพีเซียมกระดูกข้อมือกระดูกแคปปิเตตกระดูกไตรกีตรัลกอล์ฟภาษาละตินมนุษย์รังสีเอกซ์ฮามิวลัสเอ็น

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกพิสิฟอร์ม

กระดูกพิสิฟอร์ม (Pisiform bone) หรือ กระดูกเลนติฟอร์ม (Lentiform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือ มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือแถวต้น อยู่บริเวณที่กระดูกอัลนา (ulna) เชื่อมกับกระดูกข้อมือ กระดูกนี้เกิดข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล (triquetral) เท่านั้น กระดูกพิสิฟอร์มจัดเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) รากศัพท์ของชื่อ พิสิฟอร์ม (pisiform) มาจากภาษาละตินว่า pīsum แปลว่า ถั่วลันเตา (pea).

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกพิสิฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือ

กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกฝ่ามือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกลูเนท

กระดูกลูเนท หรือ กระดูกรูปเสี้ยวพระจันทร์ (Lunate bone; Semilunar bone) เป็นกระดูกในที่อยู่ภายในมือของมนุษย์ มีลักษณะเด่นคือมีความเว้าและรูปร่างเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกไตรกีตรัล (triangular bone) คำว่า ลูเนท (lunate) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า luna ที่แปลว่า ดวงจันทร.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกลูเนท · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสแคฟฟอยด์

กระดูกสแคฟฟอยด์ (Scaphoid bone) อยู่บริเวณข้อมือ พบอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ (anatomical snuff-box) ลักษณะคล้ายกับเรือ ในอดีตจึงเรียกกระดูกนี้ว่า navicular (ซึ่งปัจจุบัน navicular หมายถึงกระดูกรูปเรือที่อยู่ในกระดูกข้อเท้า) ขนาดและรูปร่างของกระดูกนี้คล้ายกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) แกนยาวของกระดูกวิ่งจากบนลงล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหน้า คำว่า สแคฟฟอยด์ (scaphoid) มาจากภาษากรีกว่า skaphe แปลว่า "เรือ" และ eidos แปลว่า "รูปร่าง".

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกสแคฟฟอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฮาเมต

กระดูกฮาเมต (hamate bone or unciform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายลิ่ม และทีส่วนยื่นของกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายตะขอออกมาจากพื้นผิวด้านฝ่ามือ กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวหลังที่วางตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านนิ้วก้อย) ซึ่งมีฐานอยู่ด้านล่างติดกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 และ 5 ส่วนยอดชี้ขึ้นด้านบนและไปทางด้านข้างลำตัว รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษาละติน hamus แปลว่า ตะขอ.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกฮาเมต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีซอยด์

กระดูกทราพีซอยด์ (Trapezoid bone; lesser multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือชิ้นหนึ่งในสัตว์สี่เท้า (tetrapod) รวมทั้งมนุษย์ มีขนาดเล็กที่สุดในกระดูกข้อมือแถวปลาย มีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างเหมือนลิ่ม โดยมีปลายด้านหลังกว้าง และพื้นผิวด้านฝ่ามือแคบ กระดูกนี้มีหน้าประกบเกิดเป็นข้อต่อ 4 หน้าซึ่งแต่ละหน้าแยกกันด้วยขอบแหลมคม รากศัพท์ของ ทราพีซอยด์ (trapezoid) มาจากภาษากรีก trapezion แปลว่า สี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้าหรือขอบ หากแปลตามตัวอักษรอาจแปลได้ว่า โต๊ะขนาดเล็ก มาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ และ -oeides หมายถึง รูปร่าง.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกทราพีซอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีเซียม

กระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone; Greater multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวปลาย อยู่ภายในข้อมือ กระดูกทราพีเซียมมีลักษณะเด่นคือจะมีร่องลึกทางด้านฝ่ามือ กระดูกชิ้นนี้จะตั้งอยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) ของข้อมือ ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 (first metacarpal bone) รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษากรีก trapezion ซึ่งหมายความตามตัวอักษรว่า รูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ (irregular quadrilateral) หรือมาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ หรือมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้า หรือ ขอ.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกทราพีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้อมือ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกข้อมือ (Carpal bones; Carpus) เป็นกลุ่มของกระดูกชิ้นเล็กๆที่เรียงตัวอยู่ระหว่างกระดูกของส่วนปลายแขนและกระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones) และเป็นกระดูกที่ประกอบกันเป็นส่วนประกอบหลักของข้อมือ (wrist) กระดูกส่วนใหญ่ของกลุ่มกระดูกข้อมือจะมีรูปร่างคล้ายลูกเต๋า โดยที่พื้นผิวทางด้านหลังมือ (dorsal surface) และฝ่ามือ (palmar surface) จะมีลักษณะขรุขระเนื่องจากมีเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น (tendon sheath) พาดผ่าน ขณะที่พื้นผิวด้านอื่นๆจะค่อนข้างเรียบเพื่อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆได้อย่างสนิท สำหรับในมนุษย์ จะมีกระดูกข้อมือจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกระดูกข้อมือที่ติดต่อกับกระดูกเรเดียส จะเรียกว่า กระดูกข้อมือแถวแรก (proximal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้น ส่วนอีกกลุ่มจะติดต่อกับกระดูกฝ่ามือ จะเรียกว่ากระดูกข้อมือแถวหลัง (distal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกข้อมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแคปปิเตต

กระดูกแคปปิเตต (Capitate bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ กระดูกนี้นับว่าเป็นกระดูกข้อมือที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงกลางของข้อมือ ส่วนบนมีลักษณะเป็นหัวกระดูกกลม ซึ่งรับกับส่วนของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) และถัดลงมาเป็นส่วนคอดเรียกว่า คอกระดูก และด้านล่างเป็นตัวกระดูก รากศัพท์ของชื่อกระดูก มาจากภาษาละติน capitātus แปลว่า มีหัว มาจาก capit- แปลว่า หัว.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกแคปปิเตต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไตรกีตรัล

กระดูกไตรกีตรัล (Triquetral bone; หรืออาจเรียกว่า triquetrum bone, cuneiform bone, pyramidal bone, cubital bone, three-cornered bone, และ triangular bone) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณข้อมือ อยู่บริเวณด้านใกล้กลาง (medial side) ของกระดูกข้อมือแถวต้น ระหว่างกระดูกลูเนท (lunate) และกระดูกพิสิฟอร์ม (pisiform) กระดูกนี้อยู่ด้านอัลนา (ด้านนิ้วก้อย) ของมือ แต่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกอัลนา กระดูกไตรกีตรัลเกิดข้อต่อกับกระดูกพิสิฟอร์ม, กระดูกฮาเมต (hamate), และกระดูกลูเนท กระดูกนี้มีโอกาสหักมากเป็นอันดับที่ 3 เมื่อเกิดกระดูกข้อมือหัก กระดูกไตรกีตรัลมีลักษณะเด่นคือ มีรูปร่างคล้ายพีระมิด และที่เด่นชัดที่สุดคือรอยบุ๋มรูปวงรีที่อยู่บนพื้นผิวด้านหน้า ซึ่งเป็นบริเวณเกิดข้อต่อกับกระดูกพิสิฟอร์ม กระดูกนี้อยู่ด้านบนและด้านอัลนาของข้อมือ ในการคลำกระดูกนี้เพื่อตรวจ มือต้องอยู่ในท่าเบนไปทางนิ้วหัวแม่มือเพื่อให้กระดูกไตรกีตรัลเลื่อนออกจากสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา (ulnar styloid process) กระดูกไตรกีตรัลอาจหาได้ยากเพราะว่ากระดูกนี้วางตัวอยู่ใต้กระดูกพิสิฟอร์ม รากศัพท์ของชื่อกระดูกนี้มาจากภาษาละติน triquetrus ซึ่งแปลว่า สามเหลี่ยม (three-cornered).

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกระดูกไตรกีตรัล · ดูเพิ่มเติม »

กอล์ฟ

ลูกกอล์ฟและหลุมกอล์ฟ กอล์ฟ คือกีฬาหรือเกมประเภทบอลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เล่นใช้ไม้หลายชนิดตีลูกบอลให้ลงหลุม จากกฎของกอล์ฟ ระบุว่า "กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกใดลูกหนึ่งด้วยไม้กอล์ฟจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมโดยการสโตรคหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ" กอล์ฟเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทบอลเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่มีอาณาเขตการเล่นที่แน่นอน (สนามกอล์ฟแต่ละแห่งสามารถมีรูปร่างและขนาดต่างกัน) ต้นกำเนิดของกอล์ฟนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ระหว่างเนเธอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และจีน โดยมีการเล่นกอล์ฟมาแล้วอย่างน้อยห้าศตวรรษในหมู่เกาะบริเตน กอล์ฟในรูปแบบปัจจุบันได้มีการเล่นในสกอตแลนด์ตั้งแต่พ.ศ. 2215.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและกอล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ. 1895 ทฤษฎีอิเล็กตรอนสมัยปัจจุบัน อธิบายถึงการเกิดรังสีเอกซ์ว่า ธาตุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากในอะตอมแต่ละตัวมีนิวเคลียสเป็นใจกลาง และมีอิเล็กตรอนวิ่งวนเป็นชั้น ๆ ธาตุเบาจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่น้อยชั้น และธาตุหนักจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่หลายชั้น เมื่ออะตอมธาตุหนักถูกยิงด้วยกระแสอิเล็กตรอน จะทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในถูกชนกระเด็นออกมาวิ่งวนอยู่รอบนอกซึ่งมีภาวะไม่เสถียรและจะหลุดตกไปวิ่งวนอยู่ชั้นในอีก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกในรูปรังสี ถ้าอิเล็กตรอนที่ยิงเข้าไปมีพลังงานมาก ก็จะเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ ทำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard x-ray) ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อยเข้าไปได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft x-ray) กระบวนการเกิดหรือการผลิตรังสีเอกซ์ทั้งโดยฝีมือมนุษย์และในธรรมชาติ มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและรังสีเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮามิวลัส

มิวลัส (Hamulus) เป็นส่วนยื่นโค้งคล้ายตะขอออกมาจากด้านล่างและด้านอัลนา (ด้านนิ้วก้อย) ของกระดูกฮาเมต (hamate bone) ชี้ไปทางด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนยื่นดังกล่าวให้เป็นจุดเกาะต่างๆ ดังนี้ ยอดเป็นจุดเกาะของเอ็นทรานสเวิร์สคาร์ปัล (transverse carpal ligament) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Flexor carpi ulnaris) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิไต มินิไม เบรวิส (Flexor digiti minimi brevis) และกล้ามเนื้อออพโพเนนส์ ดิจิไต มินิไม (Opponens digiti quinti) พื้นผิวด้านข้างเป็นร่องสำหรับให้เอ็นกลุ่มกล้ามเนื้องอ (Flexor tendons) ผ่านเข้าไปในฝ่ามือ ฮามิวลัสเป็นหนึ่งในสี่ส่วนนูนทางด้านหน้าของกระดูกข้อมือ (carpus) ที่เป็นจุดเกาะของเอ็นทรานสเวิร์สคาร์ปัลของข้อมือ ซึ่งที่เหลืออีก 3 บริเวณ ได้แก่ ด้านใกล้กลางเกาะกระดูกพิสิฟอร์ม (pisiform), ด้านข้างเกาะสันเฉียงของกระดูกทราพีเซียม (Trapezium) และปุ่มกระดูกของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid).

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและฮามิวลัส · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กระดูกฮาเมตและเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HamateHamate boneฮาเมต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »